1583 1500 1703 1468 1766 1177 1619 1362 1261 1348 1090 1742 1872 1159 1944 1874 1442 1704 1734 1089 1211 1159 1576 1883 1505 1953 1743 1089 1709 1151 1335 1178 1398 1922 1054 1632 1278 1097 1313 1692 1211 1414 1338 1568 1752 1698 1745 1864 1758 1275 1797 1078 1699 1929 1155 1831 1264 1320 1748 1649 1609 1587 1222 1497 1235 1793 1680 1107 1046 1391 1656 1569 1466 1523 1778 1714 1519 1740 1750 1721 1009 1017 1384 1067 1160 1632 1680 1737 1089 1360 1432 1253 1374 1692 1230 1109 1926 1930 1251 ศาลทหารไม่ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความเรื่องเขตอำนาจเหนือคดีพลเรือน | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ศาลทหารไม่ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความเรื่องเขตอำนาจเหนือคดีพลเรือน

ภายหลังการยึดอำนาจการปกครองของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เพียง 3 วัน  คสช. ได้ออกประกาศ คสช. ฉบับที่ 37/2557 กำหนดให้ การกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ในหมวดที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และความผิดตามคำสั่งและประกาศของคสช. ในระหว่างที่ประกาศใช้บังคับนี้อยู่ในอำนาจการพิจารณาของศาลทหาร 
 
ประกาศ คสช. ฉบับที่ 38/2557 ที่ประกาศใช้ในวันเดียวกัน  ก็กำหนดให้คดีที่ประกอบด้วยการกระทำหลายอย่างที่เกี่ยวโยงกัน แม้แต่ละอย่างจะเป็นความผิดได้ในตัวเองและไม่อยู่ในอำนาจของศาลทหารก็ให้อยู่ในอำนาจการพิจารณาของศาลทหารด้วย ประกาศคสช.ฉบับที่ 37/2557 และฉบับที่ 38/2557 จึงเป็นการให้อำนาจกับ "ศาลทหารในเวลาไม่ปกติ" เข้ามาพิจารณาพิพากษาคดีของพลเรือนแทนการทำหน้าที่ตามปกติของศาลยุติธรรม
 
ท่ามกลางการจับกุมตัวผู้ฝ่าฝืนคำสั่งและประกาศของคสช. จำนวนมากในระหว่างที่ประกาศฉบับที่ 37/2557 และ 38/2557 ใช้บังคับ ประชาชนที่ต้องสงสัยว่ากระทำความผิดจึงต้องขึ้นต่อสู้คดีเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนในศาลทหาร
 
ศาลทหารภายใต้กฎอัยการศึกนั้นไม่มีขั้นตอนการอุทธรณ์หรือฎีกา คำตัดสินของศาลทหารไม่ว่าอย่างไรถือเป็นที่สิ้นสุดทันที นอกจากนี้ยังมีความกังวลเรื่องของความเป็นอิสระและการมีส่วนได้ส่วนเสียของตุลาการ  เนื่องจากตุลาการล้วนเป็นข้าราชการทหารอยู่ภายใต้โครงสร้างของกระทรวงกลาโหมซึ่งมีสายบังคับบัญชาอย่างชัดเจน อีกทั้งขั้นตอนการพิจารณาคดีของศาลทหารหลายประการก็ยังแตกต่างไปจากศาลพลเรือน อันเป็นอุปสรรคในการต่อสู้คดีและส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน
 
142
 
จากคดีทางการเมืองที่ถูกส่งขึ้นศาลทหารอย่างน้อย 46 คดี มีจำเลยอย่างน้อย 5 คนที่ตัดสินใจยื่นคำร้องต่อศาลทหารกรุงเทพว่า ศาลทหารไม่มีอำนาจพิจารณาคดีของตน เพราะเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) ได้รับรองไว้ จึงขอให้ศาลทหารกรุงเทพส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ประกาศ คสช. ฉบับที่ 37/2557 และ ฉบับที่ 38/2557 ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 โดยเฉพาะมาตรา 4 หรือไม่ โดยคดีที่ยื่นคำร้องในลักษณะดังกล่าว มีดังนี้
 
 
จาตุรนค์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ถูกฟ้องต่อศาลในความผิดฐานไม่มารายงานตัวตามกำหนด ฝ่าฝืนประกาศ คสช. ฉบับที่ 41/2557, ฐานปลุกปั่นยั่วยุตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 และ ความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) เนื่องจากการปาฐกถาที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศมีเนื้อหาปลุกปั่น ยั่วยุให้เกิดความไม่สงบสุข และส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร
                
เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2557 จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลทหารกรุงเทพเพื่อขอให้ส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า  ประกาศ คสช. ฉบับที่ 37/2557 และ ฉบับที่ 38/2557 ขัดหรือแย้งต่อข้อความตามมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญ-
แห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 หรือไม่  อีกทั้งยื่นคำร้องว่า คดีของจำเลยไม่อยู่ในอำนาจของศาลทหาร เนื่องจากการกระทำของจำเลยเกิดขึ้นและสิ้นสุดลงก่อนการออกประกาศคสช.ทั้งสองฉบับ จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
 
                
สิรภพ กรณ์อรุษ  ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นเจ้าของนามปากกา "รุ่งศิลา" หรือ “Rungsila” ซึ่งเป็นเจ้าของเว็บบล็อกและเฟซบุ๊กที่เขียนบทความและกวีเกี่ยวกับการเมือง สิรภพถูกฟ้องต่อศาลในความผิด มาตรา 112  และความผิดฐานไม่มารายงานตัวตามกำหนด ฝ่าฝืนประกาศ คสช.ฉบับที่ 41/2557 แยกเป็นสองคดี
 
เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2557 ระหว่างการพิจารณาคดีในความผิดฐานไม่มารายงานตัวตามกำหนด จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลทหารกรุงเทพเพื่อขอให้คำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า  ประกาศ คสช. ฉบับที่ 37/2557 ขัดหรือแย้งต่อข้อความตามมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 หรือไม่
 
                
วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งคณะนิติราษฎร์ กลุ่มนักวิชาการที่รวมตัวกันเสนอแนะให้มีการแก้ไขมาตรา 112 ถูกฟ้องต่อศาลในความผิดฐานไม่มารายงานตัวตามกำหนด ฝ่าฝืนประกาศ คสช. ฉบับที่ 41/2557
 
เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2557 จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลทหารกรุงเทพเพื่อขอให้ส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า  ประกาศ คสช. ฉบับที่ 37/2557 และ ฉบับที่ 38/2557 ขัดหรือแย้งต่อข้อความตามมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญ-
แห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 หรือไม่
 
 
สมบัติ บุญงามอนงค์ (หนูหริ่ง) หรือ "บ.ก.ลายจุด" เป็นอดีตประธานกรรมการมูลนิธิกระจกเงา และเป็นเว็บมาสเตอร์ของเว็บไซต์เพื่อสังคมหลายแห่ง นอกจากนี้ยังเป็นแกนนำกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง ถูกฟ้องต่อศาลในความผิดมาตรา 116, พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(3) และความผิดฐานไม่มารายงานตัวตามกำหนด ฝ่าฝืนประกาศ คสช. ฉบับที่ 41/2557
 
เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2557  จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลทหารกรุงเทพเพื่อขอให้ส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า  ประกาศ คสช. ฉบับที่ 37/2557 และ ฉบับที่ 38/2557 ขัดหรือแย้งต่อข้อความตามมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญ-
แห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 หรือไม่
 
                
จิตรา คชเดช อดีตประธานสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ เคยเป็นแกนนำเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับคนงานที่ถูกเลิกจ้าง และเคยลงสมัครรับเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ร่วมกับพรรคพลังประชาธิปไตย ถูกฟ้องต่อศาลในความผิดฝ่าฝืนประกาศ คสช. ฉบับที่ 41/2557 ไม่มารายงานตัวตามกำหนด
 
เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2557 จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลทหารกรุงเทพเพื่อขอให้ส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า  ประกาศ คสช. ฉบับที่ 37/2557 และ ฉบับที่ 38/2557 ขัดหรือแย้งต่อข้อความตามมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญ-
แห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 หรือไม่
 
ข้ออ้างในคำร้องของจำเลย
                
จำเลยทั้งห้าคดียกเหตุผลขึ้นกล่าวอ้างคล้ายกัน ดังนี้     
 
ประเด็นที่หนึ่ง จำเลยอ้างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 4 ที่ระบุว่า 
 
"ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาค บรรดาที่ชนชาวไทยเคยได้รับการคุ้มครองตามประเพณีการปกครองของไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว ย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้" 
 
มาใช้ประกอบเหตุผลในการยื่นคำร้องต่อศาลทหารให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เนื่องจากจำเลยเห็นว่า การพิจารณาพิพากษาคดีในศาลทหารเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญได้รับรองไว้ 
                
ประเด็นที่สอง  จำเลยอ้างว่า ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 37/2557 และ ฉบับที่ 38/2557  รวมถึงพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พุทธศักราช 2498  ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557  โดยการอ้างกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง หรือ International Covenant on Civil and Political Right (ICCPR ) ที่ประเทศไทยเข้าร่วมเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2539 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2540 อันถือเป็น "พันธะกรณีระหว่างประเทศ" ตามที่ประกาศไว้ในกฎบัตรสหประชาชาติว่า 
 
ประชาชนมีสิทธิได้รับการพิจารณาอย่างเปิดเผย เป็นธรรม ด้วยคณะตุลาการที่เป็นอิสระและเป็นกลาง (มาตรา 14.1) และสามารถใช้สิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาได้ (มาตร14.5) ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 
                
การนำพลเรือนขึ้นพิจารณาในศาลทหาร ในเวลาที่ประกาศกฎอัยการศึกจึงขัดกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 4 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง หรือ ICCPR เนื่องจากศาลทหารยังอยู่ในสังกัดของกระทรวงกลาโหม ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนตุลาการ ทำให้ตุลาการไม่ได้รับการประกันความเป็นอิสระ ซึ่งขัดกับหลักการของ ICCPR มาตรา 14.1 และพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พุทธศักราช 2498 มาตรา 61 วรรคสอง ที่กำหนดว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทหารในเวลาไม่ปกติ ห้ามมีการอุทธรณ์หรือฎีกา ซึ่งเท่ากับเป็นการตัดสิทธิประชาชนที่จะอุทธรณ์ไปยังคณะตุลาการในระดับที่สูงกว่า อันขัดหลักการของ ICCPR มาตรา 14.5
 
นอกจากนี้ จำเลยยังกล่าวอ้างด้วยว่าประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 37/2557 และ ฉบับที่ 38/2557 ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2557 ไม่มีฐานะเทียบเท่ากับรัฐธรรมนูญ จึงไม่สามารถขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้  ถึงแม้รัฐธรรมนูญจะรับรองว่า ประกาศหรือคำสั่งใดๆ ของคณะรักษาความlสงบแห่งชาติให้ถือว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายก็ตาม
                
ประเด็นที่สาม แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 จะมิได้บัญญัติถึงอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญไว้ให้ชัดเจนว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลใช้บังคับในคดีขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่เมื่อพิจารณาจากประเพณีการปกครองของไทย นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540-2550 ได้มีการบัญญัติรับรองให้ศาลรัฐธรรมนูญมีเขตอำนาจวินิจฉัยดังกล่าว ดังนั้นในกรณีนี้ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีหน้าที่วินิจฉัยว่า ประกาศ คสช. ฉบับที่ 37/2557 และ ฉบับที่ 38/2557 นั้นขัดหรือแย้งต่อข้อความตามมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 หรือไม่  ศาลทหารมีอำนาจในการเข้ามาพิจารณาพิพากษาคดีบุคคลแทนการใช้ศาลยุติธรรมตามคำร้องที่ยื่นไปหรือไม่
               
ข้ออ้างในคำแถลงคัดค้านของอัยการทหาร
 
ประเด็นที่หนึ่ง ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 37/2557 และฉบับที่ 38/2557 และพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 ไม่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 เนื่องจาก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 47 บัญญัติรับรองให้ประกาศ และคำสั่งของ คสช. หรือคำสั่งของหัวหน้าคสช. มีผลใช้บังคับต่อไป และการกระทำตามประกาศหรือคำสั่งไม่ว่าก่อนหรือหลังรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ เป็นการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วยรัฐธรรมนูญและเป็นที่สุด
 
ประเด็นที่สอง ภายใต้กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองนั้น รัฐภาคีสามารถเลี่ยงพันธกรณีได้ในภาวะฉุกเฉินสาธารณะ ซึ่งรวมถึงการประกาศใช้กฎอัยการศึก โดยรัฐภาคีต้องแจ้งการเลี่ยงพันธกรณีให้รัฐภาคีอื่นทราบ โดยยื่นเรื่องผ่านสหประชาชาติ ซึ่งปรากฎว่าประเทศไทยโดยคณะผู้แทนไทยประจำองค์การสหประชาชาติแจ้งการประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2557 ให้สหประชาชาติทราบแล้ว
 
คำวินิจฉัยของศาล
                
ศาลทหารกรุงเทพอ่านคำสั่งคำร้องคดีของสิรภพ เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2558 อ่านคำสั่งคำร้องคดีของสมบัติ บุญงามอนงค์ เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2558 และอ่านคำสั่งคำร้องคดีของวรเจตน์ ภาคีรัตน์ เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2558 โดยศาลทหารกรุงเทพยกคำร้องของจำเลยทั้งสามคดี 
 
ศาลทหารกรุงเทพได้วินิจฉัยแล้วว่าตัวเองมีอำนาจพิจารณาคดีของพลเรือนโดยไม่ต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย คำสั่งทั้งสามคดีศาลให้เหตุผลไว้ในลักษณะคล้ายกัน ส่วนคดีของจาตุรนต์ ฉายแสง และจิตรา คชเดช ศาลยังไม่อ่านคำสั่งแต่เชื่อว่าจะมีการคำสั่งเป็นแนวทางเดียวกันภายในวันนัดพิจารณาคดีครั้งต่อไป
                
คำสั่งศาลทหารกรุงเทพในคดีของสมบัติ บุญงามอนงค์ พอสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
 
ประกาศฉบับที่ 37/2557 และ 38/2557 ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 เพราะ มาตรา 47 วรรคหนึ่งได้บัญญัติรับรองอำนาจดังกล่าว ว่า “บรรดาประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือคำสั่งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ได้ประกาศหรือสั่งในระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 จนถึงวันที่คณะรัฐมนตรีเข้ารับหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญนี้ ไม่ว่าประกาศ หรือสั่งให้มีผลบังคับในทางรัฐธรรมนูญ ในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ ให้ประกาศหรือคำสั่ง ตลอดจนการปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งนั้น ไม่ว่าจะกระทำก่อนหรือหลังวันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ เป็นประกาศหรือคำสั่ง หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วยรัฐธรรมนูญและเป็นที่สุด และให้ประกาศหรือคำสั่งดังกล่าวที่ยังมีผลใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะมีกฎหมาย กฎข้อบังคับมติคณะรัฐมนตรี หรือคำสั่ง แล้วแต่กรณี แก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิก”
 
ศาลทหารในเวลาไม่ปกติมีอำนาจและความชอบธรรมในการพิจารณาพิพากษาคดี พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 ได้บัญญัติว่า “ในเวลาไม่ปกติ คือ ในเวลาที่มีการรบ หรือสถานะสงคราม หรือได้ประกาศใช้กฎอัยการศึก ศาลทหารซึ่งมีอยู่แล้วในเวลาปกติ คงพิจารณาพิพากษาคดีอาญาได้ตามอำนาจ แต่ถ้าผู้มีอำนาจประกาศใช้กฎอัยการศึกได้ประกาศ หรือผู้บังคับบัญชาทหารสูงสุดได้สั่งตามกฎหมายว่าด้วยกฎอัยการศึกให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาคดีอาญาใดๆ อีกก็ให้ศาลทหารพิจารณาพิพากษาคดีอาญาตามประกาศหรือคำสั่งนั้นได้ด้วย" ดังนั้น การที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร เป็นผลให้ศาลทหารที่มีอยู่แต่เดิม มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ตลอดจนผลคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลทหารในเวลาไม่ปกติ จึงเป็นไปตามหลักกฎหมายโดยชอบ
 
ตุลาการศาลทหารมีความเป็นอิสระ แม้ศาลทหารจะอยู่ในสังกัดกระทรวงกลาโหม แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมก็เป็นเพียงผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในงานทางธุรการของศาลทหารเท่านั้น ส่วนการพิจารณาคดี ตลอดถึงการที่จะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาบังคับคดีนั้น เป็นดุลยพินิจของศาลทหารโดยเฉพาะ โดยตุลาการมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีในปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ให้เป็นไปด้วยความยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
 
ศาลทหารไม่มีอำนาจส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย รัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) ได้บัญญัติหลักเกณฑฺ์การส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาว่า กฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ โดยบัญญัติเฉพาะที่เกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลฎีกาหรือศาลปกครองสูงสุดเท่านั้น ที่จะขอให้ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดก็ได้ แต่ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีมติประชุมใหญ่ศาลฎีกา หรือที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดเท่านั้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติที่เกี่ยวกับศาลทหารดังกล่าว ศาลทหารกรุงเทพจึงไม่อาจส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดได้
 
 
ชนิดบทความ: