1417 1535 1461 1503 1163 1314 1483 1557 1906 1586 1803 1080 1070 1770 1330 1487 1388 1791 1819 1478 1764 1284 1050 1643 1685 1173 1148 1494 1441 1786 1882 1518 1295 1119 1603 1095 1391 1613 1220 1397 1485 1391 1825 1853 1148 1036 1912 1300 1864 1320 1018 1833 1796 1851 1702 1920 1820 1822 1196 1910 1312 1374 1500 1430 1094 1830 1166 1522 1108 1978 1621 1999 1208 1083 1493 1750 1939 1029 1799 1802 1210 1004 1293 1338 1899 1212 1213 1960 1030 1827 1036 1329 1700 1414 1819 1390 1847 1406 1922 เลือกตั้ง 62: อนาคตใหม่แจงกรณีรองหัวหน้าพรรคแชร์ข่าวปลอม "กาแฟบิ๊กป้อม" วอนช่วยจับตาสื่อรับใช้เผด็จการ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

เลือกตั้ง 62: อนาคตใหม่แจงกรณีรองหัวหน้าพรรคแชร์ข่าวปลอม "กาแฟบิ๊กป้อม" วอนช่วยจับตาสื่อรับใช้เผด็จการ



5 มีนาคม 2562 พรรณิการ์ วานิช โฆษกพรรคอนาคตใหม่ ชี้แจงกรณีตำรวจออกหมายเรียกพล.ท.พงศกร รอดชมภู รองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่แชร์ข่าวปลอมเกี่ยวกับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ข่าวพาดหัวในทำนองว่า เบิกงบกาแฟแก้วละ 12,000 บาท โดยใช้งบสวัสดิการในตำแหน่ง รวมเป็นเงิน 82,000 บาท พร้อมกับนำภาพประกอบที่มี พล.อ.ประวิตร และไพศาล พืชมงคล ที่ปรึกษา มาตัดต่อร่วมกัน

 

โดยกล่าวว่า ตามที่ปรากฏเป็นข่าวจากตำรวจว่า จะมีการแถลงการจับกุมพล.ท. พงศกร ซึ่งความจริงยังไม่มีการจับกุมหรือการออกหมายจับเป็นเพียงหมายเรียกรายงานตัวเท่านั้น ผู้ที่ฟ้องคดีคือพ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ ฝ่ายกฎหมาย คสช. คดีความที่เกิดขึ้นคือ พล.ท.พงศกร เป็นหนึ่งในผู้ที่แชร์ข่าว เมื่อพล.ท.พงศกร ทราบว่า ข่าวดังกล่าวนั้นเป็นข่าวปลอมก็ได้ลบ และโพสต์ขอโทษ ข่าวดังกล่าวอยู่บนหน้าเฟซบุ๊กของพล.ท.พงศกรในช่วงเวลาไม่กี่นาทีเท่านั้น  แต่นำไปสู่การดำเนินคดี ข้อหาคือ มาตรา 14(2),(5) ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ซึ่งเป็นข้อหาเดียวกันกับที่ถูกใช้ดำเนินคดีกับธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่และกรรมการบริหารพรรครวมสามคน

 

มาตรา 14(2) บัญญัติไว้ว่า "นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน"

 

1079 พล.ท. พงศกร รอดชมภู รองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ขอบคุณภาพจากเพจ Thanathorn Juangroongruangkit - ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ

 

ซึ่งเรายอมรับว่า พล.ท.พงศกร ได้แชร์ข่าวปลอมจริง แต่ยืนยันว่า ไม่ได้มีเจตนาเห็นได้จากการรีบลบทันทีภายในเวลาไม่กี่นาที ฉะนั้นพล.ท.พงศกร จึงพร้อมที่จะต่อสู้คดีความนี้ ด้วยเชื่ออย่างบริสุทธิ์ใจจริงๆว่า หนึ่ง ไม่มีได้มีเจตนาและเรื่องนี้ไม่ได้สร้างความตื่นตระหนกใดๆให้แก่สังคม สอง ไม่ได้กระทบต่อความมั่นคงของประเทศ สาม ถ้าจะกระทบก็คือกระทบต่อความมั่นคงของพล.อ.ประวิตร เพียงคนเดียวเท่านั้น

 

อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกตที่น่าสนใจเกี่ยวกับคดีนี้คือ แม้ว่าจะมีหกคนที่ถูกออกหมายเรียก แต่อย่าลืมว่า ข่าวปลอม-ข่าวเท็จแบบนี้มีอยู่ทั่วไปและผู้ที่แชร์ข่าวปลอม-ข่าวเท็จนี้ก็ไม่ได้มีเพียงแค่หกคนอย่างแน่นอน มีคนจำนวนมากที่แชร์ข่าวนี้ไปแต่ไม่ถูกดำเนินคดี ถามว่า นี่คือการเลือกปฏิบัติหรือไม่? นี่คืออีกหนึ่งคดีความทางการเมืองที่ตั้งใจทำเพื่อสกัดกั้นพรรคอนาคตใหม่หรือไม่?

 

อีกหนึ่งประเด็นคือ ข่าวปลอมสองข่าวคือ หนึ่งการถือหุ้นบริษัท ปิคนิคและมีการโจมตีจากสำนักข่าวที่มีชื่อเสียงมากในประเทศไทยว่า เป็นการเข้าไปพัวพันกับผู้ที่หลอกลวงประชาชน หากไปดูในรายละเอียดเห็นว่า คดีความที่เกิดขึ้นกับการเข้าซื้อหุ้นของธนาธรเป็นคนละช่วงเวลาอย่างชัดเจน ห่างกันเกือบสิบปี คดีความที่เกิดขึ้นกับบริษัทปิคนิค เกิดขึ้นในช่วงปี 2550 ก่อนที่บริษัทจะเริ่มฟื้นฟูกิจการขึ้นใหม่และหาผู้ลงทุนรายใหม่ ในช่วงนั้นเองธนาธรจึงเข้าไปลงทุนในบริษัทและขายหุ้นในบริษัทดังกล่าวไปหมดแล้ว ตั้งแต่ก่อนเข้าสู่ทำงานการเมือง ฉะนั้นการปล่อยข่าวว่า ธนาธรไปเกี่ยวพันกับผู้ที่ฉ้อโกงหลอกลวงประชาชนจึงเป็นความตั้งใจที่จะปล่อยข่าวปลอม

 

สอง บริษัท วัน โอ ซี คอร์โปเรชัน จำกัด มีการเผยแพร่ข้อมูลจากสำนักข่าวที่โดยปกติแล้วเป็นที่เชื่อถือของสังคมในการตรวจสอบการทุจริต การคอร์รัปชั่นในสังคมและเป็นสื่อที่ได้รับการยกย่องเยอะในเรื่องการเปิดโปงข้อมูลต่างๆ แต่กรณีของวัน โอ ซี เป็นบริษัทที่เตรียมไว้ใช้ในธุรกิจส่วนตัว แต่สุดท้ายก็ไม่ได้ใช้บริษัทนี้แต่อย่างใด สถานะของบริษัทนี้ตลอดมาเป็น sleeping company ปัจจุบันบริษัทนี้อยู่ในระหว่างปิดกิจการ ซึ่งเป็นลักษณะปกติของการทำธุรกิจ แต่กลับถูกนำมาเป็นประเด็นเกี่ยวข้องกับการตัดไม้ทำลายป่า

 

เรื่องนี้เป็นการจงใจสร้างข่าวปลอมเพื่อที่จะทำลายกันในช่วงเวลาที่กำลังจะเข้าสู่การเลือกตั้ง การยืนยันในข้อเท็จจริง รายละเอียดทั้งหมดได้ชี้แจงไปแล้วด้วยในโพสต์เฟซบุ๊กเพจ  Thanathorn Juangroongruangkit - ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ จึงขอสื่อมวลชนให้ความเป็นธรรมกับเราและขอให้ตั้งข้อสังเกตด้วยว่า ในช่วงเวลา 20 วันสุดท้ายของการเลือกตั้ง เหตุใดพรรคอนาคตใหม่ถึงมีกระแสถูกโจมตีทุกวัน

 

1080 ขอบคุณภาพจากเพจ Thanathorn Juangroongruangkit - ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ

 

เรื่องข่าวปลอมและกระแสการใช้คดีความและกระบวนการปล่อยข่าวในโซเชียลมีเดีย เรื่องนี้พรรคอนาคตใหม่ยืนยันว่า เป็นการเมืองเก่าและเราไม่อยากให้ประเทศไทยวนเวียนอยู่กับการใช้อำนาจในทางมิชอบในทางสกัดกั้นศัตรูคู่แข่งทางการเมือง และนี่คือ เหตุผลที่พรรคอนาคตใหม่ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมและองค์กรอิสระ ไม่ให้ถูกใช้เป็นเครื่องมือและให้เกิดความยึดโยงกับประชาชน เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนไม่ใช่ผลประโยชน์ของผู้ที่กุมอำนาจทางการเมืองตามช่วงเวลานั้นๆ

 

ในส่วนของการปล่อยข่าวปลอมโดยโซเชียลมีเดียหรือแม้แต่สื่อมืออาชีพ วันนี้วันที่ 5 มีนาคม เป็นวันสื่อสารมวลชนแห่งชาติ เราเชื่อมั่นและเราได้เห็นแล้วว่า ในช่วงโค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งมีสื่อมวลชนจำนวนมากต่อสู้เพื่อนำความจริงไปสู่ประชาชน เราชื่นชนและคารวะในจิตวิญญาณของสื่อมวลชนที่ทำหน้าที่แบบนี้ ขณะเดียวกันเราขอให้เพื่อนสื่อมวลชนและประชาชนช่วยกันจับตาดูสื่อมวลชนจำนวนไม่น้อยที่รับใช้เผด็จการ ปล่อยข่าวปลอมเพื่อทำลายศัตรูคู่แข่งทางการเมือง

 

ไม่ใช่นักการเมืองรายแรกที่โดนคดีพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ

 

ก่อนหน้าที่จะมีการแก้ไขพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ในปี 2560 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มาตรา 14(1) มักจะถูกนำมาใช้ดำเนินคดีพ่วงกับกฎหมายหมิ่นประมาทเวลามีคนแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์ในประเด็นสาธารณะและพาดพิงบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ส่วนคนที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นการการเมือง กองทัพ หรือคสช. บนโลกออนไลน์ มักจะถูกดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 (ข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ) หรือประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 (ข้อหายุยงปลุกปั่น) ควบคู่กับพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มาตรา 14 (2) และ (3)


หลังมีการแก้ไขพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ แนวทางการร้องทุกข์กล่าวโทษคนที่แสดงความเห็นบนโลกออนไลน์ก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะกรณีของบุคคลที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นทางการเมือง โดยแทนที่จะใช้วิธีฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายอาญาหมวดความมั่นคง เช่น มาตรา 112 หรือ มาตรา 116 พ่วงกับพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯมาตรา 14 (2) และ (3) ก็เปลี่ยนมาเป็นดำเนินคดีตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯมาตรา 14 (2) อย่างเดียวแทน โดยไม่แจ้งข้อกล่าวหาตามมาตรา 14 (3) หรือความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาหมวดความมั่นคงเพิ่มเติม


ทั้งนี้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มาตรา 14(2) ซึ่งมีการแก้ไขในปี 2560 ได้มีการขยายความเนื้อหาการกระทำผิดให้กว้างขึ้น เป็น "นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน" จากเดิมที่ฉบับปี 2550 กำหนดไว้ว่า "นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน"


นอกจากกรณีของพล.ท. พงศกรแล้วก็มีกรณีของนักการเมืองที่ถูกกล่าวหาในความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯมาตรา 14(2) อื่นๆที่น่าสนใจได้แก่ กรณีของวัฒนา เมืองสุข อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย แสดงความเห็นในเรื่องการซื้อดาวเทียมไธอา (THEIA) จากสหรัฐอเมริกามูลค่า 91,200 ล้านบาท, กรณีพิชัย นริพทะพันธุ์ แกนนำพรรคไทยรักษาชาติ แสดงความเห็นถึงการดูด ส.ส. ที่อาจจะทำลายความปรองดองได้ และกรณีของธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และกรรมการบริหารพรรคอนาคใหม่อีกสองคน ที่ถูกกล่าวหาในข้อหาเดียวกันจากการจัดรายการเฟซบุ๊กไลฟ์ที่เพจของพรรคอนาคตใหม่วิจารณ์เรื่องการดูดผู้สมัคร ส.ส. ให้ย้ายพรรค


ตลอดสี่ปีที่ผ่านมามีประชาชนถูกกล่าวหาตามมาตรา 14(2) ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯไม่น้อยกว่า 51 คนหรือ 26 คดี เฉพาะปี 2561 มีไม่น้อยกว่า 25 คนหรือ 12 คดี ขณะที่ปี 2562 มีไม่น้อยกว่า 7 คน หรือ 2 คดี

///////////////////////////////////////////////////////////////

อ่านสถิติมาตรา 14(2) ทั้งหมดที่นี่
 

Article type: