สงคราม ฉ.: สมาชิกสหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียล

อัปเดตล่าสุด: 02/12/2559

ผู้ต้องหา

สงคราม ฉิมเฉิด

สถานะคดี

ตัดสินแล้ว / คดีถึงที่สุด

คดีเริ่มในปี

2554

โจทก์ / ผู้กล่าวหา

นางปาริชาต พลพละ ผู้กล่าวหา เป็นพนักงานระดับบริหาร บริษัทไทยอินดัสเตรียลแก็สจำกัด (มหาชน)

สารบัญ

นายสงครามถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ส่งอีเมลไปยังบุคคลที่สาม ซึ่งมีเนื้อหาว่า ผู้บริหารระดับสูงเรียกนายสงครามไปพบและแจ้งให้ยุติการเข้าร่วมกิจกรรมของสหภาพ และผู้บริหารยังได้สาปแช่งบุตรชายนายสงครามซึ่งกำลังป่วยอยู่ให้ตายไป หลังอีเมลดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไป ผู้บริหารจึงฟ้องนายสงครามในข้อหาหมิ่นประมาทและนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ ต่อมาคดีมีการไกล่เกลี่ยยอมความ ทำให้นายจ้างถอนฟ้องข้อหาหมิ่นประมาท แต่ยังคิดค้างในข้อหาพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์เพราะเป็นกฎหมายทีี่ยอมความไม่ได้

ภูมิหลังผู้ต้องหา

นายสงครามเป็นพนักงานระดับปฏิบัติการและเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานบริษัทไทยอินดัสเตรียลแก็สจำกัด (มหาชน)

ข้อหา / คำสั่ง

มาตรา 14 (1) พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฯ, มาตรา 326 / 328 ประมวลกฎหมายอาญา

การกระทำที่ถูกกล่าวหา

นายสงครามถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ส่งอีเมลไปยังบุคคลที่สาม ซึ่งมีเนื้อหาว่า ผู้บริหารระดับสูงเรียกนายสงครามไปพบและแจ้งให้ยุติการเข้าร่วมกิจกรรมของ สหภาพ และผู้บริหารยังได้สาปแช่งบุตรชายนายสงครามซึ่งกำลังป่วยอยู่ให้ตายไป หลังอีเมลดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไป ผู้บริหารจึงฟ้องคดีนายสงครามในข้อหาหมิ่นประมาทและนำเข้าสู่ระบบ คอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จ ต่อมาคดีมีการไกล่เกลี่ยยอมความ ทำให้นายจ้างถอนฟ้องข้อหาหมิ่นประมาท แต่ยังคิดค้างในข้อหาพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์เพราะเป็นกฎหมายทีี่ยอมความไม่ได้

พฤติการณ์การจับกุม

ไม่มีข้อมูล

บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล

ไม่มีข้อมูล

หมายเลขคดีดำ

3507/2554

ศาล

ไม่มีข้อมูล

เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีข้อมูล

แหล่งอ้างอิง

นัดฟังคำพิพากษาคนงานถูกฟ้อง พ.ร.บ.คอมฯ 25 พ.ค.นี้, เว็บไซต์ประชาไท โพสต์เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2555, อ้างอิงเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2555

10 พ.ค. 53 นายสงคราม ฉิมเฉิด เขียนจดหมาย (ฉบับกระดาษ) ร้องเรียนไปยังศิรินทร์ ชูธรรมสถิตย์ กรรมการผู้จัดการบริษัทไทยอินดัสเตรียลแก๊ส จำกัด เนื้อความในจดหมายเล่าว่า เนื่องจากบุตรชายของนายสงครามประสบอุบัติเหตุจมน้ำ อยู่ระหว่างการรักษาตัว ซึ่งสมาชิกของสหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียลแก๊สได้ระดมเงินบริจาคเพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาล แต่ในวันที่ 6 พ.ค. 53 นางปาริชาต พลพละ ซึ่งมีตำแหน่งเป็นผู้บริหารได้เรียกนายสงครามไปพบพร้อมกับแจ้งให้ยุติการเข้าร่วมกิจกรรมของสหภาพ แต่นายสงครามปฏิเสธ นางปาริชาตจึงว่ากล่าวสาปแช่งบุตรของนายสงครามพร้อมกับกล่าวว่าเสียดายเงินหนึ่งพันบาทที่บริจาคให้

นายสงครามจึงเขียนจดหมายดังกล่าวเพื่อร้องทุกข์ต่อผู้บริหารว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องไม่สมควรอย่างยิ่ง พร้อมทั้งแนบธนาณัติจำนวน 1,150 บาท โดยแจกแจงเป็นเงินต้นจำนวน 1,000 บาทและดอกเบี้ยร้อยละ 15 รวมเป็น 1,150 บาท เพื่อฝากแจ้งต่อนางปาริชาตว่าไม่มีบุญคุณต่อกันอีกแล้ว

หลังจากนั้น นางปาริชาตได้ฟ้องร้องว่านายสงครามหมิ่นประมาทตน และเนื่องจากมีการส่งต่อจดหมายฉบับดังกล่าวผ่านทางอีเมล คดีดังกล่าวจึงเป็นคดีตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ด้วย

14 มิถุนายน 2553 เจ้าหน้าที่ตำรวจสน.บางพลี ได้ออกหมายเรียกผู้ต้องหา เรียกให้นายสงครามไปรับทราบข้อกล่าวหา

30 พฤษภาคม 2554 อัยการมีคำสั่งฟ้องนายสงคราม ฉิมเฉิด ต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการ ในข้อหาหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326,328 และข้อหานำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดย ประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14(1)

7-8 มิถุนายน 2554 คดีมีการเจรจาไกล่เกลี่ย นางปาริชาติ พลพละตัีดสินใจถอนฟ้องในความผิดฐานหมิ่นประมาท แต่ยังคงเหลือข้อหาตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เพราะเป็นความผิดอาญาแผ่นดินไม่สามารถยอมความได้

24 และ 25 เมษายน 2555 นัดสืบพยานโจทก์ รวม 6 ปาก ได้แก่ นางปาริชาต พนักงานบริษัท 3 คน ผู้แปลเอกสาร 1 คน และพนักงานสอบสวน 1 คน และสืบพยานจำเลย จำนวน 1 ปาก คือตัวจำเลย

ธีรพันธุ์ พันธุ์คีรี ทนายความจำเลย ให้สัมภาษณ์แก่เว็บไซต์ประชาไทเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2555 ว่า คดีดังกล่าวนำสืบโดยชี้ว่า ไม่น่าจะมีความผิดฐานนำเข้าข้อมูลเท็จ เพราะฝ่ายโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าข้อมูลในอีเมลดังกล่าวเป็นเท็จ โดยแม้จะมีพยานคนกลางในที่เกิดเหตุ 1 คน แต่ฝ่ายโจทก์กลับไม่มีการนำสืบ

ส่วนการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ได้นำสืบว่า เมื่อสงครามยื่นหนังสือร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาแล้ว ก็ส่งแฟกซ์ให้กรรมการสหภาพแรงงานเพื่อขอความช่วยเหลือ ซึ่งตัวเขาไม่รู้ว่าจะมีการเผยแพร่เพราะเขาเองไม่ได้ใช้อีเมล ขณะที่พยานหลักฐานที่ฝ่ายโจทก์นำสืบ ก็ไม่มีใครยืนยันได้ชัดเจนว่าอีเมลที่ได้รับนั้นใครเป็นผู้ส่ง เพียงแค่คิดว่าเมื่อสงครามเป็นเจ้าของจดหมายก็น่าจะเป็นผู้ส่งหรือให้ใครส่งให้

25 พฤษภาคม 2555 ศาลจังหวัดสมุทรปราการนัดฟังคำพิพากษา

ผู้พิพากษาขึ้นบัลลังก์เมื่อเวลา 10.20 น. อ่านคำพิพากษาใจความว่า คดีดังกล่าว นางปาริชาต พลพละ ผู้จัดการกลุ่มโรงงานย่อยของบริษัทไทยอินดัสเตรียลแก๊ส เป็นผู้เสียหายในคดี ร้องทุกข์กล่าวโทษว่านายสงคราม ฉิมเฉิด อนุกรรมการสหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียลแก๊ส ว่าเป็นผู้ส่งอีเมลที่มีเนื้อหาอันเป็นการหมิ่นประมาท และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จ ต่อมานางปาริชาติได้ถอนฟ้องความผิดฐานหมิ่นประมาทซึ่งเป็นความผิดส่วนตัวออกจากสารบบความ คงเหลือคดีตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

นายสงคราม ฉิมเฉิด จำเลยในคดี ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา

ศาลระบุว่า ข้อเท็จจริงจากทางนำสืบโจทก์ได้ความเพียงว่า จำเลยเป็นผู้จัดทำหนังสือร้องทุกข์ขึ้นเพื่อร้องทุกข์ไปยังนายคีรินทร์ ชูธรรมสถิตย์ กรรมการผู้จัดการบริษัทไทยอินดัสเตรียลแก๊ส จำกัด มหาชน โดยโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานใดมานำสืบให้เห็นว่า ผู้ที่ส่งอีเมลซึ่งมีหนังสือร้องทุกข์ของจำเลยแนบไปกับไฟล์ข้อมูลผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ให้แก่พนักงานบริษัทและบุคคลอื่นนั้นคือจำเลย คดีไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้ตรวจสอบไปยังผู้ให้บริการอีเมลและผู้ให้บริการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ถึงแหล่งที่มาของอีเมลของ Window live.com ว่าเป็นของจำเลยหรือไม่ และอีเมลดังกล่าวถูกส่งมาจากคอมพิวเตอร์ของผู้ใด เพื่อยืนยันว่าผู้ส่งอีเมลคือจำเลย

แม้คดีได้ความว่า จำเลยระบุในหนังสือร้องทุกข์ฉบับดังกล่าวว่าสำเนาเรียนสหภาพแรงงานและบุคคลต่างๆ ก็ตาม แต่พฤติการณ์เพียงเท่านี้ยังไม่อาจบ่งชี้ได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยเป็นผู้ส่งอีเมลดังกล่าวเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ จะอาศัยเพียงข้อเท็จจริงที่จำเลยเป็นผู้จัดทำหนังสือร้องทุกข์มาคาดคะเนหรือสันนิษฐานเอาว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิด นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จหาได้ไม่ ประกอบกับจำเลยให้การปฏิเสธมาตลอด พยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักพอให้รับฟังหรือลงโทษจำเลย พิพากษายกฟ้อง
 

คำพิพากษา

ไม่มีข้อมูล

ดูแฟ้มคดีอื่นๆ

บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์: ข้อสอบวิชาอารยธรรมไทย

คดีชุมนุมขัดขวางขบวนเสด็จ

รุ่งทิวา