ขอนแก่นโมเดล

อัปเดตล่าสุด: 16/09/2562

ผู้ต้องหา

ขอนแก่นโมเดล

สถานะคดี

ชั้นศาลชั้นต้น

คดีเริ่มในปี

2557

โจทก์ / ผู้กล่าวหา

ไม่มีข้อมูล

สารบัญ

คดี "ขอนแก่นโมเดล" เป็นคดีมหากาพย์ที่มีจำเลยรวม 26 คน ส่วนใหญ่ถูกจับไม่กี่วันหลังการเข้ายึดอำนาจของ คสช. จากการประชุมร่วมกัน ถูกตั้งข้อหาชุมนุมทางการเมืองเกินห้าคน ต่อมาถูกเชื่อมโยงกับการมีอาวุธ และกลายเป็นคดีข้อหาหนัก คือ เตรียมก่อการร้าย

จำเลยถูกควบคุมตัวในเรือนจำนานหลายเดือน ก่อนทยอยได้ประกันตัวทีละคนในช่วงปลายปี 2557 จนครบทุกคน จำเลยปฏิเสธข้อกล่าวหา โดยหลายคนบอกว่า ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ไม่ได้ทำอะไรเป็นขบวนการเดียวกัน คดีนี้พิจารณาที่ศาลทหารขอนแก่น ซึ่งห้องพิจารณาเล็กเกินจะให้จำเลยและทนายความทั้งหมดเข้าไปในห้องได้

ฝ่ายโจทก์ขอสืบพยาน 90 ปาก แต่การพิจารณาเป็นไปอย่างเชื่องช้า จนกระทั่ง คสช. หมดอำนาจไปก็ยังสืบพยานได้ไม่กี่ปาก และคดีโอนกลับไปพิจารณาที่ศาลปกติ

 

ภูมิหลังผู้ต้องหา

ปฏิบัติการ "ขอนแก่นโมเดล" เป็นชื่อที่เจ้าหน้าที่รัฐเรียกคนกลุ่มนี้เนื่องจากเชื่อว่า ผู้ต้องหาตระเตรียมการโดยสะสมกำลังพล อาวุธ จัดหาหรือรวบรวมทรัพย์สินเพื่อดำเนินการตามแผนการ เพื่อสร้างความปั่นป่วนเพื่อให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่ประชาชนและเพื่อก่อการร้าย
 
ผู้ต้องหากลุ่มนี้มาจากหลายกลุ่มในจังหวัดแถบภาคอีสาน เช่น นครราชสีมา กาฬสิน มุกดาหาร ขอนแก่น (เท่าที่ทราบ)  โดยบางคนเป็นกลุ่มเสื้อแดง, กลุ่มกองกำลังอาสาสมัครพิทักษ์ประชาธิปไตยแห่งชาติ (อพปช.), กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.), กลุ่มแดงทั้งแผ่นดิน, กลุ่มแกนนำกองทัพปราบกบฏ ซึ่งทุกคนล้วนเป็นมวลชนเสื้อแดง(ผู้ที่ชื่นชอบนโยบาย หรือ นักการเมืองเสื้อแดง) แต่ไม่ใช่ทุกคนที่เป็นแกนนำ 

 

 

ข้อหา / คำสั่ง

ฝ่าฝืนประกาศคสช. 7/2557
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 135/2 (2), 210, 371 • พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ มาตรา 7, 8 ทวิ วรรค1 , 72 วรรค

การกระทำที่ถูกกล่าวหา

ผู้ต้องหากลุ่มนี้เปิดห้องพักที่โรงแรมแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่นเพื่อประชุม เจ้าหน้าที่จึงคาดว่าจะต้องมีปฏิบัติการไม่ชอบมาพากลบางอย่าง เนื่องจากเคยมีเหตุการณ์เมื่อปี 2553 ที่คนเสื้อแดงถูกปราบปรามจากเวทีราชประสงค์และถอยกลับมาอยู่ในที่ตั้ง จากนั้นได้ลุกฮือไปเผาสถานที่ราชการและสถานที่สำคัญหลายแห่ง โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ของภาคอีสาน อย่าง มุกดาหาร อุบลราชธานี ขอนแก่น และ อุดรธานี จึงเกรงว่า การที่กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) ได้สลายการชุมนุมคนเสื้อแดงที่ถนนอักษะ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 จะทำให้แกนนำกลุ่มนี้กลับมาปฏิบัติการซ้ำรอยปี 2553 อีก
 

พฤติการณ์การจับกุม

23 พฤษภาคม 2557
 
เจ้าหน้าที่ทหารได้ทราบถึงแผนการดังกล่าว (ขอนแก่นโมเดล) จึงเข้าควบคุมตัวผู้ต้องหารายหนึ่ง ได้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสาขาตะวันออกเฉียงเหนือพร้อมกับของกลาง เป็นกระสุนปืนขนาด 11 มม. จำนวน 81 นัด กระสุนปืนขนาด 9 มม. จำนวน 41 นัด กระสุนปืนลูกซองจำนวน 16 นัด และสิ่งของอื่นอีกจำนวนมาก
จากการขยายผลทราบว่าผู้ต้องหามีการประชุมวางแผนกันที่โรงแรมแห่งหนึ่ง ที่จังหวัดขอนแก่น จึงเข้าไปตรวจสอบพบผู้ต้องหาอีก 21 คน อยู่ที่โรงแรม จึงเข้าควบคุมตัวไว้และได้เข้าตรวจค้นรถยนต์ของผู้ต้องหาที่จอดอยู่บริเวณโรงแรมพบของกลางทั้งหมดดังนี้  
 
– ยึดระเบิดขว้างได้จำนวน 2 ลูก ระเบิดควันจำนวน 1 ลูก พร้อมสิ่งของอื่นในรถยนต์ของผู้ต้องหารายหนึ่ง 
– ยึด ขวานได้ 1 เล่ม พร้อมสิ่งของอื่นในรถยนต์ของผู้ต้องหารายหนึ่ง
– ยึดเครื่องกระสุนปืน ขนาด 9 มม. จำนวน 161 นัด กระสุนปืนขนาด 11 มม. จำนวน 73 นัด มือถืออีก 2 เครื่อง อาวุธพกขนาด 9 มม. 1 กระบอก ซองกระสุน 1 ซอง กระสุนปืนขนาด 9 มม. จำนวน 8 นัด  พร้อมสิ่งของอื่นในรถยนต์ของผู้ต้องหารายหนึ่ง
– ยึดระเบิดขว้าง 1 ลูก พร้อมสิ่งของอื่นในรถยนต์ของผู้ต้องหารายหนึ่ง
– ยึดแก๊ส 1 ถัง เสื้อเกราะอ่อน 1 ตัว มีดสปาต้า 1 เล่ม ในรถยนต์ของผู้ต้องหารายหนึ่ง 
และพบสิ่งของอื่นอยู่ภายในรถยนต์คันอื่นอีกหลายรายการ ตามที่แนบไว้ในบัญชีของกลาง (ไม่มีบัญชีของกลาง) 
(อ้างอิงจากคำร้องขอฝากขังของพนักงานสอบสวน ส.ภ.ขอนแก่น)

 

บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล

ไม่มีข้อมูล

หมายเลขคดีดำ

10 ก./57

ศาล

ศาลมณฑลทหารบก ที่ 23 (ขอนแก่น)

เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ผู้ต้องหาแต่ละคนไม่ได้แต่งตั้งทนายความคนเดียวกัน ซึ่งปัจจุบันบางคนยังไม่มีทนายเข้ามาดูแล แต่ในเบื้องต้นศาลไม่อนุญาตให้ผู้ต้องหารายใดได้รับการประกันตัว
 
โดยศาลให้เหตุผลว่า พฤติการณ์แห่งคดีและความผิดที่พนักงานสอบสวนตั้งข้อหามีอัตราโทษสูง เกิดขึ้นในระหว่างประกาศใช้กฎอัยการศึก ประกอบกับพนักงานสอบสวนคัดค้านการประกันตัว เกรงว่าผู้ต้องหาอาจหลบหนีหรือไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานหรืออาจก่อเหตุประการอื่นโดยมีญาติของผู้ต้องหา ทนายความ กับผู้ที่เกี่ยวข้องทยอยเยี่ยมและให้กำลังใจผู้ต้องหาอย่างต่อเนื่อง
 

 

แหล่งอ้างอิง

ไม่มีข้อมูล
23 พฤษภาคม 2557 
 
เจ้าหน้าที่ทหารได้ทราบถึงแผนการดังกล่าว (ขอนแก่นโมเดล) จึงเข้าควบคุมตัวผู้ต้องหารายหนึ่ง ได้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสาขาตะวันออกเฉียงเหนือพร้อมกับของกลาง เป็นกระสุนปืนขนาด 11 มม. จำนวน 81 นัด กระสุนปืนขนาด 9 มม. จำนวน 41 นัด กระสุนปืนลูกซองจำนวน 16 นัด และสิ่งของอื่นอีกจำนวนมาก
 
จากการขยายผลทราบว่าผู้ต้องหามีการประชุมวางแผนกันที่โรงแรมแห่งหนึ่ง ที่จังหวัดขอนแก่น จึงเข้าไปตรวจสอบพบผู้ต้องหาอีก 21 คน อยู่ที่โรงแรม จึงเข้าควบคุมตัวไว้และได้เข้าตรวจค้นรถยนต์ของผู้ต้องหาที่จอดอยู่บริเวณโรงแรมพบของกลางทั้งหมดดังนี้  
 
– ยึดระเบิดขว้างได้จำนวน 2 ลูก ระเบิดควันจำนวน 1 ลูก พร้อมสิ่งของอื่นในรถยนต์ของผู้ต้องหารายหนึ่ง 
– ยึด ขวานได้ 1 เล่ม พร้อมสิ่งของอื่นในรถยนต์ของผู้ต้องหารายหนึ่ง
– ยึดเครื่องกระสุนปืน ขนาด 9 มม. จำนวน 161 นัด กระสุนปืนขนาด 11 มม. จำนวน 73 นัด มือถืออีก 2 เครื่อง อาวุธพกขนาด 9 มม. 1 กระบอก ซองกระสุน 1 ซอง กระสุนปืนขนาด 9 มม. จำนวน 8 นัด  พร้อมสิ่งของอื่นในรถยนต์ของผู้ต้องหารายหนึ่ง
– ยึดระเบิดขว้าง 1 ลูก พร้อมสิ่งของอื่นในรถยนต์ของผู้ต้องหารายหนึ่ง
– ยึดแก๊ส 1 ถัง เสื้อเกราะอ่อน 1 ตัว มีดสปาต้า 1 เล่ม ในรถยนต์ของผู้ต้องหารายหนึ่ง 
และพบสิ่งของอื่นอยู่ภายในรถยนต์คันอื่นอีกหลายรายการ ตามที่แนบไว้ในบัญชีของกลาง (ไม่มีบัญชีของกลาง) 
(อ้างอิงจากคำร้องขอฝากขังของพนักงานสอบสวน ส.ภ.ขอนแก่น)
 
ปฏิบัติการ "ขอนแก่นโมเดล" เป็นชื่อที่เจ้าหน้าที่รัฐเรียกคนกลุ่มนี้เนื่องจากเชื่อว่า ผู้ต้องหาตระเตรียมการโดยสะสมกำลังพล อาวุธ จัดหาหรือรวบรวมทรัพย์สินเพื่อดำเนินการตามแผนการ เพื่อสร้างความปั่นป่วนเพื่อให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่ประชาชนและเพื่อก่อการร้าย
 
ผู้ต้องหากลุ่มนี้มาจากหลายกลุ่มในจังหวัดแถบภาคอีสาน เช่น นครราชสีมา กาฬสิน มุกดาหาร ขอนแก่น (เท่าที่ทราบ)  โดยบางคนเป็นกลุ่มเสื้อแดง, กลุ่มกองกำลังอาสาสมัครพิทักษ์ประชาธิปไตยแห่งชาติ (อพปช.), กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.), กลุ่มแดงทั้งแผ่นดิน, กลุ่มแกนนำกองทัพปราบกบฏ
ซึ่งทุกคนล้วนเป็นมวลชนเสื้อแดง(ผู้ที่ชื่นชอบนโยบาย หรือ นักการเมืองเสื้อแดง) แต่ไม่ใช่ทุกคนที่เป็นแกนนำ 
 
27 พฤษภาคม 2557 
 
ผู้ต้องหา 2 คน เข้ามารายงานตัวที่ค่ายสีหราชเดโชไชยตามคำสั่งเรียก ทหารจึงควบคุมตัวไว้สืบเนื่องจากการขยายผลคดีของผู้ต้องหาที่ถูกจับก่อนหน้านี้ เป็นเวลา 2 วัน
 
29 พฤษภาคม 2557 
 
ทหารส่งผู้ต้องหาทั้งหมด 24 คน (ชาย 22 คน หญิง 2 คน) มาที่ สถานีตำรวจภูธร (ส.ภ.) เมืองขอนแก่นเวลาประมาณ 13.00 น. เพื่อตั้งข้อหา
 
31 พฤษภาคม 2557 
 
พนักงานสอบสวนสถานีภูธร(ส.ภ.)เมืองขอนแก่นยื่นคำร้องขอฝากขัง ผลัดแรก (วันที่ 31 พฤษภาคม 2557 – 11 มิถุนายน 2557 ) ที่ศาลมณฑลทหารบกที่ 23 โดยคัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราว หรือ การประกันตัว เนื่องจากเห็นว่าเป็นความผิดอาญาร้ายแรง เกรงว่าผู้ต้องหาจะหลบหนีหรือจะไปยุ่งกับพยานหลักฐานหรือจะก่อเหตุร้ายประการอื่น 
 
ผลัดที่สองตั้งแต่ 12 มิถุนายน 2557 – 23 มิถุนายน 2557
ผลัดที่สามตั้งแต่ 24 มิถุนายน 2557 – 5 กรกฎาคม 2557 
ผลัดที่สี่ตั้งแต่ 6 กรกฎาคม 2557 – 17  กรกฎาคม 2557
ผลัดที่ห้าตั้งแต่ 18 กรกฎาคม 2557 – 29 กรกฎาคม 2557
 
22 สิงหาคม 2557 
 
เวลา 10.00 น. อัยการศาลมณฑลทหารบกที่ 23 ได้ยื่นฟ้องคดีอาญากลุ่มผู้ต้องหา "ขอนแก่นโมเดล" จำนวน 26 คน ต่อศาลมณฑลทหารบกที่ 23 จังหวัดขอนแก่น เป็นคดีหมายเลขดำ ที่ 10 ก./2557 ในฐานความผิด ดังนี้ 
 
1. ร่วมกันฝ่าฝืนประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง
 
2. ร่วมกันสะสมกำลังพลหรืออาวุธ จัดหาหรือรวบรวมทรัพย์สินให้หรือรับการฝึกการก่อการร้าย ตระเตรียมการอื่นใด หรือสมคบกันเพื่อก่อการร้ายหรือกระทำความผิดใดๆ อันเป็นส่วนของแผนการเพื่อก่อการร้าย หรือรู้ว่าจะมีผู้ก่อการร้ายแล้วกระทำการใดอันเป็นการช่วยปกปิดไว้
 
3. เป็นซ่องโจร
 
4. มีและร่วมกันมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดที่ใช้เฉพาะแต่การสงครามที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองโดยฝ่าฝืนกฎหมาย
 
5. มีอาวุธ เครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
 
6. พาอาวุธปืนติตัวไปในเมืองและทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและโดยไม่มีเหตุอันควร
 
7. มีเครื่องกระสุนปืนซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ได้รับใบอนุญาต
 
8. มีเครื่องยุทธภัณฑ์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต
 
9. มีเครื่องวิทยุคมนาคมไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต
 
อัยการยื่นฟ้องทั้ง 9 ข้อหานี้กับผู้ต้องหาทุกคนซึ่งโทษสูงสุดคือ ประหารชีวิต ขณะนี้ทนายจาก กนส. ได้เตรียมคำร้องขอประกันตัวชั่วคราวและเตรียมหลักทรัพย์เพื่อยื่นประกันต่อศาลคนละไม่น้อยกว่า 400,000 บาทยื่น เบื้องต้นยื่นได้ 7 ราย และจะทราบในวันนี้ว่าศาลทหารจะให้ประกันตัวหรือไม่ และวันนี้ยังไม่มีการนำตัวจำเลยทั้งหมดมาศาลแต่อย่างใด ทั้งที่โดยปกติคดีในศาลอาญาในวันฟ้องจะต้องนำตัวจำเลยมาศาลหรือใช้วิธีเทเลคอนเฟอเรนซ์
 
ศาลได้นัดพร้อมและสอบคำให้การจำเลย วันที่ 21 ต.ค.57 เวลา 9.00 น. ที่ศาลทหารจังหวัดขอนแก่น
 
ที่มา ประชาไท
 
 
21 ตุลาคม 2557 
 
ประชาไทรายงานว่า ศาลทหารขอนแก่นนัดสอบคำให้การ โดยในวันนี้มีการนำจำเลยทั้ง 26 คนจากเรือนจำเดินทางมายังศาล ท่ามกลางการรอต้อนรับจากญาติผู้ต้องขังเกือบร้อยคนที่เดินทางมาจากจังหวัดต่างๆ เนื่องจากผู้ต้องขังมีภูมิลำเนาอยู่ในหลายจังหวัด อย่างไรก็ตาม ศาลไม่อนุญาตให้ญาติและบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องในคดีเข้าไปในห้องพิจารณาโดยอ้างว่าห้องคับแคบ มีเพียงตัวแทนจากองค์กรระหว่างประเทศ 1 คนที่ได้รับอนุญาตให้เข้าสังเกตการณ์ในห้องพิจารณา นั่นคือ นายคิงสลีย์ แอ๊บบอต ที่ปรึกษากฎหมายระหว่างประเทศของคณะกรรมการนิติศาสตร์สากล (International commission of Jurist – ICJ) 
 
การสอบคำให้การให้ห้องพิจารณาคดีศาลทหารเริ่มต้นในช่วงสายและเสร็จสิ้นในเวลาประมาณ 13.30 น. โดยผู้ต้องหาทั้งหมดให้การปฏิเสธและขอต่อสู้คดี
 
วิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความจากกลุ่มนักกฎหมายอาสาเพื่อสิทธิมนุษยชน (กนส.) ชี้แจงกับญาติผู้ต้องขังส่วนหนึ่งว่า วันนี้จะยื่นประกันผู้ต้องขังที่อยู่ในความดูแลของ กนส.ทั้ง 11 ราย โดยใช้หลักทรัพย์เป็นเงินสดรายละ 4 แสนบาท คาดว่าจะทราบผลประกันตัวภายในเย็นวันนี้ โดยการยื่นประกันครั้งนี้นับเป็นครั้งที่สอง หลังจากในครั้งแรกยื่นประกันตัวเมื่อครั้งอัยการยื่นฟ้องและศาลไม่ให้ประกันโดยระบุเหตุผลว่า “จำเลยยังไม่มาให้การต่อศาล คดีมีโทษสูง เกรงว่าจะหลบหนี”
 
ด้านเบญจรัตน์ มีเทียน ทนายความของผู้ต้องขังที่เหลืออีก 15 คน ได้ยื่นขอให้ศาลวินิจฉัยเขตอำนาจศาลว่า ศาลทหารมีอำนาจในการพิจารณาคดีขอนแก่นโมเดลหรือไม่ ศาลนัดอ่านคำวินิจฉัยเรื่องเขตอำนาจศาลในวันที่ 24 ธันวาคม 2557 สำหรับการนัดตรวจพยานศาลยังไม่มีคำสั่งนัด เนื่องจากต้องรออ่านคำวินิจฉัยเขตอำนาจศาลก่อน นอกจากนี้ในวันพรุ่งนี้จะยื่นประกันตัวจำเลย 2 รายซึ่งป่วยเป็นโรคเก๊าต์และโรคหัวใจ
 
เวลาประมาณ 16.00 น. เพจกลุ่มนักกฎหมายอาสาเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้แจ้งว่า ตามที่ได้มีการยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวจำเลยคดีขอนแก่นโมเดล ในช่วงเช้า ศาลมณฑลทหารบกที่ 23 ได้มีคำสั่งไม่ให้ประกันตัวจำเลย โดยให้เหตุผลว่า “เป็นคดีที่จำเลยถูกฟ้องมีอัตราโทษสูงและเป็นคดีที่เกี่ยวกับความมั่นคง ทั้งเป็นการกระทำผิดในระหว่างประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร แม้โจทก์ไม่คัดค้าน แต่ก็ยังมิได้มีการสืบพยานโจทก์ จึงขอฟังพยานหลักฐานโจทก์สักระยะหนึ่งก่อน"
 
 
24 ตุลาคม 2557 
 
ประชาไทรายงานว่า เวลาประมาณ 18.00 น. ที่หน้าเรือนจำจังหวัดขอนแก่น ญาติผู้ต้องขังคดีขอนแก่นโมเดล 2 ราย คือ ดำรงศักดิ์ 39 ปี และพรหมพัฒน์ ธนกุลพิพัฒน์ 48 ปี มารอรับตัวผู้ต้องขังทั้งสองกลับบ้าน หลังศาลขอนแก่นมีคำสั่งให้ปล่อยชั่วคราวในวันนี้
 
ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม เบญจรัตน์ มีเทียน และ กรกช บุตรสิม ทนายความของผู้ต้องขังทั้งสองได้ยื่นประกันผู้ต้องขังโดยอ้างถึงปัญหาสุขภาพ และโรคประจำตัว พร้อมวางเงินสดรายละ 4 แสนบาทเป็นหลักทรัพย์ ศาลได้เรียกเอกสารใบรับรองแพทย์เพิ่มเติมและมีคำสั่งปล่อยชั่วคราวในวันนี้
 
 
27 ตุลาคม 2557 
 
เวลาประมาณ 15.00 น. เพจกลุ่มนักกฎหมายอาสาเพื่อสิทธิมนุษยชน (กนส.) แจ้งว่า ทนายความยื่นขอประกันตัวผู้ต้องขัง ศาลทหารขอนแก่นสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลย 2 รายระหว่างพิจารณาคดี คือ นายเสนอ นันทน์ธนกุล ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่ง จำเลยที่ 18 และนางสาวกัลยรักย์ สมันตพันธ์ จำเลยที่ 23 อาชีพนายหน้าขายที่ดินและหมอดู เนื่องจากเหตุเจ็บป่วย ต่อมาเวลาประมาณ 18.00 น.ผู้ต้องขังทั้งสองได้รับการปล่อยตัวท่ามกลางความยินดีของญาติๆ ที่ไปรอรับ
 
 
p.p1 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; font: 12.0px ‘Helvetica Neue’} p.p2 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; font: 12.0px ‘Helvetica Neue’; min-height: 14.0px} p.p3 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; font: 12.0px Thonburi} span.s1 {font: 12.0px Thonburi} span.s2 {font: 12.0px ‘Helvetica Neue’}
25 พฤศจิกายน 2559 
 
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า ศาลทหารขอนแก่น นัดสืบพยานโจทก์เป็นนัดที่ 2 โดยอัยการทหารได้นำพยานฝ่ายโจทก์ปากที่ 1 พล.ต.ชาญชัย เอมอ่อน ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 28 จ.เลย ซึ่งขณะเกิดเหตุในปี 2557 ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 8 (ผบ.ร.8) ทั้งยังเป็นผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจ กรมทหารราบที่ 8 (ผบ.ฉก.ร.8) ซึ่งตั้งขึ้นหลังการรัฐประหาร และมีบทบาทในการจับกุมจำเลยในคดีนี้ เข้าตอบคำถามค้านของทนายจำเลยต่อจากนัดแรกเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ที่ผ่านมา
 
ทนายความจากสมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิเสรีภาพ (สกสส.) ซึ่งเป็นทนายจำเลยที่ 2, 10-15, 17-18, 21-24 ใช้เวลาถามค้านตั้งแต่เวลาประมาณ 10.30 น. จนถึงเวลาประมาณ 17.00 น. จากนั้นอัยการทหารได้ถามติง และเสร็จการสืบพยานโจทก์ปากที่ 1 ในเวลาประมาณ 17.30 น.
 
โจทก์ได้แถลงขอนำพยานโจทก์เข้าสืบอีก 5 ปาก ในวันที่ 23 ธันวาคม 2559 ตั้งแต่เวลา 08.30 น. และขอนัดหมายการสืบพยานครั้งต่อๆ ไป ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์, 24 มีนาคม, 28 เมษายน, 26 พฤษภาคม 2560 ตามที่ได้ตกลงกับทนายจำเลยแล้ว ศาลอนุญาตตามที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกัน
 
ทั้งนี้ ก่อนเริ่มการถามค้านพยานโจทก์ในช่วงบ่าย ทนายจำเลยได้แถลงต่อศาลว่า มีกลุ่มบุคคลติดบัตรระบุสังกัด กอ.รมน. (กองอำนวยการรักษาความความมั่นคงภายในราชอาณาจักร) ได้เข้ามาถ่ายรูปทนาย และจำเลย ในบริเวณศาลหลายครั้ง และในเช้าวันนี้ ได้เข้ามาขอรายชื่อทนายทั้งหมด ซึ่งทำให้ทีมทนายความเป็นกังวลว่า อาจจะตกอยู่ในภาวะถูกคุกคาม และขัดขวางการทำหน้าที่ทนายความเพื่อแสวงหาความยุติธรรมให้กับจำเลย ถ้าหากศาลจะมีวิธีบรรเทาสิ่งนี้ได้ก็จะเป็นพระคุณ ศาลรับไว้พิจารณาและจะแจ้งเจ้าหน้าที่ศาลให้ดูแลในบริเวณศาล และหากทนายถูกคุกคามให้แสดงคำร้องมา ศาลจะพิจารณาให้
 
 
 
25 มีนาคม 2559 
 
เพจกลุ่มนักกฎหมายอาสาเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า ศาลทหาารขอนแก่นนัดตรวจพยานหลักฐาน แต่ต้องเลื่อนออกไปเนื่องจากมีจำเลยบางคนเสียชีวิตและจำเลยบางคนมิได้มาศาล ศาลจึงนัดตรวจพยานหลักฐานครั้งต่อไปในวันที่ 21-22 กรกฎาคม 2559 เวลา 8.30 น.
 
 
p.p1 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; font: 12.0px ‘Helvetica Neue’} p.p2 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; font: 12.0px ‘Helvetica Neue’; min-height: 14.0px} p.p3 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; font: 12.0px Thonburi} span.s1 {font: 12.0px Thonburi} span.s2 {font: 12.0px ‘Helvetica Neue’}

24 มีนาคม 2560

 

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า ศาลทหารขอนแก่นนัดสืบพยานโจกท์ นัดนี้ อัยการทหารต้องนำพยานโจทก์เข้าเบิกความ 1 ปาก และนำพยานโจทก์ที่เคยเบิกความไว้แล้ว มาให้ทนายจำเลยถามค้านในคราวเดียวกันอีก 2 ปาก เนื่องจากทั้ง 3 ปาก เป็นพยานคู่ หรือพยานที่ต่างก็อยู่ในเหตุการณ์การจับกุมจำเลยที่ 1 แต่อัยการทหารแถลงว่า พยานที่นัดไว้ ไม่มาศาล โดย ..พยัคฆพล ชุมแสง ผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ 6 ค่ายศรีพัชรินทร .ขอนแก่น ติดราชการที่ศูนย์การทหารม้า .สระบุรี, ..สังวร บุญราษฎร์ ไม่ได้รับหมาย ส่วน ..ธนนันท์ มานะยิ่ง มาศาล แต่เห็นว่า อย่างไรวันนี้ก็คงสืบพยานไม่ได้ เพราะพยานอีก 2 คน ไม่มาศาล จึงกลับไปประชุม

 

..พยัคฆพล ขณะเกิดเหตุเป็นเสนาธิการกองพันทหารม้าที่ 6 ค่ายศรีพัชรินทร เป็นหัวหน้าชุดนำกำลังเข้าตรวจค้นจับกุม ...ประธิน จำเลยที่ 1 ซึ่งกำลังปฏิบัติหน้าที่พนักงานรักษาความปลอดภัย (รปภ.) อยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  โดย ..ธนนันท์ ขณะเกิดเหตุเป็นรองผู้บังคับกองร้อยรถถัง กองพันทหารม้าที่ 6 อยู่ในชุดที่เข้าตรวจค้นจับกุมดังกล่าวด้วย ขณะที่ ..สังวาลย์ เป็นหัวหน้า รปภ. ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยฯ ในขณะนั้น

 

อัยการทหารจึงแถลงขอเลื่อนการสืบพยานออกไป โดยในนัดหน้าขอนำ ..สังวาลย์ เข้าเบิกความและถามค้านให้เสร็จก่อน เพราะพยานอยู่ .ตาก เดินทางมาศาลลำบาก ส่วนอีก 2 ปาก ค่อยนำมาให้ทนายจำเลยถามค้านในนัดต่อไป

 

ทนายจำเลยคัดค้าน เนื่องจากพยานทั้งสามเป็นพยานในเหตุการณ์เดียวกัน ต้องถามค้านในนัดเดียวกัน หากถามค้านเฉพาะ ..สังวาลย์ ในนัดหน้า โจทก์อาจเอาคำถามค้านไปเตรียมพยานอีกสองปากมาตอบคำถามค้านในนัดต่อไป ทำให้ฝ่ายจำเลยเสียเปรียบ

 

ศาลพิเคราะห์แล้ว ให้เลื่อนการสืบพยานโจทก์ในนัดนี้ออกไป และให้โจทก์นำ ..สังวาลย์  มาเบิกความนัดหน้า ในวันที่ 28 เมษายน 2560 ส่วนการซักค้านพยานโจทก์ทั้ง 3 ปาก ดังกล่าว ให้โจทก์นำพยานทั้งสามมาให้ทนายจำเลยซักค้านคราวเดียวกันในนัดต่อไป

 
 
22 ธันวาคม 2560
 
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า วันนี้ศาลทหารขอนแก่นนัดสืบพยานโจทก์ พยานโจทก์ที่อัยการทหารนัดไว้ 2 ปาก มาศาลเพียงปากเดียว คือ ร.ต.อ.นพดล ถาโงกโป้ จากกองกำกับการสืบสวนตำรวจภูธรจังหวัดขอนแก่น ส่วน ร.อ.ธนนันท์ มานะยิ่ง ผู้บังคับกองร้อยรถถัง กองพันทหารม้าที่ 6 ซึ่งตอบคำถามทนายจำเลยค้างอยู่ ติดภารกิจไม่มาศาล ตุลาการศาลจึงให้เลื่อนไปสืบในนัดหน้า วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561 พร้อมกับนัดสืบพยานโจทก์ปากอื่นไว้ล่วงหน้าในวันที่ 27 เมษายน 2561 , 25 พฤษภาคม 2561 และ 29 มิถุนายน 61
 
พยานเบิกความตอบอัยการทหารโดยสรุปว่า ขณะเกิดเหตุรับราชการตำแหน่งรองสารวัตรสืบสวน ประจำกองกำกับการสืบสวน ตำรวจภูธรจังหวัดขอนแก่น ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2557 พยานได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้ไปตรวจยึดอาวุธปืนของ จ.ส.ต.ประธิน จันทร์เกศ (จำเลยที่ 1) ที่เก็บไว้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากได้รับการประสานมาจากทหาร เมื่อไปถึง ธนาคารฯ พยานได้ประสานกับหัวหน้าพนักงานรักษาความปลอดภัย คือ ส.อ.สังวร บุญราษฎร์ ซึ่งได้นำพยานไปที่เคาน์เตอร์ทำงานของ จ.ส.ต.ประธิน พบกระเป๋าสะพายสีดำในลิ้นชักเก็บของ ตรวจสอบในกระเป๋าพบปืน .45 จำนวน 1 กระบอก ซองกระสุนปืนบรรจุกระสุนขนาด .45 จำนวน 7 นัด และสิ่งของอื่นๆ เช่น หนังสือเดินทาง จากนั้น พยานได้ทำบัญชีรายการตรวจยึดของกลางทั้งหมด แล้วนำส่งกองอำนวยการร่วมทหาร-ตำรวจ ที่ค่ายสีหราชเดโชชัย
 
จากนั้น พยานได้ตอบคำถามค้านของทนายจำเลยทั้ง 22 สรุปได้ว่า ไม่ได้ทำการตรวจสอบว่า อาวุธปืนที่พยานตรวจยึดนั้น มีใบอนุญาตหรือไม่ แต่จำได้ว่ามีหมายเลขประจำปืน ซึ่งตรงกันกับสำเนาใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนที่ทนายจำเลยเอาให้ดูและอ้างส่งศาล
   
ทนายจำเลยถามว่า ข้าราชการมักขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืนเป็นของตนเอง การที่ จ.ส.ต.ประธิน ซึ่งเป็นอดีตตำรวจจะมีปืนพกสั้นซึ่งเป็นของกลางในคดี ถือเป็นเรื่องปกติใช่หรือไม่ พยานตอบว่า ใช่ รวมทั้งสิ่งของอื่นๆ ที่ตรวจยึดได้ ก็ไม่ใช่สิ่งผิดกฎหมาย
 
พยานไม่ทราบว่า มีการควบคุมตัว จ.ส.ต.ประธิน และยึดของกลางตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2557 ส่วนบัญชีตรวจยึดของกลางที่พยานทำและลงชื่อไว้ ปัจจุบันอยู่ที่ไหน พยานไม่ทราบ และอัยการไม่ได้เอาให้พยานดู
 
 
27 เมษายน 2561 
 
เพจสมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิเสรีภาพ (สกสส.)​ รายงานว่า ศาลทหารขอนแก่นนัดสืบพยานโจทก์ปากที่ 6 พันตรีวิชญะ สืบนุช เจ้าหน้าที่ทหารกรมทหารราบที่ 8 จังหวัดขอนแก่น ซึ่งอัยการศาลทหารขอนแก่นอ้างเพื่อเบิกความเกี่ยวกับการตรวจค้นโรงแรมแห่งหนึ่งที่อ้างว่าจำเลยทั้ง 26 คน วางแผนเตรียมการก่อการร้าย แต่วันนี้การดำเนินกระบวนพิจารณาคดียังคงเป็นไปด้วยความล่าช้า ยังสืบพยานปากนี้ไม่จบ ศาลนัดสืบพยานโจทก์ ปากพันตรีวิชญะ สืบนุช ต่ออีกในวันที่ 28 มิถุนายน 2561 เวลา 13:30 น.
 
 
28-29 สิงหาคม 2561 
 
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า ศาลทหารขอนแก่นนัดสืบพยานโจทก์ นัดนี้โจทก์นำ พ.ต.สรเชษฐ ดีเอื้อ มาเบิกความ พ.ต.สรเชษฐ์ เป็นรองผู้บังคับการกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 13 ช่วยราชการสำนักงานรองแม่ทัพภาค 2 กองบัญชาการกองทัพภาคที่ 2 อ.เมือง จ.นครราชสีมา ขณะเกิดเหตุ รับราชการในตำแหน่งผู้บังคับกองร้อยลาดตระเวนและเฝ้าตรวจ กรมทหารราบที่ 8 (ร.8) เกี่ยวข้องกับคดีนี้เป็นผู้ดูแลวัตถุพยานและเอกสารที่ตรวจค้นได้ที่โรงแรมชลพฤกษ์เลคไซด์
 
ระหว่างการเบิกความของ พ.ต.สรเชษฐ์ โจทก์ได้อ้างส่งกระดาษเขียนข่าวของ ผบ.ร.8 ลงวันที่ 23 พ.ค. 57 ศาลรับไว้ ต่อมา ทนายจำเลยแถลงคัดค้านการอ้างส่งเอกสารดังกล่าวของโจทก์ เนื่องจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำเอกสารดังกล่าว คือ พ.อ.ชาญชัย เอมอ่อน แต่โจทก์ไม่ได้นำเอกสารดังกล่าวมาถามเมื่อครั้งที่ พ.อ.ชาญชัย เข้าเบิกความ ทนายจำเลยจึงไม่มีโอกาสถามค้าน พ.อ.ชาญชัย เกี่ยวกับเอกสารดังกล่าว ทำให้จำเลยเสียเปรียบ จึงถือเป็นการอ้างส่งพยานเอกสารที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
 
พ.ต.สรเชษฐ เป็นพยานโจทก์ที่เข้าเบิกความเป็นปากที่ 7 ของคดีนี้ โดยกระบวนการสืบพยาน เริ่มสืบพยานโจทก์ปากแรกในวันที่ 28 ตุลาคม 2559 พยานโจทก์ก่อนหน้านี้ คือ พ.อ.ชาญชัย เอมอ่อน ผบ.ร.8 และ ผบ.ฉก.ร.8 ผู้สั่งการให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจค้นจับกุมจำเลยในคดีนี้ อีก 4 ปาก เป็นเจ้าหน้าที่ชุดจับกุมจำเลยที่ 1 และตรวจยึดของกลางที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนพยานโจทก์ปากที่ 6 คือ พ.ต.วิชญะ สืบนุช หัวหน้าชุดเคลื่อนที่เร็วที่นำกำลังเข้าตรวจค้นจับกุมที่โรงแรมชลพฤกษ์ เข้าเบิกความเสร็จแล้ว เช่นเดียวกับ พ.ต.สรเชษฐ แต่ทนายจำเลยยังไม่ได้ถามค้าน เนื่องจากทั้งสองเป็นพยานคู่ในเหตุการณ์เดียวกัน ทนายจำเลยจึงขอถามค้านหลังการเบิกความของพยานคู่ชุดดังกล่าวแล้วเสร็จทุกปาก
 
นอกจากนี้ จ.ส.ต.ประธิน จันทร์เกศ จำเลยที่ 1 ได้ขอแถลงเรื่องที่ตนเองไม่ได้ประกันตัว ปัจจุบันครอบครัวประสบปัญหา จำเลยอยากได้รับการประกันตัวออกไปแก้ไขปัญหาครอบครัว ศาลชี้แจงว่า คดีนี้ศาลยินดีให้ประกันตัวเช่นเดียวกับจำเลยคนอื่นๆ แต่จำเลยที่ 1 ถูกควบคุมตัวในคดีหมิ่นพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ด้วย ซึ่งคดีนั้นศาลไม่อนุญาตให้ประกัน หากทนายจำเลยดำเนินการยื่นประกันตัวจำเลยในคดี 112 และศาลอนุญาต ก็มายื่นประกันในคดีนี้ ซึ่งศาลไม่มีเหตุให้ต้องควบคุมตัวจำเลยในคดีนี้ไว้
 
ศาลนัดสืบพยานโจทก์ในคดีนี้อีก 2 ปาก ในวันที่ 10 ตุลาคม 2561 และกำหนดวันนัดสืบพยานล่วงหน้าอีก 2 นัด คือ วันที่ 6 พฤศจิกายน 2561 และ 14 ธันวาคม 2561
 
ในระหว่างการสืบพยานในวันที่ 29 สิงหาคม 61 ทนายจำเลยจากสมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิเสรีภาพ (สกสส.) ได้แถลงต่อศาลว่า มีทหารฝ่ายข่าวเข้ามาในศาล ถ่ายรูปทนายจำเลย และทะเบียนรถของทนายจำเลยทุกคัน ทำให้ทนายจำเลยเกิดความกังวล และถือเป็นการคุกคามการทำหน้าที่ของทนายจำเลย รวมทั้งอาจจะเป็นการละเมิดอำนาจศาลหรือไม่
 
หลังการรับฟังทนายจำเลยแถลง ศาลกล่าวว่า ถ้าทนายจำเลยกังวล ศาลจะแจ้งให้เจ้าหน้าที่ศาลดูแล แต่ถ้าทนายอยากให้เป็นทางการให้ทำคำร้องยื่นมา ศาลจะไต่สวนว่าจะตั้งเรื่องละเมิดอำนาจศาลหรือไม่ แต่ขอให้ทนายจำเลยเข้าใจเบื้องต้นว่า ศาลก็อยู่ใน มทบ.23 ซึ่ง มทบ.23 ก็มีระเบียบรักษาความปลอดภัย
 
วิญญัติ ชาติมนตรี เลขาธิการ สกสส.ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการติดตามคุกคามทนายจำเลยจาก สกสส. ซึ่งทำหน้าที่เป็นทนายให้จำเลยในคดีขอนแก่นโมเดลจำนวน 15 ราย ว่า “การที่ทหารฝ่ายข่าวมาติดตามเพื่อหาข่าวและเก็บข้อมูลที่เป็นภาพถ่ายของเรา ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก แต่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา เราเคยแถลงในห้องพิจารณาไปแล้วครั้งหนึ่งเมื่อสองปีก่อน ตุลาการท่านแรกที่เคยเป็นตุลาการพิจารณาคดีนี้ ท่านก็จดในรายงานกระบวนพิจารณา พร้อมกับมีกระบวนการภายใน ทำให้การมาถ่ายภาพเราลดลง แต่ช่วงหลังมานี้ก็เกิดขึ้นอีก มีการตามถ่ายภาพในที่ต่างๆ ทั้งนอกและในค่ายทหาร มีรถสะกดรอย ตามไปที่พักก็เคยเห็น มีการถ่ายรูปบริเวณข้างศาลทหาร ซึ่งไม่ได้ขออนุญาตก่อน รวมทั้งแอบถ่าย และตามถ่ายภาพทะเบียนรถทุกคันที่เป็นของเรา วิธีการเหล่านี้ เราถือว่าเป็นการข่มขู่คุกคาม ทำให้เกิดความวิตกกังวลถึงความไม่ปลอดภัยในชีวิตร่างกายหรือเสรีภาพ ไม่ใช่เป็นการหาข่าวปกติ”
 
 
23 สิงหาคม 2562
 
ศาลมณฑลทหารบกที่ 23 ออกหมายเรียกให้จำเลยที่เป็นพลเรือนสามคดีมาศาลพร้อมกัน โดยศาลเรียกว่า เป็น "นัดพร้อมเพื่อฟังคำสั่ง" ที่นัดพิเศษขึ้นมาต่างหากจากนัดที่กำหนดไว้แล้ว ซึ่งทั้งสามคดีจำเลยมีความเกี่ยวข้องกัน จึงนัดให้มาพร้อมกันในวันนี้
 
คดีของพลเรือนทั้งสามคดดี ได้แก่ คดีนี้, คดีวางแผนป่วน Bike for Dad หรือบางคนเรียกว่า "ขอนแก่นโมเดล2" และคดีมาตรา 112 ของประธินกับณัฐพล 
 
วันนี้จำเลยทั้ง 5 คนที่ถูกคุมตัวอยู่ถูกพาตัวจากเรือนจำมาที่ศาล และจำเลยอีก 18 คน เดินทางมาศาล พร้อมทนายความจากสหพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิเสรีภาพ (สกสส.) ที่เช่ารถตู้เดินทางมาจากกรุงเทพฯ ส่วนจำเลยอีก 2 คน เสียชีวิตแล้วระหว่างการพิจารณาคดียังไม่เสร็จ และจำเลยอีก 2 คน หลบหนี ไม่มาตามนัดหมายของศาลเป็นเวลากว่าสองปีแล้ว 
 
เนื่องจากคดีนี้มีจำเลย และทนายความจำนวนมาก ห้องพิจารณาคดีที่ศาลทหารขอนแก่นเล็กเกินไปสำหรับปริมาณคนที่ต้องเข้าไปในห้อง ทางเจ้าหน้าที่ศาลจึงกั้นพื้นที่ชั้นหนึ่งของอาคารศาลขึ้นมาใหม่ และเอาโต๊ะเก้าอี้เข้ามาวางเพื่อใช้เป็นห้องพิจารณาคดีชั่วคราว พร้อมติดเครื่องปรับอากาศเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าไปในห้องได้โดยไม่อึดอัดจนเกินไป จำเลยทั้งสามคดีถูกพาตัวเข้าไปในห้องพิจารณาชั่วคราวนี้พร้อมกัน โดยเจ้าหน้าที่ศาลใช้วิธีการเช็คชื่อจำเลยทีละคนตั้งแต่เช้า และให้จำเลยติดป้ายระบุหมายเลขว่า เป็นจำเลยคนที่เท่าไรไว้ที่หน้าอกเสื้อ เพื่อความสะดวกรวดเร็ว
 
ตุลาการทหารขึ้นบัลลังก์ในเวลาประมาณ 10.30 น. ตุลาการไม่ได้ขานชื่อจำเลยทีละคนในคดีขอนแก่นโมเดล แต่เรียกชื่อจำเลยอีกสองคดีทุกคนที่อยู่ในชุดนักโทษให้ยืนขึ้น เสร็จแล้วศาลแจ้งว่า จำเลยทุกคนในคดีนี้เป็นพลเรือน แต่ต้องมาพิจารณาคดีที่ศาลทหารตามประกาศของ คสช. และบัดนี้ คสช. ได้มีคำสั่งยกเลิกการให้พลเรือนต้องขึ้นศาลทหารแล้ว หลังจากนี้ก็ขอให้ทุกคดีกลับไปพิจารณาคดีที่ศาลพลเรือน และถามทุกคนว่า ทราบแล้วใช่หรือไม่ จำเลยบางคนพยักหน้ารับ 
 
จากนั้นศาลจึงอ่านรายงานกระบวนพิจารณาคดีที่เตรียมไว้แล้ว ระบุว่า "เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2562 ได้มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 9/2562 เรื่องการยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติบางฉบับที่หมดความจำเป็น กำหนดให้คดีอยู่ในอำนาจของศาลทหารตามประกาศและคำสั่งดังกล่าวไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหาร ตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2562 เป็นต้นไป คำสั่งดังกล่าวมีผลทำให้คดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหาร ตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2562 เป็นต้นไป แต่ให้อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม จึงให้งดการพิจารณาคดีไว้ชั่วคราว กับให้โอนคดีไปยังศาลยุติธรรมที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา และจำหน่ายคดีออกจากสารระบบความในศาลนี้ ให้มีหนังสือไปยังสำนักงานศาลยุติธรรม และเพื่อให้การโอนคดีเป็นไปด้วยความเรียบร้อยจึงให้สัญญาประกันและหมายขังของจำเลยยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป ก่อนส่งสำนวนให้ศาลถ่ายสำเนาสำนวนและเอกสารต่างๆทั้งหมดเก็บไว้ที่ศาลนี้ด้วย”
 
หลังจากนั้นตุลาการลุกขึ้นและจะเดินออกจากห้องพิจารณาคดีชั่วคราวทันที แต่หนึ่งในทีมทนายความยกขึ้น และขออนุญาตศาลว่า จะขอกล่าวอะไรสักหน่อย ทุกคนจึงนั่งลงฟัง ทนายแถลงว่า ตลอดเวลาห้าปีเต็มที่ต้องมาขึ้นศาลแห่งนี้เพื่อการพิจารณาคดี ได้รับการต้อนรับอย่างดีจากเจ้าหน้าที่และศาลทุกคน เป็นบรรยากาศที่รู้สึกว่า ไม่ได้เป็นศัตรูกัน ไม่ได้สร้างความกดดันให้กัน แม้การพิจารณาคดีจะช้าไปสักหน่อย จนท่านอัยการทหารบางคนจากไป และจำเลยบางคนก็จากไปก่อนคดีจะเสร็จ ขอขอบคุณทั้งศาลและเจ้าหน้าที่ทุกคนที่อำนวยความสะดวกให้และช่วยเหลือกันเสมอมา โดยหวังว่า จะไม่ต้องกลับมาที่นี่กันอีก
 
ด้านศาลก็กล่าวตอบว่า ศาลนี้ไม่ได้เป็นคู่ขัดแย้งกับใคร ศาลเพียงแต่ต้องทำตามคำสั่งของ คสช. บัดนี้คำสั่งของ คสช. ยกเลิกแล้วก็ขอให้ทุกคนโชคดี
 
 

 

 

p.p1 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; font: 12.0px ‘Helvetica Neue’} p.p2 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; font: 12.0px Thonburi} p.p3 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; font: 12.0px ‘Helvetica Neue’; min-height: 14.0px} span.s1 {font: 12.0px Thonburi} span.s2 {font: 12.0px ‘Helvetica Neue’} p.p1 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; font: 12.0px ‘Helvetica Neue’} p.p2 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; font: 12.0px ‘Helvetica Neue’; min-height: 14.0px} p.p3 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; font: 12.0px Thonburi} span.s1 {font: 12.0px Thonburi} span.s2 {font: 12.0px ‘Helvetica Neue’} p.p1 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; font: 12.0px ‘Helvetica Neue’} p.p2 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; font: 12.0px ‘Helvetica Neue’; min-height: 14.0px} p.p3 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; font: 12.0px Thonburi} span.s1 {font: 12.0px Thonburi} span.s2 {font: 12.0px ‘Helvetica Neue’}

คำพิพากษา

ไม่มีข้อมูล

ดูแฟ้มคดีอื่นๆ

บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์: ข้อสอบวิชาอารยธรรมไทย

คดีชุมนุมขัดขวางขบวนเสด็จ

รุ่งทิวา