1856 1055 1573 1301 1303 1333 1356 1063 1409 1146 1113 1863 1099 1013 1987 1751 1967 1588 1144 1490 1608 1701 1873 1095 1180 1248 1151 1727 1310 1521 1719 1139 1077 1224 1616 1669 1538 1188 1132 1691 1525 1606 1050 1927 1073 1657 1719 1477 1523 1018 1416 1364 1056 1364 1836 1501 1995 1037 1440 1405 1412 1305 1858 1928 1484 1520 1633 1854 1435 1878 1273 1632 1487 1313 1634 1441 1780 1177 1529 1016 1051 1914 1420 1374 1986 1126 1631 1528 1428 1045 1559 1107 1233 1976 1390 1776 1529 1126 1456 5 อันดับการทำงานของศาลทหารที่ต้องจดจำ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

5 อันดับการทำงานของศาลทหารที่ต้องจดจำ

 

548


ในยุครัฐบาล คสช. มีประกาศ คสช. ฉบับที่ 37/2557 กำหนดให้ประชาชนที่ถูกกล่าวหาในคดีความมั่นคงต้องถูกพิจารณาคดีที่ศาลทหาร ประกาศฉบับนี้ใช้มาเป็นเวลากว่าสองปี และถูกยกเลิกโดย คสช. เองเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2559 โดยคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 55/2559

ตลอดระยะเวลากว่าสองปี คดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ตามมาตรา 112, คดียุยงปลุกปั่น ตามมาตรา 116, คดีชุมนุมทางการเมือง, คดีฝ่าฝืนคำสั่ง คสช., คดีครอบครองอาวุธปืน และคดีอีกจำนวนมากที่พลเรือนถูกกล่าวหา ถูกส่งไปขึ้้นศาลทหาร ข้อมูลจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน พบว่ามีประชาชนต้องขึ้นศาลทหารอย่างน้อย 1,546 คน ซึ่งบางส่วนเป็นคดีเกี่ยวกับการเมืองบางส่วนไม่เกี่ยว

ในทางทฤษฎี พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 กำหนดให้กระบวนการพิจารณาคดีของศาลทหารไม่ต่างจากศาลพลเรือน แต่ในทางปฏิบัติจริงเมื่อเจ้าหน้าที่ศาล อัยการ และผู้พิพากษาล้วนเป็นทหารที่ไม่คุ้นชินกับคดีของพลเรือน ซึ่งหลายคดีเป็นที่สนใจของสังคม และมีข้อกล่าวหาและการตีความกฎหมายที่ซับซ้อน ประกอบกับกฎระเบียบย่อยต่างๆ และบรรยากาศทางการเมือง จึงทำให้สิทธิของผู้ต้องหาตกหล่นหายไปในกระบวนการทำงานของศาลทหาร

ไอลอว์ลองจัด 5 อันดับ คดีในความทรงจำในช่วงเวลาสองปีกว่า ที่ศาลทหารมีวิธีการทำงานแบบแปลกๆ จนส่งผลเสียต่อจำเลยและส่งผลต่อความศักดิ์สิทธิ์ขององค์กรที่พยายามจะใช้อำนาจตุลาการ

 

5. ผู้พิพากษาไม่ต้องมาศาล สั่งฝากขังและประกันตัวทางโทรศัพท์

ในคดีของพลวัฒน์ ชาวระยองที่ถูกจับจากการโปรยใบปลิวต่อต้านเผด็จการและถูกตั้งข้อกล่าวหายุยงปลุกปั่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 พลวัฒน์ถูกพาตัวมาฝากขังต่อศาลทหาร ในวันที่ 30 มีนาคม 2558 ที่ศาลทหารในจังหวัดชลบุรี ซึ่งตั้งอยู่ในค่ายนวมินทราชินี

พลวัฒน์ และญาติมาถึงศาลตั้งแต่ก่อนเวลา 9.00 น. แต่ยังไม่มีเจ้าหน้าที่ศาลมาทำงาน จนกระทั่งหลังเวลา 10.00 น. ไปแล้วจึงมีเจ้าหน้าที่ทยอยเดินทางมาที่ศาล ในวันนั้น มีคดีของพลวัฒน์มาที่ศาลเพียงคดีเดียว หลังจากพนักงานสอบสวนยื่นคำร้องขอฝากขัง และพลวัฒน์ยื่นขอประกันตัวในเวลาประมาณ 11.00 น. เจ้าหน้าที่ศาลเดินมาแจ้งว่า ได้โทรศัพท์ขอผู้พิพากษาให้แล้ว ซึ่งผู้พิพากษากำหนดหลักประกันอยู่ที่ 70,000 บาท

นั่นหมายความว่า วันนั้นผู้พิพากษาไม่ได้เดินทางมาที่ศาล และไม่ได้อยู่ที่ศาลเพื่อพิจารณาคำร้องที่พนักงานสอบสวนขอให้สั่งคุมขังพลวัฒน์ แต่ก็สามารถทำคำสั่งอนุญาตให้คุมขังได้ และทำคำสั่งอนุญาตให้ประกันได้ด้วยเช่นเดียวกัน

 

4. เปิดรับฝากขังถึงเที่ยงคืน

ในคดีของ 14 นักกิจกรรมกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ ที่ถูกจับกุมจากการชุมนุมต่อต้านการรัฐประหารที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และถูกตั้งข้อหาชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน และยุยงปลุกปั่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ผู้ต้องหาทั้ง 14 คน ถูกจับในช่วงเย็นของวันที่ 26 มิถุนายน 2558 และถูกพาไปแจ้งข้อกล่าวหาที่สน.พระราชวัง ในช่วงค่ำ ซึ่งกระบวนการตามปกติ หลังแจ้งข้อกล่าวหาแล้วผู้ต้องหาก็จะถูกควบคุมตัวไว้ที่สถานีตำรวจ ไม่เกิน 48 ชั่วโมง เพื่อรอเวลาศาลเปิดทำการและนำตัวไปขออำนาจศาลฝากขัง

แต่วันนั้น ตำรวจพาตัวผู้ต้องหาทั้ง 14 คนไปที่ศาลทหารกรุงเทพในเวลาประมาณ 21.30 น. ซึ่งศาลยังคงเปิดทำการเพื่อรอรับการฝากขังคดีนี้โดยเฉพาะ ทั้ง 14 คนถูกพาตัวขึ้นห้องพิจารณาคดีกลางดึก พร้อมกับทนายความที่ตามมาถึงในชุดไปรเวท ตำรวจยื่นคำร้องขอฝากขัง โดยผู้ต้องหาแถลงปากเปล่าคัดค้านการคุมขัง ศาลทหารกรุงเทพออกคำสั่งให้คุมขังผู้ต้องหาทั้ง 14 คน ในเวลาประมาณเที่ยงคืน และผู้ต้องหาถูกนำตัวออกจากศาลไปยังเรือนจำในเวลาประมาณ 00.30 น. ของวันต่อมา

 

549

 

3. พิจารณาช้าจนจำเลยรอไม่ไหว

สมัคร เป็นชาวนาที่จังหวัดเชียงราย ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2557 จากการทำลายพระบรมฉายาลักษณ์ สมัครรับสารภาพว่าทำจริง แต่ทำไปเพราะดื่มสุราจนเมา และเคยมีประวัติต้องเข้ารับการรักษาอาการทางจิตอยู่ก่อนแล้ว สมัครเคยมีอาการกำเริบ คลุ้มคลั่ง ทุบบ้านและเผารถจักรยานยนต์ของตัวเอง ในการต่อสู้คดีสมัครยอมรับว่าได้ทำไปจริง แต่ต้องการพิสูจน์เรื่องอาการทางจิต เพื่อให้ศาลลดโทษ เพราะตามกฎหมายหากจำเลยกระทำความผิดไปเพราะมีอาการทางจิต ศาลจะลดโทษลงให้เหลือน้อยเพียงก็ได้

เนื่องจากศาลทหารใช้วิธีการพิจารณาคดีแบบไม่ต่อเนื่อง วันนัดพิจารณาคดีแต่ละครั้งห่างกันประมาณ 1-2 เดือน และหากพยานไม่มาก็จะเลื่อนไปเรื่อยๆ ในคดีของสมัคร หลังสมัครถูกคุมขังมากว่า 1 ปี ศาลนัดสืบพยานโจทก์ไปได้ 3 ปาก เลื่อนการสืบพยานไปแล้ว 3 ครั้ง และยังเหลือพยานอีกหลายปากซึ่งอาจต้องใช้เวลาอีกไม่น้อยกว่า 1 ปี สมัครจึงตัดสินใจขอรับสารภาพโดยไม่สู้คดีต่อ โดยสมัครบอกว่า ระหว่างการต่อสู้คดีรู้สึกเครียดและใช้เวลานานเกินไป ขอรับสารภาพเพื่อจะได้ไม่ต้องเครียดดีกว่า

ศาลทหารที่จังหวัดเชียงราย พิพากษาลงโทษสมัครให้จำคุก 10 ปี ลดเหลือ 5 ปีเนื่องจากรับสารภาพ โดยประเด็นอาการทางจิตของจำเลยไม่มีโอกาสได้นำมาพิจารณาด้วย

 

2. พาตัวไปพิพากษาโดยไม่มีทนายความ

ชญาภา ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2558 จากการโพสต์ข่าวลือบนเฟซบุ๊กว่าอาจจะมีการรัฐประหารซ้อน เธอถูกตั้งข้อหายุยงปลุกปั่นตามมาตรา 116 แต่หลังการสอบสวนและตรวจสอบเฟซบุ๊กอย่างละเอียด เธอถูกตั้งข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ตามมาตรา 112เพิ่มมาอีก

หลังอัยการยื่นฟ้อง ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้ติดตามขอถ่ายสำเนาคำฟ้องอยู่หลายครั้ง ตอนแรกศาลทหารไม่อนุญาตให้ทนายความถ่ายสำเนา โดยอ้างว่า ส่งให้จำเลยในเรือนจำแล้ว แต่ทนายความก็ยังติดตามขอถ่ายสำเนาอยู่จนศาลทหารอนุญาตเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2558 แต่ยังไม่มีโอกาสปรึกษาคดีกับจำเลย หลังจากนั้นทนายความก็ได้ติดตามสอบถามวันนัดหมายมาตลอดว่า ศาลจะเรียกตัวจำเลยมาขึ้นศาลเมื่อใด แต่ได้รับแจ้งเพียงว่ายังไม่มีกำหนดนัด

จนกระทั่งคืนวันที่ 14 ธันวาคม 2558 เจ้าหน้าที่เรือนจำบอกกับชญาภาว่าต้องไปศาลทหารในวันรุ่งขึ้น แต่เธออยู่ในเรือนจำไม่สามารถติดต่อกับใครได้ เช้าวันที่ 15 ธันวาคม 2558 ชญาภาถูกนำตัวมาศาลเพียงลำพัง โดยไม่มีญาติและทนายความมาด้วย ยิ่งไปกว่านั้น เธอยังไม่ได้ปรึกษาเรื่องคดีกับทนายความว่าควรจะให้การอย่างไร จึงบอกกับศาลว่าจะรับสารภาพ และศาลมีคำพิพากษาทันที

ศาลพิพากษาให้ชญาภามีความผิด 5 กรรม ตามมาตรา 112 ฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ 2 กรรม ลงโทษจำคุกกรรมละ 5 ปี รวมจำคุก 10 ปี ลดโทษลงครึ่งหนึ่ง เหลือจำคุกกรรมละ 2 ปี 6 เดือน รวม 4 ปี 12 เดือน ส่วนอีก 3 กรรมเป็นความผิดตามมาตรา 116 ฐานยุยงปลุกปั่น ลงโทษจำคุกกรรมละ 3 ปี รวมจำคุก 9 ปี ลดโทษลงครึ่งหนึ่ง เหลือจำคุกกรรมละ 1 ปี 6 เดือน รวม 3 ปี 18 เดือน รวมทั้งหมดให้จำคุกจำเลย 7 ปี 30 เดือน

 

1. ไม่ให้จำเลยยื่นประกันเพราะหมดเวลาราชการ แต่เปิดรับฟัองตอนกลางคืนได้

วันที่ 19 สิงหาคม 2559 มีเหตุการณ์ที่ศาลทหารปฏิบัติต่างกันเกิดขึ้นที่ศาลทหารสองแห่ง

ที่ศาลทหารกรุงเทพ ผู้ต้องหาคดีร่วมกันตั้งพรรคแนวร่วมปฏิวัติประชาธิปไตย(นปป.) 15 คน ถูกนำตัวมาขออำนาจศาลฝากขัง ในความผิดฐานอั้งยี่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 209 และชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน ผู้ต้องหาทั้ง 15 คน ถูกพาตัวมาถึงศาลทหารกรุงเทพในเวลาประมาณ 15.30 น. และศาลทหารกรุงเทพสั่งให้ฝากขังในเวลาประมาณ 16.35 น. แม้ว่าผู้ต้องหาจะแจ้งความประสงค์ขอยื่นประกันตัวตั้งแต่ก่อนหน้านี้แล้วก็ตาม แต่หลังศาลสั่งให้ฝากขังเจ้าหน้าที่ศาลทหารไม่อนุญาตให้ยื่นประกันตัวเพราะหมดเวลาราชการแล้ว ผู้ต้องหาทั้ง 15 คนจึงถูกส่งตัวไปควบคุมที่เรือนจำ

ขณะที่ศาลทหารที่จังหวัดขอนแก่น ซึ่งตั้งอยู่ในค่ายศรีพัชรินทร์ จังหวัดขอนแก่น จตุภัทร์ หรือ “ไผ่ ดาวดิน” ถูกนำตัวมาส่งฟ้องที่ศาลในคดีฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 จากการชูป้ายต่อต้านการรัฐประหารที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ขอนแก่น เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม2558

ไผ่ มาถึงศาลทหารที่ขอนแก่นในเวลาประมาณ 19.30 ซึ่งเลยเวลาราชการแล้ว และตุลาการยังเดินทางมาไม่ถึง ในเวลาประมาณ 20.30อัยการทหารยื่นฟ้องทันที ศาลทหารสั่งรับฟ้องไว้พิจารณาและสั่งให้คุมขังจำเลยไว้ในระหว่างการพิจารณาคดีด้วย โดยระหว่างการพิจารณา บุคคลภายนอกรวมทั้งพ่อและแม่ของไผ่ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปภายในค่าย ที่ตั้งของศาลทหาร

 

 

550

 

 

ชนิดบทความ: