1357 1970 1371 1728 1821 1253 1762 1777 1904 1231 1018 1958 1552 1795 1101 1935 1087 1590 1965 1123 1965 1238 1193 1760 1228 1820 1919 1476 1793 1702 1432 1353 1540 1977 1262 1289 1477 1954 1542 1767 1704 1015 1364 1093 1763 1051 1431 1714 1349 1474 1791 1838 1290 1938 1505 1601 1290 1832 1109 1811 1719 1067 1267 1121 1470 1227 1359 1529 1858 1481 1170 1572 1699 1114 1327 1681 1788 1196 1528 1673 1914 1259 1966 1922 1253 1186 1485 1884 1160 1992 1925 1534 1420 1768 1048 1946 1340 1235 1993 ปลุกข้อหา '116 ' โยนคดีประชามติเข้าศาลทหาร | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ปลุกข้อหา '116 ' โยนคดีประชามติเข้าศาลทหาร

ข้อหา’ปลุกปั่นยุยง’ ตามกฎหมายอาญามาตรา 116   กลับมาอีกครั้ง หลังกระแสจดหมายปริศนาไร้ชื่อผู้ส่งและผู้รับถูกกระจายหลายพันฉบับในพื้นที่ภาคเหนือ เนื้อในบรรจุข้อความเกี่ยวกับความคิด'ต่าง' ต่อร่างรัฐธรรมนูญ 2559 ท้ายที่สุด จากเหตุดังกล่าวมีคนถูกจับกุมและดำเนินคดีทั้ง พ.ร.บ.ประชามติฯ และผิดตามมาตรา 116 แล้วอย่างน้อย 11 คน   
 
 ช่วงระหว่างวันที่ 13 - 15 กรกฎาคม 2559 มีรายงานว่าเจ้าหน้าที่ตรวจพบการส่งจดหมาย "บิดเบือน" เนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญมากกว่า 7,000 ฉบับ ไปตามที่ต่างๆในจังหวัดเชียงใหม่   ต่อมา 27 กรกฎาคม 2559  ทหารจากค่ายกาวิละนำกำลังเข้าควบคุมตัวบุคคลรวมเจ็ดคนได้แก่ คเชน นายกเทศบาลตำบลช้างเผือก ธารทิพย์น้องสาวของทัศนีย์ซึ่งเป็นรองนายก อบจ.เชียงใหม่ และอดีต ส.ส.เชียงใหม่ เขตหนึ่ง พรรคเพื่อไทย  อติพงษ์ จนท.เทศบาลตำบลช้างเผือก เอมอร กอบกาญจน์ สุภาวดี และ วิศรุต ไปที่ค่ายกาวิละเพื่อสอบถามและเตรียมดำเนินคดีต่อไป 
 
 ในวันเดียวกันที่กรุงเทพมหานคร ทหารนำโดยพ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ  เข้าควบคุมตัวทัศนีย์ อดีต ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระหว่างรอเข้าพบพล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. เพื่อแสดงความบริสุทธิกรณีที่ถูกเชื่อมโยงว่าเกี่ยวข้องกับการส่งจดหมายบิดเบือนข้างต้น พ.อ.บุรินทร์แจ้งว่า การควบคุมตัวครั้งนี้อาศัยอำนาจตามคำสั่งหัวหน้าคสช. ฉบับที่ 3/2558 โดยทัศนีย์ถูกนำตัวไปควบคุมที่ มทบ. 11 ร่วมกับผู้ที่ถุกควบคุมตัวก่อนหน้านี้
 
ทั้งหมดถูกสงสัยว่ามีความเชื่อมโยงกับการเผยแพร่จดหมายบิดเบือนเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเนื้อความในจดหมายดังกล่าวระบุว่า "ตามร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ผู้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลฟรีคือ 'ผู้ยากไร้'เท่านั้น ขณะที่ผู้สูงอายุที่จะได้รับการช่วยเหลือจากรัฐ ก็จะต้องเป็น ‘บุคคลยากไร้’ เท่านั้น ขณะที่คำว่า ‘เบี้ยผู้สูงอายุ’ ก็ไม่ปรากฎในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ สำหรับสิทธิการศึกษา ก็มีการตัดสิทธิเรียนฟรีช่วงมัธยมปลายออกไป"
 
522 116-Chiangmai
 
 
ต่อมาวันที่ 1 สิงหาคม 2559 ศาลทหารออกหมายจับบุคคลรวม 11 คน โดยมีชื่อบุคคลทั้ง 8 ที่ถูกควบคุมตัวก่อนหน้านี้ ขณะที่บุคคลอีกสามคนได้แก่ บุญเลิศ นายกอบจ.เชียงใหม่ซึ่งหัวหน้าคสช.มีคำสั่งตามมาตรา 44 ให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ กฤตกร ไพทะยะ คนขับรถผู้บริหารเทศบาลช้างเผือก และ เทวรัตน์ อินต้า ซึ่งมีชื่ออยู่ในหมายจับนี้ด้วยก็ถูกควบคุมตัวไว้แล้วแต่ไม่มีรายละเอียดวันที่มีการควบคุมตัว ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ระบุว่าทั้ง 11 คน จะถูกส่งตัวให้พนักงานสอบสวน กองปราบปรามฯ ทำการสอบสวนต่อไป
 
กระทั่ง  2 สิงหาคม 2559 ทหารคุมตัวทั้ง 11 คน จาก มทบ.11 มายังกองบังคับการปราบปราม เพื่อตรวจร่างกายและรับทราบข้อกล่าวหา ตำรวจแจ้งข้อหากับผู้ต้องหาทั้งหมด รวม 3 ข้อหา ได้แก่ ร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือหรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 , ร่วมกันเป็นซ่องโจร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 210 และร่วมกันเผยแพร่ข้อความที่ผิดไปจากข้อเท็จจริง หรือกล่าวหาบิดเบือนร่างรัฐธรรมนูญตาม พ.ร.บ. ประชามติ มาตรา 61 วรรคสอง และภายหลังรับทราบข้อกล่าวหาตำรวจได้นำตัวทั้งหมดกลับไปฝากขังที่ศาลทหารจังหวัดเชียงใหม่
 
 ทั้งนี้ก็เป็นที่น่าสนใจว่า เนื้อความในเอกสารที่เป็นเหตุแห่งการจับกุมครั้งนี้ บิดเบือนหรือไม่ อย่างไร เพราะหากวิเคราะห์และเทียบตามร่างรัฐธรรมนูญฉบับเต็ม
 
-          มาตรา 47 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่า “บุคคลผู้ยากไร้ย่อมมีสิทธิรับบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายบัญญัติ” ซึ่งก็ไม่มีบัญญัติว่า ‘เฉพาะ’ ผู้ยากไร้แต่อย่างใด แต่ก็ไม่มีบัญญัติรวมถึงบุคคล ‘สถานะอื่นๆ’ เช่นกัน และยังไม่ชัดเจนว่านิยามของคำว่า ‘บุคคลผู้ยากไร้’ เป็นอย่างไร
 
-          มาตรา 48 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่า “บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีและไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ และบุคคลผู้ยากไร้ ย่อมมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐตามที่กฎหมายกำหนด” เช่นกันกับมาตรา 47 ไม่มีบัญญัติว่า ‘เฉพาะ’ ผู้ยากไร้แต่อย่างใด แต่ก็ไม่มีบัญญัติรวมถึงบุคคล ‘สถานะอื่นๆ’ เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ไม่มีบัญญัติถึง   ”เบี้ยเลี้ยงผู้สูงอายุ” แต่อย่างใด
 
-          มาตรา 54 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ว่า “รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลาสิบสองปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย” ซึ่งก็หมายความว่า สิทธิในการเรียนฟรีในระดับม.4-ม.6 ก็จะไม่มีตามที่เอกสารระบุไว้จริง และหากจะออกกฎหมายเพิ่มเติมภายหลังให้สิทธิเรียนฟรีก็คงทำได้ยาก เนื่องจากจะขัดกับมาตรา 54 ข้างต้น
 
อีกประเด็นที่น่าสนใจคือแจ้งข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116  หรือข้อหา “ยุยงปลุกปั่น” ซึ่งเป็นกฎหมายที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันมากนักในอดีต เพราะมีเหตุให้ใช้ไม่บ่อย แต่หลังรัฐประหารในปี 2557 ข้อหานี้ถูกใช้มากขึ้นเรื่อยๆ  ก่อนหน้าที่คนถูกดำเนินคดีนี้อย่างน้อย 47 คน  โดยเฉพาะกลุ่มคนที่แสดงความคิดเห็นทางการเมืองในทิศทางตรงข้ามกับรัฐบาล คสช. จนเข้าลักษณะเป็นการตั้งข้อหาเพื่อหวังผลทางการเมือง 
 
การตั้งข้อหาด้วยมาตรา 116 และดำเนินคดีต่อศาล อาจไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อการลงโทษผู้กระทำความผิดที่เป็นภัยต่อสังคมโดยตรง แต่หลายกรณี รวมถึงกรณีนี้ พอเห็นได้ว่ามีผลประโยชน์ทางการเมืองอยู่เบื้องหลังการตั้งข้อหาและดำเนินคดีตามมาตรา 116 อยู่ด้วย ซึ่งเห็นได้ชัดเจนขึ้นในปัจจุบัน มีข้อสังเกตว่าเจ้าหน้าที่   ต้องการให้คดีนี้ขึ้นศาลทหาร ตามประกาศ คสช.ฉบับที่ 37/2557 ที่กำหนดให้คดีในประมวลกฎหมายอาญาหมวด “ความมั่นคง” และคดีฐานฝ่าฝืนประกาศและคำสั่ง คสช. ที่พลเรือนตกเป็นผู้ต้องหาต้องพิจารณาที่ศาลทหาร ดังนั้น หากรัฐต้องการจะจับกุมดำเนินคดีกับบุคคลใดที่ศาลทหาร 
 
เมื่อใช้วิธีตั้งข้อหามาตรา 116 เข้าไปด้วยก็ทำให้คดีนั้นอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลทหารได้ทันที แม้ว่าการกระทำยังคลุมเครือว่าเข้าองค์ประกอบความผิดของมาตรา 116 หรือไม่ และด้วยโทษที่สูง มีโทษจำคุกสูงสุดถึง 7 ปี ทำให้หลักทรัพย์ที่จะใช้ในการประกันตัวก็สูงขึ้นไปด้วย  ตัวอย่างจากคดีของ ชัชวาลย์ นักข่าวอิสระจากจังหวัดลำพูน ที่รายงานข่าวการชุมนุมต่อต้านการรัฐประหารผิดวัน และถูกแจ้งข้อหาตามมาตรา 116 ซึ่งต้องใช้หลักทรัพย์ประกันตัวสูงถึง 400,000 บาท
 
ทั้งนี้จากที่ต้องไปพิจารณาคดีที่ศาลทหาร และอัตราโทษที่สูง นอกจากจะเป็นลักษณะ ขู่ผู้ต้องหาให้กลัวและเป็นกังวลกับผลคดีของตัวเองด้วยอัตราโทษหนักแล้ว ยังสามารถ ‘ปราม’ ให้คนอื่นในสังคมรู้สึกเกรงและไม่กล้ากระทำในลักษณะเดียวกันได้อีกด้วย อาจถือได้ว่า วิธีนี้เป็นอีกหนึ่ง ‘ยาแรง’ ที่ใช้ ‘ปิดปาก’ ฝ่ายที่มีความคิดเห็นทางการเมืองตรงข้ามกับรัฐ โดยเฉพาะบรรยากาศสุกดิบก่อนออกเสียงประชามติในขณะนี้
Article type: