ทอม ดันดี : ฝ่าฝืนคำสั่งรายงานตัว คสช.

อัปเดตล่าสุด: 12/08/2562

ผู้ต้องหา

ธานัท ธนวัชรนนท์ หรือ ทอม ดันดี

สถานะคดี

ตัดสินแล้ว / คดีถึงที่สุด

คดีเริ่มในปี

2557

โจทก์ / ผู้กล่าวหา

ไม่มีข้อมูล

สารบัญ

"ทอม ดันดี" หรือ ธานัท ธนวัชรนนท์ ศิลปิน-นักแสดง และแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) มีรายชื่ออยู่ในคำสั่งคสช. ฉบับที่ 53/2557 ให้ไปรายงานตัวที่สโมสรกองทัพบก ในวันที่ 9 มิถุนายน 2557 แต่เนื่องจาก ธานัท ไม่สะดวกไปรายงานตัวในวันดังกล่าว ทำให้เขาถูกจับกุมและถูกดำเนินคดีในศาลทหารตามประกาศคสช. ที่ 41/2557 เรื่อง กําหนดให้การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งเรียกบุคคลให้มารายงานตัว เป็นความผิด

ต่อมาในวันที่ 8 กันยายน 2557 ศาลทหารกรุงเทพมีคำพิพากษาจำคุกจำเลย 6 เดือน ปรับ 1 หมื่นบาท แต่จำเลยไม่เคยต้องโทษคดีมาก่อน ประกอบกับให้การรับสารภาพ โทษจำคุกจึงให้รอลงอาญา 2 ปี

ภูมิหลังผู้ต้องหา

"ทอม ดันดี" หรือ ธานัท ธนวัชรนนท์ เป็นอดีตศิลปิน-นักแสดง และแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือที่เรียกกันว่า "คนเสื้อแดง"

ข้อหา / คำสั่ง

ฝ่าฝืนประกาศคสช. 41/2557

การกระทำที่ถูกกล่าวหา

ไม่มีข้อมูล

พฤติการณ์การจับกุม

9 มิถุนายน 2557
 
ภายหลังมีคำสั่งฉบับที่ 53/2557 ให้บุคคลไปรายงานตัวในเวลาประมาณ 10.00 น. ซึ่งมีชื่อนายธานัท ธนวัชรนนท์ ภรรยาของนายธานัทได้โทรแจ้งกับทางทหารผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ว่าจะเข้าไปรายงานตัวกับทางทหาร ในช่วงเย็นของวันเดียวกัน ขณะนายธานัทเดินทางกลับมาจากป่าเพื่อเก็บหน่อไม้ไปส่ง ทหารและตำรวจได้เข้าจับกุมขณะขับรถ โดย พ.ต.ท.สุขเนตร เสนวงค์ สว.กก.4 บก.ส.1 บช.ส.(เพชรบุรี) ร.ต.อ.สุทิน ขาวเรือง สว.กก.สอ.บช.ตชด.ค่ายนเรศวร เนื่องจากคาดว่าจะทำการหลบหนี
 
ธานัท ชี้แจงว่าตนไม่ได้หลบหนี แต่มีเจ้าหน้าที่ขับรถไล่ติดตามและจับกุมที่จุดตรวจบ้านวังจันทร์ ซึ่งตนก็ไม่คิดว่าจะโดนจับกุมเพราะได้ชี้แจงกับทหารแล้วว่าตนจะไปรายงานตัว และตลอด 1 เดือนที่ผ่านมามีนายตำรวจและทหารแวะเวียนไปที่บ้านสม่ำเสมอซึ่งชัดเจนว่าตนไม่ได้มีความคิดจะหลบหนีแต่ประการใด ภายหลังการจับกุมตัว นายธานัทถูกส่งไปควบคุมที่มณฑลทหารบกที่ 15 เป็นเวลา 4 วัน ซึ่งในระหว่างนั้นมีการสอบสวนโดยมีการนำภาพตนที่ถืออาวุธ M16 และถือระเบิด ซึ่งสงสัยว่านำภาพมาจากภาพยนตร์ที่ตนเคยแสดงหรือไม่ 
 
นายธานัทระบุว่าในระหว่างพูดคุยมีการข่มขู่แต่ตนก็ใช้จิตวิทยาเพื่อไม่ให้เกิดความตึงเครียดจนเกินไป มีการมัดมือและปิดตา ซึ่งนายธานัทระบุว่าไม่ได้กลัวเพราะตนเคยชินกับบทบาทในภาพยนตร์มาก่อนแล้วแต่มีการให้เซ็นเอกสารหนึ่งในนั้นคือ ห้ามเปิดเผยว่าได้ถูกข่มขู่โดยทหาร ซึ่งตนก็สงสัยว่าให้เซ็นได้อย่างไรเมื่อตนก็โดนข่มขู่อยู่ 
 

บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล

ไม่มีข้อมูล

หมายเลขคดีดำ

ไม่มีข้อมูล

ศาล

ศาลทหารกรุงเทพฯ

เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีข้อมูล

แหล่งอ้างอิง

ไม่มีข้อมูล
12 มิถุนายน 2557
ที่กองปราบปราม พ.ท.บุรินทร์ ทองประไพ นายทหารพระธรรมนูญ พล.ม.2 รอ. พร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ ควบคุมตัวนายธานัท มาส่งให้พนักงานสอบสวนที่กองปราบปรามเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมาย โดยมี พ.ต.อ.ประสพโชค พร้อมมูล รอง ผบก.ป. มาคอยรับตัว 
 
14 มิถุนายน 2557  
เวลาประมาณ 11.00 น นายธานัท ถูกเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจ ควบคุมตัวจากกองปราบฯ ไปยังศาลทหารเพื่อขอฝากขัง ต่อมานักกฎหมายอาสาเพื่อสิทธิมนุษยชน ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวฯ หลักประกัน 20,000 บาท ศาลอนุญาตให้ประกันตัว

 

8 กันยายน 2557

นัดถามคำให้การจำเลยครั้งแรก 
 
ช่วงเช้ามีผู้เดินทางมาสังเกตการณ์คดีจากหลายหน่วยงานอาทิเช่น เเอมเนสตี้อินเตอเนชั่นเเนล นายทหารอีกประมาณ 7 นาย การดำเนินคดีครั้งนี้มีอัยการทหารนายหนึ่งเคยมานั่งสังเกตการณ์คดีเมื่อวันที่ 4 กันยายน เช่นกัน องค์คณะผู้พิพากษามีทั้งหมด 3 คน
 
ศาลอ่านคำฟ้องซึ่งบรรยายว่า ธานัท กระทำความผิดเนื่องจากฝ่าฝืนคำสั่งเรียกบุคคลให้มารายงานตัว ตามคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติเพื่อเเก้ไขปัญหาบ้านเมือง อันเนื่องมาจากวันที่ 8 มิถุนายน 2557 คสช. ออกคำสั่งเรียกรายงานตัวเพิ่มเติมที่ฉบับที่ 53/2557 เพื่อเรียกให้ธานัทมารายงานตัวในวันที่ 9 มิถุนายน 2557 เวลา 10.00-12.00 น.เเต่ธานัทมีเจตนาไม่มารายงานตัวตามวันเเละเวลาที่ประกาศ เป็นความผิดตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 41/2557
 
ธานัทแถลงด้วยวาจาว่าเขารับสารภาพและไม่ขอสู้คดี พร้อมทั้งร้องขอให้ศาลลงโทษสถานเบาเนื่องจากตนเคยทำประโยชน์ให้สังคมประเทศชาติ ไม่เคยทำความผิดมาก่อน เเละที่ผ่านมาไม่ได้รับสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราว ซึ่งศาลเห็นว่าเป็นดุลยพินิจขององคณะศาลที่เป็นเจ้าของสำนวนคดีในคดีนั้นๆ ที่ศาลในคดีนี้มิอาจก้าวล่วงได้
 
จากนั้นศาลจึงสอบถามรายละเอียดจำเลย เเละข้อเท็จจริงว่า ถูกควบคุมตัวตั้งเเต่วันที่ 13 มิถุนายน 2557 – 17 มิถุนายน 2557 ธานัทรับข้อเท็จจริงตามนั้น ทำให้อัยการไม่ติดใจสืบพยาน
 
ศาลพิพากษาว่าธานัทมีความผิดตาม ประกาศ คสช. ฉบับที่ 41/2557 ลงโทษจำคุก 1 ปี ปรับ 2 หมื่นบาทเเต่เนื่องจากสารภาพจึงลดโทษให้กึ่งหนึ่งเหลือจำคุก 6 เดือน ปรับ 1 หมื่นบาท ประกอบกับว่าจำเลยไม่เคยกระทำผิดมาก่อนศาลจึงให้รอลงอาญา 2 ปี
 
ทั้งนี้ เนื่องจากธานัทมีคดีตามมาตรา 112 ซึ่งยังอยู่ภายใต้อำนาจการฝากขังของศาลทหาร ธานัทจึงยังถูกควบคุมตัวต่อที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ

 

คำพิพากษา

ไม่มีข้อมูล

ดูแฟ้มคดีอื่นๆ

บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์: ข้อสอบวิชาอารยธรรมไทย

คดีชุมนุมขัดขวางขบวนเสด็จ

รุ่งทิวา