ป้ายผ้าปัตตานี

ผู้ต้องหา

ไม่เปิดเผย

สถานะคดี

ชั้นศาลชั้นต้น

คดีเริ่มในปี

2554

โจทก์ / ผู้กล่าวหา

พนักงานอัยการจังหวัดปัตตานี เป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดี

สารบัญ

จำเลยถูกกล่าวหาว่า ในวันที่ 12 สิงหาคม 2552 ร่วมกับพวกอีกหลายคนที่ยังไม่รู้ตัว นำแผ่นป้ายผ้า 2 ผืนซึ่งมีข้อความเกี่ยวกับเหตุการณ์ความรุนแรงต่างๆ ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเหตุการณ์ความขัดแย้งอื่นๆ ในประเทศไปปิดไว้บนสะพานลอยคนข้ามถนน พร้อมกับพระบรมฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ซึ่งเป็นการใส่ความพระราชินีต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่ทำให้พระราชินีเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง

ภูมิหลังผู้ต้องหา

จำเลยในคดีนี้เป็นชาวจังหวัดปัตตานี เป็นชาวไทยเชื้อสายมลายู มีอาชีพรับจ้างทั่วไป ฐานะยากจน สื่อสารภาษาไทยกลางได้แต่ไม่คล่องนัก ไม่เคยมีประวัติเข้าร่วมกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเคลื่อนไหว หรือร่วมกิจกรรมทางการเมืองใดๆ มาก่อน 

ข้อหา / คำสั่ง

มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา

การกระทำที่ถูกกล่าวหา

จำเลยถูกกล่าวหาว่า ในวันที่ 12 สิงหาคม 2552 ร่วมกับพวกอีกหลายคนที่ยังไม่รู้ตัว นำแผ่นป้ายผ้าสองผืนซึ่งมีข้อความเกี่ยวกับเหตุการณ์ความรุนแรงต่างๆ ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเหตุการณ์ความขัดแย้งอื่นๆ ในประเทศไปปิดไว้บนสะพานลอยคนข้ามถนน พร้อมกับพระบรมฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถซึ่งเป็นการใส่ความพระราชินีต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่ทำให้พระราชินีเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง

ขณะที่แหล่งข่าวรายงานว่าในวันที่ 12 สิงหาคม 2552 นั้น มีแผ่นป้ายผ้าในลักษณะเดียวกันติดอยู่ตามที่สาธารณะและสะพานลอยในจังหวัดปัตตานีเป็นจำนวนมาก ซึ่งติดอยู่ไม่นานก็ถูกเจ้าหน้าที่เก็บออก แต่จำเลยในคดีนี้ถูกฟ้องว่าเกี่ยวข้องกับป้ายผ้าจำนวนสองผืนเท่านั้น

พฤติการณ์การจับกุม

จำเลยในคดีนี้เคยถูกผู้ใหญ่บ้านมาเรียกตัวให้ไปพบทหารในคดีเกี่ยวกับความมั่นคงหนึ่งครั้ง ก่อนการจับกุมในครั้งนี้ ซึ่งในครั้งนั้นเจ้าหน้าที่ทหารได้เก็บดีเอ็นเอที่กระพุ้งแก้มไปเป็นฐานข้อมูล และได้รับการปล่อยตัว

ปลายเดือนสิงหาคม 2552 ผู้ใหญ่บ้านเรียกตัวให้ไปพบทหารอีกครั้ง ครั้งนี้เจ้าหน้าที่ทหารแจ้งว่าเป็นผู้กระทำความผิด แต่ไม่ได้แจ้งว่าในเรื่องอะไร และไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหา เป็นการควบคุมตัวและสอบสวนโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำเลยในคดีนี้อ้างว่าถูกซ้อมทรมานให้รับสารภาพโดยการเตะ ต่อย เอาถุงน้ำแข็งฟาดจนกว่าจะรับสารภาพ แต่ไม่บอกว่าให้รับสารภาพในข้อหาอะไร และมีการข่มขู่ว่าหากไม่รับสารภาพจะโดนหนักขึ้น จึงตัดสินใจรับสารภาพในชั้นาสอบสวน หลังจากรับสารภาพแล้วเจ้าหน้าที่ทหารจึงแจ้งให้ทราบว่ากำลังถูกสอบสวนว่ากระทำความผิดในเรื่องใด
 
หลังจากรับสารภาพแล้วจำเลยใช้ที่ดินของญาตเป็นหลักทรัพย์ในการประกันตัว และได้รับอนุญาตให้ประกันตัวในชั้นสอบสวน

บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล

ไม่มีข้อมูล

หมายเลขคดีดำ

อ.2853/2554

ศาล

ไม่มีข้อมูล

เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

จำเลยในคดีนี้นอกจากจะอยู่ภายใต้ความกดดันเพราะเป็นคดีเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์แล้ว ยังอยู่ภายใต้ความกดดันจากเหตุการณ์ความไม่สงบพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย ซึ่งสถานการณ์ในพื้นที่เจ้าหน้าที่รัฐมีอำนาจเต็มจากพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.2457 และพระราชกำหนดการบริหารราชการณ์ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 สามารถจับกุมตัวบุคคลใดๆ ได้และควบคุมตัวได้นานต่อเนื่องหลายสิบวัน ทำให้จำเลยมีความหวาดกลัว ไม่ต้องการเปิดเผยตัว ทางศูนย์ข้อมูลฯจึงขอปิดทั้งชื่อ และนามสกุลของจำเลยไว้เป็นความลับ

แหล่งอ้างอิง

ศาลพิจารณาลับ คดีหนุ่มปัตตานีถูกกล่าวหาหมิ่นพระราชินี, ประชาไท วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556 (อ้างอิงเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2556)

9 ธันวาคม 2554
พนักงานอัยการจังหวัดปัตตานียื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดปัตตานี

 
21 มีนาคม 2555 นัดพร้อม
ทนายความจำเลยจากมูลนิธิผสานวัฒนธรรม และเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนแถลงขอเลื่อนนัดพร้อม เนื่องจากเพิ่งได้รับการแต่งตั้งเข้ามาในคดี ยังไม่มีเวลาเตรียมตัว ศาลอนุญาตให้เลื่อนวันนัดพร้อมเป็นวันที่ 25 เมษายน 2555
 
25 เมษายน 2555
โจทก์แถลงขอเลื่อนคดีเพราะมีพยานถึง 114 ลำดับ เป็นพยานบุคคล 109 ปาก ไม่สามารถเตรียมให้พร้อมไดัทัน ศาลจึงสั่งให้เลื่อนวันนัดออกไปก่อน โดยนัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 28 พฤษภาคม 2555 และจะกำหนดวันนัดสืบพยานในวันดังกล่าว
 
28 พฤษภาคม 2555
จำเลยแถลงศาลขอถอนทนายความชุดเดิม ซึ่งเป็นทนายความช่วยเหลือจากมูลนิธิผสานวัฒนธรรม และเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนที่ติดตามคดีความในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มาอย่างต่อเนื่อง และแต่งตั้งทนายความเอกชนในพื้นที่ให้เป็นผู้รับผิดชอบคดีแทน ทนายความใหม่จึงแถลงต่อศาลขอเลื่อนวันนัดเนื่องจากเพิ่งได้รับแต่งตั้งเข้ามาเป็นทนายความในคดี ยังไม่มีเวลาเตรียมตัม ศาลอนุญาตให้เลื่อนวันนัดตรวจพยานหลักฐานออกไปอีกครั้ง
 
26 กุมภาพันธ์ 2556 
ที่ห้องพิจารณาคดี 1 ศาลจังหวัดปัตตานี นัดสืบพยานโจทก์ จำเลยและทนายจำเลยมาศาล ส่วนพยานไม่มาศาล ศาลสั่งเลื่อนพิจารณาคดีนี้ไปในวันที่ 28 ก.พ. และ 1 มี.ค.56 และศาลได้สั่งพิจารณาคดีลับ ห้ามผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าฟังการพิจารณา ทำให้ญาติของจำเลย ผู้สังเกตการณ์คดี และนักข่าวไม่สามารถร่วมฟังการพิจารณาคดีได้ 
 
6 มีนาคม 2556 
นัดสืบพยาน จำเลยขึ้นเบิกความเป็นพยานเอง
 

 

คำพิพากษา

ไม่มีข้อมูล

ดูแฟ้มคดีอื่นๆ

บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์: ข้อสอบวิชาอารยธรรมไทย

คดีชุมนุมขัดขวางขบวนเสด็จ

รุ่งทิวา