สมยศ: ชุมนุมฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่สถานทูตกัมพูชา

อัปเดตล่าสุด: 09/04/2564

ผู้ต้องหา

สมยศ

สถานะคดี

ชั้นสืบสวนสอบสวน

คดีเริ่มในปี

2563

โจทก์ / ผู้กล่าวหา

ไม่มีข้อมูล

สารบัญ

วันที่ 4 มิถุนายน 2563 มีกระแสข่าวว่า วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ผู้ลี้ภัยการเมืองไทยในกัมพูชาถูกกลุ่มชายฉกรรจ์ไม่ทราบฝ่ายบังคับอุ้มตัวขึ้นรถจากหน้าที่พักในกรุงพนมเปญ ต่อมาในวันที่ 8 มิถุนายน 2563 กลุ่มนักกิจกรรมประมาณ 30 คน รวมตัวกันทำกิจกรรมที่หน้าสถานทูตกัมพูชาเพื่อเรียกร้องให้ทางการกัมพูชาทำความจริงให้ปรากฏ หากวันเฉลิมยังมีชีวิตอยู่ให้ติดตามตัวกลับมา หากเสียชีวิตแล้วให้นำศพของเขาส่งกลับมาให้ญาติบำเพ็ญกุศล
 
ในวันที่ 8 มิถุนายน การชุมนุมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเจ้าหน้าที่สถานทูตก็ออกมารับหนังสือกับทางกลุ่มผู้ชุมนุม อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นมีประชาชนอย่างน้อย 6 คนถูกออกหมายเรียกมารับทราบข้อกล่าวหาฝ่าฝืนข้อกำหนดห้ามการชุมนุมซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 
 
 
 
 

ภูมิหลังผู้ต้องหา

สมยศ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นประธานสหภาพพันธมิตรแรงงานประชาธิปไตย มีประวัติเคลื่อนไหวด้านแรงงานเรื่อยมา โดยเป็นผู้นำแรงงานออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องสวัสดิการแรงงานกับรัฐบาลในหลายครั้ง
 
ปี 2550 เขาเริ่มต้นเป็นบรรณาธิการนิตยสาร Voice of Taksin และเป็นแกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย ไม่กี่วันก่อนที่เขาจะถูกจับ เขาออกมาเคลื่อนไหวเพื่อรวบรวมรายชื่อให้มีการยกเลิกกฎหมายมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา
 
ก่อนหน้านี้ ในช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2553 ซึ่งมีการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่ม นปช. รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในครั้งนั้นมีสื่อหลายแห่งถูกปิด และนักเคลื่อนไหวหลายคนถูกจับกุมตัวเข้าไปในค่ายทหาร รวมถึงนายสมยศที่ถูกคุมตัวในค่ายทหารเป็นเวลา 19 วัน หลังจากได้รับการปล่อยตัว เขาเปลี่ยนชื่อนิตยสารจาก Voice of Taksin เป็น Red Power
 
นอกจากนี้ ชื่อของสมยศถูกจัดอยู่ใน ‘ผังล้มเจ้า’ ของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ที่จัดทำขึ้นเมื่อปี 2553 ด้วย ในปี 2554 สมยศถูกดำเนินคดีในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จากกรณีที่เขาเป็นบรรณาธิการวารสาร Voice of Taksin แล้วตีพิมพ์บทความที่มีเนื้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์รวม 2 ชิ้น นับจากถูกจับกุมในปี 2554 สมยศไม่เคยได้รับการประกันตัวแม้จะยื่นประกันตัวไปมากกว่า 10 ครั้ง เขาต่อสู้คดีทั้ง 3 ชั้นศาลและให้การปฏิเสธโดยตลอด
 
ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2560 ศาลฎีกามีคำพิพากษาเป็นที่สุดลงโทษจำคุกสมยศในความผิดตามมาตรา 112 เป็นเวลารวม 6 ปีและให้นำโทษจำคุก 1 ปีจากคดีหมิ่นประมาทพล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ซึ่งศาลอาญาเคยมีคำพิพากษาจำคุกแต่ให้รอลงอาญาไว้มารวมด้วย สมยศพ้นโทษในวันที่ 30 เมษายน 2561 หรือ 7 ปีเต็ม หลังพ้นโทษเขายังคงทำกิจกรรมทางสังคมอย่างต่อเนื่อง
 
ทัตเทพเป็นบัณฑิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขาเริ่มทำกิจกรรมทางสังคมตั้งแต่ยังศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษา เช่น ร่วมกิจกรรมแสดงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับผู้ชุมนุมชาวฮ่องกง
 
โชติศักดิ์ เป็นนักกิจกรรมทางสังคมที่เคลื่อนไหวทางการเมืองมาตั้งแต่ช่วงก่อนการรัฐประหาร 2549 เมื่อมีการรัฐประหาร 2549 โชติศักดิ์ร่วมเคลื่อนไหวคัดค้านการรัฐประหารในนามกลุ่ม 19 กันยา ต้านรัฐประหาร หลังจากนั้นเขาลี้ภัยไปต่างประเทศช่วงสั้นๆ เพราะมีผู้ไปร้องทุกข์กล่าวโทษเขาในความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จากกรณีที่ไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงภาพยนตร์ อย่างไรก็ตาม หลายปีต่อมาอัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องคดีดังกล่าว หลังกลับประเทศไทยโชติศักดิ์ยังคงเคลื่อนไหวในประเด็นสาธารณะอยู่เป็นระยะและมักแสดงความเห็นส่วนตัวในหลากหลายประเด็นผ่านเฟซบุ๊กของเขาที่ตั้งค่าเป็นสาธารณะ 
 
มัทนา เป็นนักกิจกรรมที่เคยถูกดำเนินคดีรวม 4 คดี จากการร่วมชุมนุมกับกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง 
 
นภัสสร เป็นนักกิจกรรมที่เคยถูกดำเนินคดีรวม 4 คดี จากการร่วมชุมนุมกับกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง
 
กิตติธัช เป็นสมาชิกคณะประชาชนเพื่ออิสรภาพ เคยถูกดำเนินคดีจากการร่วมการชุมนุมกับกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง 1 คดี ช่วงหลังการยึดอำนาจในปิ 2557 กิตติธัชเคยไปทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์อ่านหนังสือ 1984 กินแซนวิชประท้วงการรัฐประหารที่หน้าห้างสยามพารากอนจนเป็นเหตุให้ถูกจับตัวไปปรับทัศนคติที่หอประชุมกองทัพบก วิภาวดี 

ข้อหา / คำสั่ง

พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน

การกระทำที่ถูกกล่าวหา

หมายเรียกผู้ต้องหา สน.วังทองหลางระบุว่าวันที่ 8 มีนาคม 2563 ผู้ต้องหากับพวกร่วมทำกิจกรรมหรือกระทำการอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดซึ่งออกตามมาตรา 9 ของพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
 

 

พฤติการณ์การจับกุม

คดีนี้เจ้าหน้าที่ไม่ได้จับตัวบุคคลใดในพื้นที่การชุมนุม แต่ใช้วิธีออกหมายเรียกผู้ต้องหาตามหลัง
 

บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล

ไม่มีข้อมูล

หมายเลขคดีดำ

ไม่มีข้อมูล

ศาล

ไม่มีข้อมูล

เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีข้อมูล

แหล่งอ้างอิง

ไม่มีข้อมูล
8 มิถุนายน 2563 
 
กลุ่มประชาชนรวมตัวที่หน้าสถานทูตกัมพูชาประจำประเทศไทยเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับ วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ นักกิจกรรมไทยที่ถูกกลุ่มชายฉกรรจ์อุ้มตัวขึ้นรถตู้จากหน้าที่พักในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชาตั้งแต่ช่วงเย็นวันที่ 4 มิถุนายน 2563
 
กลุ่มผู้ชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลกัมพูชาติดตามตัววันเฉลิมกลับมา หากยังมีชีวิตให้ติดตามตัวกลับมาปรากฏต่อสาธารณะ หากเสียชีวิตให้ประสานกับญาติเพื่อส่งศพกลับมาบำเพ็ญกุศลในประเทศไทย แม้จะมีผู้ร่วมกิจกรรมส่วนหนึ่งประกาศนัดทำกิจกรรมที่หน้าสถานทูตตั้งแต่เวลา 14.30 น. แต่ปรากฏว่ามีกลุ่มประชาชนไปรวมตัวตั้งแต่ก่อนเวลานัดแล้ว โดยประชาชนที่มาร่วมกิจกรรมอย่างน้อย 30 คนยืนเรียงแถวกันที่หน้าป้ายสถานทูตกัมพูชา หลายคนถือป้ายมีเนื้อหาเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับวันเฉลิมรวมถึงผู้ลี้ภัยไทยคนอื่นๆ
 
ระหว่างที่มีการทำกิจกรรมเจ้าหน้าที่ไม่ได้ห้ามปรามหรือแทรกแซงการทำกิจกรรมใดๆ และยังช่วยประสานกับตัวแทนสถานทูตออกมารับหนังสือจากกลุ่มผู้ชุมนุมด้วย ระหว่างการชุมนุมผู้ร่วมชุมนุมบางส่วนนำกระดาษเอสี่ที่พิมพ์ข้อความเรียกร้องความเป็นธรรมให้วันเฉลิมไปแปะบนป้ายชื่อสถานทูต เมื่อผู้ทำกิจกรรมแสดงออกเชิงสัญลักษณ์และให้สื่อมวลชนถ่ายภาพชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ขอความร่วมมือให้ผู้ชุมนุมแกะป้ายออกซึ่งผู้ชุมนุมก็ให้ความร่วมมือด้วยดี การชุมนุมยุติลงในเวลาประมาณ 15.00 น. โดยไม่มีเหตุวุ่นวายใดๆ
 
13 มิถุนายน 2563
 
สมยศ หนึ่งในผู้ร่วมกิจกรรมโพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า ตัวเขาได้รับหมายเรียกจากสน.วังทองหลางให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาฝ่าฝืนข้อกำหนดห้ามชุมนุมตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ โดยพนักงานสอบสวนนัดให้สมยศไปพบในวันที่ 17 มิถุนายน เวลา  9.30 น. 
 
ทั้งนี้จากการสอบถาม มัทนาผู้ได้รับหมายเรียกอีกคนหนึ่งได้ข้อมูลว่าเธอเองก็ได้รับหมายเรียกในวันที่ 13 มิถุนายนและมีกำหนดเข้ารายงานตัววันที่ 17 มิถุนายนเช่นเดียวกับสมยศ ส่วนกิตติธัชเธอไม่ทราบว่าเขาได้รับหมายวันใดแต่ทราบว่าพนักงานสอบสวนนัดให้ไปรายงานตัววันเดียวกับเธอและสมยศ
 
30 มิถุนายน 2563
 
โชติศักด์หนึ่งในผู้ต้องหาให้ข้อมูลว่าก่อนหน้านี้ทางผู้ต้องหาขอเลื่อนวันนัดรายงานตัวกับพนักงานสอบสวน แต่ปรากฎว่าพนักงานสอบสวนกลับออกหมายเรียกฉบับที่ 2 ยืนยันให้ผู้ต้องหามาเข้าพบวันที่ 2 กรกฎาคม 2563 ผู้ต้องหาสี่คนยกเว้นโชติศักดิ์และสมยศจะเข้ารายงานตัวกับพนักงานสอบสวนในวันที่ 2 กรกฎาคม ส่วนโชติศักดิ์และสมยศจะเข้าพบพนักงานสอบสวนในวันที่ 7 กรกฎาคม ตามที่แจ้งกับพนักงานสอบสวนไว้     
 
9 เมษายน 2564
 
นัดฟังคำสั่งอัยการ
 
โชติศักดิ์ หนึ่งในผู้ต้องหาให้ข้อมูลว่าอัยการเลื่อนนัดฟังคำสั่งคดีเป็นวันที่ 9 มิถุนายน 2564
 
 
 

คำพิพากษา

ไม่มีข้อมูล

ดูแฟ้มคดีอื่นๆ

บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์: ข้อสอบวิชาอารยธรรมไทย

คดีชุมนุมขัดขวางขบวนเสด็จ

รุ่งทิวา