1243 1931 1504 1479 1768 1810 1067 1642 1937 1386 1282 1012 1361 1414 1721 1517 1419 1957 1545 1778 1307 1515 1121 1028 1621 1359 1802 1118 1263 1061 1964 1949 1025 1305 1341 1884 1670 1023 1555 1849 1466 1079 1580 1430 1731 1828 1069 1076 1682 1667 1464 1672 1949 1926 1747 1681 1983 1480 1959 1405 1402 1382 1008 1567 1840 1714 1784 1439 1080 1236 1138 1039 1677 1684 1430 1324 1322 1303 1165 1021 1103 1309 1119 1619 1112 1026 1772 1372 1585 1084 1144 1847 1115 1798 1020 1285 1554 1009 1343 สถิติคดี 112 ที่น่าสนใจ ตั้งแต่ปี 2557- 2560 | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

สถิติคดี 112 ที่น่าสนใจ ตั้งแต่ปี 2557- 2560

คดี 112 หรือคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ยังเป็นคดีที่คงเส้นคงวาในความลี้ลับ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการประกันตัวผู้ต้องหาที่ยังคงเป็นสิทธิที่เข้าถึงยาก หรือจำนวนโทษที่ในปี 2560 เคยมีจำเลยถูกศาลพิพากษาจำคุกสูงถึงเจ็ดสิบปี จากปี 2557 ที่มีการยึดอำนาจและเร่งรัดดำเนินคดี 112 จนถึงสิ้นปี 2560 มีผู้ถูกตั้งข้อกล่าวหาในคดีไปแล้วอย่างน้อย 94 ราย ในจำนวนนี้บางส่วนตัดสินใจรับสารภาพตั้งแต่ชั้นสอบสวนเพื่อให้คดีสิ้นสุดโดยเร็ว บางส่วนตั้งใจพิสูจน์ความบริสุทธิของตัวเองในช่วงต้นแต่เมื่อต้องเผชิญกับเงื่อนไขเช่นการไม่ได้ประกันตัวและการถูกพิจารณาคดีแบบปิดลับซึ่งเป็นสาเหตุให้ตัดสินใจรับสารภาพ 
 
ก่อนจะติดตามสถานการณ์ต่อในปี 2561 ไอลอว์ชวนย้อนดูสถิติที่น่าสนใจเกี่ยวกับคดีมาตรา 112 และความเปลี่ยนแปลงในการดำเนินคดีนี้ในรอบสามปีหกเดือนที่ผ่านมา
 
1) หลังรัฐประหารมีคนที่ถูกดำเนินคดี 112 อย่างน้อย 94 ราย
 
ข้อมูลตั้งแต่หลังรัฐประหารจนถึงสิ้นปี 2560 พบว่ามีจำเลยคดี 112 อย่างน้อย 43 คนที่ถูกศาลพิพากษาแล้ว ในจำนวนนี้ 39 คนให้การรับสารภาพ 2 คนสู้คดีแล้วศาลพิพากษายกฟ้อง อีก 2 คนสู้คดีแต่ศาลพิพากษาว่ามีความผิด จำเลยอีก 36 คนคดียังอยู่ในชั้นศาล มีอีก 10 คนที่คดียังไม่มีความเคลื่อนไหวหรืออัยการสั่งไม่ฟ้องและมีอีก 5 รายที่ไม่มีข้อมูลว่าคดีอยู่ชั้นใดหรือสถานะปัจจุบันของพวกเขาเป็นอย่างไร 
 
2) มีแค่ 16 เปอร์เซ็นของผู้ต้องหาคดี 112 ที่ได้รับการประกันตัว
 
ข้อมูลตั้งแต่หลังรัฐประหารจนถึงสิ้นเดือนธันวาคม 2560 พบว่า ในบรรดาผู้ต้องหาหรือจำเลย 94 คน มีเพียง 15 คนเท่านั้นที่ได้ประกันตัวหรือคิดเป็นเพียง 16 เปอร์เซ็นเท่านั้น ส่วนที่เหลือบางรายไม่มีหลักทรัพย์ยื่นประกันตัวแต่บางรายก็พยายามยื่นประกันแล้ว บางคนยื่นมากกว่าหนึ่งครั้งแต่ศาลไม่อนุญาต โดยเหตุผลที่ศาลไม่ให้ประกันตัวจะมีลักษณะเหมือนกันคือ คดี 112 คดีที่กระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน และมีอัตราโทษสูง หากปล่อยตัวชั่วคราว ผู้ต้องหาหรือจำเลยอาจจะหลบหนี จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว 
 
แต่ก็มีบางกรณีที่ศาลให้เหตุผลที่แตกต่างออกไป เช่นกรณี จตุภัทร์ หรือ ไผ่ ดาวดิน ที่ตอนแรกได้รับการประกันตัว แต่เมื่อ จตุภัทร์ แสดงความคิดเห็นในโลกออนไลน์ว่า "เศรษฐกิจมันแย่แม่งเอาแต่เงินประกัน" พนักงานสอบสวนสภ.ขอนแก่นจึงยื่นคำร้องขอให้ศาลถอนประกันจตุภัทร์ซึ่งศาลก็อนุญาตตามคำร้องของพนักงานสอบสวนและนับจากนั้นจตุภัทร์ก็ไม่เคยได้รับอนุญาตให้ประกันตัวอีกเลยจนกระทั่งศาลจังหวัดขอนแก่นมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกเขาเป็นเวลา 2 ปี 6 เดือนในวันที่ 15 สิงหาคม 2560
 
ศาลให้เหตุผลในการถอนประกันจตุภัทร์ว่า จตุภัทร์ยังไม่ลบข้อความที่เป็นประเด็นแห่งคดีออกจากเฟซบุ๊ก ทั้งยังแสดงความคิดเห็น และมีพฤติกรรมบนสื่อสังคมออนไลน์ในเชิงเยาะเย้ย อำนาจรัฐ โดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ และจตุภัทร์ก็มีแนวโน้มจะกระทำการลักษณะเดิมต่อไปอีก จึงให้ถอนการประกันตัว
 
3) วงเงินประกันตัวขั้นต่ำ 100,000 บาท สูงสุด 500,000 บาท 
 
สำหรับวงเงินประกันตัวคดีมาตรา 112 จากการสำรวจตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 จนถึงสิ้นปี 2560 พบว่า วงเงินขั้นต่ำที่ใช้ในการยื่นขอประกันตัวอยู่ที่ 100,000 บาท โดยมีผู้ต้องหาหรือจำเลยเพียง 2 คนเท่านั้นที่ได้รับการประกันตัวภายใต้วงเงินนี้ และวงเงินประกันสูงสุดเท่าที่ศาลเคยให้ประกันอยู่ที่ 500,000 บาท
 
อย่างไรก็ตาม เคยมีกรณีของโอภาส จำเลยสูงวัยจากคดีเขียนฝาผนังห้องน้ำ ที่มีปัญหาสุขภาพรุมเร้าทั้งความดันและโรคตา ที่เคยวางโฉนดที่ดินมูลค่า 2.5 ล้านบาทพร้อมหลักฐานทางการแพทย์ประกอบการประกันตัวต่อศาลทหารกรุงเทพถึง 4 ครั้งแต่ศาลก็ไม่ให้ประกันตัว
 
4) 92 เปอร์เซ็นของคดี 112 ที่ศาลพิพากษา มาจากจำเลยรับสารภาพ 
 
จากข้อมูลตั้งแต่หลังรัฐประหารจนถึงสิ้นปี 2560 พบว่า จำเลยทั้ง 43 คนที่ถูกศาลพิพากษาแล้ว มีจำเลย 39 คน ซึ่งคิดเป็น 92 เปอร์เซ็น ที่ตัดสินใจรับสารภาพ เนื่องจากเป็นตัวเลือกที่ทำให้ได้รับโอกาสปล่อยตัวได้เร็วกว่า เพราะมีการลดโทษทันทีครึ่งหนึ่ง รวมถึงระหว่างการคุมขังยังอาจได้รับการลดหย่อนโทษ หรืออภัยโทษในวาระสำคัญๆ ทำให้จำเลยที่ไม่ได้รับอีกทั้งการไม่ได้ประกันตัวและถูกพิจารณาคดีโดยศาลทหารซึ่งมีระบบการพิจารณาคดีที่ล่าช้า มองว่าการรับสารภาพเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ
 
ที่ผ่านมามีจำเลยส่วนหนึ่งที่เบื้องต้นให้การปฏิเสธและขอต่อสู้คดีแต่มาตัดสินใจรับสารภาพในภายหลัง เช่น วิชัย ซึ่งถูกฟ้องว่า ปลอมเฟซบุ๊กของคนอื่น และโพสต์ข้อความหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ รวม 10 ครั้ง เดิมวิชัยต่อสู้ว่า เฟซบุ๊กนั้นไม่ใช่ของเขา และเขาไม่ได้ทำความผิดตามฟ้อง วิชัยถูกควบคุมตัวมาประมาณหนึ่งปีสองเดือนศาลทหารจึงนัดสืบพยานเป็นครั้งแรกแต่ก็ต้องเลื่อนเป็นวันที่ 22 พฤษภาคม 2560 เพราะพยานติดราชการและในวันนัดใหม่พยานก็ไม่มาอีกครั้งเพราะไม่ได้รับหมายศาล วิชัยจึงแถลงต่อศาลว่า ขอกลับคำให้การเป็นรับสารภาพ
 
5) 70 ปีคือโทษจำคุกสูงสุดเท่าที่ศาลเคยวางสำหรับคดี 112
 
ข้อมูลตั้งแต่หลังรัฐประหารจนถึงสิ้นปี 2560 พบว่า คดีของ วิชัย เป็นคดีที่ทำสถิติใหม่ วิชัย ถูกกล่าวหาว่าทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 รวม 10 กรรม ศาลทหารกรุงเทพสั่งลงโทษจำคุกกรรมละ 7 ปี รวมเป็น 70 ปี แต่ทว่า วิชัยให้การรับสารภาพลดโทษให้กึ่งหนึ่งเหลือจำคุกกรรมละ 3 ปี 6 เดือน รวมเป็น 30 ปี 60 เดือน 
 
ก่อนหน้านี้ในปี 2558 ศาลทหารกรุงเทพเคยพิพากษาจำคุกพงศักดิ์ จำเลยที่ถูกกล่าวหาว่าโพสต์ภาพและข้อความที่เข้าข่ายความผิดตามกฎหมายนี้รวม 6 ครั้งเป็นเวลา 60 ปี โดยวางโทษต่อการกระทำหนึ่งกรรมเป็นเวลา 10 ปี แต่เนื่องจากจำเลยรับสารภาพจึงลดโทษเหลือจำคุก 30 ปี