- เว็บไซต์ไอลอว์
- ศูนย์ข้อมูลฯ
ฐานข้อมูลคดี

ชื่อคดี
ผู้ต้องหา
สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์
สถานะคดี
คำอธิบายสถานะคดี ภาษาไทย
ชั้นศาลอุทธรณ์
สถานะผู้ต้องหา
อื่นๆ(ถูกลงโทษปรับ)
ข้อหา / คำสั่ง
อื่นๆ (พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองพ.ศ. 2535 มาตรา 32(1) และมาตรา 54)
เนื้อหาคดีโดยย่อ
เย็นวันที่ 1 พฤษภาคม 2559 สิรวิชญ์เดินทางไปที่สกายวอล์ค สถานีบีทีเอสช่องนนทรีเพื่อทำกิจกรรมโพสต์-สิทธิเพื่อรณรงค์ว่าประชาชนต้องมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเรียกร้องให้ปล่อยตัวแอดมินเพจเรารักพล.อ.ประยุทธทั้งแปดคนที่ถูกควบคุมตัว
ระหว่างที่กิจกรรมกำลังดำเนินไปสิรวิชญ์นำกระดาษโพสต์-อิทมาโปรยลงบนพื้นและบอกผู้มาร่วมกิจกรรมว่า ให้หยิบโพสต์-อิทไปเขียนข้อความได้ หลังจากนั้นสิรวิชญ์ถูกควบคุมตัวไปที่สน.ทุ่งมหาเมฆและถูกแจ้งข้อหาในความผิดฐานทิ้งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยลงบนที่สาธารณะ สิรวิชญ์ให้การปฏิเสธและขอสู้คดีในชั้นศาล ซึ่งศาลนัดสืบพยานระหว่างวันที่ 14 - 16 ธันวาคม 2559
ในวันที่ 12 มกราคม 2560 ศาลแขวงพระนครใต้พิพากษาว่าสิรวิชญ์มีความผิดตามฟ้องและลงโทษปรับ 1,000 บาท โดยให้เหตุผลว่า จำเลยสามารถที่จะแจกจ่ายกระดาษโพสต์อิทได้โดยไม่ต้องโปรยหรือทิ้งลงบนพื้น และการทิ้งลงบนพื้นหากประชาชนที่มาร่วมกิจกรรมเก็บไปเขียนไม่หมดก็จะกลายเป็นเศษกระดาษ ต่อมาในวันที่ 3 ตุลาคม 2560 ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
ภูมิหลังผู้ต้องหา
สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือ นิว ภูมิลำเนาเดิมมาจากจังหวัดนครราชสีมา เคยศึกษาที่คณะรัฐศาสตร์ สาขาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) สมัยอยู่ชั้นปี 1-2 เคยทำงานอยู่ในสภานักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อนที่ต่อมาจะได้เข้าร่วมกลุ่มสภาหน้าโดม เคยเป็นแกนนำเรียกร้องความเป็นธรรมเรื่องค่าอาหารของโรงอาหารกลางที่สูงเกินไป
สิรวิชญ์เคยลงสมัครชิงตำแหน่งนายกองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่ไม่ได้รับเลือก ทั้งยังเคยเข้าร่วมขบวนพาเหรดล้อการเมือง ในงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ ปี 2558
พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีแขวง 4
ข้อกล่าวหา
อื่นๆ (ทิ้งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยลงบนที่สาธารณะ)
-
รูปแบบการจำกัดเสรีภาพ
การดำเนินคดี
-
ประเภทสื่อ
การชุมนุมสาธารณะ
-
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
-
ศาล
ศาลแขวงพระนครใต้
-
หมายเลขคดีดำ
เลขคดีดำคือเลขที่ศาลออกเมื่อประทับรับฟ้องคดี
ชั้นศาล: ศาลแขวงพระนครใต้ Bangkok South Municipal Court No: 1619/2559 วันที่: 2016-05-19
สิรวิชญ์ทิ้งกระดาษโพสต์อิทลงบนทางเดินสกายวอล์คพร้อมตะโกนให้ประชาชนมาเก็บไปเขียนข้อความเรียกร้องให้ปล่อยตัวประชาชนที่ถูกทหารจับกุมตัว เข้าข่ายความผิดฐานทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในที่สาธารณะ ตามพ.ร.บ.ความสะอาดฯ
เย็นวันที่ 1 พฤษภาคม 2559 เจ้าหน้าที่ตำรวจควบตัวสิรวิชญ์จากสกายวอล์คไปที่สน.ทุ่งมหาเมฆหลังโปรยกระดาษโพสต์อิทลงบนพื้นสกายวอล์คเพื่อให้คนนำไปเขียนข้อความ
29 เมษายน 2559
เฟซบุ๊กเพจ พลเมืองโต้กลับ โพสต์ภาพและข้อความเชิญชวนประชาชนร่วมทำกิจกรรมโพสต์ - สิทธิ เขียนข้อความเรียกร้องเสรีภาพในการแสดงออก โดยนัดหมายทำกิจกรรมในวันที่ 1 พฤษภาคม 2559 ที่สกายวอล์กบีทีเอสช่องนนทรี
โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์กิจกรรมโพสต์-สิทธิบนเฟซบุ๊กเพจ พลเมืองโต้กลับ
1 พฤษภาคม 2559
มติชนออนไลน์ รายงานว่า ในเวลาประมาณ 16.00 น. กลุ่มพลเมืองโต้กลับนัดหมายประชาชนที่สนใจทำกิจกรรม “โพสต์-สิทธิ” เขียนข้อความประกาศเสรีภาพของประชาชนที่สกายวอร์ค สถานีรถไฟฟ้าช่องนนทรี
ตั้งแต่ก่อนเวลานัดหมาย เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ยานนาวา และ สน.ทุ่งมหาเมฆ วางกำลังหนึ่งกองร้อยควบคุมพื้นที่ พร้อมกับนำรั้วเหล็กมาปิดล้อมลานที่ทางกลุ่มนัดทำกิจกรรม การจัดกิจกรรมในวันนี้มีเจ้าหน้าที่จากสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติมาร่วมสังเกตการณ์ด้วย
เวลาประมาณ 16.15 น. สิรวิชญ์ เดินทางมาถึงและกล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า “พื้นที่ทำกิจกรรมไม่สามารถใช้ได้เพราะโดนปิดกั้น ทั้งที่เป็นที่สาธารณะ ส่วนสถานการณ์ปัจจุบันต้องดูว่าผู้มีอำนาจจะทำอย่างไร แต่การแก้ปัญหาด้วยวิธีรุนแรงนั้นเป็นหนทางที่ไม่ได้นำไปสู่ความสันติ รัฐบาลจะให้มีการลงประชามติโดยไม่มีสิทธิเสรีภาพอย่างนั้นหรือ”
ระหว่างให้สัมภาษณ์ เจ้าหน้าที่ตำรวจแจ้งสิรวิชญ์ว่า ให้ไปให้สัมภาษณ์ต่อที่สน.ทุ่งมหาเมฆ แต่สิรวิชญ์ปฏิเสธ โดยกล่าวว่าตนเองยังไม่ได้ทำอะไรเหตุใดจึงต้องไปสถานีตำรวจ
ต่อมาเมื่อถุกเจ้าหน้าที่ล้อมหน้าล้อมหลัง จนไม่สามารถเคลื่อนที่หรือทำกิจกรรมได้ สิรวิชญ์ก็จึงตะโกนให้ประชาชนรับแจกกระดาษโพสต์อิท เพื่อเขียนและนำไปแปะแสดงจุดยืนพร้อมกับโปรยโพสต์อิทลงบนพื้นให้ประชาชนเก็บไปเขียน หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ก็นำตัวสิรวิชญ์ไปที่สน.ทุ่งมหาเมฆ
ต่อมาในเวลาประมาณ 16.30 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ รายงานว่า พนักงานสอบสวนสน.ทุ่งมหาเมฆร่วมกันสอบสวนสิรวิชญ์โดยมีอานนท์ นำภา ทนายจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนร่วมรับฟังการสอบสวนด้วยโดยการสอบสวนใช้เวลาประมาณห้าชั่วโมง ขณะเดียวกันที่หน้าสน.ทุ่งมหาเมฆก็มีประชาชนและสื่อมวลชนติดตามสถานการณ์อยู่ประมาณ 100 คน
เบื้องต้น เจ้าหน้าที่แจ้งข้อหาทิ้งสิ่งปฏิกูลในที่สาธารณะกับสิรวิชญ์ แต่สิรวิชญ์ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา
5 กรกฎาคม 2559
ศาลแขวงพระนครใต้นัดคู่ความตรวจพยานหลักฐาน ทนายของสิรวิชญ์ เมื่อสิรวิชญ์เดินทางมาถึงศาลในเวลาประมาณ 10.00 น. เมื่อสิรวิชญ์ศาลก็อ่านฟ้องให้ฟังก่อนจะถามทนายว่าจะยื่นเอกสารหลักฐานเลยหรือไม่
ทนายจำเลยยื่นเอกสารหลักฐานเข้าสำนวนรวมเจ็ดฉบับ ฝ่ายโจทก์แถลงว่ายังไม่ประสงค์จะยื่นเอกสารหลักฐาน แต่หากทนายจำเลยประสงค์จะดูเอกสารหลักฐานก็ยินดีให้ดู ทนายจำเลยจึงแถลงคัดค้านเรื่องที่โจทก์ไม่ยื่นเอกสารและขอให้ศาลบันทึกไว้ในสำนวนคดี
โจทก์แถลงขอสืบพยานรวมหกปากส่วนจำเลยแถลงขอสืบพยานรวมสี่ปาก คู่ความนัดสืบพยานในวันที่ 14-16 ธันวาคม 2559
14 ธันวาคม 2559
นัดสืบพยานโจทก์
ศาลสั่งให้ยกเลิกนัดสืบพยานในวันที่ 15 ธันวาคม 2559 แล้วให้ไปสืบพยานจำเลยในวันที่ 16 ธันวาคม 2559 แทน โดยทนายจำเลยแถลงว่าจะมีพยานมาเบิกความสองปากคือตัวสิรวิชญ์เบิกความเป็นพยานให้ตนเองกับฐิตารีย์ พยานผู้เห็นเหตุการณ์ซึ่งเคยถูกดำเนินคดีจากการร่วมกิจกรรมเดียวกับจำเลย
เวลาประมาณ 9.45 น. ที่ห้องพิจารณาคดี 8 ศาลแขวงพระนครใต้อ่านคำพิพากษาคดีศาลอุทธรณ์ให้สิรวิชญ์ฟังโดยศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ว่าสิรวิชญ์มีความผิดตาม พ.ร.บ.ความสะอาดฯ มาตรา 32 ลงโทษปรับสิรวิชญ์เป็นเงิน 1,000 บาท
13 สิงหาคม 2562
นัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกา
สิรวิชญ์เดินทางมาถึงศาลในเวลาประมาณ 10.00 น. ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวศาลขึ้นบัลลังก์แล้วแต่พิจารณาคดีอื่นอยู่ ในเวลาประมาณ 10.50 น. ศาลจึงอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาที่ยกเลิกกระบวนพิจารณาคดีในชั้นอุทธรณ์เนื่องจากเห็นว่ากระบวนพิจารณาไม่ชอบเพราะศาลชั้นต้นเคยไม่คำสั่งไม่รับอุทธรณ์คดีของจำเลยในปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาจึงสั่งให้ศาลอุทธรณ์กลับไปพิจารณาคดีใหม่และทำคำพิพากษษอีกครั้งหนึ่ง โดยให้พิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยที่ต่อสู้ว่าการกระทำของจำเลยไม่ใช่เจตนาเล็งเห็นผล ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายด้วย
23 มิถุนายน 2563
นัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
สรุปคำพิพากษาศาลฎีกา
หลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด จำเลยขออนุญาตอุทธรณ์คดีในประเด็นปัญหาข้อกฎหมายว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นเจตนาเล็งเห็นผล แต่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้อุทธรณ์ในประเด็นดังกล่าว ศาลอุทธรณ์จึงทำคำพิพากษาโดยไม่ได้วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ของจำเลย การที่ศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์จำเลยในข้อนี้ เป็นการไม่รับอุทธรณ์ประเด็นปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ จึงให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาในชั้นอุทธรณ์แล้วให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีใหม่ ตามรูปคดี
22 มิถุนายน 2563
เจ้าหน้าที่ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนให้ข้อมูลว่า ทนายจำเลยจะแถลงต่อศาลขอเลื่อนนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีนี้ออกไปเนื่องจากสิรวิชญ์มีกำหนดไปฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีการชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่พัทยาในวันเดียวกัน