1499 1841 1959 1060 1873 1736 1014 1980 1355 1940 1892 1953 1135 1060 1840 1074 1687 1058 1157 1021 1701 1597 1380 1146 1210 1359 1297 1909 1890 1904 1792 1068 1892 1123 1245 1079 1902 1661 1253 1017 1894 1566 1689 1624 1444 1308 1505 1714 1503 1446 1983 1694 1202 1166 1162 1920 1560 1247 1960 1827 1398 1639 1511 1300 1191 1762 1272 1057 1811 1931 1407 1028 1336 1216 1147 1699 1179 1448 1692 1704 1494 1056 1921 1241 1338 1704 1022 1713 1008 1654 1974 1702 1692 1843 1898 1266 1012 1159 1437 กฎหมายห้ามชุมนุมในยุค คสช. | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

กฎหมายห้ามชุมนุมในยุค คสช.

ประเทศไทยมีกฎหมายที่เจ้าหน้าที่จะเลือกหยิบมาใช้เพื่อห้ามการชุมนุม หรือเพื่อดำเนินคดีเอาผิดกับคนที่จัดการชุมนุมอยู่หลากหลายมาก ตัวอย่างเช่น


1. คำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 

ข้อ 12 กำหนดว่า ผู้ใดมั่วสุม หรือชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใด ๆ ที่มีจํานวนตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ เว้นแต่เป็นการชุมนุมที่ได้รับอนุญาตจากหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย

ผู้กระทําความผิดตามวรรคหนึ่งที่สมัครใจเข้ารับการอบรมจากเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยเป็นระยะเวลาไม่เกินเจ็ดวันและเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยเห็นสมควรปล่อยตัวโดยมีเงื่อนไขหรือไม่มีเงื่อนไขตามข้อ 11 วรรคสอง ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามมาตรา 37 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2529


2. พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558

เป็นกฎหมายที่ควรจะเป็นบทหลักในการจัดการชุมนุม ออกมาในยุค คสช. และบังคับใช้โดย คสช. กฎหมายนี้มีหลายมาตราที่เกี่ยวข้อง สั่งให้ผู้จัดการชุมนุมต้องแจ้งการชุมนุมต่อตำรวจในท้องที่ล่วงหน้า 24 ชั่วโมง ห้ามการชุมนุมสาธารณะในรัศมี 150 เมตรจากพระราชวัง ห้ามกีดขวางทางเข้าออกหน่วยงานของรัฐ ห้ามก่อให้เกิดความไม่สะดวกแก่ประชาชน ห้ามพกอาวุธ ห้ามปิดบังใบหน้า ห้ามข่มขู่ให้เกิดความกลัว ห้ามเคลื่อนขบวนตอนกลางคืน ฯลฯ โดยการฝ่าฝืนข้อห้ามแต่ละข้อนั้นมีบทกำหนดโทษแตกต่างกันไป


3. มาตรา 116 ฐานยุยงปลุกปั่น

กำหนดว่า ผู้ใดกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือหรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต

(1) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กำลังข่มขืนใจหรือใช้กำลังประทุษร้าย
(2) เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือ
(3) เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี

.
4. มาตรา 215 ฐานมั่วสุมก่อความวุ่นวาย

กำหนดว่า ผู้ใดมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าผู้กระทำความผิดคนหนึ่งคนใดมีอาวุธ บรรดาผู้ที่กระทำความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าผู้กระทำความผิดเป็นหัวหน้า หรือเป็นผู้มีหน้าที่สั่งการในการกระทำความผิดนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


5. พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522

มาตรา 108 ห้ามมิให้ผู้ใดเดินแถว เดินเป็นขบวนแห่ หรือเดินเป็นขบวนใด ๆ ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร เว้นแต่

(1) เป็นแถวทหารหรือตำรวจ ที่มีผู้ควบคุมตามระเบียบแบบแผน
(2) แถวหรือขบวนแห่หรือขบวนใดๆ ที่เจ้าพนักงานจราจรได้อนุญาตและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนด

มาตรา 109 ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ บนทางเท้าหรือทางใด ๆ ซึ่งจัดไว้สำหรับคนเดินเท้าในลักษณะที่เป็นการกีดขวางผู้อื่นโดยไม่มีเหตุอันสมควร

ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท


6. พ.ร.บ.ทางหลวง พ.ศ.2535

มาตรา 39 ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการปิดกั้นทางหลวง หรือวางวัตถุที่แหลมหรือมีคม หรือนำสิ่งใดมาขวางหรือวางบนทางหลวง หรือกระทำด้วยประการใด ๆ บนทางหลวงในลักษณะที่อาจเกิดอันตรายหรือเสียหายแก่ยานพาหนะหรือบุคคล 

มีโทษตามมาตรา 72 จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


การชุมนุมหนึ่งครั้ง ที่แม้จะเป็นการชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธก็อาจทำให้ผู้จัดหรือผู้เข้าร่วมถูกตั้งข้อหาได้มากกว่าหนึ่งข้อหา ซึ่งการตัดสินใจเลือกว่า เมื่อใดจะถูกตั้งข้อกล่าวหาใดบ้าง แทบจะเป็นดุลพินิจของตำรวจเจ้าของคดี โดยผู้ต้องหาไม่มีสิทธิที่จะเลือกด้วย มีสิทธิเพียงให้การปฏิเสธและไปต่อสู้ในชั้นศาลเท่านั้น อย่างไรก็ดี การชุมนุมแต่ละครั้งหากถูกตั้งข้อกล่าวหามากกว่าหนึ่งข้อหา ก็อาจจะถูกศาลตีความว่า เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท และถ้าเป็นความผิดก็จะลงโทษตามฐานความผิดที่มีโทษสูงสุดเพียงบทเดียวก็ได้

แต่การที่มีกฎหมายเกี่ยวข้องกับการชุมนุมมากมาย ทำให้เสรีภาพในการชุมนุมที่แม้จะถูกรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ กลับถูกจำกัดได้ด้วยเงื่อนไขที่กว้างขวาง ไม่มีขอบเขต ขึ้นอยู่กับการตีความและอำเภอใจของเจ้าหน้าที่รัฐ จนประชาชนที่จะใช้เสรีภาพการชุมนุมไม่สามารถคาดหมายได้ว่า จะชุมนุมแบบใดจึงไม่ผิดต่อกฎหมาย

สถานการณ์ปัญหานี้เคยถูกคาดหมายว่า จะแก้ไขให้ชัดเจนขึ้นได้เมื่อมีการออก พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ เพื่อใช้เป็นกฎหมายหลักดูแลการชุมนุม แต่หลังปี 2558 เมื่อพ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ ประกาศใช้แล้ว กฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องก็ยังคงอยู่ และยังคงถูกเอามาบังคับใช้ไปพร้อมๆ กัน แม้ผู้ชุมนุมจะปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขในพ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ แล้วก็ยังอาจถูกเอาผิดด้วยกฎหมายอื่นได้ จึงกลับมีแต่สร้างความสับสนให้เพิ่มขึ้นไปอีก