สมลักษณ์ คดีที่สอง : โพสต์เฟซบุ๊กวิจารณ์เหมืองทองคำที่ จ. พิจิตร

อัปเดตล่าสุด: 28/11/2562

ผู้ต้องหา

สมลักษณ์ หุตานุวัตร

สถานะคดี

ชั้นศาลชั้นต้น

คดีเริ่มในปี

2559

โจทก์ / ผู้กล่าวหา

บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด(มหาชน)

สารบัญ

วันที่ 29 เมษายน 2559 สมลักษณ์ หุตานุวัตร โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊กส่วนตัว ชื่อ “Somlak Hutanuwatr (Thai Leak)” เป็นข้อความประกอบเอกสาร ระบุว่า “เป็นเอกสารทางการแพทย์ฉบับแรกที่กล้าฟันธงว่าเหมืองทำเปื้อน คอยช่วยกันดูแลคุณหมอด้วยนะ งานนี้ฟ้าผ่าแน่ เอกสารส่งมาหลังเที่ยงคืนอย่างแจ่มที่สุด ได้ส่งไปยังจนท.ระดับสูงและถึงมือเรียบร้อยเมื่อครู่นี้ พร้อมทั้งได้โพสต์ลิงค์เพื่อให้ดาวน์โหลดเอกสาร ต่อมาในวันเดียวกันสมิทธ์ ตุงคะสมิต จำเลยที่สองได้แชร์ข้อความดังกล่าวของสมลักษณ์ ทั้งสองจึงถูกบริษัท อัครา เจ้าของเหมืองทองคำ ยื่นฟ้องฐานหมิ่นประมาท และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ

ภูมิหลังผู้ต้องหา

สมลักษณ์ หุตานุวัตร เป็นนักเคลื่อนไหวทางสังคม เป็นกรรมการเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นอดีตพยานผู้เชียวชาญกรณีเหมืองทองพิจิตร คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และ คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ปัญหาข้อขัดแย้งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสุขภาพ

 

ข้อหา / คำสั่ง

มาตรา 14 (1) พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฯ, มาตรา 14 (5) พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฯ, มาตรา 326 / 328 ประมวลกฎหมายอาญา

การกระทำที่ถูกกล่าวหา

ตามคำบรรยายฟ้องระบุว่า บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด(มหาชน) เป็นโจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด มีเชิดศักดิ์ อรรถอารุณ เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามแทนโจทก์ โจทก์ได้รับประทานบัตรอนุญาตให้ประกอบกิจการทำเหมืองแร่ ผลิตทองคำและเงินในพื้นที่จังหวัดพิจิตร จำเลยทั้งสองเป็นคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหา ข้อขัดแย้ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการทำเหมืองแร่ทองคำของบริษัทโจทก์ และคณะทำงานตรวจสอบและแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชน นอกจากนี้จำเลยทั้งสองยังเป็นนักวิชาการและมีฐานะเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยและมีบัญชีเฟซบุ๊ก โดยสมลักษณ์ จำเลยที่หนึ่งใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า "SomlakHutanuwatr(Thai Leak) ส่วนจำเลยที่สองใช้ชื่อสมาชิกเป็นภาษาอังกฤษว่า "Smith Tungkasmit"

 

 

วันที่ 29 เมษายน 2559 เวลากลางวันถึงกลางคืนติดต่อกัน จำเลยที่หนึ่งโพสต์ข้อความลงบทเฟซบุ๊กว่า "เป็นเอกสารทางการแพทย์ฉบับแรกที่กล้าฟันธงว่าเหมืองทำเปื้อน คอยช่วยกันดูแลคุณหมอด้วยนะ งานนี้ฟ้าผ่าแน่ เอกสารส่งมาหลังเที่ยงคืนอย่างแจ่มที่สุด ได้ส่งไปยังจนท.ระดับสูงและถึงมือเรียบร้อยเมื่อครู่นี้" พร้อมทั้งได้โพสต์ลิงค์เพื่อให้ดาวน์โหลดเอกสารด้วย โดยเอกสารดังกล่าวมีใจความระบุว่า "สรุปการตรวจสอบผลกระทบด้านสุขภาพประชาชนรอบเหมืองทองคำ ประเด็นด้านสุขภาพที่เป็นผลมาจากเหมืองทองคำ  หนึ่ง ประชาชนรอบเหมืองทองคำได้รับผลกระทบเนื่องจากการมีระดับโลหะหนักในกระแสเลือดสูงเกินค่ามาตรฐานมีสูงมาก และระดับของโลหะหนักในเลือดมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นผลการตรวจโดยสถาบันนิติวิทยาศาสตร์และโดยคณะกรรมการร่วมสี่ฝ่าย มีระดับความชุกของผู้ที่มีระดับโลหะหนักในเลือดสูงเกินค่ามาตรฐาน ในระดับสูงสอดคล้องกันโดยพบร้อยละ 42

 

 

การตรวจโดยสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ห่างจากการตรวจโดยคณะกรรมการร่วมระยะเวลาห่างกันหนึ่งปี ความชุกของผู้มีแมงกานีสในเลือดสูงไม่ลดลง และผู้ที่มีสารหนูในเลือดสูงนั้นเพิ่มสูงขึ้นทั้งจำนวน และปริมาณที่สะสมในร่างกาย แสดงให้เห็นว่า ประชาชนรอบเหมืองทองได้รับโลหะหนักที่คงอยู่ในสิ่งแวดล้อมตลอดเวลาโดยไม่ได้มีการกำจัด หรือทำให้ลดลง ๒. ผลจากการได้รับโลหะหนักเข้าไปในร่างกาย สร้างผลกระทบที่มากและรุนแรงต่อสุขภาพและระบบการดูแลสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี ความชุกของผู้ที่มีโลหะหนักทุกชนิดในระดับผิดปกติในเลือดสูงเกินกว่าครึ่งหนึ่งของประชาชน ทำให้คาดการณ์ได้ว่า จากประชาชนรอบเหมืองจำนวน 9,000 ต้องมีผู้ที่มีโลหะหนักผิดปกติในเลือดประมาณ 6,500 ราย และในเด็กจะมีจำนวนมากที่สุดเนื่องจากพบว่าความชุกในเด็กสูงกว่ากลุ่มอื่น ความผิดปกติทางด้านสมองและการเจริญเติบโต รวมถึงการเจ็บป่วยทางจิตของประชาชนรอบเหมืองเป็นภาระอันยิ่งใหญ่ต่อครอบครัว สังคม ระบบบริการสาธารณสุข จากข้อมูลทางวิชาการดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่า เหมืองทองคำเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการป่วยเนื่องจากการได้รับโลหะหนักที่อันเป็นผลิตผลที่เกิดจากกระบวนการทำเหมือง จากการวิเคราะห์ระดับโลหะหนักในประชาชน

 

 

รอบเหมืองพบว่า ผู้ที่อยู่ใกล้เหมืองตั้งแต่ห้ากิโลเมตรลงมา มีระดับโลหะหนักในเลือดสูงกว่าผู้ที่อยู่ห่างออกไป และผู้ที่อยู่ในระยะต่ำกว่าสามกิโลเมตรถึงห้ากิโลเมตร จากเหมืองทองคำมีความเสี่ยงเกือบสามเท่า ต่อการมีระดับโลหะหนักในเลือดมากกว่าผู้ที่อยู่ไกลออกไป และเสี่ยงมากกว่าผู้ที่ไม่อยู่ในบริเวณดังกล่าวหลายสิบเท่า" ในย่อหน้าสุดท้ายของเอกสารระบุว่า "จัดทำโดยคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชนภายใต้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหา ข้อขัดแย้ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการทำเหมืองแร่ทองคำของบริษัท อัครา รีชอร์สเชส จำกัด (มหาชน)

 

 

ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ จากการทำเหมืองแร่ทองคำของโจทก์เพียงแต่ระบุว่าได้มีการตรวจสอบและมีข้อสรุปเบื้องตันด้านธรณีวิทยา พบว่าพื้นที่บริเวณเหมืองแร่ทองคำเป็นพื้นที่ที่มีการปนเปื้อนของเหล็ก แมงกานีส และสารหนูในระดับสูงมาก่อนมีการทำเหมืองแล้ว และยังไม่ได้ข้อสรุปความสัมพันธ์ของโลหะหนักเหล่านี้กับการเจ็บป่วยที่ชัดเจนคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหา ข้อขัดแย้ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ จากการทำเหมืองแร่ทองคำของโจทก์เห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งที่มีโลหะหนักและสารหนูอยู่ในปริมาณที่สูงกว่าปกติมาก่อนแล้ว แต่จะเกี่ยวข้องกับการทำเหมืองหรือไม่นั้นจำเป็นต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมอย่างเร่งด่วนต่อไป

 

 

และจำเลยที่สองได้แชร์ข้อมูลจากเฟซบุ๊กของจำเลยที่หนึ่ง ข้อเท็จจริงข้างต้นนั้นจำเลยทั้งสองต้องทราบดีอยู่แล้ว เนื่องจากจำเลยทั้งสองมีรายชื่ออยู่ในคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหา ข้อขัดแย้ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการทำเหมืองแร่ของโจทก์ และคณะทำงานตรวจสอบและแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสุขภาพด้วยเช่นกัน จำเลยทั้งสองมีเจตนาทำให้ประชาชนที่ได้พบเห็นและอ่านข้อความ เข้าใจได้ว่าเอกสารดังกล่าวจัดทำภายใต้การดำเนินการของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหา ข้อขัดแย้ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการทำเหมืองแร่ทองคำของโจทก์ และคณะกรรมการได้มีข้อสรุปในเรื่องดังกล่าวแล้วจริงและยังทำให้ประชาชนที่ได้พบเห็นและได้อ่านข้อความดังกล่าวเชื่อว่าสาเหตุของการเจ็บป่วยของประชาชนที่อยู่รอบเหมืองแร่ทองคำนั้นมาจากการประกอบกิจการของโจทก์ ทำให้ประชาชนจำนวนมากที่ได้พบเห็นและได้อ่านข้อความดังกล่าวมีความรู้สึกดูหมิ่นเกลียดชังโจทก์ว่าการประกอบกิจการของโจทก์เป็นสาเหตุให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนที่อาศัยอยู่รอบเหมืองแร่ทองคำ

 

การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์และเผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จ อีกทั้งเป็นการใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่สาม ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายและเป็นการกระทำหมิ่นประมาทโจทก์ด้วยการโฆษณาด้วยภาพและตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏในเฟซบุ๊กของจำเลยทั้งสอง

พฤติการณ์การจับกุม


บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล

คำสั่งไม่รับฟ้องของศาลชั้นต้น

ศาลมีคำสั่งให้ยกฟ้อง โดยศาลพิเคราะห์ว่า กรณีที่บริษัท อัคราฯ หรือโจทก์อ้างว่า จำเลยทั้งสองเผยแพร่เอกสารที่จัดทำโดยคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหา ข้อขัดแย้ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ซึ่งเนื้อหาในเอกสารเป็นความเท็จ เพราะความจริง คือ คณะกรรมการฯ ระบุว่า มีการตรวจสอบมลพิษและมีข้อเสนอแนะ ส่วนการปนเปื้อนของโลหะหนักยังไม่มีข้อสรุปว่าเกิดจากสาเหตุใด
 
ขณะที่จำเลยทั้งสองอยู่ในคณะกรรมการฯ ที่แต่งตั้งขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชน โดยมีการทำงานสามส่วน คือ คณะทำงานการดูแลสุขภาพประชาชน, คณะทำงานระบบเฝ้าระวังสุขภาพประชาชน และคณะทำงานการแปรผลข้อมูลสุขภาพที่มีสมิทธิ์ จำเลยที่สองเป็นกรรมการด้วย
 
ในวาระการประชุมความคืบหน้า สมลักษณ์แจ้งผลการตรวจเลือดและปัสสาวะจำนวน 1,000 ตัวอย่าง ต่อมาคณะทำงานการแปรผลข้อมูลที่มีสมิทธิ์เป็นกรรมการได้แจ้งข้อมูลว่า ในตัวอย่างเลือดและปัสสาวะมีผลของโลหะหนัก จำพวกแมงกานีส สารหนูและไซยาไนด์เกินค่าอ้างอิง สมลักษณ์ได้เสนอแนะต่อประธานให้สมิทธิ์ส่งข้อมูลถึงสาธารณสุขจังหวัดในวันที่ 20 เมษายน 2559 และจัดประชุมการแปรผลในวันที่ 27 เมษายน 2559 
 
ต่อมาวันที่ 29 เมษายน 2559 สมลักษณ์ได้โพสต์ข้อความและเอกสารที่เกี่ยวข้องลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยสมิทธิ์แชร์ข้อความดังกล่าวไปในวันเดียวกัน ซึ่งศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ข้อมูลที่สมลักษณ์นำเข้าระบบคอมพิวเตอร์เป็นข้อมูลแปรผลที่สอดคล้องกับถ้อยคำในที่ประชุมคณะกรรมการฯ จึงถือว่า สมลักษณ์และสมิทธิ์ไม่ได้มีเจตนาทำให้โจทก์ได้รับการดูหมิ่นหรือเกลียดชัง เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมตามวิสัยของประชาชนพึงกระทำ ดังนั้นการกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท พิพากษายกฟ้อง

หมายเลขคดีดำ

อ.2076/2559

ศาล

ศาลอาญากรุงเทพใต้

เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีข้อมูล

แหล่งอ้างอิง

ไม่มีข้อมูล

29 เมษายน 2559

สมลักษณ์ หุตานุวัตร จำเลยที่หนึ่งโพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว ชื่อ “Somlak Hutanuwatr (Thai Leak)” เป็นข้อความประกอบเอกสาร ระบุว่า “เป็นเอกสารทางการแพทย์ฉบับแรกที่กล้าฟันธงว่าเหมืองทำเปื้อน คอยช่วยกันดูแลคุณหมอด้วยนะ งานนี้ฟ้าผ่าแน่ เอกสารส่งมาหลังเที่ยงคืนอย่างแจ่มที่สุด ได้ส่งไปยังจนท.ระดับสูงและถึงมือเรียบร้อยเมื่อครู่นี้ พร้อมทั้งได้โพสต์ลิงค์เพื่อให้ดาวน์โหลดเอกสาร ต่อมาในวันเดียวกันสมิทธ์ ตุงคะสมิต จำเลยที่สองได้แชร์ข้อความดังกล่าวของสมลักษณ์

 

 

21 มิถุนายน 2559

 

 

3 ตุลาคม 2559

นัดไต่สวนมูลฟ้อง

 

เวลา 10.20 น. ศาลขึ้นบังลังก์ พร้อมเบิกตัว เชิดศักดิ์ อรรถอารุณ อายุ 60 ปี พยานโจกท์ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจจากบริษัทอัครา รีซอร์สเซส จำกัด ซึ่งพยานโจทก์ยื่นคำเบิกความเป็นเอกสาร การไต่สวนจึงเริ่มต้นขึ้นโดยทนายจำเลยถามค้านพยานโจกท์ ถึงประวัติการทำงาน พยานตอบว่าเริ่มทำงานอยู่ที่กรมทรัพยากรธรณี เดิมสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นเวลา 28 ปี (ปัจจุบันกรมทรัพยากรธรณีอยู่ภายใต้การกำกับของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ก่อนจะมาทำงานที่สถาบันวิจัยอัญมณีและเครื่องประดับเป็นเวลา 3 ปี หลังจากนั้นจึงมาทำงานที่บริษัททุ่งคาฮาเบอร์เป็นเวลา 2 ปี และปัจจุบันทำงานอยู่ที่บริษัทอัคราฯมาเป็นเวลา 5 ปี

เชิดศักดิ์กล่าวว่า บริษัทอัคราฯ เปิดทำเหมืองที่จังหวัดพิจิตร ตั้งแต่ปี 2544 ซึ่งในการทำเหมืองแร่นั้นต้องมีความมั่นใจว่าจะไม่ทำให้เกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อม บริษัทได้รับใบอนุญาตทำเหมืองประมาณ 3,700 ไร่ ยังไม่รวมแนวกันชน หากรวมทั้งหมดจะมีพื้นที่ประมาณ 6,000 – 7,000 ไร่ ภายในรัศมี 5 กิโลเมตรจากโรงงาน มีชุมชนอยู่ประมาณ 15 ถึง 17 หมู่บ้าน มีประชาชนประมาณ 10,000 คน ซึ่งในความเป็นจริง น่าจะมีอยู่ประมาณ 6,000 ถึง 7,000 คน เพราะประชาชนจำนวนหนึ่งเข้ามาทำงานในกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้บริเวณโดยรอบยังมีวัด โรงเรียน ไม่มีแหล่งน้ำอยู่ใกล้เหมือง เพราะแหล่งน้ำอยู่เหนือพื้นที่โครงการไปเล็กน้อย และก็ใต้โครงการไปประมาณ 1 กิโลเมตร

สำหรับการดูแลสุขภาพของพนักงานบริษัทจะมีการตรวจสุขภาพพนักงานทุกคนอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และถ้าหากพบว่าป่วยก็จะส่งไปรักษาตัว ส่วนพนักงานที่รับผิดชอบงานในโรงงานก็จะมีการตรวจปัสสาวะและเลือด เพื่อหาสารเคมี ซึ่งไม่เคยพบความผิดปกติในพนักงาน ส่วนมาตรการตรวจสุขภาพประชาชนในรัศมี 5 กิโลเมตร เริ่มในปี 2556 สืบเนื่องจากเงื่อนไขในรายงานประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ในช่วงแรกพบว่ามีประชาชนจำนวนหนึ่งมีค่าสารหนูและแมงกานีสอยู่ในปัสสาวะและเลือดของประชาชน โดยมีประมาณ 25-30% ภายในรัศมี 5 กิโลเมตรนับจากโรงงาน

ก่อนหน้านี้ประมาณ 10 ปีก่อนที่เชิดศักดิ์จะเข้ามาทำงานมีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอยู่บ้าง แต่พอหน่วยงานรัฐมาตรวจก็พบว่าไม่เป็นตามข้อร้องเรียน รวมทั้งเคยมีการฟ้องศาลปกครองพิษณุโลก ซึ่งศาลก็ได้ตัดสินยกคำร้องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม หลังจากเข้ามาทำงานก็ยังมีการร้องเรียนอยู่เรื่อยๆ แต่พอมีการตรวจสอบก็ไม่พบปัญหาใดๆ 

ในปี 2557 มีการเรียกร้องจากประชาชนบางส่วนในพื้นที่และนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยรังสิต จนเกิดการตั้งคณะทำงานแก้ไขผลกระทบเกี่ยวกับเหมืองแร่ในระดับจังหวัด โดยมีชื่อจำเลยทั้งสองคือ สมลักษณ์ หุตานุวัตรและสมิทธิ์ ตุงคะสมิตเป็นกรรมการในคณะทำงานชุดนี้ โดยคณะทำงานชุดนี้มีหน้าที่ตรวจสอบผลกระทบจากการทำเหมือง และมีชื่อที่เป็นที่เข้าใจร่วมกันว่า “คณะทำงานห้าฝ่าย” ประกอบด้วย ผู้ร้องเรียน ผู้แทนบริษัท นักวิชาการ ผู้แทนส่วนราชการในพื้นที่ รวมทั้งทหาร ต่อมาในปี 2558 มีการเปลี่ยนตัวคณะทำงานเนื่องจากผู้ราชการจังหวัดถูกโยกย้าย

ทนายจำเลย ถามพยานว่าคณะทำงานมีผลรายงานหรือไม่ พยาน ตอบว่าไม่มี เพราะทางกลุ่มของมหาวิทยาลัยรังสิตเป็นคนทำและก็มีข้อโต้แย้งในเชิงวิชาการตลอดเวลา นอกจากนี้ยังมีความร่วมจากสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม เพื่อเข้ามาตรวจสุขภาพประชาชนในพื้นที่ ซึ่งพบสารหนูและแมงกานีส ซึ่งทางบริษัทอัคราฯ ปฏิเสธตลอด  ในปี 2558 มีหนังสือจากกรมอุตสาหกรรมและเหมืองแร่ ให้บริษัทตรวจสุขภาพประชาชน แต่บริษัทยังไม่ได้ดำเนินการ เนื่องจากเรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ ทางบริษัทฯ ยังทำไม่เป็น ทางกรมเหมืองฯ เห็นว่าประชาชนมีค่าสารหนูสูงจึงสั่งให้หยุดประกอบการชั่วคราว และค้นหาสาเหตุว่าเกิดมาจากอะไร

เหตุของคดีนี้เกิดจากจำเลยเผยแพร่ข้อความเท็จในเฟซบุ๊กซึ่งเปิดสาธารณะ ซึ่งเหตุผลที่เป็นเท็จเพราะคณะกรรมการไม่เคยสรุปผลตามที่สมลักษณ์โพสต์ ทนายถามว่าพยานได้เข้าไปอธิบายข้อเท็จจริงหรือไม่ พยานตอบว่า ไม่ใช่หน้าที่และยุ่งยากเกินไปที่จะอธิบาย เพราะเป็นเรื่องทางวิชาการและการแพทย์ หลังจากการโพสต์ของจำเลยเชิดศักดิ์ก็ไม่ได้สอบถามจำเลยทั้งสองว่าได้เอกสารมาอย่างไร เพราะรู้ทัศนคติทั้งจากการประชุมและติดตามเฟซบุ๊กมาปีกว่าๆ เมื่อจำเลยเอาเรื่องนี้มาโพสต์ย่อมแสดงถึงเจตนาไม่ดีอย่างชัดเจน

ตอบทนายโจทก์ถามติง

ทนายโจกท์ถามเชิดศักดิ์ว่า การตรวจสอบสุขภาพประชาชนต้องมีการเก็บตัวอย่างน้ำในดินในพื้นที่หรือไม่ เชิดศักดิ์ตอบว่า จากตัวอย่างที่เก็บพบมีแมกกานีส สารหนู เป็นลักษณะทั่วไป ของพื้นที่เหมืองแร่ แต่พอมีรายงาน บริษัท อัคราฯ ก็ดูแลเรื่องนี้ด้วยความเคร่งครัด และหากมีประชาชนร้องเรียน ก็จะมีหน่วยงานไปเก็บข้อมูลในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งผลการตรวจออกมาในระดับใกล้เคียงตามมาตรฐาน โดยคณะทำงานที่ลงไปตรวจสอบพบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากที่ตรวจสอบไว้ในครั้งก่อน และไม่มีการเชื่อมโยงที่ชัดเจนว่า เหตุดังกล่าวเกิดจากการทำเหมือง


29 พฤศจิกายน 2559

นัดฟังคำสั่งฟ้อง

ศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำสั่งยกฟ้องสมลักษณ์และพวก โดยศาลพิเคราะห์ว่า กรณีที่บริษัท อัคราฯ หรือโจทก์อ้างว่า การที่จำเลยทั้งสองเผยแพร่เอกสารว่าเป็นการจัดทำโดยคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหา ข้อขัดแย้ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเป็นความเท็จ เพราะความจริงคือคณะกรรมการฯได้แก้ไขและระบุว่า มีการตรวจสอบและมีข้อเสนอแนะทางธรณีวิทยา ขณะที่การปนเปื้อนของโลหะหนักที่มีมาก่อนการทำเหมืองยังไม่มีข้อสรุป
 
ขณะที่จำเลยทั้งสองอยู่ในคณะกรรมการฯที่แต่งตั้งขึ้นมาเพื่อแก้ไขสุขภาพประชาชน โดยมีการทำงานในสามส่วนคือ คณะทำงานการดูแลสุขภาพประชาชน,คณะทำงานระบบเฝ้าระวังสุขภาพประชาชน และคณะทำงานการแปรผลข้อมูลสุขภาพที่มีสมิทธิ์ จำเลยที่สองเป็นกรรมการด้วย
 
ในวาระการประชุมความคืบหน้า สมลักษณ์แจ้งผลการตรวจเลือดและปัสสาวะจำนวน 1,000 ตัวอย่าง ต่อมาคณะทำงานการแปรผลข้อมูลทีมีสมิทธิ์เป็นกรรมการได้แจ้งข้อมูลโดยพบว่า ในตัวอย่างเลือดและปัสสาวะมีผลของโลหะหนัก จำพวกแมงกานีส สารหนูและไซยาไนด์เกินค่าอ้างอิง สมลักษณ์ได้เสนอแนะต่อประธานให้สมิทธิ์ส่งข้อมูลถึงสาธารณสุขจังหวัดในวันที่ 20 เม.ย.2559 และจัดประชุมการแปรผลในวันที่ 27 เม.ย. 2559 
 
ต่อมาวันที่ 29 เม.ย. 2559 สมลักษณ์ได้โพสต์ข้อความและเอกสารที่เกี่ยวข้องลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยสมิทธิ์แชร์ข้อความดังกล่าวไปในวันเดียวกัน ซึ่งศาลพิเคราะห์แล้วว่า ข้อมูลที่สมลักษณ์นำเข้าระบบคอมพิวเตอร์เป็นข้อมูลแปรผลที่สอดคล้องกับถ้อยคำในที่ประชุมคณะกรรมการฯ จึงถือว่า สมลักษณ์และสมิทธิ์ไม่ได้มีเจตนาทำให้โจทก์ได้รับการดูหมิ่นหรือเกลียดชัง เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมตามวิสัยของประชาชนพึงกระทำ ดังนั้นการกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท พิพากษายกฟ้อง
 
สำหรับคดีนี้ถือเป็นหนึ่งในสามคดีที่บริษัท อัคราฯฟ้องร้องต่อสมลักษณ์และพวกอีกสองคดีคือคดีหมายเลขดำที่ อ.1086/2557 คดีนี้เมื่อวันที่ 4 พ.ย. 2559 ศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำสั่งไม่รับฟ้อง และคดีหมายเลขดำที่ อ.1468/2559 ศาลจังหวัดพิจิตร ที่บริษัท อัคราฯ ได้ยื่นฟ้องในฐานะผู้เสียหายจากการเผยแพร่ข้อความและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำในจังหวัดพิจิตร คดีนี้ศาลมีคำสั่งรับฟ้องและนัดสืบพยานอีกครั้งในปีหน้า
 
 
26 กรกฎาคม 2560
 
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้รับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณาระบุว่า ในชั้นนี้เป็นเพียงชั้นไต่สวนมูลฟ้อง จำเลยทั้งสองยังไม่สามารถนำพยานหลักฐานมาสืบเพื่อแสดงให้เหฌนว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองขาดเจตนา พยานหลักฐานเท่าที่โจทก์นำมาไต่สวนฟังได้ว่า คดีโจทก์มีมูลพอที่จะฟ้องได้ อุทธรณ์ของโจทก์ที่ให้รับฟังไว้นั้นฟังขึ้น
 
 

15 พฤศจิกายน 2561

นัดฟังคำพิพากษา

 

คำพิพากษาพอสรุปความได้ว่า คดีนี้บริษัท อัครา รีซอ์สเซส จำกัด(มหาชน) เป็นโจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด มีเชิดศักดิ์ อรรถอารุณ เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามแทนโจทก์ โจทก์ได้รับประทานบัตรอนุญาตให้ประกอบกิจการทำเหมืองแร่ ผลิตทองคำและเงินในพื้นที่จังหวัดพิจิตร จำเลยทั้งสองเป็นคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหา ข้อขัดแย้ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการทำเหมืองแร่ทองคำของบริษัทโจทก์ และคณะทำงานตรวจสอบและแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชน นอกจากนี้จำเลยทั้งสองยังเป็นนักวิชาการและมีฐานะเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยและมีบัญชีเฟซบุ๊ก โดยสมลักษณ์ จำเลยที่หนึ่งใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า "SomlakHutanuwatr(Thai Leak) ส่วนจำเลยที่สองใช้ชื่อสมาชิกเป็นภาษาอังกฤษว่า "Smith Tungkasmit"

 

วันที่ 29 เมษายน 2559 เวลากลางวันถึงกลางคืนติดต่อกัน จำเลยที่หนึ่งโพสต์ข้อความลงบทเฟซบุ๊กว่า "เป็นเอกสารทางการแพทย์ฉบับแรกที่กล้าฟันธงว่าเหมืองทำเปื้อน คอยช่วยกันดูแลคุณหมอด้วยนะ งานนี้ฟ้าผ่าแน่ เอกสารส่งมาหลังเที่ยงคืนอย่างแจ่มที่สุด ได้ส่งไปยังจนท.ระดับสูงและถึงมือเรียบร้อยเมื่อครู่นี้" พร้อมทั้งได้โพสต์ลิงค์เพื่อให้ดาวน์โหลดเอกสารด้วย โดยเอกสารดังกล่าวมีใจความระบุว่า "สรุปการตรวจสอบผลกระทบด้านสุขภาพประชาชนรอบเหมืองทองคำ ประเด็นด้านสุขภาพที่เป็นผลมาจากเหมืองทองคำ  หนึ่ง ประชาชนรอบเหมืองทองคำได้รับผลกระทบเนื่องจากการมีระดับโลหะหนักในกระแสเลือดสูงเกินค่ามาตรฐานมีสูงมาก และระดับของโลหะหนักในเลือดมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นผลการตรวจโดยสถาบันนิติวิทยาศาสตร์และโดยคณะกรรมการร่วมสี่ฝ่าย มีระดับความชุกของผู้ที่มีระดับโลหะหนักในเลือดสูงเกินค่ามาตรฐาน ในระดับสูงสอดคล้องกันโดยพบร้อยละ 42

 

 

การตรวจโดยสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ห่างจากการตรวจโดยคณะกรรมการร่วมระยะเวลาห่างกันหนึ่งปี ความชุกของผู้มีแมงกานีสในเลือดสูงไม่ลดลง และผู้ที่มีสารหนูในเลือดสูงนั้นเพิ่มสูงขึ้นทั้งจำนวน และปริมาณที่สะสมในร่างกาย แสดงให้เห็นว่า ประชาชนรอบเหมืองทองได้รับโลหะหนักที่คงอยู่ในสิ่งแวดล้อมตลอดเวลาโดยไม่ได้มีการกำจัด หรือทำให้ลดลง ๒. ผลจากการได้รับโลหะหนักเข้าไปในร่างกาย สร้างผลกระทบที่มากและรุนแรงต่อสุขภาพและระบบการดูแลสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี ความชุกของผู้ที่มีโลหะหนักทุกชนิดในระดับผิดปกติในเลือดสูงเกินกว่าครึ่งหนึ่งของประชาชน ทำให้คาดการณ์ได้ว่า จากประชาชนรอบเหมืองจำนวน 9,000 ต้องมีผู้ที่มีโลหะหนักผิดปกติในเลือดประมาณ 6,500 ราย และในเด็กจะมีจำนวนมากที่สุดเนื่องจากพบว่าความชุกในเด็กสูงกว่ากลุ่มอื่น ความผิดปกติทางด้านสมองและการเจริญเติบโต รวมถึงการเจ็บป่วยทางจิตของประชาชนรอบเหมืองเป็นภาระอันยิ่งใหญ่ต่อครอบครัว สังคม ระบบบริการสาธารณสุข จากข้อมูลทางวิชาการดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่า เหมืองทองคำเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการป่วยเนื่องจากการได้รับโลหะหนักที่อันเป็นผลิตผลที่เกิดจากกระบวนการทำเหมือง จากการวิเคราะห์ระดับโลหะหนักในประชาชน

 

 

รอบเหมืองพบว่า ผู้ที่อยู่ใกล้เหมืองตั้งแต่ห้ากิโลเมตรลงมา มีระดับโลหะหนักในเลือดสูงกว่าผู้ที่อยู่ห่างออกไป และผู้ที่อยู่ในระยะต่ำกว่าสามกิโลเมตรถึงห้ากิโลเมตร จากเหมืองทองคำมีความเสี่ยงเกือบสามเท่า ต่อการมีระดับโลหะหนักในเลือดมากกว่าผู้ที่อยู่ไกลออกไป และเสี่ยงมากกว่าผู้ที่ไม่อยู่ในบริเวณดังกล่าวหลายสิบเท่า" ในย่อหน้าสุดท้ายของเอกสารระบุว่า "จัดทำโดยคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชนภายใต้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหา ข้อขัดแย้ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการทำเหมืองแร่ทองคำของบริษัท อัครา รีชอร์สเชส จำกัด (มหาชน)

 

 

ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ จากการทำเหมืองแร่ทองคำของโจทก์เพียงแต่ระบุว่าได้มีการตรวจสอบและมีข้อสรุปเบื้องตันด้านธรณีวิทยา พบว่าพื้นที่บริเวณเหมืองแร่ทองคำเป็นพื้นที่ที่มีการปนเปื้อนของเหล็ก แมงกานีส และสารหนูในระดับสูงมาก่อนมีการทำเหมืองแล้ว และยังไม่ได้ข้อสรุปความสัมพันธ์ของโลหะหนักเหล่านี้กับการเจ็บป่วยที่ชัดเจนคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหา ข้อขัดแย้ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ จากการทำเหมืองแร่ทองคำของโจทก์เห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งที่มีโลหะหนักและสารหนูอยู่ในปริมาณที่สูงกว่าปกติมาก่อนแล้ว แต่จะเกี่ยวข้องกับการทำเหมืองหรือไม่นั้นจำเป็นต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมอย่างเร่งด่วนต่อไป

 

 

และจำเลยที่สองได้แชร์ข้อมูลจากเฟซบุ๊กของจำเลยที่หนึ่ง ข้อเท็จจริงข้างต้นนั้นจำเลยทั้งสองต้องทราบดีอยู่แล้ว เนื่องจากจำเลยทั้งสองมีรายชื่ออยู่ในคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหา ข้อขัดแย้ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการทำเหมืองแร่ของโจทก์ และคณะทำงานตรวจสอบและแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสุขภาพด้วยเช่นกัน จำเลยทั้งสองมีเจตนาทำให้ประชาชนที่ได้พบเห็นและอ่านข้อความ เข้าใจได้ว่าเอกสารดังกล่าวจัดทำภายใต้การดำเนินการของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหา ข้อขัดแย้ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการทำเหมืองแร่ทองคำของโจทก์ และคณะกรรมการได้มีข้อสรุปในเรื่องดังกล่าวแล้วจริงและยังทำให้ประชาชนที่ได้พบเห็นและได้อ่านข้อความดังกล่าวเชื่อว่าสาเหตุของการเจ็บป่วยของประชาชนที่อยู่รอบเหมืองแร่ทองคำนั้นมาจากการประกอบกิจการของโจทก์ ทำให้ประชาชนจำนวนมากที่ได้พบเห็นและได้อ่านข้อความดังกล่าวมีความรู้สึกดูหมิ่นเกลียดชังโจทก์ว่าการประกอบกิจการของโจทก์เป็นสาเหตุให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนที่อาศัยอยู่รอบเหมืองแร่ทองคำ

 

การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์และเผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จ อีกทั้งเป็นการใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่สาม ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายและเป็นการกระทำหมิ่นประมาทโจทก์ด้วยการโฆษณาด้วยภาพและตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏในเฟซบุ๊กของจำเลยทั้งสอง

 

ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีไม่มีมูล พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ประทับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณา

 

พิเคราะห์พยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยได้ความว่า โจทก์ได้รับประทานบัตรอนุญาตให้ประกอบกิจการทำเหมืองแร่ผลิตทองคำและเงินในพื้นที่จังหวัดพิจิตร

 

เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2558 นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณี ปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ในพื้นที่ใกล้เคียงโรงงานของเหมืองแร่ทองคำในจังหวัดพิจิตร และเร่งแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับเหมืองแร่ของโจทก์

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหา ข้อขัดแย้ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการทำเหมืองแร่ทองคำของโจทก์ขึ้น โดยมีจำเลยทั้งสอง เชิดศักดิ์ อรรถอารุณ ผู้แทนโจทก์และข้าราชการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้มีรายชื่ออยู่ในคณะกรรมการดังกล่าวด้วย ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวมีมติห้ามมิให้กรรมการหรือผู้ทำงานนำข้อมูลที่ได้รับไปเผยแพร่ โดยที่ยังไม่ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการ คณะกรรมการดังกล่าวได้แต่งตั้งคณะทำงานขึ้นสองคณะคือ  คณะทำงานตรวจสอบและแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชนและคณะทำงานตรวจสอบและแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ในส่วนของคณะทำงานตรวจสอบและแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชนนั้นได้แต่งตั้งคณะทำงานย่อยอีก

 

 

ก่อนเกิดเหตุคดีนี้ คณะทำงานตรวจสอบและแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชนมีการประชุมไปแล้วสามครั้ง แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปผลการตรวจสอบใด ๆเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหา ข้อขัดแย้ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการทำเหมืองแร่ทองคำของโจทก์จนกระทั่งหลังเกิดเหตุคดีนี้แล้ว

 

 

ต่อมาจำเลยที่หนึ่งกลับโพสต์ข้อความตามฟ้อง  จำเลยที่สองได้แชร์ข้อความของจำเลยที่หนึ่ง หลังเกิดเหตุ คณะทำงานตรวจสอบและแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชนมีการประชุมแต่ไม่มีการรับรองผลสรุปการตรวจสอบผลกระทบด้านสุขภาพประชาชนรอบเหมืองแร่ทองคำ ต่อมาวันที่ 13 ธันวาคม 2559 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีคำสั่งให้ผู้มีอำนาจในการออกอาชญาบัตร ประทานบัตรและใบอนุญาตประกอบโลหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยแร่ระงับการอนุญาตให้สำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำ รวมถึงการต่ออายุประทานบัตรเหมืองแร่ทองคำและการต่ออายุใบอนุญาตประกอบโลหะกรรมแร่ทองคำไว้ และให้ผู้ประกอบการที่ได้รับประทานบัตรและใบอนุญาตต่างๆ ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำระงับการประกอบกิจการไว้ตั้งแต่วันที่  1 มกราคม 2560

 

 

คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ โจทก์มีเชิดศักดิ์ อรรถอารุณ กรรมการโจทก์ เป็นพยานเบิกความว่า ก่อนเกิดเหตุ คณะทำงานตรวจสอบและแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชน มีการประชุมไปแล้วสามครั้ง ครั้งที่หนึ่งมีการนำข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขที่สรุปได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลด้านระบาดวิหยาของประชาชนในพื้นที่ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2558 มาหารือแล้วสรุปว่า ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่รอบเหมืองกับระดับสารหนูและแมงกานีสไม่มีความแตกต่างกันตามแต่ละช่วงเวลา และเมื่อพิจารณาระยะห่างระหว่างบ้านและเหมืองกับระดับสารหนูและแมงกานีสพบว่าไม่มีความแตกต่างกันในระดับของแมงกานีส แต่ยังไม่มีการสรุปประเด็นใดๆ เกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว

 

 

ครั้งที่สอง ที่ประชุมพิจารณาถึงความคืบหน้าของการดำเนินงานโดยนายแพทย์ปรีชา เปรมปรี พูดถึงข้อมูลผลการตรวจสุขภาพประชาชนรอบเหมืองตั้งแต่ปี 2557 ซึ่งจำเลยที่สอง เป็นผู้รับผิดชอบในการแปลผลการตรวจดังกล่าว แต่จำเลยที่สองไม่ได้เข้าร่วมประชุมจึงจะต้องนำผลการแปลข้อมูลมาแสดงในการประชุมครั้งต่อไป ส่วนจำเลยที่หนึ่งแจ้งว่าผลการตรวจเลือดครั้งล่าสุดอยู่ในระหว่างรวบรวมและสรุปผล และครั้งที่สาม ที่ประชุมพูดคุยถึงความคืบหน้าในการดำเนินงานของคณะทำงานย่อย จำเลยที่สองได้รายงานถึงความคืบหน้าของการทำงานของคณะทำงานการแปลผลข้อมูลและแจ้งอุปสรรคว่า การส่งตัวอย่างทางเลือดเพื่อตรวจหาสารแมงกานีสนั้นได้ส่งไปวิเคราะห์ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ จังหวัดพิษณุโลก ส่วนการส่งตัวอย่างทางปัสสาวะเพื่อตรวจหาไซยาไนด์และสารหนูนั้นได้ส่งไปวิเคราะห์ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งผลจากห้องปฏิบัติการจากทั้งสองที่นั้นมีรูปแบบที่แตกต่างกัน ทำให้ต้องมีการเรียงข้อมูลและจัดใหม่

 

 

และเนื่องจากข้อมูลที่จำเลยที่สองนำมาเสนอนั้นยังไม่ได้มีการทำคำอธิบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับที่มาของข้อมูลและการออกแบบข้อมูลจึงมอบหมายให้จำเลยที่สองทำคำอธิบายข้อมูลมาเพิ่มเติม ตลอดมาคณะทำงานตรวจสอบและแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชนยังไม่ได้มีการทำรายงานสรุปการตรวจสอบใดๆ โดยเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2559 กระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดทำสรุปรายงานการตรวจสอบข้อเท็จจริงยื่นต่อเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและส่งต่อให้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งตามรายงานการตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งสองฉบับมีข้อสรุปเบื้องต้นจากการประชุมของคณะกรรมการฯดังนี้

 

หนึ่ง ด้านธรณีวิทยา พบว่า พื้นที่บริเวณเหมืองแร่ทองคำเป็นพื้นที่ที่มีการปนเปื้อนของเหล็ก แมงกานีส และสารหนูในระดับสูงมาก่อนมีการทำเหมืองแล้ว(ข้อมูลกรมทรัพยากรธรณี) สอง ด้านคุณภาพดิน พบว่ามีปริมาณแมงกานีส เหล็ก และสารหนูอยู่ในระดับสูง ทั้งในช่วงก่อนการทำเหมืองและในช่วงการทำเหมือง สาม ด้านคุณภาพน้ำใต้ดินพบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน แต่พบค่าเหล็กและแมงกานีสเกินเกณฑ์มาตรฐานหลายจุด พบแมงกานีสและสารหนูในบ่อสังเกตการณ์ และมีข้อสงสัยที่รอการพิสูจน์เกี่ยวกับการพบน้ำปนเปื้อนไชยาไนด์สูงในแปลงนาข้าวใกล้บ่อกักเก็บกากแร่

 

 

สี่ ด้านคุณภาพน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค พบว่า หนึ่งในสี่ของกลุ่มตัวอย่าง น้ำมีการปนเปื้อนของเหล็กและแมงกานีสเกินค่ามาตรฐาน ห้าด้านพืชผัก พบว่าการปนเปื้อนโลหะหนักในผักมีค่าไม่แตกต่างจากผักในที่อื่นและไม่เกินค่ามาตรฐาน (การตรวจสอบของกรมอนามัย) หก ด้านฝุ่น เสียง และแรงสั่นสะเทือนพบว่าส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เจ็ด ด้านสุขภาพ จากผลการตรวจร่างกายประชาชน ในปี 2257-2558  จำนวน 1,583 คนพบว่าร้อยละ 36.8 มีค่าแมงกานีสเกินค่ามาตรฐาน ร้อยละ 23 มีสารหนูเกินค่ามาตรฐาน และร้อยละ 5.9 มีค่าไชยาไนด์เกินค่ามาตรฐาน แต่ยังไม่ได้มีข้อสรุปความสัมพันธ์ของโลหะหนักเหล่านี้กับการเจ็บป่วยที่ซัดเจน

 

 

คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหา ข้อขัดแย้ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการทำเหมืองแร่ทองคำของบริษัทโจทก์ได้มีความเห็นว่า พื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งที่มีโลหะหนักและสารหนูอยู่ในปริมาณที่สูงกว่าปกติมาก่อนแล้ว แต่จะเกี่ยวข้องกับการทำเหมืองหรือไม่นั้น จำเป็นต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมอย่างเร่งด่วนต่อไป หลังจากนั้นมีการประชุมกันอีกครั้งหนึ่ง แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนอีกเช่นเดียวกัน

 

เมื่อโจทก์ทราบว่า จำเลยทั้งสองลงข้อความในเฟซบุ๊กตามฟ้อง โจทก์จึงทำหนังสือสอบถามปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และปลัดกระทรวงสาธารณสุขในฐานะประธานคณะกรรมการฯว่า เอกสารสรุปผลการตรวจสอบผลกระทบด้านสุขภาพประชาชนรอบเหมืองทองคำในเฟซบุ๊กของจำเลยที่หนึ่งได้จัดทำโดยคณะกรรมการหรือไม่ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่มีหนังสือชี้แจงว่า คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชนตามที่ปรากฏชื่อเป็นผู้จัดทำเอกสารดังกล่าว ไม่ได้เป็นคณะทำงานภายใต้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหา ข้อขัดแย้ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการทำเหมืองแร่ทองคำของบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) หากแต่มีคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชนที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการฯ เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน

 

ต่อมากระทรวงสาธารณสุขได้มีหนังสือชี้แจงว่าข้อมูลตามฟ้องในเฟซบุ๊กของจำเลยที่หนึ่งยังอยู่ในระหว่างการตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญ และยังไม่มีการนำเข้าให้คณะทำงานตรวจสอบและแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชนพิจารณาแต่อย่างใด

 

เห็นว่า สำหรับความผิดฐานหมิ่นประมาทนั้น ในขณะที่จำเลยทั้งสองโพสต์หรือแชร์ข้อความบนเฟซบุ๊ก ซึ่งข้อความตามฟ้องพร้อมทั้งได้โพสต์ลิงค์สำหรับดาวน์โหลดเอกสารสรุปการตรวจสอบผลกระทบด้านสุขภาพประชาชนรอบเหมืองแร่ทองคำ โดยระบุแหล่งที่มาของเอกสารว่า "จัดทำโดย คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชนภายใต้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการทำเหมืองแร่ทองคำของบริษัท อัครา รีชอร์สเชส จำกัด (มหาชน)" นั้น

 

แม้ข้อเท็จจริงจะปรากฏว่า คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการทำเหมืองแร่ทองคำของบริษัทโจทก์ที่อ้างถึงในเอกสารดังกล่าวยังไม่ได้มีข้อสรุปผลในปัญหานี้ดังที่โจทก์และจำเลยทั้งสองนำสืบรับกัน โดยโจทก์มิได้นำสืบหักล้างต่อไปว่า นายแพทย์ไชยนันท์ ทยาวิวัฒน์ ประธานคณะทำงานตรวจสอบและแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชนได้โทรศัพท์ถึงจำเลยที่หนึ่งเพื่อเร่งรัดผลการแปลผลข้อมูลโดยแจ้งว่าต้องสรุปผลให้แก่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขและคณะรัฐมนตรี และต่อมานายแพทย์ปรีชาส่งอีเมล์นายแพทย์จเด็ดเพื่อให้วิเคราะห์แปลผลในฐานะคณะทำงานและผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยานายแพทย์จเด็ดจึงเร่งดำเนินการทั้งคืนแล้วรีบส่งเอกสารสรุปการตรวจสอบผลกระทบด้านสุขภาพประชาชนรอบเหมืองแร่ทองคำให้แก่จำเลยที่หนึ่ง

 

 

ดังนั้น ไม่ว่าการดำเนินการของนายแพทย์จเด็ดตามที่ได้รับแจ้งจากนายแพทย์ไชยนันท์นี้จะอยู่ในขอบเขตการดำเนินการของคณะกรรมการหรือคณะทำงานหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าปลัดกระทรวงสาธารณสุขในฐานะเป็นประธานคณะกรรมการรวมทั้งนายแพทย์ไชยนันท์ประธานในที่ประชุมของคณะทำงานได้สั่งการให้นายแพทย์จเด็ดซึ่งเป็นคณะทำงานปฏิบัติตามเพื่อให้งานดำเนินไปโดยรวดเร็วเพื่อเสนอต่อปลัดกระทรวงสาธารณสุขให้ทันกำหนดเวลาประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งต่อมานายแพทย์จเด็ดได้ดำเนินการตามคำสั่งการนี้จนส่งมอบผลสรุปการตรวจสอบให้แก่นายแพทย์ไชยนันท์เพื่อนำเสนอต่อไปตามลำดับชั้นแล้ว ซึ่งจำเลยที่หนึ่งอยู่ในการสื่อสารเรื่องดังกล่าวด้วย ย่อมเป็นเหตุให้จำเลยที่หนึ่งคิดเห็นไปได้โดยสุจริตใจว่า เอกสารสรุปการตรวจสอบดังกล่าวน่าจะระบุชื่อผู้จัดทำโดยอ้างอิงคณะกรรมการได้เพราะมีส่วนเกี่ยวข้องกับเอกสารนั้นจริง

 

นอกจากนี้การพิจารณาข้อความที่จำเลยที่หนึ่งระบุชื่อผู้จัดทำโดยอ้างถึงคณะกรรมการดังกล่าวตามคำฟ้องนั้น ต้องทำความเข้าใจในข้อความประกอบข้อความส่วนอื่น ๆ ของคำฟ้องด้วย ซึ่งเมื่อได้พิจารณาประกอบกับจากข้อความของจำเลยที่หนึ่งในฟ้องที่ว่า “…คอยช่วยกันดูแลคุณหมอด้วยนะ… เอกสารส่งมาหลังเที่ยงคืน อย่างแจ่มที่สุด ได้ส่งไปยัง จนท.ระดับสูงและถึงมือเรียบร้อยเมื่อครู่นี้” เห็นได้ว่า ข้อความส่วนนี้ไม่ได้กล่าวยืนยันว่า คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการทำเหมืองแร่ทองคำของบริษัทโจทก์ได้มีการประชุมและลงมติไปตามที่ปรากฏในเอกสาร แต่ใจความของข้อความดังกล่าวล้วนเป็นการเปิดเผยถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเอกสารของนายแพทย์จเด็ดที่ส่งมาในเวลากลางคืน  

 

และจำเลยที่หนึ่งได้ส่งเอกสารดังกล่าวไปให้ผู้ที่เกี่ยวข้องแล้ว ซึ่งหมายความในตัวว่า เอกสารการสรุปผลตรวจสอบดังกล่าวยังไม่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการหรือคณะทำงานชุดใดจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่หนึ่งมีเจตนาจะให้ผู้อ่านเข้าใจว่า เอกสารสรุปผลการตรวจสอบดังกล่าวมีที่มาหรือเป็นมติของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการทำเหมืองแร่ทองคำของโจทก์ดังที่โจทก์อ้าง

 

ทั้งยังได้ความอีกด้วยว่า เดิมจำเลยที่หนึ่งได้ระบุชื่อ นายแพทย์จเด็ด ดียิ่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาเป็นผู้จัดทำเอกสารไว้อย่างชัดเจนอันแสดงถึงความสุจริตตั้งแต่แรกของจำเลยที่หนึ่ง อย่างไรก็ดีได้มีการทักท้วงจำเลยที่หนึ่งถึงแหล่งที่มาของเนื้อหา จำเลยที่หนึ่งจึงแก้ไขใหม่โดยใช้ข้อความว่า จัดทำโดย "คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชนภายใต้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหา ข้อขัดแย้ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ จากการทำเหมืองแร่ทองคำของบริษัทอัครา รีชอร์สเชส จำกัด (มหาชน)" ซึ่งเห็นว่า จำเลยที่หนึ่งน่าจะใช้ถ้อยคำผิดพลาดจากคำว่า "คณะทำงานตรวจสอบและแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชน" เป็น "คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชน" ไม่ใช่เป็นการตั้งใจแสดงข้อความอันเป็นเท็จเพื่อให้เกิดความเข้าใจผิดหลงสับสน

 

นอกเหนือจากข้อความนี้แล้ว ก็ไม่ปรากฏข้อความอื่นใดที่ส่อพิรุธทำให้เห็นได้ว่าจำเลยที่หนึ่งมีเจตนาจะให้ผู้อ่านเข้าใจว่าคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการทำเหมืองแร่ทองคำของบริษัทโจทก์ได้มีข้อสรุปในเรื่องผลการตรวจสอบ ด้วยข้อเท็จจริงดังกล่าวมาทั้งหมดข้างต้นจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่หนึ่ง มีเจตนาใส่ความให้โจทก์น่าจะเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังอันจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามที่โจทก์ฟ้อง

 

ส่วนที่จำเลยที่สองเผยแพร่ด้วยการแชร์ข้อมูลของจำเลยที่หนึ่งในเฟซบุ๊กของจำเลยที่สองนั้นพิเคราะห์ว่า การที่จำเลยที่สองแชร์ข้อความดังกล่าวในเฟซบุ๊กถือไม่ได้ว่ามีเจตนาใส่ความให้โจทก์น่าจะเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังอันจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามที่โจทก์ฟ้องอีกเช่นกัน สำหรับข้อหาความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ระหว่างการพิจารณา ได้มีพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับที่สอง 2560 มาตรา 8 ให้ยกเลิกความในมาตรา 14 ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ  2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา 14 (1) โดยทุจริตหรือโดยหลอกลวงนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา"

 

ฉะนั้นการจะเป็นความผิดตามมาตรานี้ได้จะต้องเป็นกรณีกระทำโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวง แต่เมื่อได้วินิจฉัยในส่วนความผิดฐานหมิ่นประมาทแล้วข้างต้นว่าข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่หนึ่งมีเจตนาใส่ความโจทก์ หากแต่กระทำไปโดยสุจริต พฤติการณ์ของจำเลยที่หนึ่งจึงไม่อาจถือว่าเป็นการกระทำโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวงได้ ประกอบกับข้อมูลที่จำเลยที่หนึ่งโพสต์ไม่ใช่ข้อมูลอันเป็นเท็จ จึงไม่ใช่ความผิดตามมาตรา 14(1) ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ และเมื่อวินิจฉัยเช่นนี้แล้วการแชร์โพสต์ของจำเลยที่สองจึงไม่มีความผิดตามมาตรา 14(5) ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พิพากษายกฟ้อง

 

27 มีนาคม 2562

 

ศาลอาญากรุงเทพใต้ทำหนังสือส่งให้แก่คู่ความในคดีระบุว่า ศาลอาญากรุงเทพใต้ได้อ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2561 จนถึงบัดนี้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยื่นอุทธรณ์ คดีเป็นอันถึงที่สุดแล้ว

 
 

คำพิพากษา

คำพิพากษาศาลชั้นต้น
 
ศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำสั่งยกฟ้องสมลักษณ์และพวก โดยศาลพิเคราะห์ว่า กรณีที่บริษัท อัคราฯ หรือโจทก์อ้างว่า การที่จำเลยทั้งสองเผยแพร่เอกสารว่าเป็นการจัดทำโดยคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหา ข้อขัดแย้ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเป็นความเท็จ เพราะความจริงคือคณะกรรมการฯได้แก้ไขและระบุว่า มีการตรวจสอบและมีข้อเสนอแนะทางธรณีวิทยา ขณะที่การปนเปื้อนของโลหะหนักที่มีมาก่อนการทำเหมืองยังไม่มีข้อสรุป
 
ขณะที่จำเลยทั้งสองอยู่ในคณะกรรมการฯที่แต่งตั้งขึ้นมาเพื่อแก้ไขสุขภาพประชาชน โดยมีการทำงานในสามส่วนคือ คณะทำงานการดูแลสุขภาพประชาชน,คณะทำงานระบบเฝ้าระวังสุขภาพประชาชน และคณะทำงานการแปรผลข้อมูลสุขภาพที่มีสมิทธิ์ จำเลยที่สองเป็นกรรมการด้วย
 
ในวาระการประชุมความคืบหน้า สมลักษณ์แจ้งผลการตรวจเลือดและปัสสาวะจำนวน 1,000 ตัวอย่าง ต่อมาคณะทำงานการแปรผลข้อมูลทีมีสมิทธิ์เป็นกรรมการได้แจ้งข้อมูลโดยพบว่า ในตัวอย่างเลือดและปัสสาวะมีผลของโลหะหนัก จำพวกแมงกานีส สารหนูและไซยาไนด์เกินค่าอ้างอิง สมลักษณ์ได้เสนอแนะต่อประธานให้สมิทธิ์ส่งข้อมูลถึงสาธารณสุขจังหวัดในวันที่ 20 เม.ย.2559 และจัดประชุมการแปรผลในวันที่ 27 เม.ย. 2559 
 
ต่อมาวันที่ 29 เม.ย. 2559 สมลักษณ์ได้โพสต์ข้อความและเอกสารที่เกี่ยวข้องลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยสมิทธิ์แชร์ข้อความดังกล่าวไปในวันเดียวกัน ซึ่งศาลพิเคราะห์แล้วว่า ข้อมูลที่สมลักษณ์นำเข้าระบบคอมพิวเตอร์เป็นข้อมูลแปรผลที่สอดคล้องกับถ้อยคำในที่ประชุมคณะกรรมการฯ จึงถือว่า สมลักษณ์และสมิทธิ์ไม่ได้มีเจตนาทำให้โจทก์ได้รับการดูหมิ่นหรือเกลียดชัง เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมตามวิสัยของประชาชนพึงกระทำ ดังนั้นการกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท พิพากษายกฟ้อง
 
สำหรับคดีนี้ถือเป็นหนึ่งในสามคดีที่บริษัท อัคราฯฟ้องร้องต่อสมลักษณ์และพวกอีกสองคดีคือคดีหมายเลขดำที่ อ.1086/2557 คดีนี้เมื่อวันที่ 4 พ.ย. 2559 ศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำสั่งไม่รับฟ้อง และคดีหมายเลขดำที่ อ.1468/2559 ศาลจังหวัดพิจิตร ที่บริษัท อัคราฯ ได้ยื่นฟ้องในฐานะผู้เสียหายจากการเผยแพร่ข้อความและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำในจังหวัดพิจิตร คดีนี้ศาลมีคำสั่งรับฟ้องและนัดสืบพยานอีกครั้งในปีหน้า
 
 
 
คำพิพากษาศาลชั้นต้น
 

พิเคราะห์พยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยได้ความว่า โจทก์ได้รับประทานบัตรอนุญาตให้ประกอบกิจการทำเหมืองแร่ผลิตทองคำและเงินในพื้นที่จังหวัดพิจิตร

 

เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2558 นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณี ปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ในพื้นที่ใกล้เคียงโรงงานของเหมืองแร่ทองคำในจังหวัดพิจิตร และเร่งแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับเหมืองแร่ของโจทก์

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหา ข้อขัดแย้ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการทำเหมืองแร่ทองคำของโจทก์ขึ้น โดยมีจำเลยทั้งสอง เชิดศักดิ์ อรรถอารุณ ผู้แทนโจทก์และข้าราชการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้มีรายชื่ออยู่ในคณะกรรมการดังกล่าวด้วย ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวมีมติห้ามมิให้กรรมการหรือผู้ทำงานนำข้อมูลที่ได้รับไปเผยแพร่ โดยที่ยังไม่ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการ คณะกรรมการดังกล่าวได้แต่งตั้งคณะทำงานขึ้นสองคณะคือ  คณะทำงานตรวจสอบและแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชนและคณะทำงานตรวจสอบและแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ในส่วนของคณะทำงานตรวจสอบและแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชนนั้นได้แต่งตั้งคณะทำงานย่อยอีก

 

 

ก่อนเกิดเหตุคดีนี้ คณะทำงานตรวจสอบและแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชนมีการประชุมไปแล้วสามครั้ง แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปผลการตรวจสอบใด ๆเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหา ข้อขัดแย้ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการทำเหมืองแร่ทองคำของโจทก์จนกระทั่งหลังเกิดเหตุคดีนี้แล้ว

 

 

ต่อมาจำเลยที่หนึ่งกลับโพสต์ข้อความตามฟ้อง  จำเลยที่สองได้แชร์ข้อความของจำเลยที่หนึ่ง หลังเกิดเหตุ คณะทำงานตรวจสอบและแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชนมีการประชุมแต่ไม่มีการรับรองผลสรุปการตรวจสอบผลกระทบด้านสุขภาพประชาชนรอบเหมืองแร่ทองคำ ต่อมาวันที่ 13 ธันวาคม 2559 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีคำสั่งให้ผู้มีอำนาจในการออกอาชญาบัตร ประทานบัตรและใบอนุญาตประกอบโลหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยแร่ระงับการอนุญาตให้สำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำ รวมถึงการต่ออายุประทานบัตรเหมืองแร่ทองคำและการต่ออายุใบอนุญาตประกอบโลหะกรรมแร่ทองคำไว้ และให้ผู้ประกอบการที่ได้รับประทานบัตรและใบอนุญาตต่างๆ ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำระงับการประกอบกิจการไว้ตั้งแต่วันที่  1 มกราคม 2560

 

 

คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ โจทก์มีเชิดศักดิ์ อรรถอารุณ กรรมการโจทก์ เป็นพยานเบิกความว่า ก่อนเกิดเหตุ คณะทำงานตรวจสอบและแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชน มีการประชุมไปแล้วสามครั้ง ครั้งที่หนึ่งมีการนำข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขที่สรุปได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลด้านระบาดวิหยาของประชาชนในพื้นที่ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2558 มาหารือแล้วสรุปว่า ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่รอบเหมืองกับระดับสารหนูและแมงกานีสไม่มีความแตกต่างกันตามแต่ละช่วงเวลา และเมื่อพิจารณาระยะห่างระหว่างบ้านและเหมืองกับระดับสารหนูและแมงกานีสพบว่าไม่มีความแตกต่างกันในระดับของแมงกานีส แต่ยังไม่มีการสรุปประเด็นใดๆ เกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว

 

 

ครั้งที่สอง ที่ประชุมพิจารณาถึงความคืบหน้าของการดำเนินงานโดยนายแพทย์ปรีชา เปรมปรี พูดถึงข้อมูลผลการตรวจสุขภาพประชาชนรอบเหมืองตั้งแต่ปี 2557 ซึ่งจำเลยที่สอง เป็นผู้รับผิดชอบในการแปลผลการตรวจดังกล่าว แต่จำเลยที่สองไม่ได้เข้าร่วมประชุมจึงจะต้องนำผลการแปลข้อมูลมาแสดงในการประชุมครั้งต่อไป ส่วนจำเลยที่หนึ่งแจ้งว่าผลการตรวจเลือดครั้งล่าสุดอยู่ในระหว่างรวบรวมและสรุปผล และครั้งที่สาม ที่ประชุมพูดคุยถึงความคืบหน้าในการดำเนินงานของคณะทำงานย่อย จำเลยที่สองได้รายงานถึงความคืบหน้าของการทำงานของคณะทำงานการแปลผลข้อมูลและแจ้งอุปสรรคว่า การส่งตัวอย่างทางเลือดเพื่อตรวจหาสารแมงกานีสนั้นได้ส่งไปวิเคราะห์ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ จังหวัดพิษณุโลก ส่วนการส่งตัวอย่างทางปัสสาวะเพื่อตรวจหาไซยาไนด์และสารหนูนั้นได้ส่งไปวิเคราะห์ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งผลจากห้องปฏิบัติการจากทั้งสองที่นั้นมีรูปแบบที่แตกต่างกัน ทำให้ต้องมีการเรียงข้อมูลและจัดใหม่

 

 

และเนื่องจากข้อมูลที่จำเลยที่สองนำมาเสนอนั้นยังไม่ได้มีการทำคำอธิบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับที่มาของข้อมูลและการออกแบบข้อมูลจึงมอบหมายให้จำเลยที่สองทำคำอธิบายข้อมูลมาเพิ่มเติม ตลอดมาคณะทำงานตรวจสอบและแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชนยังไม่ได้มีการทำรายงานสรุปการตรวจสอบใดๆ โดยเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2559 กระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดทำสรุปรายงานการตรวจสอบข้อเท็จจริงยื่นต่อเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและส่งต่อให้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งตามรายงานการตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งสองฉบับมีข้อสรุปเบื้องต้นจากการประชุมของคณะกรรมการฯดังนี้

 

หนึ่ง ด้านธรณีวิทยา พบว่า พื้นที่บริเวณเหมืองแร่ทองคำเป็นพื้นที่ที่มีการปนเปื้อนของเหล็ก แมงกานีส และสารหนูในระดับสูงมาก่อนมีการทำเหมืองแล้ว(ข้อมูลกรมทรัพยากรธรณี) สอง ด้านคุณภาพดิน พบว่ามีปริมาณแมงกานีส เหล็ก และสารหนูอยู่ในระดับสูง ทั้งในช่วงก่อนการทำเหมืองและในช่วงการทำเหมือง สาม ด้านคุณภาพน้ำใต้ดินพบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน แต่พบค่าเหล็กและแมงกานีสเกินเกณฑ์มาตรฐานหลายจุด พบแมงกานีสและสารหนูในบ่อสังเกตการณ์ และมีข้อสงสัยที่รอการพิสูจน์เกี่ยวกับการพบน้ำปนเปื้อนไชยาไนด์สูงในแปลงนาข้าวใกล้บ่อกักเก็บกากแร่

 

 

สี่ ด้านคุณภาพน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค พบว่า หนึ่งในสี่ของกลุ่มตัวอย่าง น้ำมีการปนเปื้อนของเหล็กและแมงกานีสเกินค่ามาตรฐาน ห้าด้านพืชผัก พบว่าการปนเปื้อนโลหะหนักในผักมีค่าไม่แตกต่างจากผักในที่อื่นและไม่เกินค่ามาตรฐาน (การตรวจสอบของกรมอนามัย) หก ด้านฝุ่น เสียง และแรงสั่นสะเทือนพบว่าส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เจ็ด ด้านสุขภาพ จากผลการตรวจร่างกายประชาชน ในปี 2257-2558  จำนวน 1,583 คนพบว่าร้อยละ 36.8 มีค่าแมงกานีสเกินค่ามาตรฐาน ร้อยละ 23 มีสารหนูเกินค่ามาตรฐาน และร้อยละ 5.9 มีค่าไชยาไนด์เกินค่ามาตรฐาน แต่ยังไม่ได้มีข้อสรุปความสัมพันธ์ของโลหะหนักเหล่านี้กับการเจ็บป่วยที่ซัดเจน

 

 

คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหา ข้อขัดแย้ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการทำเหมืองแร่ทองคำของบริษัทโจทก์ได้มีความเห็นว่า พื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งที่มีโลหะหนักและสารหนูอยู่ในปริมาณที่สูงกว่าปกติมาก่อนแล้ว แต่จะเกี่ยวข้องกับการทำเหมืองหรือไม่นั้น จำเป็นต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมอย่างเร่งด่วนต่อไป หลังจากนั้นมีการประชุมกันอีกครั้งหนึ่ง แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนอีกเช่นเดียวกัน

 

เมื่อโจทก์ทราบว่า จำเลยทั้งสองลงข้อความในเฟซบุ๊กตามฟ้อง โจทก์จึงทำหนังสือสอบถามปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และปลัดกระทรวงสาธารณสุขในฐานะประธานคณะกรรมการฯว่า เอกสารสรุปผลการตรวจสอบผลกระทบด้านสุขภาพประชาชนรอบเหมืองทองคำในเฟซบุ๊กของจำเลยที่หนึ่งได้จัดทำโดยคณะกรรมการหรือไม่ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่มีหนังสือชี้แจงว่า คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชนตามที่ปรากฏชื่อเป็นผู้จัดทำเอกสารดังกล่าว ไม่ได้เป็นคณะทำงานภายใต้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหา ข้อขัดแย้ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการทำเหมืองแร่ทองคำของบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) หากแต่มีคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชนที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการฯ เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน

 

ต่อมากระทรวงสาธารณสุขได้มีหนังสือชี้แจงว่าข้อมูลตามฟ้องในเฟซบุ๊กของจำเลยที่หนึ่งยังอยู่ในระหว่างการตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญ และยังไม่มีการนำเข้าให้คณะทำงานตรวจสอบและแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชนพิจารณาแต่อย่างใด

 

เห็นว่า สำหรับความผิดฐานหมิ่นประมาทนั้น ในขณะที่จำเลยทั้งสองโพสต์หรือแชร์ข้อความบนเฟซบุ๊ก ซึ่งข้อความตามฟ้องพร้อมทั้งได้โพสต์ลิงค์สำหรับดาวน์โหลดเอกสารสรุปการตรวจสอบผลกระทบด้านสุขภาพประชาชนรอบเหมืองแร่ทองคำ โดยระบุแหล่งที่มาของเอกสารว่า "จัดทำโดย คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชนภายใต้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการทำเหมืองแร่ทองคำของบริษัท อัครา รีชอร์สเชส จำกัด (มหาชน)" นั้น

 

แม้ข้อเท็จจริงจะปรากฏว่า คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการทำเหมืองแร่ทองคำของบริษัทโจทก์ที่อ้างถึงในเอกสารดังกล่าวยังไม่ได้มีข้อสรุปผลในปัญหานี้ดังที่โจทก์และจำเลยทั้งสองนำสืบรับกัน โดยโจทก์มิได้นำสืบหักล้างต่อไปว่า นายแพทย์ไชยนันท์ ทยาวิวัฒน์ ประธานคณะทำงานตรวจสอบและแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชนได้โทรศัพท์ถึงจำเลยที่หนึ่งเพื่อเร่งรัดผลการแปลผลข้อมูลโดยแจ้งว่าต้องสรุปผลให้แก่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขและคณะรัฐมนตรี และต่อมานายแพทย์ปรีชาส่งอีเมล์นายแพทย์จเด็ดเพื่อให้วิเคราะห์แปลผลในฐานะคณะทำงานและผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยานายแพทย์จเด็ดจึงเร่งดำเนินการทั้งคืนแล้วรีบส่งเอกสารสรุปการตรวจสอบผลกระทบด้านสุขภาพประชาชนรอบเหมืองแร่ทองคำให้แก่จำเลยที่หนึ่ง

 

 

ดังนั้น ไม่ว่าการดำเนินการของนายแพทย์จเด็ดตามที่ได้รับแจ้งจากนายแพทย์ไชยนันท์นี้จะอยู่ในขอบเขตการดำเนินการของคณะกรรมการหรือคณะทำงานหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าปลัดกระทรวงสาธารณสุขในฐานะเป็นประธานคณะกรรมการรวมทั้งนายแพทย์ไชยนันท์ประธานในที่ประชุมของคณะทำงานได้สั่งการให้นายแพทย์จเด็ดซึ่งเป็นคณะทำงานปฏิบัติตามเพื่อให้งานดำเนินไปโดยรวดเร็วเพื่อเสนอต่อปลัดกระทรวงสาธารณสุขให้ทันกำหนดเวลาประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งต่อมานายแพทย์จเด็ดได้ดำเนินการตามคำสั่งการนี้จนส่งมอบผลสรุปการตรวจสอบให้แก่นายแพทย์ไชยนันท์เพื่อนำเสนอต่อไปตามลำดับชั้นแล้ว ซึ่งจำเลยที่หนึ่งอยู่ในการสื่อสารเรื่องดังกล่าวด้วย ย่อมเป็นเหตุให้จำเลยที่หนึ่งคิดเห็นไปได้โดยสุจริตใจว่า เอกสารสรุปการตรวจสอบดังกล่าวน่าจะระบุชื่อผู้จัดทำโดยอ้างอิงคณะกรรมการได้เพราะมีส่วนเกี่ยวข้องกับเอกสารนั้นจริง

 

นอกจากนี้การพิจารณาข้อความที่จำเลยที่หนึ่งระบุชื่อผู้จัดทำโดยอ้างถึงคณะกรรมการดังกล่าวตามคำฟ้องนั้น ต้องทำความเข้าใจในข้อความประกอบข้อความส่วนอื่น ๆ ของคำฟ้องด้วย ซึ่งเมื่อได้พิจารณาประกอบกับจากข้อความของจำเลยที่หนึ่งในฟ้องที่ว่า “…คอยช่วยกันดูแลคุณหมอด้วยนะ… เอกสารส่งมาหลังเที่ยงคืน อย่างแจ่มที่สุด ได้ส่งไปยัง จนท.ระดับสูงและถึงมือเรียบร้อยเมื่อครู่นี้” เห็นได้ว่า ข้อความส่วนนี้ไม่ได้กล่าวยืนยันว่า คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการทำเหมืองแร่ทองคำของบริษัทโจทก์ได้มีการประชุมและลงมติไปตามที่ปรากฏในเอกสาร แต่ใจความของข้อความดังกล่าวล้วนเป็นการเปิดเผยถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเอกสารของนายแพทย์จเด็ดที่ส่งมาในเวลากลางคืน  

 

และจำเลยที่หนึ่งได้ส่งเอกสารดังกล่าวไปให้ผู้ที่เกี่ยวข้องแล้ว ซึ่งหมายความในตัวว่า เอกสารการสรุปผลตรวจสอบดังกล่าวยังไม่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการหรือคณะทำงานชุดใดจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่หนึ่งมีเจตนาจะให้ผู้อ่านเข้าใจว่า เอกสารสรุปผลการตรวจสอบดังกล่าวมีที่มาหรือเป็นมติของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการทำเหมืองแร่ทองคำของโจทก์ดังที่โจทก์อ้าง

 

ทั้งยังได้ความอีกด้วยว่า เดิมจำเลยที่หนึ่งได้ระบุชื่อ นายแพทย์จเด็ด ดียิ่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาเป็นผู้จัดทำเอกสารไว้อย่างชัดเจนอันแสดงถึงความสุจริตตั้งแต่แรกของจำเลยที่หนึ่ง อย่างไรก็ดีได้มีการทักท้วงจำเลยที่หนึ่งถึงแหล่งที่มาของเนื้อหา จำเลยที่หนึ่งจึงแก้ไขใหม่โดยใช้ข้อความว่า จัดทำโดย "คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชนภายใต้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหา ข้อขัดแย้ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ จากการทำเหมืองแร่ทองคำของบริษัทอัครา รีชอร์สเชส จำกัด (มหาชน)" ซึ่งเห็นว่า จำเลยที่หนึ่งน่าจะใช้ถ้อยคำผิดพลาดจากคำว่า "คณะทำงานตรวจสอบและแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชน" เป็น "คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชน" ไม่ใช่เป็นการตั้งใจแสดงข้อความอันเป็นเท็จเพื่อให้เกิดความเข้าใจผิดหลงสับสน

 

นอกเหนือจากข้อความนี้แล้ว ก็ไม่ปรากฏข้อความอื่นใดที่ส่อพิรุธทำให้เห็นได้ว่าจำเลยที่หนึ่งมีเจตนาจะให้ผู้อ่านเข้าใจว่าคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการทำเหมืองแร่ทองคำของบริษัทโจทก์ได้มีข้อสรุปในเรื่องผลการตรวจสอบ ด้วยข้อเท็จจริงดังกล่าวมาทั้งหมดข้างต้นจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่หนึ่ง มีเจตนาใส่ความให้โจทก์น่าจะเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังอันจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามที่โจทก์ฟ้อง

 

ส่วนที่จำเลยที่สองเผยแพร่ด้วยการแชร์ข้อมูลของจำเลยที่หนึ่งในเฟซบุ๊กของจำเลยที่สองนั้นพิเคราะห์ว่า การที่จำเลยที่สองแชร์ข้อความดังกล่าวในเฟซบุ๊กถือไม่ได้ว่ามีเจตนาใส่ความให้โจทก์น่าจะเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังอันจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามที่โจทก์ฟ้องอีกเช่นกัน สำหรับข้อหาความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ระหว่างการพิจารณา ได้มีพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับที่สอง 2560 มาตรา 8 ให้ยกเลิกความในมาตรา 14 ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ  2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา 14 (1) โดยทุจริตหรือโดยหลอกลวงนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา"

 

ฉะนั้นการจะเป็นความผิดตามมาตรานี้ได้จะต้องเป็นกรณีกระทำโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวง แต่เมื่อได้วินิจฉัยในส่วนความผิดฐานหมิ่นประมาทแล้วข้างต้นว่าข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่หนึ่งมีเจตนาใส่ความโจทก์ หากแต่กระทำไปโดยสุจริต พฤติการณ์ของจำเลยที่หนึ่งจึงไม่อาจถือว่าเป็นการกระทำโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวงได้ ประกอบกับข้อมูลที่จำเลยที่หนึ่งโพสต์ไม่ใช่ข้อมูลอันเป็นเท็จ จึงไม่ใช่ความผิดตามมาตรา 14(1) ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ และเมื่อวินิจฉัยเช่นนี้แล้วการแชร์โพสต์ของจำเลยที่สองจึงไม่มีความผิดตามมาตรา 14(5) ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พิพากษายกฟ้อง

 

ดูแฟ้มคดีอื่นๆ

บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์: ข้อสอบวิชาอารยธรรมไทย

คดีชุมนุมขัดขวางขบวนเสด็จ

รุ่งทิวา