ส. ศิวรักษ์: คำสั่งยึดหนังสือ “ค่อนศตวรรษประชาธิปไตยไทย ที่เต็มไปด้วยขวากหนาม”

อัปเดตล่าสุด: 02/12/2559

ผู้ต้องหา

สุลักษณ์ ศิวรักษ์

สถานะคดี

ตัดสินแล้ว / คดีถึงที่สุด

คดีเริ่มในปี

2550

โจทก์ / ผู้กล่าวหา

พลตำรวจตรีสมบัติ ศุภชีวะ ผู้บังคับการ กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสันติบาล ในฐานะเจ้าพนักงานการพิมพ์สำหรับกรุงเทพมหานคร ตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484

สารบัญ

หนังสือพิมพ์ชื่อ "ค่อนศตวรรษประชาธิปไตยไทย ที่เต็มไปด้วยขวากหนาม" โดย นาย ส. ศิวรักษ์ ถูกกล่าวหาว่าลงข้อความอันอาจจะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เจ้าพนักงานการพิมพ์สำหรับกรุงเทพมหารนคร จึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 9 แห่งพ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ.2484  สั่งห้ามการขาย หรือจ่ายแจกและให้ยึดสิ่งพิมพ์ดังกล่าว ส.ศิวรักษ์ยื่นอุทธรณ์คัดค้านและยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง  

ภูมิหลังผู้ต้องหา

สุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือที่รู้จักกันในนามปากกาว่า ส. ศิวรักษ์ เป็นนักคิด- นักเขียนผู้ได้รับฉายานามว่า ปัญญาชนสยาม  มีผลงานการเขียนมากมายครอบคลุมหลายด้าน เช่น พุทธศาสนา สังคม การเมือง รูปแบบการปกครอง เป็นต้น

ข้อหา / คำสั่ง

พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์

การกระทำที่ถูกกล่าวหา

เจ้าพนักงานการพิมพ์สำหรับกรุงเทพมหานคร ได้มีหนังสือ ที่ ตช.๐๐๒๘.๑๔๓/๕๓๐๙  ฉบับลงวันที่ ๑ ตุลาคม  ๒๕๕๐ แจ้งมายังนายสุลักษณ์ โดยนายสุลักษณ์ได้รับเมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ว่า หนังสือพิมพ์ชื่อ "ค่อนศตวรรษประชาธิปไตยไทย ที่เต็มไปด้วยขวากหนาม" โดย นาย ส. ศิวรักษ์ ได้ลงข้อความอันอาจจะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน  เจ้าพนักงานการพิมพ์สำหรับกรุงเทพมหารนคร จึงได้อาศัยอำนาจตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติการพิมพ์ พุทธศักราช  ๒๔๘๔  ห้ามการขาย หรือจ่ายแจกและให้ยึดสิ่งพิมพ์ดังกล่าวข้างต้น ตั้งแต่วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ.  ๒๕๕๐

พฤติการณ์การจับกุม

ไม่มีข้อมูล

บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล

ไม่มีข้อมูล

หมายเลขคดีดำ

ไม่มีข้อมูล

ศาล

ไม่มีข้อมูล

เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีข้อมูล

แหล่งอ้างอิง

ไม่มีข้อมูล

 

นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ อุทธรณ์คำสั่งห้ามการขายหรือจ่ายแจก และให้ยึดสิ่งพิมพ์ ในวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๕๐ ต่อ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยให้เหตุผลว่า 
ข้าพเจ้าในฐานะผู้เขียนหนังสือพิมพ์ "ค่อนศตวรรษประชาธิปไตยไทย ที่เต็มไปด้วยขวากหนาม"  ซึ่งเป็นผู้ได้รับความเสียหายอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้จากคำสั่งทางปกครองที่อ้างถึงขอโต้แย้งว่า คำสั่งทางปกครองดังกล่าวไม่ชอบธรรม ขาดเหตุผล และขัดต่อกฎหมาย ดังต่อไปนี้
 
๑. ในการออกคำสั่งทางปกครองดังกล่าว หากเจ้าพนักงานการพิมพ์สำหรับกรุงเทพมหานคร เพียงได้ใช้สามัญสำนึกอย่างที่บุคคลธรรมดาจะพึงมี ก็ย่อมทราบได้ว่า การห้ามการขาย หรือจ่ายแจก และให้ยึดสิ่งพิมพ์ "ค่อนศตวรรษประชาธิปไตยไทย ที่เต็มไปด้วยขวากหนาม" ย่อมกระทบถึงสิทธิของข้าพเจ้า และย่อมจะทำให้ข้าพเจ้าซึ่งเป็นผู้เขียนได้รับความเสียหาย ทั้งความเสียหายต่อชื่อเสียง เกียรติยศ และความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจ ดังนั้น หากเจ้าหน้าที่มีใจที่เป็นธรรมและปฏิบัติหน้าที่โดยยึดหลักนิติธรรมและระเบียบบริหารราชการแผ่นดินที่ดีแล้ว ย่อมต้องเปิดโอกาสให้ข้าพเจ้าได้รับทราบข้อเท็จจริง และโต้แย้งแสดงเหตุผลและหลักฐานของข้าพเจ้าให้เพียงพอเสียก่อนที่จะออกคำสั่ง เพื่อเจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งจะได้วินิจฉัยออกคำสั่งด้วยความถูกต้อง และเป็นธรรม
 
๒. คำสั่งของเจ้าพนักงานการพิมพ์กรุงเทพมหานครที่ ๕/๒๕๕๐ ที่ส่งมายังข้าพเจ้าระบุเพียงข้อความสั้นๆว่า " สิ่งพิมพ์ชื่อ "ค่อนศตวรรษประชาธิปไตยไทย ที่เต็มไปด้วยขวากหนาม" ได้ลงโฆษณาข้อความอันอาจจะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน" เท่านั้น โดยมิได้ชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ และเหตุผลใดๆ ว่าในสิ่งพิมพ์ดังกล่าวอย่างน้อยมีข้อความอันเป็นสาระสำคัญใด ที่อาจจะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน อย่างไร และเพราะเหตุใดจึงต้องใช้อำนาจหน้าที่ถึงขั้นมีคำสั่งไม่ให้ขาย หรือจ่าย แจก และกระทั่งให้ยึดสิ่งพิมพ์นั้น การออกคำสั่งทางปกครองโดยไม่แสดงข้อเท็จจริงและเหตุผลเช่นนี้ ทำให้ข้าพเจ้าซึ่งเป็นผู้ได้รับความเสียหายอย่างใหญ่หลวงจากคำสั่งดังกล่าว ไม่สามารถเข้าใจคำสั่งดังกล่าวได้อย่างเพียงพอที่จะโต้แย้งหรืออุทธรณ์คำสั่งได้ 
 
๓. บัดนี้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ออกพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ แล้ว ซึ่งตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลเป็นการยกเลิก พระราชบัญยัติการพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ แม้ พ.ร.บ. จดแจ้งการพิมพ์ดังกล่าวจะยังไม่มีผลบังคับใช้ ในวันที่เจ้าพนักงานการพิมพ์สำหรับกรุงเทพมหานครออกคำสั่งให้ยึดหนังสือของข้าพเจ้า ก็ตาม แต่ก็จะมีผลให้ต้องยกเลิก พ.ร.บ. การพิมพ์ฯในไม่ช้านี้ หนังสือ "ค่อนศตวรรษประชาธิปไตยไทย ที่เต็มไปด้วยขวากหนาม" ได้ตีพิมพ์เผยแพร่มาตั้งแต่เดือนเมษายน ๒๕๕๐ แต่เจ้าพนักงานการพิมพ์เพิ่งจะออกคำสั่งยึด ในปลายเดือนกันยายน ๒๕๕๐ โดยกระทำการในขณะที่ พ.ร.บ. การพิมพ์ฯ กำลังจะถูกยกเลิกไปอย่างแน่นอนเช่นนี้ นอกจากจะแสดงให้เห็นว่า เจ้าพนักงานการพิมพ์ฯ ไม่ได้ใส่ใจ และให้ความเคารพในมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว ยังแสดงให้เห็นว่าเจ้าพนักงานการพิมพ์ฯ อาจใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบเพื่อกลั่นแกล้งข้าพเจ้าก็เป็นได้
 
๔. อย่างไรก็ตามโดยข้อเท็จจริงแล้วข้าพเจ้าขอยืนยันว่า สิ่งพิมพ์ชื่อ "ค่อนศตวรรษประชาธิปไตยไทย ที่เต็มไปด้วยขวากหนาม" นี้เป็นหนังสือทางวิชาการ และเชิงประวัติศาสตร์ ที่เผยแพร่ต่อประชาชนโดยทั่วไป ไม่มีข้อความใดๆ ที่อาจจะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใด ดังนั้นคำสั่งเจ้าพนักงานการพิมพ์สำหรับกรุงเทพมหานคร ที่ ๕/๒๕๕๐ ที่ห้ามขาย หรือจ่ายแจกและให้ยึดสิ่งพิมพ์ดังกล่าวของข้าพเจ้า ได้ทำขึ้นโดยปราศจากข้อเท็จจริงและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
 
๕. คำสั่งของเจ้าพนักงานการพิมพ์สำหรับกรุงเทพมหานครที่อ้างถึง และ พรบ.การพิมพ์ พ.ศ.๒๔๘๔ ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เนื่องจากได้ละเมิดและจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา ของข้าพเจ้า ซึ่งเป็นสิทธิที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๔๕ อย่างร้ายแรง จึงเป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
 
นอกจากนี้ การที่คำสั่งทางปกครองฉบับที่ ๕/๒๕๕๐ ดังกล่าวยังมีผลบังคับอยู่ต่อไปในระหว่างการพิจาณาอุทธรณ์ ฉบับนี้นั้น ข้าพเจ้ามีความเห็นว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อข้าพเจ้า ทั้งในด้านชื่อเสียงและเศรษฐกิจ และสังคมจนเกินสมควรกรณี จึงมีเหตุที่ควรทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวไว้ก่อนในระหว่างอุทธรณ์ด้วย
 
ผลสรุปว่าไม่รับการอุทธรณ์
 
ต่อมา วันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๑ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่ง และให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย จำนวน 1,094,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.50 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป โดยในคำฟ้องระบุว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจสันติบาลได้ออกคำสั่งยึดหนังสือโดยไม่ชอบธรรมและไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่แจ้งแสดงเหตุผลและข้อเท็จจริงใดๆ เลยว่ามีข้อความใดในหนังสือหนาขนาด 272 หน้าดังกล่าว ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนอย่างไร ทั้งไม่ให้โอกาสแก่ผู้เขียนได้ชี้แจงก่อนจะออกคำสั่งด้วย  นอกจากนั้น การอ้างอำนาจตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 เป็นการอ้างและใช้อำนาจกฎหมายที่ล้าหลัง ที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน ในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์และการโฆษณา ซึ่งเป็นหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของสังคมประชาธิปไตย และขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 45 จึงขอให้ศาลปกครองกลางส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ในประเด็นดังกล่าว
 
ศาลไม่รับคำฟ้อง 
 

คำพิพากษา

ไม่มีข้อมูล

ดูแฟ้มคดีอื่นๆ

บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์: ข้อสอบวิชาอารยธรรมไทย

คดีชุมนุมขัดขวางขบวนเสด็จ

รุ่งทิวา