พฤทธิ์นรินทร์: ฝ่าฝืนคำสั่งรายงานตัว ของ คสช.

อัปเดตล่าสุด: 18/10/2560

ผู้ต้องหา

พฤทธิ์นรินทร์

สถานะคดี

อัยการสั่งไม่ฟ้อง

คดีเริ่มในปี

2560

โจทก์ / ผู้กล่าวหา

ไม่มีข้อมูล

สารบัญ

พฤทธิ์นรินทร์มีชื่อในคำสั่งเรียกบุคคลให้มารายงานตัวต่อคสช.แต่เขาเข้ารายงานตัวช้ากว่าเวลากำหนดประมาณหนึ่งชั่วโมง หลังเข้ารายงานตัวเขาถูกควบคุมตัวในค่ายทหารสามวันก่อนถูกตั้งข้อกล่าวหาทางการเมืองข้อหาหนึ่ง ซึ่งการกระทำคดีนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2555
 
ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2557 ศาลจังหวัดอุบลราชธานีพิพากษาจำคุกพฤทธิ์นรินทร์ในคดีนั้นเป็นเวลา 13 ปี 24 เดือน
 
ในวันที่ 1 กันยายน 2560 พฤทธิ์นรินทร์ได้รับการปล่อยตัว เนื่องจากระหว่างจำคุกเขาได้รับการลดหย่อนโทษจนครบกำหนด ทันทีที่ได้รับการปล่อยตัว ตำรวจก็อายัดตัวมาดำเนินคดีต่อทันที เนื่องจากเขามีหมายจับในความผิดฐานไม่รายงานตัวตามคำสั่ง คสช. พฤทธิ์นรินทร์ถูกนำตัวมาฝากขังที่ศาลทหารกรุงเทพในวันที่ 2 กันยายน 2560 และได้รับการประกันตัวด้วยวงเงิน 30,000 บาทในวันเดียวกัน ในวันที่ 16 ตุลาคม 2560 อัยการทหารมีคำสั่งไม่ฟ้องคดีนี้เนื่องจากหลักฐานไม่เพียงพอ

ภูมิหลังผู้ต้องหา

พฤทธิ์นรินทร์ เป็นนักดนตรีชาวจังหวัดอุบลราชธานี 
 
เขาเคยถูกดำเนินคดีทางการเมืองคดีหนึ่งซึ่งศาลจังหวัดอุบลราชธานีพิพากษาให้จำคุก 13 ปี 24 เดือน

ข้อหา / คำสั่ง

ฝ่าฝืนประกาศคสช. 41/2557

การกระทำที่ถูกกล่าวหา

พฤทธิ์นรินทร์มีชื่อในคำสั่งรายงานตัวฉบับที่ 44/2557 ซึ่งกำหนดให้เขาเข้ารายงานตัวในวันที่ 3 มิถุนายน 2557 อย่างไรก็ตามพฤทธิ์นรินทร์ไม่ได้เข้ารายงานตัวในวันดังกล่าวจึงถูกออกหมายจับ แม้ว่าต่อมาพฤทธิ์นรินทร์จะเข้ารายงานตัวในวันที่ 13 มิถุนายน 2557 
 
การไม่มารายงานตัวตามคำสั่ง คสช. เป็นความผิดตาม ประกาศ คสช. ฉบับที่ 41/2557 มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

พฤติการณ์การจับกุม

ขณะที่พฤทธิ์นรินทร์ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำกลางอุบลราชธานีหลังครบกำหนดโทษในคดีการเมืองคดีหนึ่ง เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2560 เจ้า่หน้าที่ตำรวจสภ.เมืองอุบลราชธานีได้อายัดตัวเขาเนื่องจากพฤทธิ์นรินทร์เป็นผู้ต้องหาตามหมายจับของศาลทหารกรุงเทพในความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งรายงานตัวของ คสช. พฤทธิ์นรินทร์ถูกนำตัวจากอุบลราชธานีมาที่กองบังคับการปราบปราม กรุงเทพมหานครในช่วงค่ำวันเดียวกัน อย่างไรก็ตามในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2560 เมื่อพฤทธิ์นรินทร์ถูกนำตัวมาฝากขังที่ศาลทหารกรุงเทพ เขาก็ได้รับการประกันตัวในวงเงิน 30,000 บาท

บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล

ไม่มีข้อมูล

หมายเลขคดีดำ

ไม่มีข้อมูล

ศาล

ศาลทหารกรุงเทพ

เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีข้อมูล

แหล่งอ้างอิง

ไม่มีข้อมูล
1 กันยายน 2560
 
พฤทธิ์นรินทร์ ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำกลางจังหวัดอุบลราชธานี เจ้าหน้าที่ตำรวจสภ.เมืองอุบลราชธานีเข้าอายัดตัวเขาเนื่องจากพฤทธิ์นรินทร์ เป็นผู้ต้องหาตามหมายจับของศาลทหารกรุงเทพในความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งรายงานตัวของคสช. พฤทธิ์นรินทร์ ถูกควบคุมตัวจากจังหวัดอุบลราชธานีมาถึงกองปราบปราม กรุงเทพมหานครในช่วงค่ำวันเดียวกันพนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวกับพฤทธิ์นรินทร์ และควบคุมตัวเขาที่กองบังคับการปราบปรามหนึ่งคืนและแจ้งว่าจะนำตัวไปฝากขังกับศาลทหารในวันถัดไป
 
2 กันยายน 2560
 
พนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามนำตัวพฤทธิ์นรินทร์ไปฝากขังกับศาลทหารกรุงเทพ ศาลทหารกรุงเทพอนุญาตให้ฝากขังแต่ก็ให้พฤทธิ์นรินทร์ ประกันตัวโดยวางเงินประกัน 30,000 บาท พร้อมทั้งสั่งให้เข้ารายงานตัวตลอดระยะเวลาที่ถุกฝากขังทุก 12 วัน
 
5 ตุลาคม 2560
 
พฤทธิ์นรินทร์เข้าให้การเพิ่มเติมกับพนักงานสอบสวนกองปราบปราม พนักงานสอบสวนแจ้งว่าได้ประสานขอหนังสือรับบุคคลรายงานตัวไปที่กองทัพภาคที่หนึ่งแล้ว พนักงานสอบสวนนัดพฤธิ์นรินทร์ไปที่ศาลทหารในวันพรุ่งนี้เพื่อส่งตัวฟ้องต่ออัยการศาลทหาร 
 
6 ตุลาคม 2560
 
พนักงานสอบสวนส่งตัวพฤทธิ์นรินทร์ต่ออัยการศาลทหารกรุงเทพ อัยการทหารแจ้งกับเขาว่าในวันที่ 16 ตุลาคม 2560 ให้มาพบเพื่อฟังคำสั่งคดีและแจ้งให้เตรียมเงินประกันมาเผื่อด้วย 
 
16 ตุลาคม 2560 
 
นัดฟังคำสั่งอัยการ
 
พฤทธิ์นรินทร์และแม่เดินทางมาที่ศาลทหารกรุงเทพตั้งแต่ก่อนเวลา 10.00 น. ซึ่งเป็นเวลาที่อัยการทหารนัดเขามาฟังคำสั่งคดีฝ่าฝืนคำสั่งรายงานตัวของคสช. เมื่อมาถึงศาลเจ้าหน้าที่ให้พฤทธิ์นรินทร์ แม่ของเขาและทนายขึ้นไปรอที่ห้องอัยการ ในเวลาประมาณ 11.00 น. อัยการทหารให้เจ้าหน้าที่นำคำสั่งไม่ฟ้องคดีมามอบให้พฤทธิ์นรินทร์โดยคำสั่งดังกล่าวระบุเหตุผลในการสั่งไม่ฟ้องว่า หลักฐานไม่เพียงพอที่จะฟ้อง 
 
หลังทราบคำสั่ง พฤทธิ์นรินทร์เปิดเผยว่า เขารู้สึกสบายใจที่อัยการทหารสั่งไม่ฟ้องคดี เพราะหลังจากนี้จะได้วางแผนชีวิตได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องคดีความอีก พฤทธิ์นรินทร์เล่าว่า เขาเดินทางกับแม่จากบ้านที่จังหวัดอุบลราชธานีเมื่อคืนนี้เพื่อมาฟังคำสั่งอัยการที่ศาลทหารกรุงเทพ โดยจองตั๋วขามาเที่ยวเดียวเพราะไม่แน่ใจว่าอัยการจะมีคำสั่งฟ้องคดีหรือไม่ แต่เมื่ออัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องก็จะเดินทางกลับบ้านคืนนี้เลย
 
พฤทธิ์นรินทร์ระบุด้วยว่า การถูกดำเนินคดีที่ศาลทหารทำให้ที่บ้านมีภาระค่าใช้จ่ายมากขึ้น เพราะที่ผ่านมาการเดินทางมากรุงเทพแต่ละครั้งเขากับแม่จะต้องเสียค่าเดินทางไปกลับราวสองพันบาท และยังต้องเสียค่าโรงแรมและค่าใช้จ่ายอื่นๆอีก เมื่ออัยการทหารมีคำสั่งไม่ฟ้องและคดีถึงที่สุดก็คงทำให้ภาระตรงนี้เบาขึ้น

 

คำพิพากษา

ไม่มีข้อมูล

ดูแฟ้มคดีอื่นๆ

บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์: ข้อสอบวิชาอารยธรรมไทย

คดีชุมนุมขัดขวางขบวนเสด็จ

รุ่งทิวา