อติรุจ : ตะโกนวิจารณ์ใส่ขบวนเสด็จที่ศูนย์สิริกิติ์

อัปเดตล่าสุด: 25/10/2565

ผู้ต้องหา

อติรุจ

สถานะคดี

ชั้นสืบสวนสอบสวน

คดีเริ่มในปี

2513

โจทก์ / ผู้กล่าวหา

ไม่มีข้อมูล

สารบัญ

วันที่ 15 ตุลาคม 2565 พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่สิบและสมเด็จพระราชินีมีกำหนดเสด็จพระราชดำเนินไปที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์เพื่อทรงทำพิธีเปิด เมื่อขบวนเสด็จใกล้จะมาถึงตำรวจให้ประชาชนที่อยู่ที่ในบริเวณที่ขบวนเสด็จจะเคลื่อนผ่านนั่งลงเพื่อรอรับเสด็จ แต่อติรุจซึ่งอยู่ในบริเวณดังกล่าวไม่ยอมนั่ง ต่อมาเมื่อขบวนเสด็จเคลื่อนผ่านเขาได้ตะโกนออกไปว่า “ไปไหนก็เป็นภาระ” ใส่ขบวนเสด็จ ตำรวจจึงทำการจับตัวเขาจากที่เกิดเหตุไปที่สน.ลุมพินี และแจ้งข้อกล่าวหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และข้อหาต่อสู้ขัดขืนเจ้าพนักงาน อติรุจถูกควบคุมตัวไว้ที่สน.ลุมพินีจนถึงวันที่ 17 ตุลาคม 2565 ตำรวจจึงพาตัวเขาไปขออำนาจศาลฝากขัง ซึ่งศาลอาญากรุงเทพใต้ หลังศาลอนุญาตให้ฝากขังทนายความของอติรุจคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวโดยวางหลักทรัพย์ 200,000 บาท เป็นหลักประกันซึ่งศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวอติรุจในชั้นสอบสวน

ภูมิหลังผู้ต้องหา

อติรุจ ขณะถูกจับอายุ 25 ปี ประกอบอาชีพเป็นโปรแกรมเมอร์

ข้อหา / คำสั่ง

มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา, อื่นๆ
ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน

การกระทำที่ถูกกล่าวหา

พฤติการณ์ของคดีตามบันทึกการจับกุมพอสรุปได้ว่า ในวันที่ 15 ตุลาคม 2565 เวลา 17.20 น. พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่สิบและพระราชินีเสด็จพระราชดำเนินไปที่อาคารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์เพื่อทรงประกอบพิธีเปิด ในเวลา 18.10 น. ซึ่งเป็นเวลาที่จะเสด็จพระราชดำเนิน ตำรวจพบเห็นอติรุจยืนอยู่บริเวณทางขึ้นประตูเอเทรียมของศูนย์สิริกิติ์ ซึ่งเป็นบริเวณที่รถพระที่นั่งจะเคลื่อนผ่านจึงได้เข้าไปชักชวนให้นั่งลงเพื่อรับเสด็จแต่อติรุจปฏิเสธและแจ้งว่าต้องการจะยืนดู ตำรวจจึงแจ้งกันเป็นการภายในว่าให้เฝ้าระวังอติรุจไว้ ต่อมาเมื่อขบวนรถพระที่นั่งเคลื่อนผ่านในขณะที่ประชาชนคืนอื่นตะโกนเปล่งเสียงทรงพระเจริญ อติรุจกลับตะโกนว่า "ไปไหนก็เป็นภาระ" ตำรวจเห็นว่าการกระทำของอติรุจเป็นภัยคุกคามต่อองค์พระมหากษัตริย์และพระราชินี จึงได้ควบคุมตัวอติรุจออกจากพื้นที่เข้าไปภายในอาคารศูนย์ประชุม ระหว่างการควบคุมตัวอติรุจขัดขืนใช้เท้าถีบเจ้าหน้าที่จนเป็นเหตุให้ตำรวจหนึ่งนายได้รับบาดเจ็บบริเวณหลังแขนด้านซ้าย
 
เมื่ออติรุจถูกควบคุมตัวไปที่สน.ลุมพินี พนักงานสอบสวนแจ้งสองข้อกล่าวหา หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และข้อหาต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 กับอติรุจซึ่งเขาให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา

พฤติการณ์การจับกุม

ตามรายงานของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ตำรวจอุ้มตัวอติรุจออกไปจากที่เกิดเหตุทันทีที่เขาตะโกน ระหว่างการควบคุมตัวตำรวจใช้มือปิดปากอติรุจเพื่อไม่ให้ส่งเสียงโดยพาตัวเขาเข้าไปใส่กุญแจมือภายในอาคารศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์โดยเขาถูกจัดให้นอนราบกับพื้นเพื่อใส่กุญแจมือ ระหว่างนั้นอติรุจพยายามขัดขืนการควบคุมตัว ใช้เท้าถีบเจ้าหน้าที่ตำรวจจนได้รับบาดเจ็บที่แขน ส่วนอติรุจได้รับบาดเจ็บ มีรอยถลอก 3 จุด ที่ข้อเท้าซ้าย ข้อศอกซ้าย และข้อศอกขวา และเล็บนิ้วกลางข้างขวาฉีกขาด
 
ระหว่างถูกควบคุมตัวที่สน.ลุมพินี ตำรวจทำบันทึกการจับกุมและตรวจปัสสาวะอติรุจโดยไม่มีทนายความหรือผู้ไว้วางใจอยู่ร่วมด้วย แต่ยังไม่ได้ดำเนินการสอบสวนหรือแจ้งหาข้อกล่าวหา อติรุจยังปฏิเสธไม่ลงลายมือชื่อในบันทึกที่เจ้าหน้าที่จัดทำด้วย หลังจากอติรุจได้พบทนายความ พนักงานสอบสวนจึงทำการสอบสวนและแจ้งข้อกล่าวหากับอติรุจ

บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล

ไม่มีข้อมูล

หมายเลขคดีดำ

ไม่มีข้อมูล

ศาล

ศาลอาญากรุงเทพใต้

เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีข้อมูล

แหล่งอ้างอิง

ไม่มีข้อมูล
15 ตุลาคม 2565
 
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า ในเวลาประมาณ 18.10 น. ก่อนที่รัชกาลที่สิบและสมเด็จพระราชินีพระราชินีจะเสด็จพระราชดำเนินกลับจากศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ อติรุจซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับบริเวณที่ทั้งสองพระองค์จะเสด็จผ่านไม่ยอมนั่งลงเพื่อรับเสด็จตามคำชักชวนของเจ้าหน้าที่ ต่อมาเมื่อขบวนรถพระที่นั่งเคลื่อนผ่านบริเวณใกล้เคียงกับจุดที่เขายืนอยู่ อนิรุจตะโกนว่า "ไปไหนก็เป็นภาระ” ตำรวจจึงควบคุมตัวเขาทันทีก่อนจะนำตัวไปควบคุมที่สน.ลุมพินี พนักงานสอบสวนแจ้งสองข้อกล่าวหากับอติรุจในความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 อติรุจให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาและแจ้งพนักงานสอบสวนว่าจะให้การเป็นเอกสารเพิ่มเติมในภายหลัง
 
หลังการสอบสวนตำรวจควบคุมตัวอติรุจไว้ที่สน.ลุมพินี เพื่อนำตัวไปขออำนาจศาลฝากขังในวันที่ศาลเปิดทำการ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
 
 
16 ตุลาคม 2565
 
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า ตำรวจ สน.ลุมพินี นำหมายค้นของศาลจังหวัดธัญบุรี ลงวันที่ 16 ตุลาคม 2565 ไปตรวจค้นบ้านพักของอติรุจที่จังหวัดปทุมธานี ในเวลา 14.00 – 17.50 น. แต่ไม่พบสิ่งผิดกฎหมาย 
 
17 ตุลาคม 2565
 
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า พนักงานสอบสวน สน.ลุมพินี  ยื่นคำร้องขอฝากขังอติรุจต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ เป็นเวลา 12 วัน ทนายความยื่นคำร้องขอคัดค้านการฝากขังต่อศาลในทันที หลังศาลดำเนินการไต่สวนคัดค้านฝากขัง ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังอติรุจ เป็นเวลา 12 วัน ทนายความจึงยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวอติรุจโดยใช้หลักทรัพย์ 200,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์ วางต่อศาล ต่อมาศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวตามคำร้อง โดยกำหนดเงื่อนไขห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต
 

คำพิพากษา

ไม่มีข้อมูล

ดูแฟ้มคดีอื่นๆ

บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์: ข้อสอบวิชาอารยธรรมไทย

คดีชุมนุมขัดขวางขบวนเสด็จ

รุ่งทิวา