วีรภาพ: พ่นข้อความเรียกร้องการปฏิรูปสถาบัน

อัปเดตล่าสุด: 25/04/2565

ผู้ต้องหา

วีรภาพ

สถานะคดี

ชั้นศาลชั้นต้น

คดีเริ่มในปี

2513

โจทก์ / ผู้กล่าวหา

ไม่มีข้อมูล

สารบัญ

ในวันที่ 13 กันยายน 2564 ระหว่างที่มีการชุมนุมที่แยกดินแดง วีรภาพ หรือ อาลีฟ หนึ่งในผู้ชุมนุมดินแดงใช้สีสเปรย์ฉีดพ่นข้อความ เรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ให้อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ ลงบนสิ่งปลูกสร้างลักษณะคล้ายปล่องระบายอากาศที่อยู่ใกล้ทางด่วนดินแดง

จากนั้นในช่วงค่ำวันที่ 15 กันยายน 2564 เจ้าหน้าที่ตำรวจนำกำลังไปทำการจับกุมวีรภาพซึ่งกำลังรับประทานอาหารอยู่ที่ตำบลคลองข่อย จังหวัดนนทบุรี วีรภาพถูกคุมตัวไปที่ สภ.ชัยพฤกษ์ เพื่อทำบันทึกการจับกุมก่อนนำตัวไปควบคุมที่ สน.พหลโยธิน เพื่อรอส่งตัวฝากขังที่ศาลในวันรุ่งขึ้น
 
ในวันที่ 16 กันยายน 2564 วีรภาพถูกนำตัวไปที่ศาลอาญาเพื่อขออำนาจศาลฝากขัง ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราววีรภาพในวันเดียวกันโดยวางหลักทรัพย์ 100,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์ ศาลยังกำหนดเงื่อนไขตามสัญญาประกันของวีรภาพในลักษณะเดียวกับที่กำหนดกับจำเลยคดีมาตรา 112 คดีอื่นๆ ทั้งเรื่องห้ามกระทำการเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ห้ามเข้าร่วมการชุมนุมในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง นอกจากนั้นยังให้วีรภาพสวมกำไลอิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (อีเอ็ม) และกำหนดเวลาห้ามออกนอกเคหสถานด้วย กระทั่งเดือนธันวาคม 2564 เมื่อครบกำหนดฝากขัง 84 วัน และอัยการยังไม่สั่งฟ้องคดี วีรภาพจึงได้รับการปลดกำไลอีเอ็ม
 
อัยการมีความเห็นสั่งฟ้องวีรภาพต่อศาลอาญาในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565 ศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวเขาโดยตีราคาประกัน 100,000 บาท พร้อมกำหนดเงื่อนไขลักษณะเดียวกับที่เคยตั้งในชั้นสอบสวน แต่ไม่มีข้อกำหนดเรื่องการติดกำไลอิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวและไม่มีกำหนดเวลาห้ามออกนอกเคหสถาน

ภูมิหลังผู้ต้องหา

วีรภาพหรืออาลีฟ ขณะถูกดำเนินคดีอายุ 19 ปี อาลีฟเข้าร่วมการชุมนุมกับผู้ชุมนุมราษฎรครั้งแรกในวันที่ 16 ตุลาคม 2563 จากนั้นก็เข้าร่วมการชุมนุมเรื่อยมาตามแต่เขาจะมีโอกาส โดยอาลีฟได้เข้าไปร่วมทำงานในพื้นที่การชุมนุมในฐานะการ์ดของผู้ชุมนุมด้วย ในช่วงที่มีการชุมนุมที่แยกดินแดงอาลีฟได้เข้าร่วมการชุมนุมด้วยก่อนจะมาถูกจับกุมเพราะเขาใช้สีสเปรย์พ่นข้อความเรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์บนสิ่งปลูกสร้างแห่งหนึ่งใกล้ทางด่วนดินแดง

ข้อหา / คำสั่ง

มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา, มาตรา 215 ประมวลกฎหมายอาญา, พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 140

การกระทำที่ถูกกล่าวหา

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานคำฟ้องคดีโดยสรุปได้ว่า
 
ระหว่างวันที่ 13-14 กันยายน 2564 จําเลยกับพวก รวมประมาณ 150 คน ร่วมกันชุมนุม มั่วสุม ที่บริเวณใต้ทางด่วนดินแดง แนวถนนดินแดง และถนนวิภาวดีรังสิต ซึ่งเป็นการออกนอกเคหสถานและเป็นการรวมกลุ่มบุคคลที่มีจํานวนมากกว่า 25 คน โดยไม่ได้รับอนุญาต รวมถึงเป็นการชุมนุม การทํากิจกรรม หรือการมั่วสุมกัน ณ สถานที่ใดๆ ที่แออัด และมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันได้ง่ายในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรคในเขตพื้นที่ที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคงประกาศกําหนด 
 
ต่อมา จําเลยกับผู้ร่วมชุมนุม ประมาณ 150 คน ได้ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ขู่เข็ญว่าจะใช้กําลังประทุษร้ายหรือใช้กําลังประทุษร้ายให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ซึ่งเจ้าพนักงานตํารวจควบคุมฝูงชนได้ประกาศให้ผู้ชุมนุมมั่วสุมดังกล่าวให้เลิกชุมนุมมั่วสุม แต่กลุ่มผู้ชุมนุมไม่เลิก และต่อมาได้ร่วมกันต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานตํารวจควบคุมฝูงชนที่มาควบคุมสถานการณ์ ซึ่งกระทําการตามหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย โดยใช้กําลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กําลังประทุษร้าย มีการขว้างปาระเบิดและประทัด และใช้ลูกแก้วหรือของแข็งอย่างอื่นยิงด้วยหนังสติ๊ก หรืออาวุธอย่างอื่นเข้าใส่เจ้าพนักงานตํารวจ อันเป็นการกระทําให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง โดยได้กระทําโดยมีหรือใช้อาวุธหรือวัตถุระเบิด และโดยร่วมกระทําความผิดด้วยกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป
 
นอกจากนี้ จําเลยหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ ด้วยการเขียนข้อความว่า “ควรปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ #ไอ้ษัตริย์” ที่บริเวณผนังตู้ควบคุมไฟฟ้าของกรุงเทพมหานคร ใต้ทางด่วนดินแดง และข้อความภาษาอังกฤษอีกหนึ่งข้อความที่บริเวณเสาใต้ทางด่วนดินแดง เพื่อให้ประชาชน หรือบุคคลทั่วไปซึ่งเป็นบุคคลที่สามที่พบเห็นข้อมูล ข้อความ รูปภาพ และตัวอักษรดังกล่าว 
 
“ควรปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ” ทำให้เข้าใจได้ว่า ปัจจุบันสถาบันกษัตริย์ไม่ได้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ หรือสถาบันกษัตริย์อยู่เหนือรัฐธรรมนูญ ซึ่งข้อความดังกล่าวเป็นข้อความอันเป็นเท็จ เลื่อนลอย ปราศจากหลักฐาน ถือว่าเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ทําให้ประชาชนเกิดความเกลียดชังสถาบัน ว่าทรงอยู่เหนือกฎหมายและอยู่เหนือรัฐธรรมนูญ 
 
และคําว่าไอ้สัตว์ โดยเขียนในลักษณะที่ทำให้พ้องกับคำว่า กษัตริย์ โดยใช้คําพ้องเสียง จึงเป็นการดูหมิ่นเหยียดหยามอย่างร้ายแรงต่อพระมหากษัตริย์ อันเป็นการกระทํามิบังควร จาบจ้วง ล่วงเกิน ดูหมิ่น หมิ่นประมาท ต่อพระมหากษัตริย์ โดยประการที่น่าจะทําให้ในหลวงรัชกาลที่ 10 เสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง และเจตนาทําลายพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนชาวไทย ทําให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพสักการะต่อพระมหากษัตริย์ ซึ่งอยู่ในฐานะที่ผู้ใดจะละเมิดไม่ได้

พฤติการณ์การจับกุม

ค่ำวันที่ 15 กันยายน 2564 ระหว่างที่วีรภาพกำลังรับประทานอาหารอยู่ในอำเภอคลองข่อย นนทบุรี เจ้าหน้าที่ตำรวจแสดงหมายจับต่วีรภาพก่อนควบคุมตัวเขาไปที่ สภ.ชัยพฤกษ์เพื่อทำบันทึกการจับกุม ก่อนจะนำตัวเขาไปที่สน.พหลโยธิน เพื่อควบคุมตัวก่อนนำตัวส่งศาลในวันที่ 16 กันยายน 2564 เพื่อขออำนาจศาลอาญาฝากขัง ก่อนที่วีรภาพจะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในวันเดียวกัน

ค่ำวันที่ 15 กันยายน 2564 ระหว่างที่วีรภาพกำลังรับประทานอาหารอยู่ในอำเภอคลองข่อย นนทบุรี เจ้าหน้าที่ตำรวจแสดงหมายจับต่วีรภาพก่อนควบคุมตัวเขาไปที่ สภ.ชัยพฤกษ์เพื่อทำบันทึกการจับกุม ก่อนจะนำตัวเขาไปที่สน.พหลโยธิน เพื่อควบคุมตัวก่อนนำตัวส่งศาลในวันที่ 16 กันยายน 2564 เพื่อขออำนาจศาลอาญาฝากขัง ก่อนที่วีรภาพจะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในวันเดียวกัน

บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล

ไม่มีข้อมูล

หมายเลขคดีดำ

ไม่มีข้อมูล

ศาล

ศาลอาญา

เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีข้อมูล

แหล่งอ้างอิง

ไม่มีข้อมูล
13 กันยายน 2564
 
ระหว่างการชุมนุมของกลุ่มทะลุแก๊สที่แยกดินแดง วีรภาพซึ่งเข้าร่วมการชุมนุมด้วยใช้สีสเปรย์พ่นข้อความบนสิ่งปลูกสร้างแห่งหนึ่งที่อยู่ใกล้เคียงกับทางลงทางด่วนดินแดง ข้อความที่วีรภาพพ่นมีเนื้อหาเรียกร้องให้ปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ให้อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ โดยข้อความที่อาลีฟพ่นไม่ได้ระบุพระนามหรือชื่อของบุคคลใดและไม่ได้มีคำหยาบคายใดๆ
 
15 กันยายน 2564
 
เจ้าหน้าที่ตำรวจแสดงหมายจับเข้าทำการจับกุมวีรภาพระหว่างที่เขารับประทานอาหารอยู่ที่ตำบลคลองข่อย จังหวัดนนทบุรี วีรภาพถูกนำตัวไปทำบันทึกการจับกุมที่ สภ.ชัยพฤกษ์ ซึ่งรับผิดชอบท้องที่ที่มีการจับกุม จากนั้นวีรภาพถูกนำตัวไปควบคุมที่ สน.พหลโยธินเพื่อรอนำตัวไปฝากขังที่ศาลอาญาในวันถัดไป 
 
16 กันยายน 2564
 
ประชาไทรายงานว่า ตำรวจนำตัววีรภาพไปที่ศาลอาญาเพื่อขออำนาจศาลฝากขัง ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนใช้เงินสด 100,000 บาทของกองทุนราษฎรประสงค์วางต่อศาลเป็นหลักประกัน

ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราววีรภาพ พร้อมกำหนดเงื่อนไข  ห้ามผู้ต้องหากระทำการใดใดในลักษณะเช่นเดียวกับที่ถูกกล่าวหาอันเป็นที่เสื่อมเสียแก่สถาบันพระมหากษัตริย์ ห้ามเข้าร่วมกิจกรรมใดที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นได้ในบ้านเมือง และให้ผู้ต้องหาอยู่ในเคหะสถานตั้งแต่เวลา 18.00 – 05.00 น. โดยวีรภาพต้องติดกำไลอิเล็คทรอนิกส์ติดตามตัว (อีเอ็ม) ด้วย 
ธันวาคม 2564
 
ครบกำหนดฝากขัง 84 วัน อัยการยังไม่มีความเห็นสั่งฟ้องคดี วีรภาพจึงพ้นจากการถูกควบคุมตัวในชั้นสอบสวน และได้ปลดกำไลอิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว ขณะที่ทนายความก็ดำเนินการขอรับเงินประกันคืนจากศาล
 
23 กุมภาพันธ์ 2565
 
นัดฟังคำสั่งอัยการ
 
เวลาประมาณ 10.00 น. อัยการเจ้าของสำนวนโทรศัพท์หาวีรภาพแจ้งให้รีบมาพบที่สำนักงานเพราะจะส่งตัววีรภาพฟ้องต่อศาล หากวีรภาพมาถึงช้าอัยการจะต้องขอศาลออกหมายจับ วีรภาพจึงแจ้งอัยการว่าจะรีบเดินทางไป เนื่องจากวีรภาพรีบมากจึงไม่ได้นำบัตรประจำตัวประชาชนมา

เมื่อมาถึงที่สำนักงานอัยการวีรภาพจึงต้องรอให้ทนายความนำสำเนาบัตรประชาชนมาให้เสียก่อนจึงจะไปพบกับอัยการได้ ในช่วงบ่ายอัยการพาวีรภาพไปที่ศาลอาญาเพื่อส่งตัวฟ้องต่อศาล ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนวางยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราววีรภาพโดยใช้เงินของกองทุนราษฎรประสงค์จำนวน 100,000 บาท วางต่อศาลเพื่อเป็นหลักประกัน ก่อนที่ศาลจะอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราววีรภาพในวันเดียวกัน
 

คำพิพากษา

ไม่มีข้อมูล

ดูแฟ้มคดีอื่นๆ

บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์: ข้อสอบวิชาอารยธรรมไทย

คดีชุมนุมขัดขวางขบวนเสด็จ

รุ่งทิวา