1061 1063 1045 1057 1024 1093 1966 1376 1234 1703 1683 1724 1512 1673 1064 1168 1509 1001 1359 1485 1123 1562 1182 1193 1561 1569 1173 1148 1807 1558 1985 1997 1958 1047 1056 1701 1112 1268 1200 1712 1358 1005 1574 1217 1975 1251 1501 1452 1245 1777 1033 1482 1740 1441 1212 1703 1433 1102 1862 1388 1094 1795 1888 1054 1747 1434 1308 1927 1667 1990 1520 1450 1400 1961 1873 1096 1989 1563 1137 1008 1448 1665 1359 1806 1959 1905 1487 1432 1908 1148 1742 1747 1135 1606 1927 1157 1057 1131 1413 จากอียิปต์ สู่มาเลเซีย มาถึงไทย สารพัดเสียงหัวเราะ เขย่าอำนาจเผด็จการ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

จากอียิปต์ สู่มาเลเซีย มาถึงไทย สารพัดเสียงหัวเราะ เขย่าอำนาจเผด็จการ

 

เผยแพร่ครั้งแรกที่ The MOMENTUM

 

ลองจินตนาการดูว่า ถ้าคุณกำลังพูดบางอย่างที่จริงจัง แต่คนฟังกลับยืนหัวเราะอย่างสนุกสนาน คุณจะรู้สึกอย่างไร?

ไม่ได้รับการยอมรับ?

ไม่ให้เกียรติ?

แน่นอนว่า คุณจะดูเป็นคนเสียมารยาทในทันทีที่ทำแบบนั้น

 

แต่ในสังคมที่มีเรื่องจำนวนหนึ่งพูดออกมาไม่ได้ เสียงหัวเราะกลับกลายเป็นเครื่องมือเสียดสีสังคม บอกเล่าความขมปร่าของความไม่เป็นธรรม และความยากลำบากที่ผู้คนต้องเผชิญอยู่ทุกวัน
 

พูดแบบนี้ไม่ได้หมายความว่า วันดีคืนดี คนที่ไม่เห็นด้วยกับผู้มีอำนาจจะไปยืนหัวเราะร่าใส่หน้า “ท่านผู้นำ” ระหว่างที่กำลังปราศรัยได้ง่ายๆ แต่การสร้างเสียงหัวเราะสามารถทำผ่านเครื่องมือต่างๆ ได้ เช่น มีม การ์ตูน หรือกราฟิตี เป็นต้น
 

เสียงหัวเราะจุดกระแสอาหรับสปริง

 

หลายประเทศในตะวันออกกลาง การ์ตูนถือเป็นเครื่องมือทรงพลังในการโค่นล้มอำนาจฉ้อฉล ว่ากันว่า นับแต่ปี 2010 เป็นต้นมา เหล่านักเขียนการ์ตูนมีส่วนช่วยจุดกระแสอาหรับสปริง หรือ กระแสการเรียงร้องประชาธิปไตยของหลายประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ

 

เริ่มที่อียิปต์ การวาดการ์ตูนเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ประท้วงผู้นำ แม้ก่อนหน้านี้ ในช่วง 30 ปีของการปกครองของ ฮอสนี มูบารัค สื่ออียิปต์มักจะหลีกเลี่ยงการล้อเลียนผู้นำมาตลอด แต่หลังปี 2010 เป็นต้นมา นักวาดการ์ตูนคือกลุ่มสำคัญในการปฏิวัติขับไล่ผู้นำที่ครองตำแหน่งมายาวนาน ตั้งแต่ยุคของประธานาธิบดี ฮอสนี มูบารัค จนถึง ประธานาธิบดี มูฮัมหมัด มอร์ซี และแม้ว่ากฎหมายของอียิปต์จะกำหนดโทษอาญาของคดีหมิ่นประมาทประธานาธิบดีไว้ แต่นักวาดการ์ตูนต่างวาดภาพล้อเลียนมอร์ซีอย่างไม่หวั่นเกรง

 

898 Hanging the People Out to Dry by Doaa El-Adl

 

โดอา เอล อัดล กล่าวว่า ภาพวาดสามารถเข้าถึงผู้คนได้เร็วกว่า สื่อสารตรงไปตรงมาและกระจายไปยังวงกว้างมากกว่า

 

ที่ซีเรีย อาลี ฟาร์ซัต นักวาดการ์ตูนชาวซีเรีย กล่าวว่า ในบรรดาศิลปะทั้งหมด การ์ตูนยืนบนแนวหน้าการต่อต้านเผด็จการ ก่อนหน้านี้เขาเคยทำงานในสำนักพิมพ์ของรัฐ เวลาวาดภาพ เขามักเลือกประเด็นอย่างการคอร์รัปชั่นและสิทธิสตรี โดยยังไม่ได้ใช้ภาพบุคคลที่เป็นที่รู้จัก ต่อมาในปี 2011 ก่อนสงครามการเมืองจะเริ่มปะทุ จึงเปลี่ยนรูปแบบ มาใช้การ์ตูนบุคคลเป็นตัวแทนการวิพากษ์วิจารณ์ระบอบการปกครองที่โหดร้ายของซีเรีย

 

897

 

ฟาร์ซัตถือเป็นบุคคลแรกที่วิจารณ์บุคคลที่ล่วงละเมิดไม่ได้อย่างประธานาธิบดีอัสซาดและพวกพ้อง อาจเรียกได้ว่า การ์ตูนของเขาช่วยทลายกำแพงแห่งความหวาดกลัว
 

ผลงานของฟาร์ซัตที่โดดเด่นเข้าตาเผด็จการ คือ ภาพล้อเลียนอัสซาดกำลังโบกรถของมูอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำลิเบีย ภาพที่เขาวาดกลายเป็นตัวก่อคลื่นความไม่สงบบางอย่างในใจของผู้นำซีเรีย เขาจึงโชคร้าย เจอมาตรการสวนกลับ ในปี 2011 ฟาร์ซัต ถูกเจ้าหน้าที่ความมั่นคงซ้อมพร้อมบอกว่า นี่แค่เตือน ก่อนจะทิ้งร่างโชกเลือดของเขาไว้กลางกรุงดามัสดัส ท้ายที่สุดเขาต้องลี้ภัยไปอยู่คูเวต
 

 

หัวเราะบ่อยๆ เสรีภาพอายุยืน สวนทางระบอบอำนาจนิยม

 

การต่อสู้ผ่านเสียงหัวเราะมีให้เห็นในประเทศเพื่อนบ้านของเราด้วย เช่นที่ มาเลเซีย ซูคิฟลิ อัลวาร์ อุลาฮัค หรือ ซูนาร์ หนึ่งในนักวาดที่ใช้การ์ตูนของเขาฉายภาพความไม่ถูกต้องบางอย่างและสะท้อนความสงสัยของชาวมาเลเซียจำนวนมากที่มีต่อผู้นำของพวกเขา ไม่ว่าจะเรื่องการคอร์รัปชั่นขนานใหญ่ของ นาจิบ ราซัค อดีตนายกรัฐมนตรีที่มีข้อครหาว่าโอนเงินจากกองทุน 1MDB เข้าบัญชีส่วนตัวของตนเอง การใช้ชีวิตอย่างหรูหราของ รอสมะห์ มันโซร ภรรยาของนาจิบ และการฆาตกรรม อัลตันทูยา ชารีบู หญิงชาวมองโกเลียที่มีสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้ช่วยคนสนิทของ นาจิบ ราซัค

902

 

หรืองานของฟาฮ์มี เรซาร์ กราฟิกดีไซน์เนอร์ เจ้าของภาพวาดหน้าตัวตลกนาจิบ ที่กลายเป็นกราฟิกที่ประชาชนใช้ต่อต้านนาจิบ ราซัคอย่างแพร่หลาย เขามีความหวังว่า งานของเขาจะเป็นรากฐานสำหรับคนรุ่นต่อไปในการผลักดันไปสู่ความเปลี่ยนแปลง

 

และเขาก็ไม่ต้องรอนานเกินไป เมื่อผลการเลือกตั้งในวันที่ 9 พฤษภาคม 2561 เป็นคำตอบว่า ชาวมาเลเซียจำนวนมากไม่พอใจในรัฐบาลของนาจิบและต้องการความเปลี่ยนแปลงมากเพียงใด โดยพรรคบีเอ็น (Barisan Nasional-BN) พ่ายแพ้การเลือกตั้งต่อแนวร่วมพรรคฝ่ายค้านเป็นครั้งแรกนับแต่มาเลเซียได้รับเอกราช

 

903


แม้จะมีส่วนในการเปลี่ยนดุลอำนาจทางการเมือง แต่ชะตากรรมของนักสร้างเสียงหัวเราะสัญชาติมาเลเซียไม่ได้แตกต่างไปจากชาติอื่นมากนัก ในปี 2559 ซูนาร์ถูกกล่าวหาว่าการ์ตูนของเขาเข้าข่ายยุยงปลุกปั่น และถูกกล่าวหาว่าหมิ่นประมาทนาจิบ ราซัค


ผลจากการกล่าวหาครั้งนี้ ทำให้เขาถูกห้ามเดินทางออกนอกประเทศ ปีเดียวกัน เรซาร์ถูกจับกุมฐานละเมิดพ.ร.บ.การสื่อสารและมัลติมีเดีย 2541 เพราะโพสต์ภาพนาจิบ ราซัค ในลักษณะตัวตลก ต่อมา เดือนกุมภาพันธ์ 2561 ศาลตัดสินว่าเขามีความผิดและสั่งจำคุกเป็นเวลาหนึ่งเดือนและปรับเป็นเงิน 30,000 ริงกิต
 

 
เผด็จการ(ไทย)ก็ไม่ปราณีเสียงหัวเราะ

 

“เรารักพลเอกประยุทธ์” คือ ชื่อเพจเฟซบุ๊กที่เป็นภาพกราฟิกและมีมขำขันเกี่ยวกับ คสช. ซึ่งเกิดขึ้นมาช่วงหลังรัฐประหารปี 2014 ความสร้างสรรค์ทั้งภาพและข้อความเสียดสีตามสถานการณ์ที่แฟนเพจหรือใครผ่านมาเห็น ก็ต้องปาหัวใจหรือกดไลก์ให้อยู่ตลอด เช่น ภาพพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. กำลังยิ้มแย้มและข้อความประกอบว่า “รำไม่ดี โทษรัฐบาลที่แล้ว”

 

900

 

ต่อมาในเดือนเมษายน 2016 แปดแอดมินผู้สร้างเสียงหัวเราะของเพจนี้ถูกจับกุมเข้าค่ายมทบ.11 เป็นเวลาหนึ่งคืน ก่อนจะถูกแจ้งความดำเนินคดียุยงปลุกปั่นตามมาตรา 116 ของประมวลกฎหมายอาญาและพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ นอกจากนี้ ณัฏฐิกาและหฤษฎ์ 2 ใน 8 แอดมินยังถูกกล่าวหาเพิ่มเติมในคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ตามมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา ทั้งหมดถูกดำเนินคดีในศาลทหาร

 

901

 

ผ่านไปราวสองปี คดีความของทั้งแปดแอดมินยังอยู่ในขั้นสืบพยานโจทก์ที่ศาลทหาร ทั้งความกดดันยังส่งผลให้ณัฏฐิกา แอดมินหญิงหนึ่งเดียวของเพจนี้ลี้ภัยไปอยู่ที่สหรัฐอเมริกา เธอเล่าถึงเหตุผลของการทำเพจแรกเริ่ม คือ หลังรัฐประหาร ประชาชนเคลื่อนไหวหรือใช้เสรีภาพไม่ได้ จึงสร้างเพจเฟซบุ๊กนี้โดยใช้ความตลกขบขันเข้าผลักดันเนื้อหา


แม้เพจจะนำภาพของพลเอกประยุทธ์และคนรอบข้างมาดัดแปลง ทำมีมสร้างเสียงหัวเราะ แต่เธอยืนยันว่า ข้อความในมีมล้อ ก็บอกเล่าจากข้อเท็จจริง เช่นเรื่องที่ว่า ทหารเข้ามายึดอำนาจ ซึ่งเป็นความจริงที่พิสูจน์ได้ เพียงแต่ไม่ใช่ทุกคนที่อยากฟังหรือเห็นข้อเท็จจริงดังกล่าว

 

อีกเสียงหัวเราะหนึ่ง คือ เพจ Headache Stencil ที่มีการโพสต์ภาพกราฟิตีหรือสติกเกอร์ตามที่สาธารณะต่างๆ แต่ละภาพมีเนื้อหาเกี่ยวกับ คสช. และความไม่ชอบธรรมบางอย่างในสังคมไทย ผลงานชิ้นโด่งดังของเขา คือ กราฟิตีนาฬิกาปลุกหน้าพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ที่สะพานลอยย่านซอยสุขุมวิท 39 ซึ่งทำให้เขาถูกติดตามจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงจนตลอด 24 ชั่วโมง จนต้องหลบออกจากที่พักไปอาศัยอยู่ที่จังหวัดอื่นชั่วคราว หลังจากนั้น ภาพดังกล่าวก็ถูกลบออกโดยใช้สีขาวทากลบทับ ท้ายที่สุด เขาและเพื่อนเข้าพบตำรวจสน.พระโขนง และยินยอมเสียค่าปรับจำนวน 3,000 บาทจากการพ่นกราฟิตี้ในที่สาธารณะ

 

895 ขอบคุณภาพจากเพจ Headache Stencil

นอกจากกราฟิตีนาฬิกาปลุกแล้ว เขายังเป็นเจ้าของภาพกราฟิตี้ที่เกี่ยวข้องกับคสช. เช่น ตุ๊กตาหมีสีฟ้า ใบหน้าคล้ายกับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มีข้อความเขียนที่หน้าท้องว่า Return of Happiness (คืนความสุข) ภาพพลเอกประยุทธ์ถือกระป๋องสีเขียนว่า เลข 44 และเขียนข้อความประกอบโพสต์ว่า I’m always right! (ฉันถูกเสมอ) ภาพสติกเกอร์ตุ๊กตาหมีหน้าคล้ายพลเอกประยุทธ์ที่ถูกแปะตามที่สาธารณะทั่วไป และกราฟิตีเสือดำ
 

894 ขอบคุณภาพจากเพจ Headache Stencil

 

อาจต้องบอกว่า เสียงหัวเราะมีพลังที่ช่วยทำลายกำแพงความกลัวของผู้คน และอาจมีผลสั่นคลอนอำนาจเผด็จการที่กดทับสังคมอยู่ได้ แต่จากหลายๆ กรณีในหลายประเทศทำให้เห็นว่า หากสังคมไม่แข็งแรงพอ ผู้สร้างเสียงหัวเราะเหล่านั้นก็มักมีชะตากรรมที่ต้องแบกรับเสี่ยงไว้ตามลำพัง
 
เรียบเรียงจาก:
http://www.dw.com/en/malaysian-cartoonist-zunar-arrested-at-literary-fes...
https://www.economist.com/international/2013/08/30/laugh-them-out-of-power
https://www.theguardian.com/world/2011/aug/25/syria-cartoonist-ali-ferza...
https://www.maltatoday.com.mt/arts/art/71815/watch_the_cartoonist_who_br...
https://www.theguardian.com/world/2011/aug/25/syria-cartoonist-ali-ferza...
https://www.newyorker.com/news/news-desk/a-year-of-drawing-morsi