1001 1813 1566 1624 1419 1999 1006 1858 1032 1557 1515 1603 1274 1098 1738 1995 1294 1020 1130 1788 1873 1460 1302 1771 1700 1820 1253 1107 1822 1297 1525 1297 1098 1680 1963 1778 1252 1716 1557 1889 1814 1472 1132 1594 1786 1512 1182 1130 1127 1509 1277 1926 1525 1084 1127 1338 1682 1007 1390 1768 1492 1487 1088 1955 1427 1305 1751 1233 1872 1358 1291 1941 1507 1788 1550 1072 1835 1716 1177 1139 1133 1309 1675 1160 1861 1546 1214 1124 1435 1618 1467 1026 1249 1225 1412 1031 1808 1430 1883 ธันวาคม 2559 : จับ-ถอนประกันคดี 112 ไผ่ ดาวดิน เหตุ "เย้ยหยันอำนาจรัฐ" – คดีฉีกบัตรประชามติต้องนอนคุกเพราะศาลยื้อประกัน – จับแฮกเกอร์วัย 19 เซ่นข้อมูลรัฐรั่ว | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ธันวาคม 2559 : จับ-ถอนประกันคดี 112 ไผ่ ดาวดิน เหตุ "เย้ยหยันอำนาจรัฐ" – คดีฉีกบัตรประชามติต้องนอนคุกเพราะศาลยื้อประกัน – จับแฮกเกอร์วัย 19 เซ่นข้อมูลรัฐรั่ว

 

ช่วงเวลา ยอดรวมตั้งแต่รัฐประหาร 
31ธันวาคม
2559
ยอดรวมเฉพาะเดือนธันวาคม
2559
คนถูกเรียกรายงานตัว 922 -
คนถูกจับกุมคุมขัง
จากการชุมนุมโดยสงบ
589 1
คนถูกดำเนินคดีที่ศาลทหาร 299 -
คนถูกดำเนินคดีที่ศาลพลเรือน 89 1
คนถูกดำเนินคดีฐานหมิ่นประมาท
พระมหากษัตริย์ฯ (ม.112)
90 -
จำนวนคนที่ถูกคุมขังด้วยคดีตามมาตรา 112 ทั้งที่ศาลมีคำพิพากษาแล้ว
และที่ถูกคุมขังระหว่างพิจารณาคดี 
ในเดือนธันวาคม 2559
51

 

 

จับ-ถอนประกันคดี 112 ไผ่ ดาวดิน เหตุ "เย้ยหยันอำนาจรัฐ" – คดีฉีกบัตรประชามติต้องนอนคุกเพราะศาลยื้อประกัน – จับแฮกเกอร์วัย 19 เซ่นข้อมูลรัฐรั่ว

 

585 ธันวาคม 2559 : จับ-ถอนประกันคดี 112 ไผ่ ดาวดิน เหตุ "เย้ยหยันอำนาจรัฐ" – คดีฉีกบัตรประชามติต้องนอนคุกเพราะศาลยื้อประกัน – จับแฮก

 

ความเคลื่อนไหวคดีเสรีภาพการแสดงออกส่งท้ายปี 2559 นี้เรียกได้ว่า เข้มข้นกันตั้งแต่ต้นเดือนเลยทีเดียว หลังตำรวจเข้าจับกุมจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ "ไผ่ ดาวดิน" ในความผิดหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ และสร้างปมปัญหามากขึ้นหลังศาลเพิกถอนประกันตัว จากการที่โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กที่ศาลดูแล้ว เห็นว่า ไผ่กำลังเย้ยหยันอำนาจรัฐ ในส่วนคดีที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกช่วงก่อนประชามติ มาถึงเดือนนี้ศาลประทับรับฟ้องคดีประชามติสองคดีด้วยกัน คือ คดีของปิยรัฐที่ฉีกบัตรลงคะแนน และคดีที่กลุ่มนปช.แถลงข่าวเปิดศูนย์ปราบโกง 

 

ในส่วนของคำพิพากษาคดีในเดือนนี้ ก็มีทั้งข่าวดีและข่าวร้ายต่อเสรีภาพการแสดงออก ไม่ว่าจะเป็นคำพิพากษายกฟ้องคดีสามคดี และคำพิพากษาว่า การแสดงออกเหล่านั้นมีความผิดอีกสามคดี อีกกรณีสำคัญที่น่าจับตาอันเป็นความเคลื่อนไหวที่สืบเนื่องจากการที่สนช.ผ่านร่างแก้ไขพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ คือการเจาะระบบเว็บไซต์ของรัฐและนำข้อมูลมาเผยแพร่ผ่านโลกออนไลน์ รวมถึงการจับกุมแฮกเกอร์ที่วัย 19 ปีที่คาดว่าจะเป็นผู้ส่งต่อข้อมูลจากเว็บไซต์ของรัฐ

 

ความเคลื่อนไหวคดี 112

 

การจับกุมจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ "ไผ่ ดาวดิน" ในความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ตามมาตรา 112 ในวันที่ 3 ธันวาคม 2559 เป็นคดี 112 คดีแรกเท่าที่ทราบ หลังการขึ้นครองราชย์ของรัชกาลที่ 10 กรณีนี้สืบเนื่องจากการที่ จตุภัทร์ แชร์บทความพระราชประวัติรัชกาลที่ 10 จากสำนักข่าวบีบีซีไทยบนเฟซบุ๊กส่วนตัว พร้อมทั้งคัดลอกข้อความบางส่วนของบทความดังกล่าวมาใส่ประกอบโพสต์ที่แชร์มา โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจระบุรายละเอียดข้อกล่าวหาว่า จตุภัทร์ กระทำผิดตามมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญาและมาตรา 14(3) ของพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ ศาลจังหวัดขอนแก่นให้ประกันตัวจตุภัทร์ในวันรุ่งขึ้น

 

ดูเหมือนว่า สถานการณ์คดี 112 ของจตุภัทร์จะคลี่คลาย แต่เพียงไม่นานพนักงานสอบสวนก็ยื่นคำร้องขอเพิกถอนการประกันตัว  เนื่องจากจุตภัทร์โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า "เศรษฐกิจมันแย่ แม่งเอาแต่เงินประกัน" ต่อมาในวันที่ 22 ธันวาคม 2559 ศาลจังหวัดขอนแก่นไต่สวนคำร้องเป็นการลับ ก่อนจะสั่งให้ถอนการประกันตัว ให้เหตุผลว่า หลังศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว จตุภัทร์ไม่ได้ลบโพสต์อันเป็นเหตุแห่งคดีออกและมีพฤติการณ์เย้ยหยันอำนาจรัฐ ต่อมาทนายความของจตุภัทร์ได้ยื่นคำร้องขอประกันตัวอีกหลายครั้ง แต่ศาลก็ไม่เปลี่ยนแปลงคำสั่ง ทำให้จตุภัทร์ต้องจำคุกระหว่างการสืบสวนสอบสวนคดีนี้ตั้งแต่นั้นมา

 

สำหรับบทความที่เป็นเหตุแห่งคดีนี้เป็นบทความเรื่อง พระราชประวัติรัชกาลที่ 10 ที่บีบีซีไทยโพสต์ลงบนเฟซบุ๊กเพจ บีบีซีไทย มีผู้กดไลค์ราว 20,000 ไลค์และแชร์ออกไปมากกว่า 2,000 ครั้ง ภายหลังกระทรวงดิจิทัลเศรษฐกิจและสังคมได้ปิดกั้นการเข้าถึงบทความแล้ว

 

ส่วนความคืบหน้าคดี 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ของพัฒน์นรี หรือ "แม่จ่านิว" วันที่ 14 ธันวาคม 2559 ศาลทหารกรุงเทพนัดถามคำให้การพัฒน์นรี ต่อมาอัยการอ่านคำฟ้องและถามคำให้การ พัฒน์นรีให้การปฏิเสธและขอต่อสู้คดีต่อไป โดยคดีนี้อัยการขออนุญาตต่อศาลให้พิจารณาคดีเป็นการลับด้วย / คดี 112 อีกหนึ่งคดีที่น่าติดตามคือ คดีของสราวุธิ์  ช่างตัดแว่นในจังหวัดเชียงราย วันที่ 29 ธันวาคม 2559 อัยการทหารสั่งฟ้องในข้อหามาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการโพสต์ภาพพระฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 บนเฟซบุ๊กส่วนตัว สราวุธิ์ ให้การปฏิเสธว่า ไม่ได้โพสต์ตามคำฟ้องและขอสู้คดีต่อไป

 

นอกจากนี้ ในเดือนธันวาคม มีคำพิพากษาคดีมาตรา 112 อีกหนึ่งคดี คือ คดีของที่ศาลจังหวัดสกลนคร วันที่ 20 ธันวาคม 2559 ศาลจังหวัดพิพากษายกฟ้องชายชาวภูเก็ตรายหนึ่ง เนื่องจากโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า จำเลยกระทำความผิดจริง จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลย โดยอัยการได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษา และขอให้ยังคุมขังจำเลยไว้ระหว่างรอการอุทธรณ์

 

ความเคลื่อนไหวคดีที่เกี่ยวข้องกับเสรีภาพการแสดงออกอื่นๆ

 

คดีเสรีภาพการแสดงออกที่น่าจับตาในเดือนนี้ คือ คดีการละเมิด พ.ร.บ.ประชามติฯ โดยในวันที่ 13 ธันวาคม 2559 ศาลจังหวัดพระโขนงรับฟ้องคดีที่ปิยรัฐ หรือ โตโต้ นายกสมาคมเพื่อเพื่อนและเพื่อนอีกสองคน ฉีกบัตรลงประชามติและถ่ายคลิปโพสต์บนเฟซบุ๊ก ต่อมาทั้งสามคนถูกจับและดำเนินคดีฐานฝ่าฝืน พ.ร.บ.ประชามติฯ ในวันที่ส่งฟ้องคดีนี้ต่อศาลทนายความยื่นประกันตัว โดยใช้ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์มหาวิทยาลัยสองคนคือ บุญเลิศ วิเศษปรีชา อาจารย์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์รายหนึ่ง แต่ศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัวระบุเหตุผลว่า อาจารย์ไม่ใช่ญาติพี่น้องและไม่ใช่นายจ้างของผู้ต้องหา จำเลยทั้งสามคนจึงถูกส่งตัวเข้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพ

 

ในวันถัดมา บุญเลิศยื่นขอประกันตัวอีกครั้ง คราวนี้ใช้หลักทรัพย์ประกันตัวเป็นเงินสดคนละ 200,000 บาท ศาลเห็นว่า บุญเลิศ ผู้ร้องขอประกันตัวเป็นอาจารย์มีความสัมพันธ์กับจำเลย จึงถือได้ว่ามีส่วนได้เสีย อนุญาตให้ประกันตัวจำเลยทั้งสามคนได้

 

ต่อเนื่องกับกรณีประชามติ คือ คดีของ 19 นปช.ที่ถูกตั้งข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งที่ 3/2558 ชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน จากการจัดแถลงข่าวเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติที่ห้างอิมพีเรียล ลาดพร้าว โดยวันที่ 16 ธันวาคม 2559 อัยการศาลทหารกรุงเทพสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 19 คน สำหรับการต่อสู้คดีในชั้นศาล ทีมทนายมีแนวทางว่าการแถลงข่าวเปิดศูนย์ปราบโกงไม่ใช่การมั่วสุมชุมนุมทางการเมือง แต่เป็นการใช้สิทธิในฐานะพลเมืองดีเท่านั้น เพียงแต่ผู้มีอำนาจมองว่า เป็นการมั่วสุม 

 

อย่างไรก็ดี ในเดือนสุดท้ายของปี 2559 นี้ยังมีคำพิพากษาคดีเสรีภาพการแสดงออกอีกห้าคดี เริ่มต้นที่ข่าวดีของนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่าง กำพล ที่ถูกฟ้องข้อหาพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ และหมิ่นประมาทนักวิจัยขี้เถ้าถ่านหิน ศาลอุทธรณ์ได้อ่านคำพิพากษายกฟ้อง ชี้ว่า การกระทำของจำเลยเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ก่อนหน้านี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า กำพล มีความผิดให้จำคุกหนึ่งปีและปรับ 40,000 บาท แต่โทษจำคุกให้รอการลงโทษหนึ่งปี

 

และคดีของฐิตารีย์ แปะโพสต์อิทบนสกายวอล์คเรียกร้องให้ทหารปล่อยตัวแปดแอดมินที่ถูกจับไป ในคดีนี้โจทก์ฟ้องร้องฐิตารีย์ในความผิดตาม พ.ร.บ.ความสะอาดฯ แต่ศาลแขวงพระนครใต้พิเคราะห์แล้วว่า การกระทำของฐิตารีย์ไม่เข้าองค์ประกอบความผิดของพ.ร.บ.ความสะอาดฯ ทั้งการแปะโพสต์อิทไม่ได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ทางการค้า แต่เป็นการแสดงสิทธิทางการเมือง ศาลจึงพิพากษายกฟ้อง

 

อีกสามคดีนั้น ศาลตัดสินว่า จำเลยมีความผิดทั้งสิ้น คือ คดีหมิ่นประมาทคนตาย ของธนพร ที่วิจารณ์กรณี เฮลิคอปเตอร์กองทัพบกตก คดีนี้ศาลอาญารัชดาเห็นว่า ธนพรมีความผิดฐานหมิ่นประมาท พิพากษาจำคุกสองปี ปรับหนึ่งแสนบาท รอการลงโทษไว้เป็นเวลาสองปี ต่อมาคือ คดีของอภิชาต ที่ชูป้าย 'ไม่รับอำนาจเถื่อนคัดค้านการรัฐประหาร ในความผิดฐานขัดประกาศคสช. ที่ 7/2557 ศาลแขวงปทุมวันพิพากษาให้จำคุกสองเดือน และปรับ 6,000 บาท แต่โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 1 ปี

 

อีกคดีคือ กรณีที่อานนท์ นำภา จัดการกิจกรรมยืนเฉยๆ เมื่อเดือนเมษายน 2559  เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวแปดแอดมินเพจ "เรารักพล.อ.ประยุทธ์" ศาลแขวงดุสิตพิพากษาว่า อานนท์มีความผิดตามพ.ร.บ.ชุมนุมฯ ฐานเป็นผู้จัดการชุมนุมแต่ไม่แจ้งการชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ในเวลาที่กำหนด ลงโทษปรับ 1,000 บาท

 

กระแสค้าน #พรบคอม ท่วมท้น ทหารบุกจับแฮกเกอร์ตั้งข้อหาหนัก

 

วันที่ 16 ธันวาคม 2559 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พิจารณาผ่านร่างแก้ไขฯ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ในวาระสองและสาม ด้วยคะแนนเสียงเอกฉันท์ ทั้งที่ก่อนหน้านั้นหลายวัน มีกระแสบนโลกออนไลน์คัดค้านกฎหมายฉบับนี้อย่างกว้างขวาง และมีคนร่วมลงชื่อผ่านเว็บไซต์ Change.org เพื่อให้หยุดการพิจารณากฎหมายฉบับนี้กว่า 300,000 คน เพราะเป็นห่วงว่ากฎหมายฉบับนี้จะเปิดช่องให้รัฐมีอำนาจเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล และปิดกั้นการแสดงออกบนโลกออนไลน์ได้ง่ายขึ้น  หลังกฎหมายผ่าน สนช. เฟซบุ๊กเพจ พลเมืองต่อต้าน Single Gateway ประกาศสงครามไซเบอร์และโจมตีเว็บไซต์รัฐบาลหลายแห่ง เช่น กรมศุลกากร, กรมการเงินทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย, กรมทางหลวงชนบท กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ฯลฯ

 

ต่อมา วันที่ 26 ธันวาคม 2559 พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ได้แถลงข่าวจับกุมผู้ที่คาดว่ามีส่วนร่วมในการเจาะระบบเว็บไซต์ของรัฐบาลรายแรก คือ ณัฐดนัย อายุ 19 ปี โดยระบุว่า ณัฐดนัยเป็นผู้ส่งต่อข้อมูลการเจาะระบบไปให้ผู้ดูแลเพจเฟซบุ๊กชื่อ “พลเมืองต่อต้าน ซิงเกิล เกตเวย์” ก่อนที่ผู้ดูแลเพจเฟซบุ๊กจะนำไปเผยแพร่ต่อ การจับกุมณัฐดนัยเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2559 ทหารได้เข้าค้นบ้านพักของณัฐดนัยพบหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับคดี เช่น อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หนังสือเรื่อง “Network security ฉบับก้าวสู่นักทดสอบและป้องกันการเจาะระบบ” นอกจากนี้ยังพบอาวุธปืน กระสุนและกัญชาอัดแห้ง ก่อนที่ทหารจะนำตัวไปควบคุมที่ มทบ.11 เป็นเวลา 7 วัน ก่อนส่งตัวให้ตำรวจ

 

ณัฐดนัยถูกกล่าวหาในความผิดฐานอั้งยี่ ตามมาตรา 209 ของประมวลกฎหมายอาญา, พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ, พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ และพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ โดยเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2559 เจ้าหน้าที่พาณัฐดนัยไปฝากขังผลัดแรกที่ศาลอาญารัชดา หลังจากนั้นครอบครัวของณัฐดนัยจึงยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวเป็นโฉนดที่ดินราคาประเมิน 400,000 บาท แต่ศาลยกคำร้องเนื่องจากเป็นคดีที่มีลักษณะเป็นขบวนการก่อให้เกิดความเสียหายต่อบ้านเมือง

 

วันที่ 30 ธันวาคม 2559 พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกตำรวจได้กล่าวว่า ขณะนี้ยังมีแฮกเกอร์อีกสามรายที่อยู่ภายใต้การควบคุมของกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) ซึ่งทั้งสามคนถูกตั้งข้อกล่าวหาคล้ายคลึงกับณัฐดนัยฐานอั้งยี่และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ โดยศาลอนุมัติออกหมายจับแล้ว หลังจากนี้จะมีการสืบสวนสอบขยายผลต่อไป อย่างไรก็ตาม ภายหลังการจับกุมเหล่าแฮกเกอร์ เพจต้นทางอย่าง“พลเมืองต่อต้าน ซิงเกิล เกตเวย์” ยังคงโพสต์ข้อความและข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่า มีการเจาะระบบเว็บไซต์ของรัฐอย่างต่อเนื่อง

 

Report type: