วีระ มุสิกพงศ์

อัปเดตล่าสุด: 02/12/2559

ผู้ต้องหา

วีระ มุสิกพงศ์

สถานะคดี

ตัดสินแล้ว / คดีถึงที่สุด

คดีเริ่มในปี

2529

โจทก์ / ผู้กล่าวหา

นายเชิดชัย เพชรพันธ์ ผู้อำนวยการการเลือกตั้งของพรรคสหประชาธิปไตย เขตกรุงเทพมหานคร /พนักงานอัยการ จังหวัด บุรีรัมย์

สารบัญ

เมื่อปี 2529 วีระ มุสิกพงษ์ ผู้สมัครส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ จังหวัดบุรีรัมย์ หาเสียงโดยการกล่าวว่า ถ้าตนเลือกเกิดเองได้ จะไปเลือกเกิดในพระบรมมหาราชวังนั่นออกมาเป็นพระองค์เจ้าวีระ (ละใจความ) ศาลฎีกาพิพากษาว่ามีความผิดมาตรา 112 จำนวน 2 กระทงรวมจำคุก 4 ปี ต่อมาได้รับพระราชทานอภัยโทษ

ภูมิหลังผู้ต้องหา

วีระ มุสิกพงศ์ จบการศึกษานิติศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังจากจบการศึกษาแล้ว ประกอบอาชีพเป็นนักหนังสือพิมพ์ทำงานที่หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ไทยรัฐ มติชนและชาวไทย โดยเริ่มงานเป็นผู้สื่อข่าวการเมือง และเขียนบทความการเมืองประจำ เมื่อปลายปี พ.ศ. 2517 ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในกรุงเทพมหานครและได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตกรุงเทพมหานคร2 ครั้ง และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุงอีก 3 ครั้งติดต่อกันระหว่างเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2519 เป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปี พ.ศ. 2524 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี พ.ศ. 2525 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 เป็นต้นมาเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ตำแหน่งในพรรคการเมืองจำเลยเคยเป็นกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ต่อมาได้ เป็นกรรมการบริหารในตำแหน่งโฆษกพรรคและครั้งหลังสุดเป็นเลขาธิการพรรค

ข้อหา / คำสั่ง

มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา

การกระทำที่ถูกกล่าวหา

เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2529 เวลากลางวัน จำเลยได้กระทำการโฆษณาหาเสียงโดยการกล่าวป่าวประกาศด้วยการกระจายเสียงทางเครื่องขยายเสียงสนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดบุรีรัมย์ พรรคประชาธิปัตย์ ท่ามกลางประชาชนที่มาฟังจำนวนหลายคน ซึ่งตอนหนึ่งในการโฆษณานี้กล่าวทำนองว่า ถ้าตนเลือกเกิดเองได้ จะไปเลือกเกิดในพระบรมมหาราชวังนั่นออกมาเป็นพระองค์เจ้าวีระ (ละใจความ) เหตุเกิดที่บริเวณหน้าสถานีรถไฟลำปลายมาศ ตำบลลำปลายมาศ อำเภอลำปลายมาศจังหวัดบุรีรัมย์

ในวันเวลาดังกล่าวข้างต้นภายหลังจากที่ได้กระทำความผิดแล้ว นายวีระโฆษณาหาเสียงโดยป่าวประกาศด้วยการกระจายเสียงทางเครื่องขยายเสียงให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด บุรีรัมย์ พรรคประชาธิปัตย์ท่ามกลางประชาชนที่มาฟังจำนวนหลายคน ซึ่งตอนหนึ่งในการโฆษณานี้จำเลยได้กล่าวในทำนองเดิมว่า  หากเลือกเกิดได้จะไปเกิดในพระบรมมหาราชวัง (ละใจความ) เหตุเกิดที่บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอสตึก ตำบลสตึก อำเภอสตึ

พฤติการณ์การจับกุม

ไม่มีข้อมูล

บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล

ไม่มีข้อมูล

หมายเลขคดีดำ

ไม่มีข้อมูล

ศาล

ไม่มีข้อมูล

เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีข้อมูล

แหล่งอ้างอิง

ไม่มีข้อมูล

พนักงานสอบสวนได้ส่งเรื่องไปให้กรมตำรวจพิจารณาก่อน แต่พนักงานสอบสวนเบื้องต้นที่จังหวัดบุรีรัมย์เห็นว่าไม่มีความผิด ไม่เข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จึงส่งเรื่องให้กรมตำรวจ ทางกรมตำรวจได้ให้พลตำรวจตรีสุภาสจีรพันธ์ รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ในฐานะที่เป็นหัวหน้าคณะทำงานเรื่องกฎหมายในสถานการณ์เลือกตั้งพิจารณา เรื่องนี้พลตำรวจตรีสุภาส จีรพันธ์ ได้ประชุมพิจารณาและทำความเห็นไปยังอธิบดีกรมตำรวจว่าไม่เข้าข่ายองค์ประกอบ ของมาตรา 112 จึงให้ระงับเรื่อง
(ขาดข้อมูลว่า แล้วเหตุใดกรณีนี้จึงเป็นคดี)


ต่อมาโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, 91 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521 มาตรา 6 นับโทษจำเลยต่อจากคดีอาญาหมายเลขดำที่ 26228/2528 ของศาลแขวงพระนครเหนือและคดีอาญาหมายเลขดำที่ 22128/2528 ของศาลแขวงพระนครใต้

จำเลยให้การปฏิเสธ แต่รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่า จำเลยไม่มีเจตนาหมิ่นประมาทดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท ข้อความที่จำเลยกล่าวไม่เป็นการใส่ความและไม่อาจทำให้เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังได้ จึงไม่เข้าองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด พิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้ววินิจฉัยว่า จำเลยมีเจตนาหมิ่นประมาทดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ พระราชินี หรือรัชทายาท พิพากษากลับว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จำคุกกระทงละ 3 ปี รวม2 กระทง เป็นจำคุก 6 ปี คำขอให้นับโทษต่อให้ยก

จำเลยฎีกา

โจทก์นำสืบว่า การกล่าวเช่นนี้ เป็นการใส่ความทำให้ประชาชนขาดความเคารพสักการะถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ซึ่งตามปกติพระองค์ (พระมหากษัตริย์) เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนผู้ใดจะล่วงเกินมิได้ การที่จำเลยกล่าวเช่นนี้เป็นการกล่าวอย่างมีเจตนาโดยเมื่อจำเลยพูดในตอนบ่าย ก็ยกตัวอย่างในช่วงตอนบ่าย ซึ่งเป็นพฤติการณ์ในตอนบ่ายครั้นถึงตอนเย็นจำเลยก็ยกตัวอย่างเกี่ยวกับ พฤติการณ์ตอนเย็นซึ่งเรื่องนี้หากจำเลยไม่ตั้งใจ จำเลยก็จะพูดเพียงครั้งเดียวแล้วไม่พูดอีกแต่จำเลยพยายามที่จะดัดแปลง ข้อความในการพูดทั้งสองครั้งให้เข้ากับบรรยากาศในเวลาที่กำลังพูด

ต่อมาประชาชน บางกลุ่มมีความเคลื่อนไหวที่จะเดินขบวนประท้วงการกระทำของจำเลยซึ่งจะเกิด ความไม่สงบขึ้นในบ้านเมือง สมาชิกวุฒิสภาและนายทหารราชองค์รักษ์ซึ่งเป็นสมาชิกวุฒิสภาได้ยื่นญัตติไป ยังประธานรัฐสภาตามเอกสารหมาย จ.13 หรือ ป.จ.1 ให้รัฐบาลแถลงเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าได้ดำเนินการไปอย่างไร เพื่อประชาชนจะได้ทราบข้อเท็จจริง จำเลยได้ติดต่อขอทำความเข้าใจกับผู้ที่ยื่นญัตติโดยจำเลยยอมรับว่าได้มีการ กล่าวข้อความดังกล่าวจริง และในที่สุดจำเลยได้ทำพิธีขอขมา โดยกล่าวขอพระราชทานอภัยโทษต่อพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวที่ห้องรับรองของรัฐสภาตามข้อความในเอกสารหมาย จ.14 หรือ ป.จ.2 ต่อหน้าสื่อมวลชนและสมาชิกวุฒิสภาที่ยื่นญัตติ
การที่จำเลยได้กระทำพิธีขอพระราชทานอภัยโทษดังกล่าวแสดงว่าจำเลยทำแผนประทุษ กรรมประกอบคำรับสารภาพโดยความสมัครใจ ต่อมาจำเลยได้ทำหนังสือขอพระราชทานอภัยโทษผ่านทางราชเลขาธิการในพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตามเอกสารหมาย จ.15 หรือ ป.จ.4

จำเลยนำสืบว่า คำว่าถ้าเลือกเกิดได้นั้นเป็นเรื่องที่จำเลยสมมุติตัวเองขึ้น และคำว่าพระองค์เจ้าวีระนั้นจำเลยหมายถึงตัวจำเลยเอง เป็นเรื่องที่จำเลยสมมุติขึ้น และที่ว่าเป็นพระองค์เจ้าวีระแล้วจำเลยจะบรรทมตื่นสายนั้น จำเลยหมายถึงตัวจำเลย ไม่ได้เปรียบเทียบกับพระองค์อื่นใด ที่โจทก์อ้างว่าพระบรมมหาราชวังหมายถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชินีและองค์รัชทายาทนั้น เป็นการตีความที่บิดเบือน

การที่นายเชิดชัย เพชรพันธ์ไปแจ้งความก็เพื่อหวังผลทางการเมืองและเพื่อทำลายคะแนน เสียงของพรรคประชาธิปัตย์ทั่วประเทศ หลังการเลือกตั้ง จำเลยได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ต่อมาได้มีการปลุกระดมกลุ่มมวลชนต่าง ๆ โดยเริ่มจากพรรคฝ่ายค้าน ฝ่ายทหารทำการปลุกระดมในกลุ่มลูกเสือชาวบ้าน ท.ส.ป.ช. และกลุ่มกระทิงแดงเพื่อเร่งรัดให้ดำเนินคดีแก่จำเลย

ศาลพิจารณาว่า แม้จำเลยจะมิได้ระบุชื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยชัดแจ้งแต่ข้อเท็จจริงตามที่ โจทก์นำสืบก็แปลเจตนาของจำเลยได้ว่าจำเลยกล่าวโดยมุ่งหมายถึงองค์พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระบรมโอรสธิราชฯสยามมงกุฎราช กุมาร องค์รัชทายาท

แม้การกระทำดังกล่าวของจำเลยจะไม่เกิดผลเพราะไม่มีใครเชื่อถือคำกล่าวนั้นก็ ตาม ก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จำเลยจะมีเจตนาหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นหรือไม่ จะถือตามความเข้าใจของจำเลยซึ่งเป็นผู้กล่าวเองมิได้ ต้องพิจารณาจากข้อความที่จำเลยกล่าวทั้งหมด การที่จำเลยกล่าวข้อความไปอย่างไร แล้วกลับมาแก้ว่าไม่มีเจตนาตามที่กล่าวย่อมยากที่จะรับฟัง การที่จำเลยเป็นผู้มีคุณความดีมาก่อน หลังจากเกิดเหตุแล้วยังได้ไปกล่าวคำกราบบังคมทูลของพระราชทานอภัยโทษต่อพระ บรมสาทิสลักษณ์ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และได้มีหนังสือขอพระราชทานอภัยโทษเป็นการรู้สึกความผิดและพยายามบรรเทาผล ร้ายแห่งความผิดนั้น อันเป็นเหตุบรรเทาโทษ มีเหตุสมควรปรานีลดโทษให้จำเลย

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลดโทษให้จำเลยหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงลงโทษจำคุกกระทงละ 2 ปี รวม 2 กระทง เป็นจำคุก 4 ปี นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

22 มิถุนายน พ.ศ. 2531 จำเลยต้องโทษจำคุก 4 ปี ที่เรือนจำจังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อจำคุกได้ประมาณหนึ่งเดือน ได้รับการปล่อยตัวเนื่องจากได้รับพระราชทานอภัยโทษ โดยคำขอพระราชทานอภัยโทษ ลงนามเสนอโดยพลเอกประจวบ สุนทรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
 

คำพิพากษา

ไม่มีข้อมูล

ดูแฟ้มคดีอื่นๆ

บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์: ข้อสอบวิชาอารยธรรมไทย

คดีชุมนุมขัดขวางขบวนเสด็จ

รุ่งทิวา