1815 1700 1605 1376 1814 1887 1793 1346 1766 1225 1185 1162 1964 1740 1652 1486 1255 1100 1307 1685 1697 1009 1021 1527 1454 1830 1837 1552 1436 1904 1696 1554 1574 1812 1131 1002 1067 1316 1367 1876 1594 1459 1697 1231 1302 1221 1523 1950 1430 1978 1257 1388 1992 1415 1548 1178 1997 1573 1649 1827 1939 1950 1823 1558 1660 1813 1516 1243 1907 1866 1949 1596 1682 1638 1974 1281 1512 1373 1129 1586 1467 1707 1601 1490 1608 1962 1400 1501 1727 1413 1603 1612 1926 1448 1916 1845 1433 1365 1501 Thailand Post Election Report: พ.ร.บ.ชุมนุม เครื่องมือปิดกั้นการชุมนุมหลังยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคสช. | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

Thailand Post Election Report: พ.ร.บ.ชุมนุม เครื่องมือปิดกั้นการชุมนุมหลังยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคสช.

พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ 2558 (พ.ร.บ.ชุมนุม) เป็นกฎหมายที่ถูกผ่านโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในปี 2558 ช่วงที่คำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 ข้อ 12 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปยังบังคับใช้อยู่ พ.ร.บ.นี้ไม่มีบทบาทเป็นเครื่องมือปิดกั้นการชุมนุมมากนัก เจ้าหน้าที่อาจนำพ.ร.บ.ชุมนุมฯ มาใช้เป็นข้อหาเพิ่มเติมในการดำเนินคดีกับผู้ใช้เสรีภาพการชุมนุม แต่ข้อหาหลักยังเป็นคำสั่งหัวหน้าคสช. 

อย่างไรก็ตามมีข้อน่าสังเกตว่าคดีการชุมนุมที่เกิดขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้และสี่อำเภอของจังหวัดสงขลา ได้แก่ จะนะ เทพา นาทวี สะบ้าย้อย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่บริหารจัดการด้วยกฎหมายพิเศษมาตั้งแต่ก่อนการยึดอำนาจ กลับแตกต่างออกไป 
อย่างคดี "เทใจให้เทพา" แม้เหตุจะเกิดระหว่างมีคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 แต่เจ้าหน้าที่เลือกใช้พ.ร.บ.ชุมนุมฯ เป็นข้อหาหลักในการดำเนินคดีกับผู้ชุมนุม และไม่ได้ใช้คำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 

เดือนธันวาคม 2561 หัวหน้าคสช.ออกคำสั่งฉบับที่ 22/2561 ยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 ข้อ 12 เพื่อเปิดทางให้พรรคการเมืองสามารถทำกิจกรรมหาเสียงเลือกตั้งได้ พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะจึงถูกนำมากใช้มากขึ้นในฐานะเครื่องมือที่ใช้ปิดกั้นการชุมนุม 

หลังการเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับคดีพ.ร.บ.ชุมนุม ที่สำคัญมีดังนี้ ข้อหาไม่แจ้งการชุมนุม ตามมาตรา 10 มีจำนวนห้าคดี แบ่งเป็น
 
o คดีที่เหตุเกิดและมีประชาชนถูกตั้งข้อกล่าวหาตั้งแต่ปี 2561 จำนวนสองคดี ได้แก่ 
 
คดีแม่น้องเกดทำกิจกรรมกรณี 6 ศพวัดปทุม
คดีการชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่พัทยา 

o คดีที่เหตุเกิดในปี 2562 จำนวนสามคดี ได้แก่

คดีเอกชัยและโชคชัยเปิดเพลงประเทศกูมี 
คดีพริษฐ์กับธนวัฒน์แขวนพริกกระเทียมที่ทำเนียบรัฐบาล 
คดีพริษฐ์กับธนวัฒน์อ่านจดหมายเปิดผนึกถึงผบ.ทบ.

ในเดือนธันวาคม 2562 เมื่อธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่จัดชุมนุมที่หน้าหอศิลป์ฯ กรุงเทพ หลังกกต.มีมติส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณายุบพรรคอนาคตใหม่ก็มีการร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดีกับธนาธรและแกนนำพรรคอนาคตใหม่อย่างน้อย 2 กรณี ได้แก่

o กรณีที่สมาชิกพรรคพลังประชารัฐเข้าร้องทุกข์กล่าวโทษและแกนนำพรรคอนาคตใหม่รวม4 คนในความผิดฐานไม่แจ้งการชุมนุมตามพ.ร.บ.ชุมนุมฯและข้อหาชุมนุมในรัศมีไม่เกิน 150 เมตรจากเขตพระราชฐานฯ และ   
o กรณีที่ผู้กำกับสน.ปทุมวันร้องทุกข์กล่าวโทษธนาธรกับพวก (กรณีนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่าเป็นความผิดตามกฎหมายอาญาหรือตามพ.ร.บ.ชุมนุม)
 
ล่าสุดในวันที่ 23 ธันวาคม มีการออกหมายเรียกให้ธนาธรมารับทราบข้อกล่าวหาที่สน.ปทุมวันแล้ว แต่ยังไม่มีรายละเอียดว่าเป็นการรับทราบข้อกล่าวหาจากการร้องทุกข์กล่าวโทษโดยตำรวจหรือโดยสมาชิกพรรคพลังประชารัฐและยังไม่มีรายละเอียดว่านอกจากธนาธรและไพรัฎฐโชติก์ อดีตผู้สมัครรับเลือกตั้งส.ส.เขตห้า จังหวัดนครปฐม พรรคอนาคตใหม่ จะมีบุคคลใดถูกออกหมายเรียกมารับทราบข้อกล่าวหาที่สน.ปทุมวันในวันที่ 27 ธันวาคม 2562 บ้าง
 
นอกจากนั้น มีกรณีที่จังหวัดเชียงใหม่มีการร้องทุกข์กล่าวโทษเพจเฟซบุ๊กกลุ่มสมัชชาเสรีแห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อประชาธิปไตยที่เชิญชวนคนมาทำกิจกรรมที่ประตูท่าแพในเวลาเดียวกับที่ธนาธรทำกิจกรรมที่หน้าหอศิลป์ฯ กรุงเทพ โดยทั้งหมดนี้ยังไม่มีการออกหมายเรียกบุคคลใดมารับทราบข้อกล่าวหา ล่าสุดในวันที่ 23 ธันวาคม 2562 มีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Prasiddhi Grudharochana โพสต์ภาพบันทึกบันจำวันที่มีผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษแอดมินเพจ สมัชชาเสรีแห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อประชาธิปไตย พร้อมข้อความชี้แจงว่าตัวเองเป็นแอดมินของเพจดังกล่าวและจะไปรายงานตัวกับพนักงานสอบสวนในวันที่ 24 ธันวาคม 2562 
 
นอกเหนือจากข้อกล่าวหาไม่แจ้งการชุมนุมแล้วยังมีข้อกล่าวหาอื่นตามพ.ร.บ.ชุมนุมฯที่ใช้ดำเนินคดีกับผู้ชุมนุม

ข้อหาชุมนุมในเขตไม่เกิน 150 เมตร จากเขตพระราชฐานฯ 
ข้อหาเคลื่อนย้ายการชุมนุมในยามวิกาล
ข้อหากีดขวางทางเข้าออกสถานที่ราชการ 
เป็นต้น


นิยามกว้าง "ผู้จัดการชุมนุม"และ"การชุมนุม" – ตีความแบบสร้างภาระ


ตาม พ.ร.บ.ชุมนุม นิยามของคำว่า การชุมนุมสาธารณะ เขียนไว้กว้างๆ ว่า "การชุมนุมของบุคคลในที่สาธารณะเพื่อเรียกร้อง สนับสนุน คัดค้าน หรือแสดงความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยแสดงออกต่อประชาชนทั่วไป และบุคคลอื่นสามารถ ร่วมการชุมนุมนั้นได้ ไม่ว่าการชุมนุมนั้นจะมีการเดินขบวนหรือเคลื่อนย้ายด้วยหรือไม่" 

ขณะที่นิยามของคำว่า ผู้จัดการชุมนุม ซึ่งมีหน้าที่ต้องแจ้งการชุมนุมล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมงก่อนเริ่มชุมนุมตามกฎหมายนี้ คือ "ผู้จัดให้มีการชุมนุมสาธารณะ และให้หมายความรวมถึงผู้ประสงค์จะจัดการชุมนุมสาธารณะ และผู้ซึ่งเชิญชวนหรือนัดให้ผู้อื่นมาร่วมการชุมนุมสาธารณะโดยแสดงออก หรือมีพฤติการณ์ทําให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้จัดหรือร่วมจัดให้มีการชุมนุมนั้น"
 
ตามกฎหมายนี้การแสดงออกในที่สาธารณะแม้โดยคนคนเดียวก็ถือว่าเป็นการชุมนุมสาธารณะที่ผู้จัดการชุมนุมต้องแจ้งการชุมนุมแล้ว 

นิยามที่กว้างของพ.ร.บ.ชุมนุมยังสร้างความสับสนให้กับผู้ที่ใช้สิทธิในการยื่นหนังสือร้องเรียนต่อทางราชการว่า ต้องแจ้งการชุมนุมหรือไม่ เพราะโดยปกติผู้ที่มายื่นหนังสือร้องเรียนกับหน่วยงานของรัฐก็มักมีป้ายหรือสัญลักษณ์ต่างๆ มาแสดงระหว่างการยื่นหนังสือด้วยเพื่อสื่อสารกับสาธารณะรวมทั้งเพื่อเป็นภาพข่าว 

หากผู้มายื่นเรื่องร้องเรียนตัดสินใจแจ้งการชุมนุมก็จะเป็นการสร้างภาระเพิ่มเติม นอกจากนั้นยังเป็นการวางบรรทัดฐานให้เจ้าหน้าที่ให้ตีความว่าการกระทำใดเป็นการชุมนุมสาธารณะการกระทำใดไม่ใช่กว้างขวางขึ้น ในทางกลับกันหากคนที่มายื่นเรื่องร้องเรียนตัดสินใจไม่แจ้งการชุมนุมก็จะต้องแบกรับความเสี่ยงเอาเองว่าเจ้าหน้าที่จะอ้างเป็นเหตุในการดำเนินคดีหรือไม่    

เท่าที่มีข้อมูล มีคดีพ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะที่มีการตั้งข้อกล่าวหาหรือมีการฟ้องคดีสู่ศาลในปี 2562 อย่างน้อย 8 คดีที่ผู้ชุมนุมถูกตั้งข้อกล่าวหาไม่แจ้งการชุมนุมตามมาตรา 10 ของพ.ร.บ.ชุมนุมฯ ซึ่งมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท แม้ความผิดฐานนี้จะดูไม่ร้ายแรงแต่เจ้าหน้าที่มักนำมาใช้เป็นเหตุในการสั่งให้ผู้ชุมนุมยุติกิจกรรมโดยอ้างว่าเป็นการชุมนุมที่ไม่ชอบเพราะไม่ได้แจ้งล่วงหน้า


เปิดคำพิพากษาคดี "ไม่แจ้งการชุมนุม" หาบรรทัดฐานศาล


นับจากการเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 ศาลมีคำพิพากษาคดี พ.ร.บ.ชุมนุม ที่จำเลยถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้จัดการชุมนุมแต่ไม่แจ้งการชุมนุมตามกฎหมายออกมาแล้วอย่างน้อยห้าคดี ได้แก่
 
o คดีการชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่พัทยา  
o คดีเอกชัยและโชคชัยเปิดเพลงประเทศกูมี 
o คดีของพริษษฐ์และธนวัฒน์ นักกิจกรรมนักศึกษาสองคดี ได้แก่
คดีแขวนพริกกระเทียมที่รั้วทำเนียบรัฐบาล
คดีอ่านจดหมายเปิดผนึกถึงผบ.ทบ.ซึ่งมีแนวคิดให้สถานีวิทยุของกองทัพบกเปิดเพลงหนักแผ่นดิน 
o คดีของพะเยาว์หรือ "แม่น้องเกด" (พยาบาลอาสาที่เสียชีวิตในเหตุการณ์สลายการชุมนุมคนเสื้อแดงในปี 2553) ที่ออกมาทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้มีการดำเนินคดีกับผู้ที่ใช้กำลังจนเกิดความสูญเสียกับประชาชน
 

คดีการชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่พัทยา 


เหตุแห่งคดีเกิดขึ้นในวันที่ 4 มีนาคม 2561 เมื่อมีกลุ่มประชาชนร่วมกันชุมนุมเรียกร้องให้มีการจัดการเลือกตั้งภายในปี 2561 ที่ชายหาดพัทยา ใกล้ห้างเซ็นทรัลเฟสติวัล

หลังเกิดมีคนถูกร้องทุกข์กล่าวโทษในข้อหาไม่แจ้งการชุมนุมตามพ.ร.บ.ชุมนุมฯรวม 12 คน ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2562 ศาลแขวงพัทยามีคำพิพากษายกฟ้องจำเลย 9 คน ในความผิดฐานเป็นผู้จัดการชุมนุมและลงโทษปรับจำเลยในข้อหานี้เพียง 3 คนเท่านั้ัน โดยศาลให้เหตุผลในการแยกว่าบุคคลใดเป็นผู้จัดการชุมนุม บุคคลใดไม่ใช่ ในทำนองว่า 

จำเลยสามคนที่เป็นแกนนำมีพฤติการณ์สนับสนุนการชุมนุม โดย 1 ใน 3 มีพฤติการณ์เป็นผู้ปราศรัย ขณะที่จำเลยอีก 2 คนเดินทางมาด้วยกันและมีพฤติการณ์ช่วยกันขนย้ายเครื่องขยายเสียง ส่วนจำเลยคนอื่นที่ร่วมกันชูป้ายหรือถ่ายภาพยังไม่ถือว่าเป็นแกนนำหรือผู้จัดการชุมนุม 

คดีนี้หนึ่งในจำเลยที่ศาลเห็นว่าเป็นแกนนำพยายามต่อสู้ว่าเขาได้โทรศัพท์ไปแจ้งการชุมนุมกับทางตำรวจแล้ว แต่ศาลเห็นว่าพ.ร.บ.ชุมนุมกำหนดให้การแจ้งการชุมนุมต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อไม่มีลายลักษณ์อักษรจำเลยจึงมีความผิด 

จำเลยทั้งสามถูกปรับเงินในความผิดฐานไม่แจ้งการชุมนุมคนละ 3,000 บาท ส่วนจำเลยคนอื่นศาลยกฟ้อง โดยขณะนี้ (ธันวาคม 2562) คดีอยู่ในการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ 


คดีแม่น้องเกดทำกิจกรรมกรณี 6 ศพวัดปทุม 


ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2561 มีกระแสข่าวว่ามีนายทหารชั้นผู้ใหญ่เข้ามาพูดคุยกับอัยการสูงสุดให้ยุติการทำสำนวนคดีเหตุการณ์ความรุนแรงจากการสลายการชุมนุมในปี 2553 ที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 90 ศพ 
 
พะเยาว์ซึ่งเป็นแม่ของพยาบาลอาสาที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ดังกล่าวโพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า เธอจะทำกิจกรรมเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับผู้เสียชีวิตและคัดค้านการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมโดยทหาร
 
วันที่ 10 ธันวาคม 2561 เป็นวันทำกิจกรรม พะเยาว์และผู้ร่วมกิจกรรมส่วนหนึ่งถูกควบคุมตัวไปที่สถานีตำรวจ คดีนี้เจ้าหน้าที่แจ้งข้อกล่าวหาไม่แจ้งการชุมนุมกับพะเยาว์เพียงคนเดียว ส่วนผู้ร่วมกิจกรรมคนอื่นๆที่ถูกเชิญตัวไปที่สน.รวมทั้งพันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ ซึ่งเป็นนักกิจกรรมทางสังคมและเป็นพ่อของ "น้องเฌอ" ผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์สลายการชุมนุมปี 2553 อีกคนหนึ่งถูกกันตัวไปเป็นพยานและขึ้นให้การต่อศาลในฐานะพยานโจทก์

เดือนกรกฎาคม 2562 ศาลแขวงดุสิตพิพากษาลงโทษปรับพะเยาว์เป็นเงิน 1,000 บาท โดยให้เหตุผลว่า พะเยาว์มีพฤติการณ์โพสต์ข้อความเชิญชวนให้ประชาชนที่เห็นด้วยมาร่วมทำกิจกรรมบนเฟซบุ๊กที่มีการตั้งค่าเป็นสาธารณะ   


คดีพริษฐ์และธนวัฒน์แขวนพริกกระเทียมที่หน้าทำเนียบรัฐบาล 

 
1298

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2562 นักกิจกรรมนักศึกษาสองคน ได้แก่ พริษฐ์ (เพนกวิน) และธนวัฒน์นัดหมายกันนำพริกและกระเทียมไปแขวนที่ประตูรั้วทำเนียบรัฐบาล เพื่อตอบโต้กรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์พูดถึงคนที่เรียกร้องให้เขาลาออกจากนายกฯ และหัวหน้าคสช.เพื่อเป็นแคนดิเดทนายกฯ ที่เท่าเทียมกับคนอื่นๆ ว่า “ให้ลองมาไล่ดู”  ทั้งสองถูกควบคุมตัวหลังทำกิจกรรมได้ครู่หนึ่งและถูกตั้งข้อกล่าวหาไม่แจ้งการชุมนุมตามพ.ร.บ.ชุมนุม 
 
1299

ศาลให้เหตุผลประกอบการพิพากษาลงโทษปรับทั้งสองคนละ 2,000 บาท ว่า มีพฤติการณ์ชักชวนประชาชนที่เห็นด้วยให้มาร่วมการชุมนุม ทั้งสองจึงถือเป็นผู้จัดการชุมนุมที่มีหน้าที่ต้องแจ้งการชุมนุมตามกฎหมาย


คดีพริษฐ์และธนวัฒน์อ่านจดหมายเปิดผนึกถึงผบ.ทบ. 
 

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562 พริษฐ์และธนวัฒน์ชักชวนกันไปทำกิจกรรมอ่านจดหมายเปิดผนึกถึงผบ.ทบ.ที่หน้ากองบัญชาการกองทัพบก เพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยต่อกรณีที่ผบ.ทบ.ให้สัมภาษณ์กับสื่อว่าให้ไปฟังเพลงหนักแผ่นดินหลังมีพรรคการเมืองออกมาหาเสียงด้วยนโยบายลดงบประมาณกลาโหมรวม ทั้งมีแนวคิดให้นำเพลงดังกล่าวไปเปิดทางคลื่นวิทยุของกองทัพบก 
คดีนี้ศาลให้เหตุผลในการพิพากษาลงโทษปรับจำเลยทั้งสองเป็นเงินคนละ 2,000 บาทว่า ก่อนวันเกิดเหตุทั้งสองมีพฤติการณ์โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กที่ตั้งค่าเป็นสาธารณะ ประกาศนัดหมายสถานที่และเวลาทำกิจกรรม รวมทั้งมีการเขียนข้อความเชิญชวนให้ผู้ที่เห็นด้วยมาร่วมแสดงออก ข้อความดังกล่าวจึงถือเป็นการเชิญชวนให้บุคคลอื่นมาร่วมทำกิจกรรม จึงถือว่าทั้งสองเป็นผู้จัดกิจกรรมมีหน้าที่ต้องแจ้งการชุมนุมตามกฎหมาย      
 

คดีเอกชัยโชคชัยเปิดเพลง ‘ประเทศกูมี’ ที่หน้ากองบัญชาการกองทัพบก 

1301

ภาพจาก ประชาไท
 
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562 เอกชัยและโชคชัยชักชวนกันไปทำกิจกรรมเปิดเพลงประเทศกูมีที่หน้ากองบัญชาการกองทัพบก เพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยต่อกรณีที่ผบ.ทบ.ให้สัมภาษณ์กับสื่อว่าให้ไปฟังเพลงหนักแผ่นดินหลังมีพรรคการเมืองออกมาหาเสียงด้วยนโยบายลดงบประมาณกลาโหม รวมทั้งมีแนวคิดให้นำเพลงดังกล่าวไปเปิดทางคลื่นวิทยุของกองทัพบก 
คดีนี้ศาลให้เหตุผลในการพิพากษาลงโทษปรับจำเลยทั้งสองเป็นเงินคนละ 2,000 บาทว่า ก่อนวันเกิดเหตุทั้งสองมีพฤติการณ์โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กที่ตั้งค่าเป็นสาธารณะ ประกาศนัดหมายสถานที่และเวลาทำกิจกรรมและในสถานะเฟซบุ๊กดังกล่าวไม่มีการเขียนห้ามปรามไม่ให้บุคคลอื่นเข้าร่วมกิจกรรม ข้อความดังกล่าวจึงถือเป็นการเชิญชวนให้บุคคลอื่นมาร่วมทำกิจกรรม จึงถือว่าทั้งสองเป็นผู้จัดกิจกรรมมีหน้าที่ต้องแจ้งการชุมนุมตามกฎหมาย
 
1300
 
-----------------
 
ในภาพรวมจะเห็นว่าคดีที่จำเลยมีพฤติการณ์โพสต์ข้อความเชิญชวนประชาชนบนสื่อสังคมออนไลน์ที่ตั้งค่าการเข้าถึงเป็นสาธารณะจะถูกพิจารณาโดยศาลว่า เป็นผู้จัดการชุมนุมที่มีหน้าที่ต้องแจ้งการชุมนุมไปโดยปริยาย 

ในกรณีที่เป็นกิจกรรมขนาดเล็ก การที่ศาลนำพฤติการณ์การโพสต์ข้อความเชิญชวนคนออกมาร่วมชุมนุมหรือโพสต์ข้อความแจ้งวันเวลาและสถานที่ชุมนุม อาจพอเข้าใจได้ว่า ผู้จัดเป็นผู้โพสต์ข้อความด้วยตัวเอง แต่หากเป็นการชุมนุมที่มีขนาดใหญ่ ลำพังพฤติการณ์โพสต์ข้อความแจ้งเวลาและสถานที่การชุมนุมหรือกระทั่งชักชวนคนรู้จักมาร่วมการชุมนุมอาจยังไม่พอฟังได้ว่าคนๆ นั้นเป็นผู้จัดการชุมนุมที่มีหน้าที่ต้องแจ้งการชุมนุมหรือรับผิดชอบต่อการชุมนุม


"เขตพระราชฐาน" กับพื้นที่หน้าหอศิลป์ที่ยังรอความชัดเจน


มาตรา 7 วรรคหนึ่งของพ.ร.บ.ชุมนุม กำหนดว่า "การจัดการชุมนุมสาธารณะในรัศมีหนึ่งร้อยห้าสิบเมตรจากพระบรมมหาราชวัง พระราชวัง วังของพระรัชทายาทหรือของพระบรมวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าขึ้นไป พระราชนิเวศน์ พระตําหนัก หรือจากที่ซึ่งพระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท พระบรมวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าขึ้นไป หรือผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ ประทับหรือพานัก หรือสถานที่พํานักของพระราชอาคันตุกะ จะกระทำมิได้"
 
เท่าที่มีข้อมูล นับจากหลังการเลือกตั้ง 2560 เป็นต้นมา มีความเคลื่อนไหวของคดีที่มีการตั้งข้อกล่าวหานี้กับประชาชน 2 คดี ได้แก่
 

ในส่วนของคดีแกนนำ ศาลเริ่มสืบพยานในเดือนมิถุนายน 2562 แต่การพิจารณาคดียังไม่แล้วเสร็จ จึงต้องรอคำวินิจฉัยว่าศาลจะมีความเห็นในประเด็นรัศมีร้อยห้าสิบเมตรจากเขตพระราชฐานว่าอย่างไร
ในส่วนของคดีผู้ร่วมการชุมนุม คดีไม่ได้เข้าสู่ชั้นศาลเนื่องจากอัยการและพนักงานสอบสวนมีความเห็นร่วมกันสั่งไม่ฟ้องคดีในเดือนพฤศจิกายน 2562 เพราะเห็นว่าคดีไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ 
อย่างไรก็ตามผู้ต้องหา 28 คนในคดีนี้ก็ต้องเดินทางมาพบพนักงานสอบสวนและอัยการเป็นระยะนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2561 เป็นต้นมา หลังจากการชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งในปี 2561 พื้นที่สกายวอล์กหน้าหอศิลป์กรุงเทพก็ถูกใช้เป็นพื้นที่จัดการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์อยู่เป็นระยะ เช่น กิจกรรมกินมาม่าซ้อมอดอยากที่เกิดขึ้นในวันที่ 28 พฤษภาคม 2561  
 
หลังการเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 จนถึงก่อนหน้าวันที่ธนาธรประกาศจัดการชุมนุม #ไม่ถอยไม่ทน ในเดือนธันวาคม 2562 มีการทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์อย่างน้อยสามครั้งในพื้นที่สกายวอล์กหน้าหอศิลป์ฯ กรุงเทพ ได้แก่ 
 
o การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์แต่งชุดดำในวันที่ 24 พฤษภาคม 2562 เพื่อคัดค้านการสืบทอดอำนาจและคัดค้านคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญที่ให้ธนาธรหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ระงับการปฏิบัติหน้าที่ไว้จนกว่าศาลจะมีคำสั่ง  
 
1295
 
 
1297
 
 
1296
 
กิจกรรมทั้งหมดนั้นไม่มีใครถูกตั้งข้อกล่าวหาชุมนุมในรัศมีไม่เกิน 150 เมตรจากเขตพระราชฐานฯ 
 
หลังจากนั้นเมื่อธนาธรประกาศชุมนุมในวันที่ 14 ธันวาคม 2562 ข้อหาชุมนุมในรัศมีไม่เกิน 150 เมตรจากเขตพระราชฐานก็ถูกนำกลับมาใช้อีกครั้ง คงต้องติดตามต่อไปว่า ในกรณีของพื้นที่หอศิลป์ฯ กรุงเทพ คำพิพากษาคดีผู้จัดการชุมนุม #mbk39 ศาลมีการวินิจฉัยหรือไม่ว่าพื้นที่ใดที่อยู่พ้นรัศมี 150 เมตรจากเขตพระราชฐานของเจ้านายชั้นยศสมเด็จเจ้าฟ้าขึ้นไป ซึ่งในที่นี้หมายถึงวังสระปทุมนั่นเอง   
 
Report type: