1562 1914 1417 1627 1321 1887 1644 1807 1243 1384 1091 1662 1809 1655 1013 1663 1639 1467 1730 1339 1430 1145 1338 1929 1682 1760 1916 1540 1957 1195 1165 1547 1434 1861 1106 1214 1426 1610 1310 1345 1851 1765 1526 1491 1500 1453 1545 1470 1012 1142 1530 1656 1716 1720 1804 1017 1169 1421 1087 1177 1599 1253 1629 1123 1053 1760 1623 1539 1681 1365 1323 1138 1166 1188 1472 1842 1996 1215 1818 1266 1604 1454 1441 1566 1251 1606 1315 1067 1304 1735 1621 1848 1671 1241 1401 1359 1533 1232 1805 สื่อวิจารณ์ศาลได้ โดยข้อเท็จจริงที่ถูกต้องและเป็นธรรม ไม่เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

สื่อวิจารณ์ศาลได้ โดยข้อเท็จจริงที่ถูกต้องและเป็นธรรม ไม่เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล

 

 
ภายใต้บรรยากาศทางการเมืองที่ขัดแย้ง สถาบันศาลก็ยังคงต้องทำหน้าที่ตีความกฎหมาย พิจารณาและตัดสินคดีต่อไป แต่เมื่อผู้มีอำนาจทางการเมืองออกกฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายในทางที่กดขี่ผู้ที่เห็นต่าง สถาบันศาลจึงถูกดึงให้เข้ามาเกี่ยวข้องในฐานะผู้ปรับใช้กฎหมายเหล่านั้น จนสถาบันศาลต้องกลายมาเป็นผู้เล่นตัวหนึ่งในความขัดแย้งทางการเมือง และเมื่อเกิดความรู้สึกไม่พอใจ เกิดการตั้งคำถามขึ้นในสังคมต่อการทำหน้าที่บางครั้งของสถาบันศาล ความผิดฐาน "ละเมิดอำนาจศาล" จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญเพื่อปิดกั้นการเคลื่อนไหว การวิพากษ์วิจารณ์ และการว่าร้ายโจมตีการทำงานของศาล 
 
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล เขียนอยู่ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 30-33 มีโทษตั้งแต่ไล่ออกจากบริเวณศาล หรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 500 บาท ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองความสงบเรียบร้อยในการพิจารณาคดี ทำให้การพิจารณาคดีสามารถดำเนินไปได้โดยไม่มีใครพยายามใช้กำลัง ใช้อำนาจ หรือก่อความวุ่นวาย เพื่อมีอิทธิพลเหนือศาล หรือการเบิกความของพยาน หรือการตัดสินใจทางคดีของคู่ความ ความผิดฐานนี้มีลักษณะพิเศษ คือ เมื่อศาลเห็นการกระทำความผิดเองสามารถสั่งลงโทษได้เลย โดยไม่ต้องมีกระบวนการตั้งข้อกล่าวหา การสอบสวน หรือการทำสำนวนคดีส่งฟ้องใหม่
 
1163
 
มาตรา 31(1) ระบุว่า ผู้ใด "ขัดขืนไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของศาลตามมาตราก่อนอันว่าด้วยการรักษาความเรียบร้อย หรือประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล" ให้เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลองค์ประกอบของมาตรา 31(1) เปิดช่องให้ตีความได้กว้างที่สุด และในทางปฏิบัติก็ถูกนำมาใช้อ้างอิงดำเนินคดีฐานละเมิดอำนาจศาลกับการกระทำที่หลากหลายอยู่บ่อยครั้ง เช่น การพกอาวุธเข้ามาในบริเวณศาล การแอบอ้างเรียกรับเงินว่าจะวิ่งเต้นคดีได้ รวมทั้งการให้สัมภาษณ์สื่อ หรือทำกิจกรรมแสดงออกเชิงสัญลักษณ์วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของศาล ฯลฯ
 
สำหรับการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน การรายงานการพิจารณาคดี หรือการวิพากษ์วิจารณ์คำพิพากษาหรือการทำงานของศาล โดยทั่วไปสามารถทำได้ ถือเป็นสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น แต่กฎหมายเรื่องการละเมิดอำนาจศาล จำกัดขอบเขตการแสดงความคิดเห็นไว้ในมาตรา 32 ดังนี้
 
         "มาตรา 32 ผู้ใดเป็นผู้ประพันธ์ บรรณาธิการ หรือผู้พิมพ์โฆษณาซึ่งหนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์อันออกโฆษณาต่อประชาชน ไม่ว่าบุคคลเหล่านั้นจะได้รู้ถึงซึ่งข้อความ หรือการออกโฆษณาแห่งหนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์เช่นว่านั้นหรือไม่ ให้ถือว่าได้กระทําผิดฐานละเมิดอํานาจศาลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งในสองอย่างดังจะกล่าวต่อไปนี้
 
         (1) ไม่ว่าเวลาใดๆ ถ้าหนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์เช่นว่ามานั้นได้กล่าวหรือแสดงไม่ว่าโดยวิธีใดๆ ซึ่งข้อความหรือความเห็นอันเป็นการเปิดเผยข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์อื่นๆ แห่งคดีหรือกระบวนพิจารณาใดๆ แห่งคดี ซึ่งเพื่อความเหมาะสมหรือเพื่อคุ้มครองสาธารณประโยชน์ ศาลได้มีคําสั่งห้ามการออกโฆษณาสิ่งเหล่านั้น ไม่ว่าโดยวิธีเพียงแต่สั่งให้พิจารณาโดยไม่เปิดเผยหรือโดยวิธีห้ามการออกโฆษณาโดยชัดแจ้ง
 
         (2) ถ้าหนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์ได้กล่าวหรือแสดงไม่ว่าโดยวิธีใดๆ ในระหว่างการพิจารณาแห่งคดีไปจนมีคําพิพากษาเป็นที่สุด ซึ่งข้อความหรือความเห็นโดยประสงค์จะให้มีอิทธิพลเหนือความรู้สึกของประชาชน หรือเหนือศาล หรือเหนือคู่ความ หรือเหนือพยานแห่งคดี ซึ่งพอเห็นได้ว่าจะทําให้การพิจารณาคดีเสียความยุติธรรมไป เช่น
         ก. เป็นการแสดงผิดจากข้อเท็จจริงแห่งคดี หรือ
         ข. เป็นรายงานหรือย่อเรื่องหรือวิภาค ซึ่งกระบวนพิจารณาแห่งคดีอย่างไม่เป็นกลางและไม่ถูกต้อง หรือ
         ค. เป็นการวิภาคโดยไม่เป็นธรรม ซึ่งการดําเนินคดีของคู่ความ หรือคําพยานหลักฐาน หรือนิสัยความประพฤติของคู่ความหรือพยาน รวมทั้งการแถลงข้อความอันเป็น การเสื่อมเสียต่อชื่อเสียงของคู่ความหรือพยาน แม้ถึงว่าข้อความเหล่านั้นจะเป็นความจริง หรือ
         ง. เป็นการชักจูงให้เกิดมีคําพยานเท็จ
 
         เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ให้นําวิเคราะห์ศัพท์ทั้งปวงในมาตรา 4 แห่ง พระราชบัญญัติการพิมพ์พุทธศักราช 2476 มาใช้บังคับ"
 
แม้ว่า มาตรา 32 วรรสุดท้ายจะกำหนดให้เอาคำนิยามศัพท์ ในพ.ร.บ.การพิมพ์ 2476 มาใช้ด้วย แต่เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวยกเลิกไปแล้ว จึงไม่อาจเอาคำนิยามจากพ.ร.บ.การพิมพ์ 2476 มาใช้ได้อีก แต่ปัจจุบันมีกฎหมายใหม่ คือ พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 บังคับใช้อยู่ ในพ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ได้ให้นิยามของตำแหน่งงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในกิจการสื่อมวลชน ดังนี้
 
         “ผู้โฆษณา” หมายความว่า บุคคลซึ่งรับผิดชอบในการจัดให้สิ่งพิมพ์แพร่หลายด้วยประการใดๆ ไม่ว่าจะเป็นการขายหรือให้เปล่า
         “บรรณาธิการ” หมายความว่า บุคคลผู้รับผิดชอบในการจัดทํา และควบคุมเนื้อหา ข้อความหรือภาพที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์รวมทั้งวัสดุหรือเอกสารที่แทรกในหนังสือพิมพ์โดยความเห็นชอบของบรรณาธิการด้วย
 
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 32 เขียนขึ้นมาตั้งแต่ปี 2477 และยังไม่ถูกแก้ไขเลย จึงกำหนดขอบเขตการนำเสนอข่าวสารโดยเน้นไปที่สื่อสิ่งพิมพ์หรือ "สิ่งพิมพ์" อันออกโฆษณาต่อประชาชน แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันโลกของสื่อมวลชนได้พัฒนาตัวไปอย่างมาก แม้มาตรา 32 จะไม่ได้เขียนให้ครอบคลุมความรับผิดของสื่อวิทยุ โทรทัศน์ หรือสื่อออนไลน์ไว้ด้วยอย่างชัดแจ้ง แต่ก็น่าจะตีความใช้กับการนำเสนอข่าวของสื่อชนิดอื่นๆ ได้ด้วย ในฐานะกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง
 
 
เอาผิดบรรณาธิการสื่อ ไม่ว่าจะรู้หรือไม่ก็ตาม
 
มาตรา 32 กำหนดความผิดของผู้เขียน บรรณาธิการ หรือผู้พิมพ์ ในลักษณะเป็น "ความรับผิดเด็ดขาด" ซึ่งหมายถึงจะต้องรับผิด แม้จะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม หากสื่อใดได้ตีพิมพ์ข้อความที่มีเนื้อหาเข้าข่ายความผิดแล้ว บรรณาธิการ หรือผู้พิมพ์ จะอ้างว่าไม่ได้ตรวจทานเนื้อหาให้ดี หรือไม่รู้ถึงข้อความเหล่านั้น จึงขาดเจตนาในการกระทำความผิดไม่ได้ ซึ่งหลักการนี้เขียนไว้ในวรรคแรกของมาตรา 32 ที่ว่า "ไม่ว่าบุคคลเหล่านั้นจะได้รู้ถึงซึ่งข้อความ หรือการออกโฆษณาแห่งหนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์เช่นว่านั้นหรือไม่" 
 
หลักการความรับผิดเด็ดขาด โดยปกติแล้วเป็นหลักการความรับผิดในทางแพ่ง หมายถึง การรับผิดโดยการชดใช้ค่าเสียหาย เช่น กรณีลูกจ้างกระทำความผิดต่อบุคคลอื่นในระหว่างการทำงาน นายจ้างต้องชดใช้ค่าเสียหายให้ โดยยังไม่ต้องพิสูจน์ว่า นายจ้างมีเจตนารู้เห็นหรือได้ออกคำสั่งให้ลูกจ้างกระทำสิ่งนั้นๆ หรือไม่ ทั้งนี้เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ที่ได้รับความเสียหายให้ได้รับการชดเชยเยียวยา 
 
แต่สำหรับความรับผิดทางอาญา ซึ่งมีโทษจำคุกหรือโทษปรับ โดยปกติแล้วจะไม่สามารถใช้หลักความรับผิดเด็ดขาดได้ แต่หลักพื้นฐานของความรับผิดทางอาญา คือ ผู้ที่กระทำความผิดและจะถูกลงโทษจะต้องกระทำโดยเจตนาเท่านั้น คือ รู้อยู่แล้วว่า สิ่งที่ทำเป็นความผิดและมีเจตนากระทำสิ่งนั้นๆ การที่มาตรา 32 ในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลซึ่งมีโทษจำคุกและโทษปรับกำหนดให้เป็นความรับผิดเด็ดขาดของบรรณาธิการและผู้พิมพ์จึงเป็นลักษณะพิเศษเฉพาะตัวของกฎหมายมาตรานี้ และเป็นอีกหนึ่งเงื่อนไขที่ทำให้ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลเป็นความผิดพิเศษที่เสี่ยงจะละเมิดสิทธิของประชาชน และต้องนำมาใช้อย่างระมัดระวัง

 
สื่อรายงานการพิจารณาคดีได้ ถ้าศาลไม่ได้สั่งห้าม
 
การเปิดเผยรายละเอียดของคำพิพากษา การรายงานกระบวนการพิจารณาคดี คำเบิกความของพยาน หรือนำพยานหลักฐานที่สำคัญในคดีมาเผยแพร่สู่สาธารณะ เป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้ประชาชนที่สนใจติดตามความคืบหน้าของคดีความสามารถค้นหาข้อเท็จจริง และทำความเข้าใจการต่อสู้คดีได้ด้วยตัวเอง เป็นการส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชนและให้ข้อมูลเพื่อให้ประชาชนคิดวิเคราะห์ได้ด้วยตัวเอง แต่สื่อมวลชนในปัจจุบันระมัดระวังการรายงานลงรายละเอียดลักษณะนี้ เนื่องจากเกรงกลัวว่าจะเป็นการละเมิดอำนาจศาล
 
เมื่อพิจารณามาตรา 32 (1) ห้ามสื่อเปิดเผยข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งคดี เฉพาะกรณีที่ศาลมีคำสั่งห้ามเปิดเผยเท่านั้น หรือบางกรณีศาลอาจจะไม่ได้สั่งห้ามการเปิดเผยข้อเท็จจริงโดยตรง แต่สั่งให้พิจารณาคดีเป็นการลับ ในคดีที่กระทบต่อความสงบเรียบร้อย ก็ถือว่า ศาลมีคำสั่งห้ามเปิดเผยข้อเท็จจริงในคดีไปด้วย แต่สำหรับคดีความส่วนใหญ่ที่ศาลพิจารณาคดีโดยเปิดเผย การนำเสนอข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งคดีย่อมไม่เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล

 
สื่อวิจารณ์ศาลได้ โดยข้อเท็จจริงถูกต้องและเป็นธรรม
 
การวิพาษ์วิจารณ์ศาลที่จะเป็นความผิดตามมาตรา 32(2) จะต้องมีลักษณะเป็น "ข้อความหรือความเห็นโดยประสงค์จะให้มีอิทธิพลเหนือความรู้สึกของประชาชน หรือเหนือศาล หรือเหนือคู่ความ หรือเหนือพยานแห่งคดี" ถ้าหากเป็นการวิจารณ์โดยสุจริต ที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อจูงใจใครให้เปลี่ยนใจในกระบวนการพิจารณาคดี หรือเป็นข้อความที่ไม่มีลักษณะโน้มน้าว หรือไม่ได้น่าเชื่อถือจนถึงขนาดที่จะมีอิทธิพลเหนือความคิดและความรับรู้ของบุคคลอื่นได้ ก็ย่อมไม่เป็นความผิด
 
ซึ่งข้อความประเภทใดจะเข้าข่าวลักษณะ "ประสงค์จะให้มีอิทธิพล" ได้นั้น ยังเป็นเรื่องยากในการตีความ มาตรา 32(2) จึงให้ตัวอย่างไว้ 4 ประเภท และเมื่อพิจารณาตัวอย่างทั้ง 4 ประเภทก็จะพบว่า มีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน ดังนี้ ก.เป็นการใช้ข้อเท็จจริงที่ไม่จริง ข.เป็นการวิจารณ์ที่ "ไม่เป็นกลางและไม่ถูกต้อง" ค.เป็นการวิจารณ์ "โดยไม่เป็นธรรม" ง.เป็นการชักจูงให้เกิดพยานเท็จ จากตัวอย่างตามมาตรา 32(2) ทั้งสี่ประการ ก็เห็นได้ชัดว่า มาตรา 32(2) มุ่งเอาผิดการวิจารณ์โดยข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นกลาง ไม่เป็นธรรม หรือมีเจตนาร้ายต่อกระบวนการพิจารณาคดี ดังนั้น การวิพากษ์วิจารณ์โดยเจตนาสุจริต ใช้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นธรรม ย่อมไม่เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
 
 
สื่อวิจารณ์ศาลได้เต็มที่ เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว
 
การพิจารณาว่า การวิพากษ์วิจารณ์แบบใดจะผิดฐานละเมิดอำนาจศาลหรือไม่ นอกจากจะต้องพิจารณาในแง่เนื้อหาแล้วยังต้องพิจารณาในแง่กรอบเวลาด้วย เพราะมาตรา 32(2) กำหนดเอาผิดการเผยแพร่เนื้อหาที่เกิดขึ้น "ในระหว่างการพิจารณาแห่งคดีไปจนมีคําพิพากษาเป็นที่สุด" ซึ่งสาเหตุที่ต้องจำกัดการนำเสนอเนื้อหาในช่วงเวลานี้ก็เพื่อไม่ให้กระทบกระบวนการพิจารณาคดี หรือพยายามชักจูงในผู้พิพากษาให้เอนเอียงไปทางใดทางหนึ่ง แต่เมื่อคดีใดมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว การวิพากษ์วิจารณ์ทางสื่อมวลชนย่อมไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลคำพิพากษาที่เกิดขึ้นแล้วได้ มาตรา 32(2) จึงไม่ได้คุ้มครองหลังคดีถึงที่สุดไปแล้วด้วย
 
ดังนั้น หากคดีใดศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดไปแล้ว แม้ว่า สื่อมวลชนจะวิพากษ์วิจารณ์โดยใช้ข้อเท็จจริงที่คลาดเคลื่อนไป หรือมีเนื้อหามุ่งโจมตี ชักจูงใจ ให้มีอิทธิพลเหนือผู้ใดโดยไม่สุจริต ก็ไม่อาจเอาความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามมาตรา 32 มาใช้ได้ ทั้งนี้เพราะความผิดฐานนี้ มีขึ้นเพื่อคุ้มครองความสงบเรียบร้อยในระหว่างการพิจารณาคดีเท่านั้น และเป็นความผิดพิเศษที่เมื่อศาลเห็นเองก็สามารถสั่งลงโทษเองได้โดยทันที
 
อย่างไรก็ดี หากภายหลังคดีถึงที่สุดแล้วมีผู้ใดกล่าวโจมตีศาลอย่างไม่เป็นธรรม มีเจตนาไม่สุจริต ก็ยังอาจเป็นความผิดได้ฐาน "ดูหมิ่นศาล" ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 198 ซึ่งการดำเนินคดีฐานดูหมิ่นศาลจะไม่มีกระบวนการพิจารณาคดีที่พิเศษ แต่จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนเช่นเดียวกับคดีอาญาทั่วไป โดยต้องมีการตั้งข้อกล่าวหา การสอบสวน ในชั้นตำรวจ ชั้นอัยการ และส่งฟ้องคดี ซึ่งผู้ต้องหามีสิทธิปฏิเสธ มีสิทธิต่อสู้คดี และนำเสนอพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตัวเองได้เต็มที่
 
 
 
 
ชนิดบทความ: