1475 1553 1917 1251 1580 1923 1629 1252 1052 1454 1583 1224 1902 1490 1951 1889 1590 1541 1255 1260 1497 1527 1000 1337 1879 1648 1537 1472 1051 1200 1353 1427 1530 1450 1761 1621 1894 1383 1927 1947 1513 1267 1466 1488 1702 1520 1778 1999 1916 1093 1159 1935 1862 1947 1037 1594 1487 1600 1601 1470 1776 1357 1937 1861 1804 1529 1667 1015 1780 1316 1855 1368 1771 1293 1054 1674 1753 1383 1386 1542 1197 1152 1533 1392 1129 1130 1619 1324 1465 1761 1380 1350 1465 1823 1978 1041 1435 1038 1361 ทบทวนผู้ต้องหา - จำเลยคดีมาตรา 112 ถูกคุมขังกันนานเท่าไหร่แล้ว และใครอยู่ที่ไหนบ้าง | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ทบทวนผู้ต้องหา - จำเลยคดีมาตรา 112 ถูกคุมขังกันนานเท่าไหร่แล้ว และใครอยู่ที่ไหนบ้าง

 

 

9 กุมภาพันธ์ 2564 อัยการมีความเห็นสั่งฟ้องจำเลยคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จำนวน 4 คน ได้แก่ ทนายอานนท์ นำภา, พริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ เพนกวิ้น, สมยศ พฤกษาเกษมสุข อดีตนักเคลื่อนไหวด้านแรงงาน และปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม หรือหมอลำแบ๊งค์ ในวันนั้นศาลมีคำสั่งไม่ให้ประกันตัวจำเลยทั้งสี่คน พวกเขาจึงถูกคุมขังเรื่อยมา โดยทั้งสี่คนนับเป็นคนกลุ่มแรกที่ถูกคุมขังด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 แม้ก่อนหน้านี้ในปี 2563 ทั้งสี่คนจะเคยถูกคุมขังมาระยะหนึ่งแล้วแต่ก็เป็นการคุมขังด้วยข้อหายุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ไม่ใช่ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 
 
การคุมขังจำเลยทั้งสี่คนถือเป็นการส่งสัญญาณว่าสิทธิการประกันตัวของจำเลยคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ยังคงอยู่ในสภาวะน่ากังวลแมัว่าก่อนหน้านี้ทางการไทยจะพยายามแสดงให้ประชาชนและนานาอารยะประเทศเห็นว่าผู้ที่ถูกดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ได้รับการคุ้มครองสิทธิในการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม โดยตำรวจมักใช้วิธีออกหมายเรียกผู้ต้องหาคดีมาตรา 112 แทนการขอศาลออกหมายเลยและหากผู้ต้องหาเข้ารายงานตัวก็มักได้รับการปล่อยตัวโดยไม่ต้องวางเงินประกันในวันเดียวกัน ต่างจากคดีในยุค คสช. หรือยุคก่อนการรัฐประหาร 2557 ที่ผู้ต้องหามักถูกนำตัวไปฝากขังและไม่ได้รับการประกันตัว
 
การคุมขังจำเลยทั้งสี่คนยังอาจถือเป็นจุดเปลี่ยนของสถานการณ์คดีมาตรา 112 เพราะมีผู้ต้องหาที่ถูกออกหมายเรียกหรือถูกจับหลังจากนั้นบางส่วนที่ถูกนำตัวไปคุมขังในทันที ทำให้สถานการณ์สิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรมของผู้ต้องหาและจำเลยคดีมาตรา 112 ดูจะมีความน่าเป็นห่วงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีล่าสุดเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2564 ที่พรหมศร วีระธรรมจารี ผู้ต้องหาคดีปราศรัยที่หน้าศาลจังหวัดธัญบุรี ซึ่งอยู่ระหว่างรักษาตัวจากเหตุรถจักรยานยนต์ล้มเดินทางไปเข้าพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกแต่กลับถูกเอาตัวไปฝากขังทันทีและศาลอ้างเหตุที่ไม่ให้ประกันตัวประการหนึ่งว่าเกรงผู้ต้องหาหลบหนียากแก่การติดตามตัวมาพิจารณาคดี   
 
ตารางผู้ต้องขังคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 นับตั้งแต่เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 
 

วันที่ถูกฝากขัง/
คุมขัง

ผู้ต้องหา/จำเลย

คดี

สถานะคดี

สถานที่ควบคุมตัว

9 กุมภาพันธ์ 2564

อานนท์ นำภา

คดีการชุมนุม19 กันยา
ทวงอำนาจคืนราษฎร

ศาลชั้นต้น

เรือนจำพิเศษกรุงเทพ

9 กุมภาพันธ์ 2564

พริษฐ์​ ชิวารักษ์ (เพนกวิน)

คดีการชุมนุม19 กันยา
ทวงอำนาจคืนราษฎร
ศาลชั้นต้น

เรือนจำพิเศษกรุงเทพ

9 กุมภาพันธ์ 2564

สมยศ พฤกษาเกษมสุข

คดีการชุมนุม19 กันยา
ทวงอำนาจคืนราษฎร
ศาลชั้นต้น

เรือนจำพิเศษกรุงเทพ

9 กุมภาพันธ์ 2564

ปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม
(หมอลำแบ๊งค์)

คดีการชุมนุม19 กันยา
ทวงอำนาจคืนราษฎร
ศาลชั้นต้น

เรือนจำพิเศษกรุงเทพ

23 กุมภาพันธ์ 2564

อนุชา

ชูป้ายระหว่างการชุมนุม

ชั้นสอบสวน

เรือนจำพิเศษกรุงเทพ

4 มีนาคม 2564

ไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์
(แอมมี)

วางเพลิงพระบรมฉายาลักษณ์
รัชกาลที่ 10

ชั้นสอบสวน

เรือนจำพิเศษธนบุรี

6 มีนาคม 2564

ปริญญา ชีวินกุลปฐม
(พอร์ท วงไฟเย็น)

ถูกกล่าวหาว่า โพสต์ข้อความ
เชื่อมโยงการรัฐประหารในตุรกี
3 ข้อความ

ชั้นสอบสวน

เรือนจำพิเศษกรุงเทพ

8 มีนาคม 2564

จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา (ไผ่)

คดีการชุมนุม19กันยา
ทวงอำนาจคืนราษฎร

ศาลชั้นต้น เรือนจำพิเศษกรุงเทพ

8 มีนาคม 2564

ภาณุพงศ์ จาดนอก (ไมค์)

คดีการชุมนุม19 กันยา
ทวงอำนาจคืนราษฎร

ศาลชั้นต้น เรือนจำพิเศษกรุงเทพ

8 มีนาคม 2564

ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล (รุ้ง)

คดีการชุมนุม19 กันยา
ทวงอำนาจคืนราษฎร

ศาลชั้นต้น

ทัณฑสถานหญิงกลาง

11 มีนาคม 2564

พรชัย

โพสต์เฟซบุ๊กวิจารณ์
เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
การสืบทอดอำนาจ 

ชั้นสอบสวน

เรือนจำกลางเชียงใหม่

17 มีนาคม 2564

พรหมศร วีระธรรมจารี (ฟ้า)

ปราศรัยหน้าศาลจังหวัดธัญบุรี

ชั้นสอบสวน

เรือนจำอำเภอธัญบุรี

 
1705
 
 
การฝากขังชั้นสอบสวน
 
การฝากขังในชั้นสอบสวนหมายถึงช่วงเวลาตั้งแต่เมื่อพนักงานสอบสวนนำตัวผู้ต้องหาไปขออำนาจศาลฝากขังระหว่างการสอบสวนคดีจนถึงเมื่ออัยการมีความเห็นสั่งฟ้องคดี ในชั้นนี้พนักงานสอบสวนจะต้องขออำนาจศาลฝากขังเป็นผัดๆ ผัดละไม่เกิน 12 วัน (หากต้องการขังต่อต้องยื่นคำร้องใหม่) และขออำนาจศาลฝากขังได้ไม่เกิน 7 ผัดหรือ 84 วัน หากจนถึงช่วงเวลาดังกล่าวอัยการยังไม่สั่งฟ้องคดีผู้ต้องหาจะได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำทันทีจนกว่าอัยการจะเรียกตัวมาเพื่อฟังคำสั่งคดี ในชั้นนี้ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะคัดค้านคำร้องฝากขังของพนักงานสอบสวนว่าไม่มีเหตุให้ควบคุมตัวคือ 



1.ผู้ต้องหามีที่อยู่เป็นหลักแหล่งไม่หลบหนี

2.ผู้ต้องหาจะไม่ไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน อาทิ ไปข่มขู่พยานหรือทำลายหลักฐาน และ
3.ผู้ต้องหาจะไม่ไปก่อพยันตรายประการอื่น


ซึ่งหากสุดท้ายศาลเห็นควรให้ฝากขังผู้ต้องหาตามคำร้องของตำรวจ (พนักงานสอบสวน) ผู้ต้องหาก็ยังมีสิทธิขอประกันตัวโดยวางหลักทรัพย์ตามที่ศาลกำหนดหรือสาบานตนแทนการวางหลักทรัพย์ก็ได้ หากศาลไม่ให้ประกันตัวผู้ต้องหาก็จะถูกนำตัวไปฝากขังที่เรือนจำ
 
 
การคุมขังระหว่างการพิจารณาคดี
 
เมื่ออัยการฟ้องคดีต่อศาลแล้ว ศาลจะออกหมายขังจำเลยซึ่งในชั้นนี้ จำเลยจะไม่มีสิทธิคัดค้านการคุมขัง โดยจะมีเพียงสิทธิยื่นคำร้องประกันตัว ซึ่งหากไม่ได้รับการประกันตัว จำเลยจะถูกขังไปเรื่อยๆ จนกว่า

1. จำเลยได้รับการประกันตัว
2. ศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง (บางกรณีแม้ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์จะมีคำพิพากษายกฟ้องจำเลย ศาลก็อาจขังจำเลยระหว่างการพิจารณาคดีในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาได้)
 
โดยตามหลักการ การฝากขังหรือคุมขังระหว่างการพิจารณาคดีจะต้องเป็นไปเพื่อให้การดำเนินการทางคดีเป็นไปด้วยความเรียบร้อยเท่านั้น ไม่ใช่เป็นไปเพื่อการลงโทษจำเลยก่อนศาลมีคำพิพากษาเป็นที่สุด