สนธิและเฉลียว

อัปเดตล่าสุด: 02/12/2559

ผู้ต้องหา

นายสนธิ ลิ้มทองกุล

สถานะคดี

ตัดสินแล้ว / คดีถึงที่สุด

คดีเริ่มในปี

2549

โจทก์ / ผู้กล่าวหา

นายวุฒิชัย นาถนิธิภูมิ อัยการจังหวัดประจำกรม สำนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 8 สำนักงานอัยการสูงสุด

สารบัญ

นายสนธิ ลิ้มทองกุล จำเลยที่หนึ่ง ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนพาดพิงบทบาทความรับผิดชอบของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในกรณีที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาเพิกถอนพระราชกฤษฎีกาแปรรูป กฟผ. ตามคำฟ้องระบุว่า นายสนธิทราบว่าพระมหากษัตริย์ไม่จำต้องรับผิดชอบในการตราพระราชกฤษฎีกาไม่ว่าด้วยเหตุใด แต่นายสนธิยังคง "กล่าววาจาจาบจ้วงล่วงเกินเปรียบเปรยถึงพระมหากษัตริย์" เกี่ยวกับความรับผิดชอบดังกล่าว

 
นายเฉลียว คงตุก บรรณาธิการหนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก จำเลยที่สอง ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดในฐานะผู้โฆษณา เรียบเรียงข้อความที่จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์กล่าววาจาดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์คม ชัด ลึกฉบับวันที่  24 มี.ค.49 
ในชั้นสอบสวนจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ
 
ก่อนเกิดเหตุ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงใช้พระราชอำนาจบริหารราชการแผ่นดินทางคณะรัฐมนตรี ( ครม.) โดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) พ.ศ.2548 และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ.2548 ทรงลงพระปรมาภิไธย โดย พ.ต.ท.ทักษิณ นายกรัฐมนตรี เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 มิ.ย.48 ซึ่งต่อมาวันที่ 23 มี.ค.49 ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาให้เพิกถอนพระราชกฤษฎีกาทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว
 
 
 
 

ภูมิหลังผู้ต้องหา

นายสนธิ ลิ้มทองกุล เป็นผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ และนายเฉลียว คงตุก เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์คมชัดลึก (ในขณะนั้น)

 

ข้อหา / คำสั่ง

มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา

การกระทำที่ถูกกล่าวหา

 

อ้างอิงจากฐานข้อมูลศาลอาญา:
 
เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2549 จำเลยที่ 1 ซึ่งรู้อยู่แล้วว่า พระมหากษัตริย์ไม่จำต้องรับผิดชอบในการตราพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวในฟ้องข้อ 1 ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ได้บังอาจกล่าววาจาดูหมิ่นพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทยโดยการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนด้วยถ้อยคำว่า “ถ้านายกไม่ลาออก อย่างที่ผมพูดไง กฤษฎีกาที่นายกรับสนองพระบรมราชโองการ ศาลปกครองบอกแล้วว่าผิด ไม่ชอบด้วยกฎหมายทุกประการ แล้วตัวเองไม่ยอมลาออกจะให้ในหลวงออกเหรอ มันต้องมีคนรับผิดชอบใช่ไหม ถ้าทักษิณยังหน้าด้านบอกว่าตัวเองไม่รับผิดชอบ แสดงว่าต้องการให้ในหลวงรับผิดชอบใช่ไหม” และกล่าวด้วยถ้อยคำอีกว่า “แน่นอน แน่นอน ก็คือเอ็งส่งรับร่างกฤษฎีกาให้ในหลวงทรงลงพระปรมาภิไธย ในหลวงก็ลงให้ เมื่อลงให้แล้ว ถ้าผิดพลาดเอ็งก็ต้องรับผิดชอบซิ ถ้าเอ็งไม่ยอมรับผิดชอบ เอ็งก็ต้องบอกประชาชนหรือให้ในหลวงลาออก” ซึ่งถ้อยคำดังกล่าว เป็นการกล่าววาจาจาบจ้วงล่วงเกิน  เปรียบเทียบ และเปรียบเปรยถึงพระมหากษัตริย์เกี่ยวกับความรับผิดชอบในกรณีที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาให้เพิกถอนพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวในฟ้องข้อ 1 โดยมิบังควร  เป็นที่ระคายเคืองต่อเบื้องพระยุคลบาท และเป็นการเสื่อมเสียพระเกียรติยศชื่อเสียงแห่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย  อันเป็นที่เคารพสักการะของปวงชนชาวไทย อีกทั้งถ้อยคำดังกล่าวยังทำให้ประชาชนสับสนเข้าใจว่าพระมหากษัตริย์ต้องเป็นผู้รับผิดชอบในเหตุแห่งการเพิกถอนพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวอยู่ด้วย อันเป็นการดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ผู้โฆษณา ได้ร่วมกันเรียบเรียงข้อความที่จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์กล่าววาจาดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ดังกล่าวในฟ้อง  ข้อ 2 ก. แล้วนำมาพิมพ์โฆษณาเป็นลายลักษณ์อักษรลงในหนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก ฉบับที่ 1621 ปีที่ 5 ประจำวันศุกร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2549 ในหน้า 18 ด้วยข้อความว่า “เอ็งส่งกฎหมายให้ในหลวงลงพระปรมาภิไธย พอพระองค์ท่านลงมาแล้วเกิดความผิดพลาด นายกฯต้องลาออก แสดงความรับผิดชอบ ถ้าไม่ยอมลาออก ต้องบอกประชาชนทั้งประเทศว่าให้ในหลวงลาออก” ซึ่งข้อความดังกล่าว เป็นการจาบจ้วงล่วงเกิน เปรียบเทียบ และเปรียบเปรยถึงพระมหากษัตริย์เกี่ยวกับความรับผิดชอบในกรณีที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาให้เพิกถอนพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวในฟ้องข้อ 1 โดยมิบังควร เป็นที่ระคายเคืองต่อเบื้องพระยุคลบาท และเป็นการเสื่อมเสียพระเกียรติยศชื่อเสียงแห่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย อันเป็นที่เคารพสักการะของปวงชนชาวไทย อีกทั้งข้อความดังกล่าวยังทำให้ประชาชนสับสนเข้าใจว่าพระมหากษัตริย์ต้องเป็นผู้รับผิดชอบในเหตุแห่งการเพิกถอนพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว อันเป็นการดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ครั้นตามวันเวลาดังกล่าวข้างต้น ถึงวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2549 เวลากลางวันและกลางคืนติดต่อกัน จำเลยที่ 2 ในฐานะบรรณาธิการผู้พิมพ์ ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก และเป็นผู้จัดทำ ตรวจแก้ และควบคุมบทประพันธ์และข้อความที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก ได้บังอาจนำหนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก ฉบับดังกล่าวที่มีข้อความดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ดังกล่าวข้างต้น ออกเผยแพร่ โฆษณา โดยการนำออกจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป ทั่วราชอาณาจักร อันเป็นการดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ดังปรากฏข้อความดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ที่จำเลยที่ 2 พิมพ์โฆษณาตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลขที่ 2 เหตุตามฟ้องข้อ 2 ข.  เกิดที่แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร และทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักรเกี่ยวพันกัน เหตุเกิดที่แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
 
สั่งฟ้องตามประมวลกฎหมายอาญา  มาตรา  33, 83, 112  พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 มาตรา 4, 48   คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 ข้อ 1
 
ด้านข้อมูลจากคมชัดลึก (อ้างใน SANOOK http://news.sanook.com/politic/politic_37091.php ) ระบุว่า วันที่ 19 ต.ค. 49 เวลา 10.00 น. นายวุฒิชัย นาถนิธิภูมิ อัยการจังหวัดประจำกรม สำนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 8 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายสนธิ ลิ้มทองกุล อายุ 58 ปี อดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และนายเฉลียว คงตุก อายุ 45 ปี บรรณาธิการผู้พิมพ์ ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานร่วมกันดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ความผิดตาม พ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ.2484 และคำสั่งคณะปฏิรูป การปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ต.ค.2519 ข้อ 1
 
คำฟ้องบรรยายความผิดสรุปว่า ก่อนเหตุ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงใช้พระราชอำนาจบริหารราชการแผ่นดินทางคณะรัฐมนตรี ( ครม.) โดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) พ.ศ.2548 และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ.2548 ทรงลงพระปรมาภิไธย โดย พ.ต.ท.ทักษิณ นายกรัฐมนตรี เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 มิ.ย.48 ซึ่งต่อมาวันที่ 23 มี.ค.49 ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาให้เพิกถอนพระราชกฤษฎีกาทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว
 
โดยวันเวลาดังกล่าวจำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้วว่าพระมหากษัตริย์ ไม่จำต้องรับผิดชอบในการตราพระราชกฤษฎีกานั้น ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ แล้วจำเลยที่ 1 บังอาจให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนที่เป็นการกล่าววาจาด้วยถ้อยคำจาบจ้วงล่วงเกิน เปรียบเปรยถึงพระมหากษัตริย์เกี่ยวกับความรับผิดชอบในกรณีที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาเพิกถอนพระราชกฤษฎีกาแปรรูป กฟผ. โดยการให้สัมภาษณ์นั้นมี พนักงานหลายคนของ นสพ.คม ชัด ลึก ที่มีจำเลยที่ 2 เป็นบรรณาธิการ ได้ร่วมกันเรียบเรียงข้อความที่ จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์ แล้วนำมาตีพิมพ์ใน นสพ. คม ชัด ลึก วันที่ 24 มี.ค.49 หน้าที่ 18 โดยจำเลย ทั้งสองเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน วันที่ 17 เม.ย. และ 28 เม.ย.49 ในชั้นสอบสวนจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ
 
ทั้งนี้ศาลประทับรับคำฟ้องไว้เป็นคดีดำหมายเลข 3845/2549 ศาลสอบคำให้การจำเลยแล้ว ทั้งสอง ยืน กรานปฏิเสธ ศาลจึงนัดแถลงเปิดคดี วันที่ 27 พ.ย. 49 ต่อมานายสนธิ ยื่นหลักทรัพย์เป็นกรมธรรม์ประกันอิสรภาพ วงเงิน 200,000 บาท เพื่อประกันตัว ขณะที่นายเฉลียว ใช้ตำแหน่ง บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ยื่นประกันตัวออกไป
 

พฤติการณ์การจับกุม

ไม่มีข้อมูล

บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล

ไม่มีข้อมูล

หมายเลขคดีดำ

อ.3845/2549 

ศาล

ไม่มีข้อมูล

เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีข้อมูล

แหล่งอ้างอิง

ไม่มีข้อมูล

 

วันที่ 19 ต.ค. 49 นายสนธิ ยื่นหลักทรัพย์เป็นกรมธรรม์ประกันอิสรภาพ วงเงิน 200,000 บาท เพื่อประกันตัว ขณะที่นายเฉลียว ใช้ตำแหน่ง บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ยื่นประกันตัวออกไป 
 
วันที่ 27 พ.ย.49 ซึ่งเป็นวันนัดแถลงเปิดคดี โจทก์ได้ถอนฟ้อง จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
 

คำพิพากษา

ไม่มีข้อมูล

ดูแฟ้มคดีอื่นๆ

เอกภพ ห.: น้องตั้งอาชีวะ

นรเวศย์

ใจ อึ๊งภากรณ์ (บรรยายที่ SOAS ประเทศอังกฤษ)