1364 1455 1011 1507 1517 1991 1573 1235 1046 1470 1611 1735 1213 1105 1991 1224 1669 1027 1527 1016 1060 1341 1067 1600 1748 1982 1414 1883 1448 1948 1012 1793 1851 1362 1355 1421 1386 1048 1338 1569 1719 1445 1266 1760 1316 1152 1880 1010 1766 1107 1752 1536 1291 1592 1234 1716 1711 1085 1489 1690 1554 1134 1787 1162 1517 1673 1799 1406 1795 1719 1159 1982 1596 1847 1914 1890 1379 1901 1168 1718 1333 1955 1601 1220 1360 1424 1374 1389 1473 1055 1772 1854 1969 1316 1818 1824 1425 1281 1139 #Attitude adjusted?: คุยกับ 'เซีย ไทยรัฐ' คนเขียนการ์ตูนล้อการเมืองที่ใครๆก็ขำแต่ทหารไม่ขำ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

#Attitude adjusted?: คุยกับ 'เซีย ไทยรัฐ' คนเขียนการ์ตูนล้อการเมืองที่ใครๆก็ขำแต่ทหารไม่ขำ

 
787
 
 
นอกจากเนื้อข่าวและบทวิเคราะห์สถานการณ์แล้ว การ์ตูนล้อการเมืองก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยเติมเต็มให้ผู้อ่านได้ติดตามความเป็นมาเป็นไปของสถานการณ์ทางการเมืองในหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับได้อย่างครบถ้วน ในขณะที่เนื้อข่าวและบทวิเคราะห์สถานการณ์เป็นส่วนที่หนักและอาจทำให้ผู้อ่านเครียด การ์ตูนล้อการเมืองก็จะทำหน้าที่ดึงอารมณ์ของผู้อ่านให้เบาบางลงมาด้วยการเด็ดยอดของเนื้อหาที่หนักและเครียดแปลงมาเป็นภาพการ์ตูนเรียกรอยยิ้มจากผู้อ่าน การ์ตูนล้อการเมืองจึงเป็นสิ่งปรากฎอยู่ในหน้าการเมืองของหนังสือพิมพ์รายวันแทบทุกฉบับ
 

ศักดา แซ่เอียว หรือ 'เซีย ไทยรัฐ' คือหนึ่งในนักวาดการ์ตูนล้อการเมืองที่มีชื่อเสียงในแวดวงสื่อไทย ผลงานของเขาปรากฎอยู่ในหน้าสามซึ่งเป็นหน้าบทความวิเคราะห์การเมืองของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐเกือบทุกฉบับ เหตุการณ์สลายการชุมนุมปี’53 ถูกศักดานำมาเสียดสี เช่น วันที่ 25 พฤษภาคม 2553 ไม่กี่วันหลังการสลายการชุมนุมศักดาวาดภาพยมทูตถือถังน้ำมันเขียนว่า'ก่อการร้าย' ราดบนกองศพเพื่อเสียดสี กรณีที่มีการระบุว่าผู้ชุมนุมกลุ่มนปช.เป็นผู้ก่อการร้าย ขณะที่เหตุการณ์ชุมนุมปิดหน่วยเลือกตั้งของกลุ่มกปปส.ก็ถูกศักดานำมาล้อเลียน โดยในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2557 หรือสามวันหลังการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 ศักดาวาดภาพชายคนหนึ่งพยายามฝ่าฝูงชนที่มีภาพของยมทูตและภาพล้อสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำกปปส. รวมอยู่ด้วยไปหย่อนบัตรเลือกตั้งลงหีบ
 
786 ที่มา การ์ตูนเซีย หนังสือพิมพืไทยรัฐ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2557
 
ลักษณะการ 'ล้อการเมือง' ของศักดาทำให้เขาถูกมองว่ามีทัศนคติเอนเอียงไปทางกลุ่มการเมืองหนึ่ง หลังการรัฐประหาร 2557 การ์ตูนของศักดาถูกจับจ้องจากหน่วยงานความมั่นคงอย่างใกล้ชิด ในวันที่ 3 ตุลาคม 2558 ศักดาวาดการ์ตูนล้อกรณีที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช.แถลงข่าวระหว่างเดินทางไปร่วมประชุมสหประชาชาติสมัยสามัญระหว่างวันที่ 23 กันยายน - 1 ตุลาคม 2558 ว่าจะดำเนินตามโรดแมปเพื่อนำประเทศกลับสู่ประชาธิปไตยและจัดการเลือกตั้ง โดยวาดภาพหัวหน้าคสช.ขณะแถลงที่สหประชาชาติตัดกับภาพปัญหาที่รุมเร้าเมื่อกลับมาประเทศไทย ซึ่งต่อมาในวันที่ 4 ตุลาคม 2558 ศักดาถูกคสช.เรียกไปพูดคุยเพื่อปรับทัศนคติ  
 
 
ก่อนจะมาเป็น 'เซีย ไทยรัฐ'
 
ศักดาเล่าว่าเขาเริ่มสนใจการเมืองครั้งแรกช่วงปี 2514 สมัยนั้นมีข่าวจอมพลถนอม กิตติขจร ปฏิวัติตัวเอง ข่าวนั้นทำให้ศักดาซึ่งกำลังเรียนชั้นมัธยมฯเกิดความสงสัยปนขบขันว่า เป็นไปได้อย่างไรที่จอมพลถนอม ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและผบ.ทบ.จะยึดอำนาจตัวเอง เหตุการณ์ยึดอำนาจตัวเองของจอมพลถนอมเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ศักดาสนใจติดตามข่าวการเมือง ในเวลาต่อมาเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ศักดาก็ติดตามเหตุการณ์อยู่ตลอดแต่ไม่ได้เข้าร่วมการชุมนุมด้วย เนื่องจากเขาเกิดในครอบครัวคนจีนที่ไม่อยากให้ลูกเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวทางการเมือง
 

หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 บรรยากาศทางการเมืองเริ่มเปิด ศักดาเล่าว่าเมืื่อเขาเข้ามาเรียนที่คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรยากาศทางการเมืองค่อนข้างเปิด มีการจัดอภิปรายทางการเมืองตามสนามหญ้าในมหาวิทยาลัย ตัวของศักดาก็มีความสนใจติดตามสถานการณ์ทางการเมืองและช่วยเพื่อนจัดบอร์ดบ้างตามโอกาส แต่ก็ไม่ได้เข้าไปร่วมประท้วงหรือเดินขบวน ในช่วงเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ตัวเขาก็ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและได้ให้ความช่วยเหลือเพื่อนคนหนึ่งที่ไปร่วมชุมนุมแต่หนีออกมาก่อนการล้อมปราบ เพื่อนของเขายังต้องเอาหนังสือมาเผาเพราะกลัวถูกจับ
 

ศักดาเล่าต่อว่า เหตุการณ์ 6 ตุลา มีส่วนทำให้เขาตัดสินใจเป็นสื่อมวลชน โดยมองว่า การทำหนังสือพิมพ์จะสามารถทำให้เขามีปากเสียงในการต่อสู้กับความไม่ถูกต้องได้ ศักดาจึงเลือกที่จะทำงานหนังสือพิมพ์แทนการรับราชการครู ทั้งที่เขาจบการศึกษาในคณะครุศาสตร์ ศักดาเล่าต่อว่าหลังเข้าสู่ชีวิตการทำงานซึ่งในฐานะสื่อมวลชนตัวเขาก็มีโอกาสผ่านเหตุการณ์ทางการเมืองที่สำคัญอีกหลายครั้ง โดยทำงานกับหนังสือพิมพ์หลายฉบับเช่น มาตุภูมิรายวัน สยามรัฐ บ้านเมือง และเริ่มทำงานกับไทยรัฐในปี 2536 โดยทำหน้าที่เขียนการ์ตูนล้อการเมืองเป็นหลัก
 

การเคลื่อนไหวหลังเหตุการณ์พฤษภา’53
 
ตั้งแต่เริ่มสนใจการเมืองมาจนถึงหลังช่วงเหตุการณ์พฤษภา’53 ศักดาระบุว่า บทบาทในเหตุการณ์การชุมนุมของเขามักจำกัดอยู่ในฐานะผู้สังเกตการณ์หรือคนดูเท่านั้น แต่ไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในลักษณะอื่น เนื่องจากไม่ใช่หน้าที่ของตัวเขาในฐานะสื่อมวลชน รวมทั้งหนังสือพิมพ์ไทยรัฐต้นสังกัดเองก็ไม่อยากให้ไป ศักดาเล่าต่อว่า เขาเข้ามาทำกิจกรรมทางสังคมมากขึ้นหลังเหตุการณ์สลายการชุมนุมในปี’ 53 โดยมีเพื่อนชวนมาร่วมกิจกรรมปลอบขวัญหรือสร้างงานให้กับครอบครัวของผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมฯ เขาจึงเข้ามาร่วมโดยเขียนการ์ตูนล้อเพื่อคลายเครียดให้ผู้มาร่วมกิจกรรม จากนั้นจึงเข้ามาเป็นอุปนายกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์เพื่อประชาชน ซึ่งตั้งขึ้นในปี 2558 มีเป้าหมายในการให้ความช่วยเหลือค่าทำศพกับญาติผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมฯที่ไม่มีปัจจัยทำศพ
 

ศักดาระบุว่าหนึ่งในสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เข้าตัดสินใจเข้ามาทำกิจกรรมมากขึ้นหลังเหตุการณ์ปี'53 เป็นเพราะเขาเริ่มเป็นที่รู้จักของมวลชนมากขึ้นและการเข้ามาช่วยงานของเขาก็มีส่วนทำให้มวลชนมีกำลังใจที่จะทำกิจกรรมต่างๆ อย่างเช่นงานที่สมาคมตัวเขาก็ไม่ได้มีบทบาทอะไรมากนัก แต่ก็จะคอยช่วยเหลือตามความสามารถเช่นวาดการ์ตูนหรือช่วยทำงานศิลป์ให้ หรืออาจจะพอช่วยติดต่อคนรู้จักให้หากทางสมาคมต้องการความช่วยเหลือด้านต่างๆ โดยศักดายืนยันบทบาทของเขาในกิจกรรมเหล่านี้เป็นเพียงการให้ความช่วยเหลือกิจกรรมทางสังคมตามกำลังเพื่อให้มวลชนอยู่ให้ได้เท่านั้นโดยที่เขาไม่ได้เข้าไปร่วมในลักษณะเป็นแกนนำหรือไปเผยแพร่ปลุกระดมทางความคิดแต่อย่างใดเนื่องจากไม่ใช่บทบาทของเขา
 

เขียนการ์ตูนอย่างไรในยุครัฐประหาร
 
785 ที่มา การ์ตูนเซีย หนังสือพิมพ์ไทยรัฐวันอังคารที่ 25 พฤษภาคม 2553
 
 
ศักดาระบุว่า ตัวเขาถือเป็นหนึ่งในเป้าที่คสช.จับตามอง เพราะการสื่อสารเรื่องการเมืองผ่านการ์ตูนล้อถือว่ามีพลังอยู่ไม่น้อยในสังคมไทย ที่ผ่านมาเขาเคยถูกฟ้องคดีจากการทำการ์ตูนล้อตั้งแต่สมัยพรรคประชาธิปัตย์ ศักดารับว่า หลังการรัฐประหารใหม่ๆทางสำนักข่าวไทยรัฐเคยส่งสัญญาณถึงเขาทำนองว่า ให้เขาระวังเพราะเขาเป็นตกเป็นเป้าอยู่ หลังจากนั้นประมาณสองสัปดาห์ ศักดาถูกนายทหารชั้นผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเชิญไปพูดคุยแบบไม่เป็นทางการเพียงคนเดียว โดยเนื้อหาในการพูดคุยเป็นการทำความเข้าใจในฐานะที่เขาเป็นสื่อมวลชนและทางทหารขอความร่วมมือให้ปรองดอง ซึ่งตัวศักดาก็ยอมที่จะลดความเข้มข้นของเนื้อหาที่เขานำเสนอลงบ้าง
 

หลังจากถูกเชิญไปพูดคุย เขาพยายามลดระดับความเข้มข้นของเนื้อหาการ์ตูนไปบ้างเองก็เคยเขียนล้อหรือ'แซว'แบบแรงๆไปหลายครั้งตามสถานการณ์ทางการเมือง แต่ก็ยอมรับว่าในฐานะคนเขียนการ์ตูนล้อการเมืองมันคงเป็นเรื่องยากที่จะเขียนให้ 'เบา' โดยเฉพาะในยามที่อุณหภูมิในทางการเมืองร้อนแรงเช่นนี้ ผู้บริหารหนังสือพิมพ์ไทยรัฐคนหนึ่งเคยบอกกับเขาว่าให้พยายามลดระดับความเข้มข้นของเนื้อหาหรือไปเขียนเรื่องทั่วไปบ้าง แต่ในฐานะนักเขียนการ์ตูนล้อการเมืองศักดายอมรับว่าเขาคงทำไม่ได้ ศักดาเล่าว่ามีอยู่บ่อยครั้งที่ ทางทหารรู้สึกไม่ชอบใจกับเนื้อหาการ์ตูนล้อเลียนของเขา จนต้องโทรมาตำหนิผ่านทางหนังสือพิมพ์อยู่บ่อยๆ
 

เขียนการ์ตูนตลกจนทหารต้องเรียกไปนั่งคุยในค่าย
 
ช่วงปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคม 2558 ที่พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช.เดินทางไปร่วมประชุมกับสหประชาชาติ ศักดาได้เขียนการ์ตูนล้อเผยแพร่ในวันที่ 3 ตุลาคม 2558 ทำนองว่า หัวหน้าคสช.ไปกล่าวสุนทรพจน์อย่างสวยหรูที่สหประชาชาติ แต่ต้องกลับมาเผชิญปัญหารุมเร้าในประเทศ การ์ตูนชิ้นนั้นส่งผลสะเทือนถึงขึ้นทำให้ศักดาต้องไปนั่งดื่มกาแฟกับทหารอีกครั้ง
 

ศักดาเล่าว่า หลังการ์ตูนล้อชิ้นนั้นถูกเผยแพร่ก็มีเจ้าหน้าที่มาตามตัวเขาที่สำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ แต่ขณะเขาไม่อยู่เพราะไปอบรมการเขียนการ์ตูนให้เยาวชนในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ผู้สื่อข่าวที่สำนักงานใหญ่จึงต่อสายให้เจ้าหน้าที่พูดคุยกับเขา ศักดาแจ้งเจ้าหน้าที่ว่าค่ายเยาวชนจะเสร็จสิ้นภายในสองถึงสามวันเมื่อเสร็จจะเดินทางไปเข้าพบแต่เจ้าหน้าที่ขอให้มาพบในวันรุ่งขึ้นเลย ศักดาจึงต้องทิ้งกิจกรรมดังกล่าวเพื่อไปเข้าพบเจ้าหน้าที่ตามนัดในวันที่ 4 ตุลาคม 2558
 

วันถัดมาเขาเดินทางมาถึงที่หอประชุมกองทัพบกตั้งแต่แปดนาฬิกาเศษแต่ยังเข้าไปในหอประชุมไม่ได้เนื่องจากต้องรอเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นผู้พาเข้าไปส่งตัว โดยการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ทหารใช้เวลาเพียงชั่วโมงเศษเท่านั้น แต่เจ้าหน้าที่มีการเตรียมความพร้อมโดยมีการปรินท์การ์ตูนที่เขาเคยวาดมาแสดงแล้ว 'ชี้แจง' ทีละอันว่ามีข้อผิดพลาดหรือมีความคลาดเคลื่อนอย่างไร
 

ศักดาระบุด้วยว่านอกจากการ์ตูนล้อพล.อ.ประยุทธเรื่องการไปชี้แจงที่สหประชาชาติแล้ว เจ้าหน้าที่ทหารที่ทำหน้าที่ติดตามสื่อยังแสดง 'ความกังวล' ถึงการ์ตูนล้อที่เขาเขียนถึงการเรียกคนเข้ารายงานตัวปรับทัศนคติด้วย เช่น การ์ตูนล้อในวันที่ 19 กันยายน 2558 ซึ่งเขาเสนอภาพค่ายทหารติดป้ายเขียนข้อความทำนองว่ามีอาหารและที่พักบริการสำหรับผู้เห็นต่างพร้อมทั้งมีภาพคนสามคนเขียนข้อความสื่อ ประชาชน และนสพ. ห้อยคอคนละอัน เพื่อเสียดสีการเรียกตัวคนที่แสดงความเห็นต่างเข้าปรับทัศนคติในค่ายทหาร 
 
 
เขากล่าวแบบติดตลกว่าเจ้าหน้าที่ไม่ได้ให้เขาลงชื่อในบันทึกข้อตกลง(MoU)หรือพยายาม 'ปรับทัศนคติ' ให้เขาเปลี่ยนความคิดแต่อย่างใดคงเป็นเพราะรู้ว่าเป็นไปไม่ได้ แต่ก็ส่งสัญญาณชัดเจนว่าหากในอนาคตผลงานของเขามีความผิดพลาดเขาก็อาจจะถูกดำเนินคดีได้ นอกจากนี้ยังให้เขากรอกประวัติโดยละเอียดทั้งที่อยู่และรายละเอียดสมาชิกในครอบครัว
 

ศักดาสรุปว่า แม้สุดท้ายแล้วหลังการเข้ารายงานตัวจะไม่ได้มีเจ้าหน้าที่ตามมาจับตาที่บ้านเหมือน 'บุคคลเป้าหมาย' คนอื่นๆ แต่ก็จะมีการโทรมาที่สำนักข่าวไทยรัฐอยู่เนืองๆ เขาจึงตัดสินใจเปลี่ยนเทคนิคการทำงานเช่น หลีกเลี่ยงการวาดภาพล้อพลเอกประยุทธโดยตรง และพยายามใช้ความสุขุมและระมัดระวังในการทำงานมากขึ้น

 

Article type: