1291 1134 1072 1653 1464 1101 1070 1731 1822 1522 1612 1439 1313 1989 1272 1393 1980 1665 1856 1103 1363 1143 1359 1093 1556 1402 1820 1296 1263 1139 1756 1099 1059 1788 1083 1233 1097 1880 1251 1636 1588 1976 1880 1541 1557 1679 1213 1047 1543 1187 1727 1072 1799 1279 1926 1858 1954 1922 1105 1976 1144 1975 1432 1630 1858 1602 1238 1407 1627 1086 1602 1065 1778 1388 1450 1546 1017 1952 1543 1424 1398 1985 1700 1673 1078 1879 1703 1235 1932 1364 1988 1976 1430 1453 1509 1374 1904 1543 1750 เกี่ยวกับเรา | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

เกี่ยวกับเรา

ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ  (Freedom of Expression Documentation Center ) ดำเนินงานโดยโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อสังคม หรือ iLaw องค์กรไม่แสวงกำไรที่สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน และการผลักดันกฎหมายประชาชน เพื่อการปฏิรูปสังคม (คลิกเพื่ออ่านรายละเอียดเกี่ยวกับ iLaw)

ศูนย์ข้อมูลฯ แห่งนี้  รวบรวมและบันทึกรายละเอียดการละเมิดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ในประเทศไทย  โดยกฎหมายหรืออำนาจรัฐ  โดยหวังว่าฐานข้อมูลดังกล่าวจะเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของตนเองได้

การมีเสรีภาพของสื่อมวลชนเป็นดัชนีหนึ่งที่ใช้ชี้วัดคุณภาพของสังคมการเมืองหนึ่งๆ  ได้  เพราะหากสังคมนั้นเปิดกว้างต่อการแสดงความคิดเห็นและการวิพากษ์วิจารณ์  ก็อาจประมาณการได้ว่า สังคมนั้นมีระบบตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจที่เข้มแข็ง

แต่ปัจจุบัน ในบรรยากาศที่สังคมไทยมีความขัดแย้งสูงขึ้น  เครื่องมือและเทคโนโลยีการสื่อสารที่พัฒนาขึ้น ก็ส่งเสริมให้การแสดงความคิดเห็นของปัจเจกบุคคลเกิดขึ้นได้ง่ายขึ้นด้วย ชุมชนเล็กๆ สามารถบอกเล่าข่าวสารของตนเองผ่านระบบคลื่นกำลังส่งต่ำหรือที่รู้จักกันในนาม  “วิทยุชุมชน” คนธรรมดาที่ไม่ได้มีชื่อเสียงและไม่ได้มีฐานะทางสังคมสามารถวิพากษ์วิจารณ์และสร้างกระแสในสังคมได้เพียงการเคาะแป้นพิมพ์ส่งข้อมูลผ่านสนามไฟฟ้า  หรือที่รู้จักกันว่า “อินเทอร์เน็ต” คนทำสารคดีหรือช่างภาพอิสระและมือสมัครเล่นไม่จำเป็นต้องมีค่ายธุรกิจรองรับเพราะมีช่องทางมากขึ้น  เช่น อัพโหลดคลิปเข้าสู่เว็บไซต์ที่ให้บริการต่างๆ  และเผยแพร่กระจายต่อไปได้ไกล

ไม่เพียงแต่เทคโนโลยีเท่านั้นที่เปลี่ยนไป  แต่ความขัดแย้งในสังคมได้บีบคั้นให้ประชาชนมีความต้องการในการรับข่าวสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลความเห็นของตนมากขึ้น ในขณะเดียวกัน อำนาจรัฐก็จัดตั้งกลไกทางสังคมใหม่ๆเพื่อจำกัดเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าว  สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนและเป็นปัญหาหลักในสังคมไทย คือ การผลักดันกฎหมายใหม่ๆ  เพื่อออกมาจัดการการแสดงความคิดเห็นของปัจเจกชน  อาทิ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2550 พ.ร.บ.กฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวิดีทัศน์ พ.ศ. 2551 พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553

ครั้งหนึ่ง สังคมไทยใช้ดัชนีเสรีภาพสื่อมวลชนเป็นดัชนีสำคัญในการชี้วัดบรรยากาศเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ปัจจุบัน เพียงดัชนีเสรีภาพสื่อมวลชนอาจไม่เพียงพอ  แต่ยังต้องรวมถึงสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกของปัจเจกชนและชุมชนด้วย

ด้วยเหตุนี้ iLaw จึงจัดตั้ง “ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ” เพื่อรวมรวมสถิติการละเมิดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็น โดยคาดหวังว่าฐานข้อมูลข้อเท็จจริงจะสร้างความตระหนักในคุณค่าของเสรีภาพการแสดงออก

ศูนย์ข้อมูลนี้จะสมบูรณ์ได้ ยังต้องการแรงสนับสนุนและการมีส่วนร่วมจากคุณ คลิกที่นี่ เพื่ออ่านรายละเอียด

ติดต่อเรา 

อีเมลองค์กร - ilaw@ilaw.or.th

อีเมลเจ้าหน้าที่ 

ยิ่งชีพ อัชฌานนท์       ผู้จัดการโครงการ                                            - yingcheep@ilaw.or.th

อานนท์ ชวาลาวัณย์   หัวหน้าศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ      - chawalawan@ilaw.or.th

วีรวรรธน์ สมนึก         เจ้าหน้าที่ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ  - weerawat@ilaw.or.th 

โทรศัพท์สำนักงาน 

02615 4797 (กรุณาโทรระหว่าง 10.00 น. ถึง 18.30 น.)