สุวิชา

อัปเดตล่าสุด: 04/06/2564

ผู้ต้องหา

สุวิชา ท.

สถานะคดี

ตัดสินแล้ว / คดีถึงที่สุด

คดีเริ่มในปี

2552

โจทก์ / ผู้กล่าวหา

พ.ต.อ.นิรันดร์ อดุลยาศักดิ์ พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 1 สำนักงานอัยการสูงสุด เจ้าของสำนวน

สารบัญ

 
สุวิชา ท. โพสคลิปวิดีโอซึ่งมีเนื้อหาไม่เหมาะสมเกี่ยวกับ พระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ ในยูทูบ ศาลลงโทษจำคุก 20 ปี แต่ต่อมาสุวิชาได้รับพระราชทานอภัยโทษ

ภูมิหลังผู้ต้องหา

สุวิชา ท. เป็นคนจังหวัดนครพนม มีอาชีพเป็นวิศวกรวิศวกรเครื่องจักรของบริษัทขุดเจาะน้ำมันแห่งหนึ่ง

 
 

ข้อหา / คำสั่ง

มาตรา 14 (3) พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฯ, มาตรา 16 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฯ, มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา

การกระทำที่ถูกกล่าวหา

สุวิชาถูกกล่าวหาในความผิดสองกระทง คือ โพสต์รูปและข้อความลงบนอินเทอร์เน็ต โดยใช้นามแฝงสองชื่อ

ข้อมูลจากศาลอาญาระบุว่า ระหว่างวันที่ 15 – 16 สิงหาคม 2551 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยกับพวกซึ่งยังไม่ได้ตัวมาฟ้อง ร่วมกันนำเข้าสู่ระบบ หรือเผยแพร่ และหรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อความ ข้อมูลภาพ หรือข้อมูลภาพและเสียง (คลิปวีดีโอ) เกี่ยวกับพระจริยาวัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ที่ไม่เหมาะสมอันเป็นข้อมูลเท็จฯ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ผู้อื่น หรือประชาชน หรือโดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง และโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ 
 
และเมื่อระหว่างวันที่ 26 ธันวาคม 2551 ถึงวันที่ 15 มกราคม 2552 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยกับพวกซึ่งยังไม่ได้ตัวมาฟ้องร่วมกันนำเข้าสู่ระบบ หรือเผยแพร่ และหรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อความ ข้อมูลภาพ หรือข้อมูลภาพและเสียง (คลิปวีดีโอ) เกี่ยวกับพระจริยาวัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระบรมวงศานุวงศ์ที่ไม่เหมาะสมอันเป็นข้อมูลเท็จ และเป็นข้อมูลอันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง และโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ

 

พฤติการณ์การจับกุม

ไม่มีข้อมูล

บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล

ไม่มีข้อมูล

หมายเลขคดีดำ

อ.1033/2552

ศาล

ไม่มีข้อมูล

เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีข้อมูล

แหล่งอ้างอิง

กรณี สุวิชา ท่าค้อ. LM Watch. 16 เมษายน 2552 (อ้างอิงเมื่อ 9 สิงหาคม 2556)

 

14 มกราคม 2552

สุวิชาถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ และฝ่ายสืบสวนคดีอาชญากรรมระหว่างประเทศ ขณะกำลังเดินซื้อของในตลาดอำเภอเมืองนครพนม สุวิชาปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาก่อนจะถูกควบคุมตัวไปให้ปากคำที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ หลังจากนั้นเขาถูกคุมตัวไปยังศาลอาญาและฝากขังไว้โดยไม่ได้รับการประกันตัว ตลอดกระบวนการนี้เกิดขึ้นโดยไม่มีทนายความให้คำปรึกษา

 
15 มกราคม 2552
 
ข่าวการจับกุมสุวิชา ถูกเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์เกือบทุกฉบับ รวมทั้งสื่อบนหน้าอินเตอร์เนตและกระดานข่าวต่างๆ เกือบทุกแหล่งระบุว่าเจ้าหน้าที่เข้าตรวจค้นบ้านพักของสุวิชาที่กรุงเทพฯ แต่ผู้ต้องหาหลบหนีการจับกุมไปอยู่บ้านญาติที่นครพนมก่อนจะถูกติดตามจับกุมตัวได้ดังกล่าว ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้แก่ พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ดังที่ปรากฏคำให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนในวันเดียวกันว่า จะไม่มีการแถลงข่าวใดๆ เกี่ยวกับการจับกุมครั้งนี้ และก่อนหน้าที่จะเข้าจับกุมเมื่อวานนี้ (14 ม.ค. 52) ตนได้กำชับแล้วว่าไม่ต้องการให้ข้อมูลถูกเผยแพร่ออกไป อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงกรณีที่มีข่าวออกมาว่าจะมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนกรณีดังกล่าวนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมตอบว่า ยังไม่มีการตั้งกรรมการสอบสวนใดๆ เพียงแต่กำชับให้ระมัดระวังมากขึ้น
 
หลังถูกจับกุม บริษัทขุดเจาะน้ำมันที่เขาทำงานอยู่มีจดหมายเลิกจ้างเนื่องจากเขาถูกตั้งข้อหาและจับกุม จดหมายของบริษัทระบุด้วยว่าสุวิชาจะไม่ได้รับค่าชดเชยใดๆ เนื่องจากการกระทำของเขาทำให้บริษัทเสื่อมเสียชื่อเสียง
 
23 มกราคม 2552
 
ทนายความของสุวิชา ได้ยื่นอุทธรณ์ขอประกันตัว แต่เนื่องจากเอกสารบางส่วนไม่ครบถ้วน จึงเตรียมยื่นอุทธรณ์อีกครั้งในวันจันทร์ที่ 26 มกราคม 2552
 
26 มกราคม 2552
 
ทนายความของสุวิชา ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวต่อศาลชั้นต้นเป็นครั้งที่ สอง พร้อมด้วยหลักทรัพย์ แต่ศาลมีคำสั่งยกคำร้อง โดยระบุว่า ไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม
 
29 มกราคม 2552
 
ทนายความของสุวิชา ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวต่อศาลชั้นต้นเป็นครั้งที่ 3 ศาลนัดฟังผลการพิจารณาในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2552
 
2 กุมภาพันธ์ 2552
 
ศาลเลื่อนนัดฟังผลการพิจารณาไปเป็นวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2552
 
4 กุมภาพันธ์ 2552
 
ศาลมีคำสั่งยกคำร้องขอให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยระบุว่า ไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม
 
26 มีนาคม 2552
 
อัยการสั่งฟ้องคดี โดยกล่าวหาว่านายสุวิชาทำผิดโดยโพสต์รูปและข้อความลงบนอินเทอร์เน็ต โดยใช้นามแฝงสองชื่อ จึงสั่งฟ้องว่ากระทำผิดรัฐธรรมนูญมาตรา 8,9 ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112, พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14, 16
 
27 มีนาคม 2552
 
สุวิชา ให้การรับสารภาพในชั้นศาล
 
3 เมษายน 2552
 
ศาลพิพากษาว่าสุวิชามีความผิด สองกระทง กระทงละ สิบปี รวม 20 ปี เนื่องจากรับสารภาพจึงลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงเหลือโทษจำคุก  สิบปี
 
28 มิถุนายน 2553
 
สุวิชา ได้รับพระราชทานอภัยโทษและได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำกลางคลองเปรม หลังถูกจำคุกในเรือนจำมามานานกว่า หนึ่งปี 
 
29 มิถุนายน 2553
 
สุวิชาเดินทางไปลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่โรงพยาบาลศิริราช จากนั้นได้บวชเป็นพระเป็นระยะเวลาประมาณหนึ่งพรรษา
 

คำพิพากษา

ไม่มีข้อมูล

ดูแฟ้มคดีอื่นๆ

บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์: ข้อสอบวิชาอารยธรรมไทย

คดีชุมนุมขัดขวางขบวนเสด็จ

ดา ตอร์ปิโด