1567 1971 1437 1253 1911 1895 1032 1894 1863 1001 1567 1302 1129 1693 1272 1391 1829 1247 1750 1464 1249 1970 1783 1271 1359 1939 1551 1603 1421 1427 1923 1532 1179 1015 1279 1588 1838 1810 1420 1265 1353 1706 1445 1586 1604 1560 1830 1277 1871 1938 1773 1678 1083 1231 1568 1283 1700 1826 1298 1012 1424 1429 1664 1263 2000 1684 1727 1383 1850 1314 1109 1338 1587 1956 1575 1788 1539 1252 1923 1738 1717 1695 1784 1254 1692 1050 1165 1611 1552 1638 1533 1125 1642 1275 1894 1488 1435 1054 1260 เวที “ก้าวไปด้วยกัน” ถูกปิดกั้นเนื้อหาและนิทรรศการ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

เวที “ก้าวไปด้วยกัน” ถูกปิดกั้นเนื้อหาและนิทรรศการ

 
 
เครือข่ายประชาชน “ก้าวไปด้วยกัน” Peope Go Network Forum จัดเสวนาวิชาการติดต่อกันเป็นเวลา 2 วัน ระหว่าง 10-11 ธันวาคม 2559 ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังจากที่ได้งดเว้นกิจกรรมทางการเมืองมากว่า 50 วัน เครือข่ายนี้เป็นการรวมตัวกันขององค์กรพัฒนาเอกชนและกลุ่มภาคพลเมืองรวม 109 แห่ง เวทีดังกล่าวประกอบด้วยการเสวนาโดยคณาจารย์ครอบคลุมประเด็นตั้งแต่สถาบันตุลาการ ความมั่นคงทางอาหาร สิทธิการศึกษาและสิทธิชุมชน และการพัฒนาที่ยั่งยืน
 
ขณะที่ผู้จัดงานตั้งเป้าหมายของการจัดงานไว้ที่การเตรียมความพร้อมของเครือข่ายเพื่อจะทำงานภายใต้ยุคสมัยของรัฐธรรมนูญจากรัฐบาลทหาร ก่อนที่รัฐธรรมนูญจะถูกบังคับใช้ การจัดงานครั้งนี้กลับถูกมองว่าเป็นการทดสอบความใจกว้างของรัฐบาลทหารต่อกิจกรรมทางการเมืองในสมัยพระเจ้าอยู่หัวองค์ใหม่ไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้สังเกตการณ์หลายท่านคงผิดหวังเนื่องจากทางมหาวิทยาลัยได้ตัดเนื้อหาบางส่วนออกจากแผงนิทรรศการ
 
ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ (New Democracy Movement (NDM)) ซึ่งเป็นกลุ่มเยาวชนนักกิจกรรมทางการเมืองได้ตระเตรียมที่จะเสวนาในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของงานนี้ พวกเขาได้ปล่อยโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ในหัวข้อ “เห็บสยามกับ 3 ปัญหาการเมืองไทย” ซึ่งเป็นเวทีที่มีนักศึกษาที่เป็นนักกิจกรรมทางการเมือง 3 คน ซึ่งเคยถูกจับและถูกตั้งข้อหามาหลายครั้งภายใต้รัฐบาลทหาร ทางคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รู้สึกไม่มั่นใจกับการเสวนานี้ เพราะดูเหมือนจะเป็นกิจกรรมทางการเมืองมากกว่าการเสวนาของภาคประชาสังคม ดังนั้นทางคณะจึงขอให้ทำการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเสวนา โดยต่อมามีคณาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ถูกเชิญให้เป็นวิทยากรแทนและเปลี่ยนหัวข้อเป็น “ออกตามหาประชาธิปไตยในยุคดึกดำบรรพ์”
 
หลายชั่วโมงก่อนที่งานจะเริ่ม ข้อมูล 3 แห่งบนแผงนิทรรศการถูกปิดด้วยกระดาษสีดำ โดยข้อมูลที่ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัยทำการปิดนั้นเป็นข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล 3 คนที่โดนกล่าวหาในข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ตามกฎหมายอาญามาตรา 112 หนึ่งในนั้นได้แก่ จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ ดาวดิน ซึ่งเพิ่งได้รับการประกันตัวออกมาหลังจากโดนข้อกล่าวหาจากการแชร์บทความชีวประวัติเชิงวิพากษ์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัววชิราลงกรณ์ ของเว็บไซต์บีบีซีไทย ลงบนเฟซบุ๊ก 
 
ภาพที่เห็นนี้ถูกยืนยันโดยประวัติศาสตร์ของรัฐบาลทหารในการสั่งงดการเสวนาก่อนหน้าซึ่งจัดโดยคณะนักวิชาการ นักข่าว องค์กรและภาคประชาสังคมต่างๆ
 
หนึ่งในคดีล่าสุดเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2559 กองตำรวจสันติบาลได้สั่งห้ามการจัดงานแถลงข่าว ของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งจะเปิดตัวรายงานเกี่ยวกับการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกสู่สาธารณะ โดยให้เหตุผลต่อการยกเลิกงานดังกล่าวว่า เจ้าหน้าที่ผู้ที่จะแถลงเปิดตัวรายงาน คือ นาย ยูวัล คินบาร์ (Yuwal Kinbar) เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายและที่ปรึกษาด้านนโยบายของแอมเนสตี้นั้น ไม่มีใบอนุญาตการทำงานและไม่ได้ขออนุญาตล่วงหน้าในการจัดแถลงข่าว รายงานดังกล่าวมีชื่อว่า “บังคับให้มันพูดให้ได้ภายในพรุ่งนี้ : การทรมานและการปฏิบัติอย่างโหดร้ายในประเทศไทย” (Make Him Speak by Tomorrow : Torture and Other Ill-Treatment in Thailand) ซึ่งเป็นการรวบรวม 74 คดีการทรมานผู้ถูกกล่าวหาและการปฏิบัติอย่างโหดร้ายต่างๆ โดย คสช. ระหว่างปี 2557-2558 ปัจจุบันรายงานดังกล่าวมีให้อ่านออนไลน์บนเว็บไซต์ของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล
 
เช่นเดียวกัน การสั่งงดการอภิปรายสาธารณะได้คืบขยายไปยัง สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT) ซึ่งถูกบังคับโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติให้ยกเลิกการอภิปรายเรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งคาดว่าจะจัดในวันที่ 25 มิถุนายน 2558 โดยทาง FCCT รายงานว่า พวกเขาได้รับจดหมายจากตำรวจหนึ่งสัปดาห์ก่อนที่งานจะจัด โดยเตือนไว้ว่าตำรวจจะทำการปิดอาคารมณียา (สถานที่ที่จะจัดงาน) หากงานเดินหน้าจริง ซึ่งตำรวจแจ้งว่าพวกเขาทำงานให้กับ คสช.
 
สองสัปดาห์ก่อนการสั่งงดกิจกรรมของ FCCT รัฐบาลทหารได้หยุดยั้งการอภิปรายสาธารณะโดยศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ซึ่งกำหนดไว้ว่าจะอภิปรายเรื่องสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนโดย คสช. หลังการรัฐประหาร
 
การระงับยับยั้งโดยรัฐบาลทหารครอบคลุมกระทั่งแวดวงวิชาการ เช่น การอภิปรายทางวิชาการหลายเวทีถูกสั่งงดหรือถูกแทรกแซง เห็นได้จากการที่คสช. ได้สั่งงดเวทีอภิปรายเรื่อง “ความสุขและการปรองดองภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557” ซึ่งจัดโดยนักวิชาการในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และการที่รัฐบาลทหารเข้าแทรกแซงการอภิปรายเรื่อง “ความล้มเหลวของเผด็จการในต่างประเทศ” ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
 
สถานการณ์การจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมนี้ดำเนินอยู่อย่างชัดเจนมาเป็นเวลาเกือบ 3 ปี ในยุคของ คสช. ก่อนสิ้นปี 2559 ไอลอว์ได้บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมที่ถูกระงับหรือถูกแทรกแซงเป็นจำนวนอย่างน้อย 140 ครั้ง  
 
 

 

ชนิดบทความ: