1487 1694 1079 1224 1525 1686 1425 1820 1333 1477 1430 1429 1390 1865 1671 1485 1228 1605 1837 1988 1383 1860 1398 1894 1267 1446 1131 1408 1661 1880 1540 1490 1544 1077 1924 1743 1738 1115 1282 1868 1380 1246 1188 1033 1928 1180 1278 1235 1765 1202 1377 1996 1548 1250 1120 1379 1431 1012 1280 1469 1960 1675 1319 1059 1223 1773 1206 1715 1880 1584 1082 1500 1589 1133 1559 1077 1251 1756 1662 1655 1076 1485 1195 1037 1163 1074 1585 1761 1087 1043 1497 1163 1872 1319 1735 1418 1401 1093 1102 เปรียบเทียบการพิจารณาคดี112 ในศาลทหารและศาลพลเรือน | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

เปรียบเทียบการพิจารณาคดี112 ในศาลทหารและศาลพลเรือน

เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ออกประกาศ คสช. ฉบับที่ 37/2557 กำหนดให้การพิจารณาคดีในหมวดความมั่นคง และคดีความผิดฐานฝ่าฝืนประกาศและคำสั่ง ของคสช. อยู่ในอำนาจการพิจารณาของศาลทหาร ซึ่งรวมทั้งคดีความผิดฐานหมิ่นประมาทกษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ด้วย นับถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2557 มีคดีมาตรา 112 ที่ต้องพิจารณาที่ศาลทหารอย่างน้อย 8 คดี นับเฉพาะคดีที่เกี่ยวข้องกับการใช้เสรีภาพการแสดงออก ไม่นับรวมคดีที่ถูกกล่าวหาว่ามีการแอบอ้างสถาบันพระมหากษัตริย์เพื่อผลประโยชน์ทางทรัพย์สิน เพื่อให้เห็นภาพความแตกต่างระหว่างการพิจารณาคดีโดยศาลทหารและศาลพลเรือน จึงต้องพิจารณาสถิติการพิจารณาคดีมาตรา 112 ย้อนหลัง

 

สถิติการพิจารณาคดีเป็นการลับ

 

99 เปรียบเทียบการพิจารณาคดีตามมาตรา 112 ในศาลทหารและศาลพลเรือน

 

นับตั้งแต่ปี 2553 ถึงปลายปี 2557 มีการพิจารณาคดีมาตรา 112 เท่าที่มีข้อมูลอย่างน้อย 46 คดี เป็นการพิจารณาในศาลพลเรือน 41 คดี และศาลทหาร 5 คดีใน 41 คดีของศาลพลเรือน มีการสั่งให้พิจารณาคดีลับ 4 คดี คือ คดีบัณฑิต ในปี 2548, คดีดา ตอร์ปิโด ในปี 2552, คดีป้ายผ้าปัตตานี ในปี 2556 และคดีคนขายหนังสือกงจักรปีศาจ ในปี2557 อีก 37 คดีเป็นการพิจารณาโดยเปิดเผ   ใน 5 คดีของศาลทหาร มีการสั่งให้พิจารณาคดีลับ 4 คดี คือ คดีทหารอากาศเล่นเฟซบุ๊ค ในปี 2554 และอีกสามคดีในปี 2557 คือ  คดีคฑาวุธคดีสมศักดิ์, และคดีสิรภพ ส่วนคดีที่พิจารณาโดยเปิดเผย คือ คดีสมัคร ซึ่งพิจารณาที่ศาลทหารเชียงราย ซึ่งแม้ศาลจะไม่ได้สั่งให้พิจารณาคดีเป็นการลับแต่ก็มีการตรวจบัตรประชาชนหน้าค่ายเม็งรายมหาราช หากไม่ปรากฏว่าเป็นญาติหรือเกี่ยวข้องกับคดีก็จะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในบริเวณค่ายทหาร

 

สถิติการกำหนดความหนักเบาของโทษ

 

 

100 เปรียบเทียบแนวการกำหนดโทษคดีมาตรา 112 ของศาลทหารและศาลพลเรือน

 
นับตั้งแต่ปี 2553 ถึงปลายปี 2557 มีคำพิพากษาของศาลที่ลงโทษจำคุกจำเลยในคดีมาตรา 112 ทั้งศาลชั้นต้นและศาลสูง เท่าที่มีข้อมูลอย่างน้อย 33 คดี แบ่งเป็นคำพิพากษาจากศาลพลเรือน 31 คดี และศาลทหาร 2 คดี
 
คำพิพากษาของศาลทหารทั้งสองคดี คือ คดีของคฑาวุธ พิพากษาเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2557 ตัดสินลงโทษจำคุก 10 ปีจากการกระทำหนึ่งกรรม และคดีของสมศักด์ พิพากษาเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2557 ตัดสินลงโทษจำคุก 9 ปีจากการกระทำหนึ่งกรรม ทั้งสองคดีได้ลดโทษครึ่งหนึ่งเนื่องจากจำเลยรับสารภาพ 
 
เท่ากับว่าศาลทหารพิพากษาลงโทษมาแล้ว 2 คดี เฉลี่ยลงโทษจำคุกกรรมละ 9.5 ปี ซึ่งหากพิเคราะห์อัตราโทษโดยยังไม่นับโทษที่ปรับลดแล้ว จะเห็นว่าศาลทหารกำหนดบทลงโทษจำเลยสูงว่าแนวทางของศาลพลเรือนมาก 
 
ทั้ง 31 คดี ที่ศาลพลเรือนลงโทษจำคุก เป็นการกำหนดโทษจำคุกกรรมละ 2 ปี 2 คดี กรรมละ 3 ปี 7 คดี กรรมละ 4 ปี 2 คดี กรรมละ 5 ปี 17 คดี และกรรมละ 6 ปี 3 คดี เฉลี่ยในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ศาลพลเรือนกำหนดบทลงโทษจำเลยในคดีมาตรา 112 เฉลี่ยกรรมละ 4.4 ปี