พรรคฝ่ายค้านจัดเวทีเสวนาเรื่องรัฐธรรมนูญที่ปัตตานี

อัปเดตล่าสุด: 07/11/2562

ผู้ต้องหา

สมพงษ์ อมรวิวัฒน์

สถานะคดี

ชั้นสืบสวนสอบสวน

คดีเริ่มในปี

2562

โจทก์ / ผู้กล่าวหา

ไม่มีข้อมูล

สารบัญ

ในวันที่ 28 กันยายน 2562 พรรคร่วมฝ่ายค้านจัดเวทีสาธารณะ "พลวัตแก้ปัญหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ สู่นับหนึ่งรัฐธรรมนูญใหม่" ที่ลานวัฒนธรรม จังหวัดปัตตานี โดยมีประชาชนเข้าร่วมประมาณ 150 คน
 
กิจกรรมดังกล่าวมีแกนนำพรรคฝ่านค้านเข้าร่วม เช่น สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทยและผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ที่อยู่ระหว่างถูกพักการปฏิบัติหน้าที่สมาชิกสภาฯ และ  วันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นบนเวที นอกจากนั้นก็มีชลิตา บัณฑุวงศ์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการอิสระเข้าร่วมด้วย
 
ต่อมาวันที่ 4 ตุลาคม 2562 พล.ต.บุรินทร์ ทองประไพ ผู้ชำนาญการสำนักงาน กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า รับมอบอำนาจจากแม่ทัพภาคที่ 4 ในฐานะผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษบุคคลรวม 12 คน ซึ่งมีทั้งนักการเมืองพรรคฝ่ายค้านและนักวิชาการที่เข้าร่วมเวทีดังกล่าว ในความผิดฐานยุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 
 

ภูมิหลังผู้ต้องหา

สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในสมัยรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช
 
ในการเลือกตั้ง 2562 สมพงษ์ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 5 จังหวัดเชียงใหม่ ในเดือนกรกฎาคม 2562 สมพงษ์ได้รับเลือกโดยสมาชิกพรรคเพื่อไทยให้เป็นหัวหน้าพรรคต่อจากพล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ ก่อนจะได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร 
 
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ สมัยเป็นนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ธนาธรเคยทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มสมัชชาคนจน และอยู่ในเหตุการณ์ขณะที่ตำรวจบริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาลสลายการชุมนุมของกลุ่มสมัชชาคนจนซึ่งในขณะนั้นมีชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี 

ธนาธรเคยเป็นผู้บริหารของกลุ่มบริษัทไทยซัมมิท ก่อนที่จะลาออกมาทำงานการเมืองในฐานะผู้ร่วมจัดตั้งและหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ในปี 2561 และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อของพรรคอนาคตใหม่ในการลงเลือกตั้งครั้งแรก

เมื่อรัฐสภาลงคะแนนให้ความเห็นชอบบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรีธนาธรได้รับการเสนอชื่อเป็นแคนดิเดทนายกรัฐมนตรีแข่งกับพล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชาแคนดิดเดทของพรรคพลังประชารัฐแต่ได้คะแนนน้อยกว่า

พล.ท.ภารดร พัฒนถาบุตร อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)และสมาชิกพรรคเพื่อไทย
 
ชลิตา บัณฑุวงศ์ เป็นอาจารย์ประจำคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 
สมพงษ์ สระกวี เป็นสมาชิกพรรคเสรีรวมไทย 
 
สงคราม กิจเลิศไพโรจน์ เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์สมัยรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในเดือนพฤศจิกายน 2561 เขาได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อชาติ ก่อนจะได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อในการเลือกตั้ง 2562 
 
มุข สุไลมาน เป็นเหรัญญิกพรรคประชาชาติ ในการเลือกตั้ง 2562 มุขเป็นผู้สมัครส.ส.แบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 13 ของพรรคประชาชาติ แต่เนื่องจากพรรคประชาชาติได้ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อเพียงหนึ่งคน มุขจึงไม่ได้เป็นส.ส.ในการเลือกตั้งสมัยนี้  
 
นิคม บุญวิเศษ  เป็นหัวหน้าพรรคพลังปวงชนไทย
รักชาติ สุวรรณ เป็นประธานเครือข่ายชาวพุทธเพื่อสันติภาพจังหวัดชายแดนใต้

อสมา มังกรชัย เป็นอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

วันมูหะมัดนอร์ มะทา หรือที่สื่อมวลชนมักเรียกย่อๆว่า วัน นอร์ เป็นหัวหน้าพรรคประชาชาติและเป็นส.ส.บัญชีรายชื่อของพรรคประชาชาติเพียงหนึ่งเดียวในการเลือกตั้ง 2562

วันมูหะมัดนอร์เป็นอดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร

ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ เป็นนักวิชาการอิสระและเป็นผู้จัดรายการช่องว๊อยซ์ ทีวี     
 

ข้อหา / คำสั่ง

มาตรา 116 ประมวลกฎหมายอาญา

การกระทำที่ถูกกล่าวหา

หนังสือร้องทุกข์กล่าวโทษที่พนักงานสอบสวนบันทึกถ้อยคำของพล.ต.บุรินทร์ ทองประไพ สรุปพฤติการณ์ของผู้ต้องหาคดีนี้ได้ว่า
 
ในวันเกิดเหตุ 28 กันยายน 2562 ผู้ต้องหาทั้ง 12 คน ร่วมกันจัดงานเสวนา 7 พรรคฝ่ายค้าน เรื่องพลวัตแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ สู่นับหนึ่งรัฐธรรมนูญใหม่ เจ้าหน้าที่กอ.รมน.ภาค 4 ได้เข้าไปตรวจสอบกิจกรรมดังกล่าว พบว่า มีผู้เข้าร่วมฟังการเสวนาดังกล่าวประมาณ 150 คน และมีการถ่ายทอดสดผ่านเฟซบุ๊กเพจ พรรคประชาชาติ รวมทั้งมีการถ่ายทอดสดบนเว็บไซต์ยูทูปต่อประชาชนทั่วไปด้วย
 
ผู้ต้องกล่าวหาทั้ง 12 คน มีพฤติการณ์พูด นำเสนอ ให้ข้อมูล ในลักษณะบิดเบือนข้อเท็จจริงให้ประชาชนหลงเชื่อเพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่อง ถึงขนาดจะก่อความไม่สงบในราชอาณาจักร  ในการนี้ผู้กล่าวหาได้มอบแผ่นวีซีดีบันทึกคำปราศรัยของผู้ต้องหารวม 6 แผ่นแก่พนักงานสอบสวนไว้เป็นหลักฐานด้วย
 

พฤติการณ์การจับกุม

ยังไม่มีการออกหมายเรียกให้ผู้ต้องหาทั้งหมดไปรับทราบข้อกล่าวหา

บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล

ไม่มีข้อมูล

หมายเลขคดีดำ

ไม่มีข้อมูล

ศาล

ไม่มีข้อมูล

เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีข้อมูล

แหล่งอ้างอิง

ไม่มีข้อมูล
28 กันยายน 2562 
 
มติชนสุดสัปดาห์ออนไลน์รายงานว่า เจ็ดพรรคร่วมฝ่ายค้านจัดกิจกรรม ฝ่ายค้านเพื่อประชาชน สัญจรภาคใต้ โดยกิจกรรมส่วนหนึ่งได้แก่การจัดเสวนาหัวข้อ "พลวัฒน์แก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ สู่นับหนึ่งรัฐธรรมนูญใหม่" โดยมีตัวแทนพรรคการเมืองฝ่ายระดับแกนนำ เช่น สมพงษ์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย วันมูหะมัดนอร์ หัวหน้าพรรคประชาชาติ และธนาธร หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ เข้าร่วมงานเสวนา  นอกจากนั้นก็มีนักวิชาการ เช่น ชลิตา ร่วมการเสวนาด้วย 
 
การเสวนาที่ลานวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานีมีผู้เข้าร่วมประมาณ 150 คน การเสวนาบางส่วนพอสรุปได้ดังนี้ 
 
สมพงษ์หัวหน้าพรรคเพื่อไทยกล่าวโดยสรุปว่า นับจากการเลือกตั้ง บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญไม่เอื้อให้พรรคฝ่ายค้านสามารถทำงานเพื่อประชาชนได้อย่างเต็มที่ รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีความผิดเพี้ยนและต้องหาแนวทางแก้ไข

สมพงษ์ระบุด้วยว่าคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญสามารถหาเสียง (ระหว่างการออกเสียงประชามติ) อยู่ฝ่ายเดียว แต่ก็ได้คะแนนเสียงที่ให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญเพียง 15 ล้านกว่าเสียงเท่านั้น
 
สงคราม หัวหน้าพรรคเพื่อชาติกล่าวโดยสรุปว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ไม่ได้เป็นไปเพภื่อพรรคฝ่ายค้านแต่ต้องเป็นไปเพื่อประชาชนทุกคนโดยเจ็ดพรรคฝ่ายค้านเป็นเพียงผู้ริเริ่มการแก้ไขรัฐธรรมนูญเท่านั้น

สงครามระบุด้วยว่ารัฐบาลพยายามทำให้คนเข้าใจผิดว่าเศรษฐกิจไม่ดีต้องแก้ไขเศรษฐกิจก่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งที่การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารคือรัฐบาล ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติหรือส.ส.ซึ่งเป็นคนละส่วนกัน
 
ธนาธร หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่กล่าวโดยสรุปว่า แม้จะมีบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญกำหนดคุ้มครองเสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร คุ้มครองประชาชนไม่ให้ถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพ แต่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้กลับมีการลงทะเบียนซิมแบบบันทึกอัตลักษณ์ ซึ่งถือเป็นการการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนเพราะถ้าไม่ลงทะเบียนจะใช้ซิมการ์ดไม่ได้ แต่ขณะเดียวกันกลับมีบุคคลกลุ่มหนึ่งที่สามารถทำอะไรที่ขัดรัฐธรรมนูญแล้วไม่ถูกลงโทษ เช่นถวายสัตย์ฯไม่ครบก็ไม่ต้องรับโทษ

ในส่วนของการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 15 ปีที่ผ่านมา มีประชาชนกว่า 4000 คนเสียชีวิต ที่ผ่านมาสถานการณ์ก็ไม่ได้คลี่คลายไปในทางที่ดี มีประชาชนบางส่วนต้องการให้มีการปกครองแบบพิเศษ ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าทุกจังหวัดมีความพิเศษ มีความหลากหลาย แต่รัฐที่แข็งทื่ออย่างรัฐไทย พยายามเอากฎกติกา ความคิด ความเชื่อแบบเดียวกันบีบบังคับให้คนต้องเชื่อซึ่งจุดนี้คือที่มาของปัญหา

ธนาธรระบุด้วยว่าหลังการรัฐประหารปี 57 มีแต่การใช้มาตรการด้านความมั่นคง มองประชาชนเป็นศัตรู ตราบใดที่ยังไม่มีความเป็นธรรมก็ยากที่จะมีสันติภาพและส่วนตัวเขาเห็นว่าจะไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องโครงสร้างอำนาจในสังคมไทยได้เลย หากอำนาจทุกอย่างรวมศูนย์อยู่ที่กรุงเทพ การแก้รัฐธรรมนูญจึงเป็นทางออกทางเดียวที่เหลืออยู่ในสังคมไทย
 
ขณะที่ ชลิตา บัณฑุวงศ์ อาจารย์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวโดยสรุปว่ารู้สึกภูมิใจในที่ชาวสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ลงคะแนนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ  ขณะนี้มีการจัดตั้งเครือข่ายคณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.) แล้ว โดยเครือข่ายดังกล่าวจะเคลื่อนไหวให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่เป็นของประชาชนอย่างแท้จริง เพราะรัฐธรรมนูญ 2560 ไม่เห็นหัวประชาชน จึงมีความจำเป็นที่ต้องแก้ไข 

ชลิตาระบุด้วยว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่สามารถแก้ปัญหาชายแดนใต้ได้ สาเหตุหลักเป็นมันคือผลพวงของความรู้สึกถึงความไม่ชอบธรรม การใช้กฎหมายพิเศษของรัฐ ที่ผ่านมารัฐมีแนวทางแก้ปัญหา คือ 1.การใช้กำลังทหารและตำรวจ ในการรักษาความมั่นคง 2.การพัฒนาพื้นที่คุณภาพชีวิต และ3.การส่งเสริมทางสังคมวัฒนธรรม ซึ่งเราพบว่าแนวทางดังกล่าวมีปัญหามาก

เพราะแนวทางเหล่านี้ล้วนอยู่ภายใต้อำนาจเบ็ดเสร็จของกองทัพ ซึ่งที่จริงไม่ควรเป็นงานด้านความมั่นคง แต่ทหารกลับมามีอำนาจ และมีบทบาทในทุกด้าน ชลิตราทิ้งท้ายว่าการแก้ปัญหาของประเทศไทย อาจไม่ต้องอยู่กันเป็นรัฐเดี่ยวหรือรวมศูนย์ก็ได้ การแก้รัฐธรรมนูญอาจแก้มาตรา 1 ด้วยก็ไม่เห็นจะแปลกอะไร
 
4 ตุลาคม 2562
 
ข่าวสดออนไลน์รายงานว่า พล.ต.บุรินทร์ ทองประไพ ผู้ชำนาญการสำนักงาน กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า รับมอบอำนาจจากแม่ทัพภาคที่ 4 ในฐานะผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 เดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวน สภ.เมืองปัตตานี เพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษผู้ต้องหาในคดีนี้ทั้ง 12 คน 
 
อาร์วายทีไนน์รายงานในวันเดียวกันว่า 7 พรรคฝ่ายค้านมีการจัดแถลงข่าวตอบโต้การร้องทุกข์กล่าวโทษกอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด โฆษกพรรคเพื่อไทยกล่าวว่า ที่ประชุมพรรคร่วมฝ่ายค้าน มีมติเตรียมร้องทุกข์กล่าวโทษนายทหาร กอ.รมน.และผู้บังคับบัญชา กรณีแจ้งความต่อ สภ.เมืองปัตตานี ให้ดำเนินคดีนักวิชาการและแกนนำฝ่ายพรรคค้านรวม 12 คน ในความผิดตามมาตรา 116

โดยในวันที่ 6 ตุลาคม พรรคร่วมฝ่ายค้านจะไปแจ้งความดำเนินคดีกับพล.ต.บุรินทร์รวมทั้งผู้บังคับบัญชาของเขา ในส่วนของการจัดเวทีสัญจรเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการรับฟังปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน อนุสรณ์ระบุว่าทางพรรคร่วมฝ่ายค้านจะยังคงดำเนินการต่อไป
 
ขณะที่ปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ กล่าวในการแถลงข่าวว่า  เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่เพราะประเทศกำลังกลับเข้าสู่ประชาธิปไตยตามปกติ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นมีความสำคัญ หากมีการใช้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ดำเนินคดีกับผู้แสดงความคิดเห็นต่อไปก็จะทำให้ประชาชนไม่กล้าใช้เสรีภาพแสดงความคิดเห็นอีกเลยเพราะกลัวถูกดำเนินคดี
 
ส่วนนิคม บุญวิเศษ หัวหน้าพรรคพลังปวงชนชาวไทย ยืนยันว่าพรรคร่วมฝ่ายค้านระบุชัดเจนว่าจะไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งในหมดที่หนึ่งและหมวดที่สอง 
 
  
 

คำพิพากษา

ไม่มีข้อมูล

ดูแฟ้มคดีอื่นๆ

บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์: ข้อสอบวิชาอารยธรรมไทย

คดีชุมนุมขัดขวางขบวนเสด็จ

รุ่งทิวา