1996 1476 1183 1251 1075 1522 1331 1183 1148 1320 1407 1440 1646 1519 1405 1877 1603 1840 1887 1120 1853 1834 1114 1755 1137 1222 1681 1740 1381 1679 1785 1186 1908 1173 1117 1758 1938 1154 1608 1314 1985 1290 1200 1993 1288 1367 1226 1461 1580 1930 1930 1669 1278 1919 1732 1632 1769 1382 1952 1550 1046 1313 1470 1407 1410 1748 1023 1206 1238 1188 1357 1686 1742 1095 1443 1934 1561 1762 1022 1080 1506 1772 1244 1832 1102 1452 1840 1586 1206 1275 1326 1138 1456 1918 1070 1910 1826 1106 1659 สถิติการปิดกั้นเว็บไซต์ในประเทศไทย นับตั้งแต่ปี 2556-2557 | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

สถิติการปิดกั้นเว็บไซต์ในประเทศไทย นับตั้งแต่ปี 2556-2557

สถิติการระงับการเผยแพร่เนื้อหาและการสั่งปิดเว็บไซต์ โดยอาศัยอำนาจตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 (พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ) ที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลผ่านฐานข้อมูลคดีออนไลน์ของศาลอาญา ปรากฏว่า ในช่วงเดือนมกราคม 2556 จนถึงเดือนธันวาคม 2557 ศาลอาญามีคำสั่งระงับการเผยแพร่เนื้อหาทั้งสิ้น 123 ฉบับ รวมจำนวน 9,328 URL  

คำสั่งของศาลอาญานี้ เป็นการออกคำสั่งภายใต้มาตรา 20 ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ซึ่งเกิดจากการร้องขอของเจ้าพนักงานตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ที่มีหน้าที่โดยตรง โดยผ่านความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสารสนเทศและการสื่อสา (กระทรวงICT) มาแล้ว เมื่อพนักงานมายื่นคำร้องขอปิดกั้นเว็บไซต์ หรือ "ระงับการทำให้แพร่หลาย" ศาลก็มีอำนาจออกคำสั่งดังกล่าวได้ และหลังออกคำสั่งแล้วคำสั่งของศาลจะถูกบันทึกไว้ในฐานข้อมูลสำหรับการค้นคว้า

 

เนื้อหา 2556 2557 รวม
จำนวน
หมาย
จำนวนURL จำนวนหมาย จำนวนURL จำนวนหมาย จำนวนURL
หมิ่นสถาบันกษัตริย์ฯ 44 4,691 48 3,035 92 7,726
ลามกอนาจาร 6 156 12 1,391 18 1.547
ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร 1 8 1 1 2 9
ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน 5 29 1 1 6 30
หมิ่นประมาททั่วไป 1 16 - - 1 16
ระบุไม่ได้ - - 4 - 4 -
รวม 57 4,900 66 4,428 123 9,328

 

จากข้อมูลตามตาราง จะพบว่าเนื้อหาที่ถูกปิดกั้นการเข้าถึงเป็นอันดับหนึ่งคือ เนื้อหาและภาพซึ่งมีลักษณะดูหมิ่น หมิ่นประมาท พระมหากษัตริย์ ราชินี และรัชทายาท จำนวน 92 ฉบับ รวม 7,726 ยูอาร์แอล (URL) คิดเป็นร้อยละ 82.83 ของจำนวนยูอาร์แอลทั้งหมด อันดับที่สองคือ เนื้อหาและภาพซึ่งมีลักษณะลามกอนาจาร จำนวน 18 ฉบับ รวม 1,547 ยูอาร์แอล คิดเป็นร้อยละ 16.58 ของจำนวนยูอาร์แอลทั้งหมด และอับดับที่สามคือ เนื้อหาและภาพที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จำนวน 6 ฉบับ รวม 30 ยูอาร์แอล คิดเป็นร้อยละ 0.32 ของจำนวนยูอาร์แอลทั้งหมด ส่วนเนื้อหาที่เป็นการหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดามีการขคำสั่งศาลให้ปิดกั้นเป็นตำนวนน้อยมาก เมื่อเทียบกับทั้งหมด
 
โดยขณะเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติการระงับการเผยแพร่เนื้อหา และการปิดกั้นเว็บไซต์ พบว่า ผู้นำเรื่องเข้าฟ้องร้องต่อศาลทั้งหมดคือ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) นอกจากนั้นยังพบปัญหาว่า ฐานข้อมูลคดีออนไลน์ของศาลอาญาเข้าถึงไม่ได้ (เว็บล่ม) อยู่บ่อยครั้ง และพบข้อมูลการออกคำสั่ง 4 ฉบับ ที่ในฐานข้อมูลของศาลอาญามีเนื้อหาในคำฟ้องและคำสั่งศาลไม่ตรงกัน เช่น ในส่วนคำฟ้องระบุว่าเป็นการฟ้องว่า “ดูหมิ่นสถาบันกษัตริย์” แต่ในคำสั่งของศาลกลับระบุว่า พิจารณาแล้วมีความผิดในฐานนำเข้าเนื้อหา “ลามกอนาจาร” และบางกรณีก็ระบุจำนวนยูอาร์แอลในคำฟ้องและคำสั่งศาลไม่ตรงกัน จึงส่งผลต่อความถูกต้องแน่นอนของข้อมูล 
 
 
 
ชนิดบทความ: