1263 1492 1179 1095 1453 1867 1712 1632 1388 1452 1271 1160 1115 1553 1359 1364 1332 1750 1059 1887 1926 1352 1074 1257 1381 1594 1300 1915 1742 1213 1436 1723 1432 1280 1318 1004 1921 1881 1340 1457 1848 1373 1806 1564 1756 1648 1353 1960 1844 1277 1406 1406 1637 1321 1425 1699 1829 1421 1360 1182 1762 1307 1202 1901 1507 1208 1459 1240 1902 1073 1339 1599 1844 1803 1004 1319 1817 1882 1894 1064 1961 1313 1888 1516 1113 1115 1362 1620 1734 1410 1408 1504 1356 1243 1167 1649 1582 1547 1514 สรุปประเด็นตามคำฟ้อง และบรรทัดฐานการแบนหนังที่ได้จากคดี Insects in the Backyard | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

สรุปประเด็นตามคำฟ้อง และบรรทัดฐานการแบนหนังที่ได้จากคดี Insects in the Backyard

วันที่ 23 พฤศจิกายน 2553 ธัญญ์วาริน สุขพิสิษฐ์ ยื่นคำขออนุญาตฉายภาพยนตร์เรื่อง Insects in the Backyard และคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (คณะกรรมการเซ็นเซอร์) ลงมติออกคำสั่งไม่อนุญาต เนื่องจากมีเนื้อหาขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน ธัญญ์วารินจึงยื่นอุทธรณ์ ต่อมาวันที่ 22 ธันวาคม 2553 คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ (บอร์ดชาติ) ซึ่งมีนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ประชุมและลงมติไม่อนุญาต 13 เสียง อนุญาต 4 เสียง และงดออกเสียง 3 เสียง 
วันที่ 28 มีนาคม 2554 ธัญญ์วาริน จึงยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองขอให้เพิกถอนคำสั่งดังล่าว โดยอ้างเหตุผลทางกฎหมายและข้อเท็จจริงหลายประการ
 
สรุปประเด็นตามคำฟ้อง ที่ธัญญ์วาริน สุขพิสิษฐ์ ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง 
1. ก่อนออกคำสั่งห้ามฉาย ไม่ได้เปิดโอกาสให้คนสร้างภาพยนตร์เข้าชี้แจงแสดงเหตุผลก่อน ว่าภาพยนตร์มีเจตนาสื่อสารอะไร และไม่ควรถูกห้ามฉายเพราะเหตุใด จึงเป็นการออกคำสั่งที่ขัดต่อพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง มาตรา 30 วรรคหนึ่ง ทั้งที่ธัญญ์วาริน และทีมงานก็เดินทางไปเฝ้ารอการพิจารณาอยู่หน้าห้องพิจารณาตลอดทั้งวัน เพื่อขออนุญาตเข้าชี้แจง
 
2. กรรมการบางคนที่ร่วมพิจารณาบางท่านไม่ได้ดูภาพยนตร์เรื่อง Insects in the Backyard ก่อนเข้าร่วมประชุมและลงมติสั่งห้ามฉาย ซึ่งเมื่อกรรมการไม่ได้รับทราบข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญของการพิจารณาก่อนลงมติ ทำให้เป็นการทำคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
 
3. ก่อนการสั่งห้ามฉาย ไม่มีการแจ้งให้แก้ไขตัดทอนส่วนที่เป็นปัญหาก่อน ทั้งที่ตามประกาศคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์ในการตรวจพิจารณาภาพยนตร์และสื่อโฆษณา พ.ศ. 2552 ข้อ 8. ได้กำหนดไว้แล้วว่าก่อนสั่งห้ามฉายภาพยนตร์ต้องเสนอให้แก้ไขตัดทอนก่อน ถ้าผู้สร้างไม่ยินยอมแก้ไขตัดทอนจึงจะสั่งห้ามฉายได้ 
 
4. คำสั่งห้ามฉายภาพยนตร์เรื่อง Insects in the Backyard ไม่ได้ระบุเหตุผลในการออกคำสั่งให้ชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้ เหตุผลประกอบคำสั่งระบุเพียงว่า "ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน" แต่ไม่ได้ระบุว่าฉากใด หรือส่วนใดของภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาขัดต่อศีลธรรมอันดี และเนื้อหาเหล่านั้นขัดต่อศีลธรรมอันดีอย่างไร
 
5. ภาพยนตร์เรื่อง Insects in the Backyard ไม่มีเนื้อหาที่กระทบกระเทือนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือ เหยียดหยามหรือนำความเสื่อมเสียมาสู่ศาสนา หรือก่อให้เกิดการแตกความสามัคคีระหว่างคนในชาติ หรือกระทบกระเทือนต่อสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ หรือสาระสำคัญของเรื่องเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ หรือมีเนื้อหาของเรื่องแสดงการมีเพศสัมพันธ์ที่เห็นอวัยวะเพศ แม้จะมีฉากที่แสดงการมีเพศสัมพันธ์ที่เห็นอวัยวะเพศอยู่ประมาณ 3 วินาที แต่ฉากดังกล่าวเป็นเพียงภาพในโทรทัศน์ที่อยู่ในความฝันของตัวละคร มีวัตถุประสงค์เพื่อเล่าเรื่องปมปัญหาภายในใจของตัวละคร ไม่มีเจตนายั่วยุกามารมณ์ จึงไม่เข้าลักษณะภาพยนตร์ที่จัดอยู่ในประเภทห้ามฉายตามกฎกระทรวง เรื่อง กำหนดลักษณะของประเภทภาพยนตร์ พ.ศ.2552
 
7. คำสั่งห้ามฉายภาพยนตร์เรื่อง Insects in the Backyard ให้เหตุผลคลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริง เพราะภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ได้มีเนื้อหาขัดต่อศีลธรรมอันดี กรรมการที่พิจารณาไม่เข้าใจธรรมชาติของภาพยนตร์และใช้วิธีพิจารณาโดยแยกส่วนฉากแต่ละฉากออกจากกัน ภาพยนตร์เรื่องนี้มีเนื้อเรื่องโดยรวมสื่อถึงปัญหาการไม่ยอมรับความหลากหลายทางเพศที่มีอยู่จริงในสังคม จนก่อให้เกิดปัญหาภายในครอบครัว และหากพิจารณาถึงจำนวนฉากที่มีภาพเกี่ยวกับการร่วมเพศกันแล้ว จะมีเพียง 4-5 ฉาก และแต่ละฉากก็ใช้เวลาไม่กี่วินาทีเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนายั่วยุกามารมณ์ และไม่ได้ขัดต่อศีลธรรมอันดีแต่อย่างใด
 
ติดตามรายละเอียดคดีเพิ่มเติมได้ที่ http://freedom.ilaw.or.th/th/case/140
 
366
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ประเด็นข้อกฎหมายที่น่าสนใจในคดี
 
คดีนี้ธัญญ์วารินฟ้องว่า ภาพยนตร์เรื่อง Insects in the Backyard ไม่มีลักษณะที่จะถูกจัดให้เป็นประเภทห้ามฉายตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง และกรณีนี้ไม่มีการเสนอให้แก้ไขตัดทอนเนื้อหาที่เป็นปัญหาก่อน แต่คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ต่อสู้ว่า กรณีที่จะต้องเสนอให้ตัดทอนก่อน นั้นจะต้องเป็นกรณีที่สั่งให้ภาพยนตร์เป็นประเภท "ห้ามฉาย" ซึ่งเป็นอำนาจตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ มาตรา 26 (7) แต่กรณีของภาพยนตร์เรื่อง Insects in the Backyard นั้นไม่ใช่ภาพยนตร์ประเภทห้ามฉาย แต่ถูกสั่ง "ไม่อนุญาตให้ฉาย" ซึ่งเป็นอำนาจตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ มาตรา 29 และการใช้อำนาจตามมาตรา 29 นี้ไม่ต้องมีขั้นตอนการเสนอให้ตัดทอนก่อน และไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในกฎกระทรวงด้วย 
 
ทางธัญญ์วาริน ผู้ฟ้องคดีต่อสู้ว่า การสั่ง "ไม่อนุญาตให้ฉาย" ตามมาตรา 29 หรือการสั่งให้ภาพยนตร์เป็นประเภท "ห้ามฉาย" ตามมาตรา 26 (7) นั้นเป็นคำสั่งเดียวกัน ที่มีผลทางกฎหมายเหมือนกัน คณะกรรมการไม่อาจแยกได้ว่าจะใช้อำนาจตามมาตรา 29 เพื่อหลบเลี่ยงหลักเกณฑ์ในกฎกระทรวงและหลบเลี่ยงขั้นตอนการเสนอให้ตัดทอนก่อน
 
เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2558 ตุลาการผู้แถลงคดีได้แสดงความเห็นไว้แล้วว่า การสั่ง "ไม่อนุญาตให้ฉาย" ตามมาตรา 29 หรือการสั่งให้ภาพยนตร์เป็นประเภท "ห้ามฉาย" ตามมาตรา 26 (7) นั้นเป็นคำสั่งเดียวกัน และไม่ว่าจะสั่งตามมาตราใด ก็ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในกฎกระทรวง และต้องเสนอให้แก้ไขตัดทอนก่อนออกคำสั่งเสมอ
 
หากศาลปกครองวินิจฉัยในประเด็นนี้เป็นอย่างไร ก็จะวางบรรทัดฐานการตีความพ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ และวิธีการใช้อำนาจออกคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ต่อไป
 
 
คดี Insects in the Backyard วางบรรทัดฐานใหม่ การห้ามฉายภาพยนตร์
 
คดี Insects in the Backyard เป็นครั้งแรกที่ปัญหาเรื่องการพิจารณาภาพยนตร์ ตามพ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2550 ได้ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลปกครอง ซึ่งไม่ว่าผลการตัดสินจะออกมาเป็นอย่างไร ก็จะทำให้หน่วยงานรัฐระมัดระวังมากขึ้นในการใช้อำนาจออกคำสั่งห้ามฉายภาพยนตร์ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
 
1. คณะกรรมการฯ ให้เหตุผลละเอียดชัดเจนมากขึ้น
การไม่อนุญาตฉายภาพยนตร์เรื่อง Insects in the Backyard คณะกรรมการฯ ให้เหตุผลเพียงว่ามีเนื้อหา ขัดต่อศีลธรรมอันดี ซึ่งเป็นประเด็นที่ธัญญ์วารินยื่นฟ้องคดี โดยระบุว่าการให้เหตุผลเช่นนี้ไม่เพียงพอที่จะให้เข้าใจได้ ทำให้คำสั่งนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หลังจากการยื่นฟ้องคดีนี้ เห็นได้ว่าเมื่อคณะกรรมการฯ จะสั่งไม่อนุญาตให้ฉายภาพยนตร์อีก ก็จะระบุเหตุผลโดยละเอียดชัดเจนและเข้าใจได้มากขึ้น เช่น กรณีภาพยนตร์เรื่องฟ้าต่ำแผ่นดินสูง คณะกรรมการฯ ระบุถึงฉากที่คิดว่ามีปัญหาถึง 9 ฉากลงรายละเอียดเป็นวินาที และอธิบายเหตุผลประกอบการวินิจฉัยไว้ยาวเกือบ  1 หน้า
 
2. คณะกรรมการฯ ให้โอกาสเข้าชี้แจงข้อเท็จจริงและแก้ไขตัดทอนก่อน
การไม่อนุญาตฉายภาพยนตร์เรื่อง Insects in the Backyard คณะกรรมการฯ ไม่ได้เปิดโอกาสให้ ธัญญ์วาริน และผู้สร้างเข้าพูดคุยแสดงเหตุผลก่อนการออกคำสั่ง ซึ่งเป็นประเด็นที่ธัญญ์วารินยื่นฟ้องคดี หลังจากการยื่นฟ้องคดีนี้ เห็นได้ว่าเมื่อคณะกรรมการฯ จะสั่งไม่อนุญาตให้ฉายภาพยนตร์อีก ก็จะเชิญผู้สร้างภาพยนตร์มาพูดคุยให้โอกาสโต้แย้งอย่างเต็มที่ก่อนทุกครั้ง เช่น กรณีภาพยนตร์เรื่องเช็คสเปียร์ต้องตาย และกรณีภาพยนตร์เรื่องฟ้าต่ำแผ่นดินสูง เป็นต้น
 
3. คณะกรรมการฯ อ้างอิงอำนาจตามกฎกระทรวงได้ถูกต้องมากขึ้น
การไม่อนุญาตฉายภาพยนตร์เรื่อง Insects in the Backyard คณะกรรมการฯ ให้เหตุผลว่ามีเนื้อหาขัดต่อศีลธรรมอันดี ซึ่งเป็นเหตุผลตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 29 ของพ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ขณะที่ธัญญ์วารินยื่นฟ้องคดีว่า การสั่งห้ามฉายภาพยนตร์จะอาศัยเพียงหลักเกณฑ์ในมาตรา 29 ไม่ได้ แต่ต้องอาศัยหลักเกณฑ์ในกฎกระทรวงด้วย  ถ้าไม่ได้อ้างอิงถึงหลักเกณฑ์ในกฎกระทรวงก็ถือว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย หลังจากการยื่นฟ้องคดีนี้ เห็นได้ว่าเมื่อคณะกรรมการฯ จะสั่งไม่อนุญาตให้ฉายภาพยนตร์อีก ก็จะให้เหตุผลอย่างละเอียดรอบคอบมากขึ้นโดยอ้างอิงหลักเกณฑ์ตามกฎกระทรวงให้ชัดเจน  เช่น กรณีภาพยนตร์เรื่องเช็คสเปียร์ต้องตาย คณะกรรมการให้เหตุผลว่าเพราะมีเนื้อหาที่อาจก่อให้เกิดการแตกความสามัคคีระหว่างคนในชาติ และกรณีภาพยนตร์เรื่องฟ้าต่ำแผ่นดินสูง คณะกรรมการให้เหตุผลว่า มีเนื้อหาก่อให้เกิดความแตกสามัคคีระหว่างคนในชาติ และมีเนื้อหาที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นถ้อยคำตามที่ระบุไว้ในกฎกระทรวง