รังสรรค์

อัปเดตล่าสุด: 02/12/2559

ผู้ต้องหา

รังสรรค์ แสงสุข

สถานะคดี

ตัดสินแล้ว / คดีถึงที่สุด

คดีเริ่มในปี

2548

โจทก์ / ผู้กล่าวหา

นายพันธวิชญ์ บำรุงกิจ

สารบัญ

เมื่อปี 2548 อดีตอธิการบดีม.รามคำแหง ถูกฟ้องในคดีหมิ่นสถาบันกษัตริย์ฯ ไม่ทราบรายละเอียดคดี ศาลชั้นต้นยกฟ้อง เพราะโจทก์เป็นบุคคลธรรมดาไม่มีสิทธิยื่นฟ้องคดีหมิ่นแทนอัยการ

ภูมิหลังผู้ต้องหา

ศาสตราจารย์รังสรรค์ แสงสุข อดีตอธิ​การบดีมหาวิทยาลัยรามคำ​แหง อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เมื่อปี 2518 อดีตที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี เมื่อปี 2518 และ 2536 และ อดีตที่ปรึกษา รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อปี 2526

ข้อหา / คำสั่ง

มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา

การกระทำที่ถูกกล่าวหา

นายรังสรรค์ถูกกล่าวหาว่า เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม  2540 กระทำการดูหมิ่นต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท เหตุเกิดที่ แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กทม.

 

พฤติการณ์การจับกุม

ไม่มีข้อมูล

บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล

ไม่มีข้อมูล

หมายเลขคดีดำ

ด 490/2548

ศาล

ไม่มีข้อมูล

เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

 

ในกรณีความผิดต่อบุคคลที่ประชาชนได้รับความเสียหายเป็นการพิเศษเฉพาะตัว เช่น การทำร้ายร่างกาย การลักทรัพย์ ประชาชนสามารถฟ้องร้องคดีที่ศาลได้โดยตรง 

แต่ในกรณีความผิดในหมวดความผิดต่อความมั่นคงของราชอาณาจักร เช่น มาตรา112 ความผิดฐานก่อการร้าย ถือว่ารัฐเป็นผู้เสียหาย และเป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด 

หากประชาชนคนใดประสงค์จะเป็นโจทก์ฟ้องร้องคดีต่อศาลเอง ประชาชนคนนั้นจะต้องได้รับความเสียหายเป็นพิเศษเฉพาะตัวจากการกระทำความผิดฐานนั้น เช่น หากมีการก่อการร้ายโดยการลอบวางระเบิด เจ้าของบ้านที่อยู่ในที่เกิดเหตุและบ้านเรือนได้รับความเสียหายจากแรงระเบิด ถือว่าเป็นผู้เสียหายเป็นพิเศษ จึงจะสามารถฟ้องร้องความผิดฐานก่อการร้ายต่อศาลได้

กรณีคดีหมิ่นประมาทสถาบันพระมหากษัตริย์ตามมาตรา 112 เป็นความผิดต่อความมั่นคงของราชอาณาจักร ไม่มีประชาชนคนใดได้รับความเสียหายเป็นพิเศษเป็นการเฉพาะตัว หากประชาชนทั่วไปต้องการจะเอาผิดดำเนินคดีต้องใช้วิธีการแจ้งความหรือกล่าวโทษต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทำหน้าที่สืบสวนสอบสวนและส่งฟ้องต่อไป

แหล่งอ้างอิง

ศาลอาญา (อ้างอิงเมื่อ 18 เมษายน 2555)

คดีนี้ออกเลขคดีดำและคดีแดงวันเดียวกัน คือวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2548 โดยศาลพิเคราะห์ว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามปอ.ม.112 ซึ่งเป็นการกระทำความผิดที่รัฐมีหน้าที่ดำเนินการกับผู้กระทำผิด โจทก์มิใช่ผู้เสียหายตามปอ.ม.2(4) จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ให้ยกฟ้อง
 
ต่อมา โจทก์ยื่นอุทธรณ์ ซึ่งศาลอุทธณ์มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2548 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
 

คำพิพากษา

ไม่มีข้อมูล

ดูแฟ้มคดีอื่นๆ

บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์: ข้อสอบวิชาอารยธรรมไทย

คดีชุมนุมขัดขวางขบวนเสด็จ

รุ่งทิวา