1704 1905 1980 1266 1194 1432 1519 1912 1369 1845 1605 1620 1427 1077 1729 1190 1703 1711 1214 1131 1203 1261 1404 1338 1783 1138 1283 1180 1581 1253 1154 1744 1539 1539 1431 1161 1233 1356 1596 1411 1878 1767 1308 1872 1205 1199 1569 1215 1397 1862 1424 1462 1446 1295 1513 1420 1256 1551 1133 1452 1547 1698 1595 1223 1666 1820 1107 1748 1100 1594 1749 1003 1201 1569 1977 1674 1673 1638 1284 1259 1946 1040 1362 1605 1831 1076 1214 1585 1633 1751 1174 1132 1796 1115 1631 1029 1454 1629 1858 เก็บตกงานเสวนา เสาหลักต้องเป็นหลักอันศักดิ์สิทธิ์ - ศาลคือหน่วยงานสาธารณะที่ต้องถูกวิจารณ์และตรวจสอบโดยสาธารณะ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

เก็บตกงานเสวนา เสาหลักต้องเป็นหลักอันศักดิ์สิทธิ์ - ศาลคือหน่วยงานสาธารณะที่ต้องถูกวิจารณ์และตรวจสอบโดยสาธารณะ

วันที่ 7 ตุลาคม 2563 เวลา 13.00-16.30 น. ณ ห้อง321 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชจัดเสวนาในหัวข้อเรื่อง "เสาหลักต้องเป็นหลักอันศักดิ์สิทธิ์ : บทบาทศาลท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบัน" เพื่อพูดคุยถึงการออกข้อกำหนดของศาลรวมถึงใช้กฎหมายละเมิดอำนาจศาลในบริบทที่ศาลถูกดึงมีเข้ามาเป็นผู้ตัดสินคดีทางการเมืองท่ามกลางสถานการณ์ที่กำลังครุกรุ่ม รวมถึงร่วมแลกเปลี่ยนหาตำแหน่งที่ของศาลที่ควรจะเป็นในท่านกลางสถานการณ์ทางการเมืองที่มีความแหลมคม งานวันนี้มีนักศึกษาประมาณ 20 คนและมีประชาชนทั่วไปราว 15 คนร่วมฟังการเสวนา โดยมีผู้ร่วมเสวนาสามคนได้แก่ รัษฎา มนูรัษฎา ทนายความสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน  ผ.ศ.สาวตรี สุขศรี อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  และสัณหวรรณ ศรีสด จากคณะกรรมการนิติศาสตร์สากล (ICJ)

1508
สาวตรี สุขศรี: แก้กฎหมายละเมิดอำนาจศาล กำหนดบทลงโทษผู้พิพากษา และสร้างกลไกตรวจสอบอิสระจากภายนอกคือสามเรื่องเร่งด่วนของการปฏิรูประบบยุติธรรมไทย 
 
สาวตรีระบุว่า หน้าที่หลักๆของศาลคือการค้นหาความจริง ตัดสินข้อพิพาท รวมทั้งกำหนดบทลงโทษแก่ผู้กระทำความผิด การที่ศาลสามารถให้คุณให้โทษรวมถึงสามารถสั่งจำกัดสิทธิเสรีภาพของคนได้ย่อมจะทำให้มีผู้ที่เสียประโยชน์จากการทำหน้าที่ของศาลจึงต้องการกลไกเรื่องเครื่องมือพิเศษที่จะใช้เพื่อคุ้มครองให้ศาลสามารถเอานวยความยุติธรรมไปตามข้อเท็จจริงของพยานหลักฐานโดยปราศจากการแทรกแซง 
 
กฎหมายละเมิดอำนาจศาลเป็นกฎหมายที่ใช้กันในหลายประเทศรวมทั้งประเทศประชาธิปไตย ประเทศอย่างอังกฤษซึ่งใช้ common law หรือกฎหมายจารีต จะให้ความคุ้มครองผู้พิพากษาในกฎหมายละเมิดอำนาจศาลอย่างกว้างขวางโดยหมายรวมถึงการคุ้มครองเกียรติของผู้พิพากษา ขณะที่ในสหรัฐอเมริกาซึ่งใช้ระบบ common law เหมือนกันจะมีขอบเขตกฎหมายละเมิดอำนาจศาลที่แคบกว่าคือมุ่งเน้นคุ้มครองความสงบภายในศาลและห้องพิจารณาเท่านั้น แต่การวิพากษ์วิจารณ์ศาลเป็นเรื่องที่สาธารณชนสามารถทำได้ เพราะ Free Speech หรือเสรีภาพในการพูดถือเป็นคุณค่าที่สหรัฐให้ความสำคัญอันดับต้นๆในฐานะบทบัญญัติเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ 1  
 
สำหรับประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายแบบลายลักษณ์อักษรหรือ civil law กำหนดกรอบความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลไว้แค่การรักษาความเรียบร้อยระหว่างการพิจารณาคดีเท่านั้น หากการกระทำเป็นความผิดอื่น เช่น คู่ความหมิ่นประมาทผู้พิพากษา หากจะดำเนินคดีผู้พิพากษาต้องไปฟ้องคดีตามปกติ แต่ไม่ใช่การละเมิดอำนาจศาล นอกจากนั้นโทษของความผิดนี้ก็เป็นแค่เชิญออกนอกห้องพิจารณาคดีหรือหากไม่เชื่อฟังก็จะเป็นโทษกักขังแต่ไม่ใช่โทษจำคุก และระยะเวลาของการละเมิดข้อกำหนดศาลก็ไม่เกิน 1 สัปดาห์ เท่านั้น  
 
ที่สำคัญความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลก็เป็นความผิดที่มีการประกันหลัก due process หรือการได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมรับรองไว้ด้วย เช่นการมีทนายความหรือต้องใช้องค์คณะอื่นที่ไม่ใช่องค์คณะที่มีข้อพิพาทเรื่องการละเมิดอำนาจศาลเป็นผู้พิจารณา ซึ่งต่างจากกรณีของไทยที่ การไต่สวนและการมีทนายความไม่ได้เป็นการบัญญัติไว้ในตัวบทกฎหมายแต่เป็นดุลพินิจหรือความเมตตาของศาลในแต่ละองค์คณะ 
 
1509
 
ในกรณีของไทยกฎหมายละเมิดอำนาจศาลที่มีครั้งแรกย้อนไปถึงสมัยกฎหมายตราสามดวงที่พูดด้วยภาษาปัจจุบันสรุปได้ว่า หากคู่ความโต้เถียงกัน ให้ศาลห้ามปราม หากผู้ใดไม่ฟังให้เสมียนศาลนำไปจำขื่อไว้จนค่ำ ซึ่งจะเห็นได้ว่ากฎหมายเพียงแต่มุ่งคุ้มครองกระบวนการพิจารณาคดี มากระทั่งในร.ศ. 127 ที่มีการใช้กฎหมายลักษณะวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายไทยถูกตราโดยได้รับอิทธิพลจากกฎหมายอังกฤษ จึงมีการขยายความกฎหมายละเมิดอำนาจศาลให้กว้างจนกระทั่งต่อมาถึงในปัจจุบันที่เป็นความผิดตามประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง อย่างไรก็ตามสาวตรีก็เห็นว่าถ้าจะมีกฎหมายละเมิดอำนาจศาลในระบบกฎหมายไทยที่ยังพอทันสมัยอยู่บ้างก็คงเป็นในส่วนของศาลปกครองที่กำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรว่า องค์คณะที่จะทำหน้าที่พิจารณาจะต้องไม่ใช่องค์คณะที่มีเหตุละเมิดอำนาจศาล และโทษจำคุกอยู่ที่ไม่เกิน 1 เดือน แต่ไปเพิ่มโทษปรับแทนเป็นไม่เกิน 50000 บาท และมีข้อยกเว้นว่าหากการวิพากษ์วิจารณ์การพิจารณาหรือคำพิพากษาเป็นไปโดยสุจริตหรือด้วยวิธีทางวิชาการไม่ถือเป็นการละเมิดอำนาจศาล 
 
สาวตรีย้ำด้วยว่า แม้ประเทศไทยจะเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนแล้วแต่ศาลยังคงตัดสินใต้พระปรมาภิไธย จนบางครั้งอาจรู้สึกว่าสถาบันศาลไปยึดโยงกับความศักดิ์สิทธิ์บางประการ 
 
"หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 อำนาจกษัตริย์ในการตัดสินคดีถูกยกเลิกไป แต่วาทกรรมที่ว่าศาลตัดสินใต้พระปรมาภิไธยยังคงอยู่ ทำให้ศาลรู้สึกว่าตนเองยังคงมีความศักดิ์สิทธิ์บางอย่างเหนือประชาชน"
 
สาวตรีระบุด้วยว่าแม้ระบบยุติธรรมไทยจะมีกลไกตรวจสอบถ่วงดุลอยู่ แต่ก็เป็นระบบตรวจสอบภายในที่ไม่อยู่ในความรับรู้ของสาธารณะ ซึ่งตรงนี้ก็อาจทำให้สาธารณะมีคำถามถึงความเป็นอิสระของศาลได้ ที่ผ่านมาศาลมักกลัวว่าการกดดันของประชาชนในคดีที่เป็นประเด็นสาธารณะและเป็นที่สนใจจะกระทบต่อความเป็นอิสระของศาลจนเราเห็นกรณีที่มีคนไปชุมนุมที่หน้าศาลถูกดำเนินคดีละเมิดอำนาจศาล (คดีนักกิจกรรมละเมิดอำนาจศาลจังหวัดขอนแก่น) แต่ก็มีกรณีที่ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน ทำคำพิพากษาแล้วถูกเรียกสำนวนไปตรวจแก้ในสาระสำคัญดังกรณีผู้พิพากษาคณากร เพียรชนะ ตรงนั้นมีคำถามว่าเป็นการแทรกแซงภายในหรือไม่ 
 
สาวตรีทิ้งท้ายว่าหากในอนาคตจะมีการปฏิรูประบบศาล ส่วนตัวมองว่ามีประเด็นเร่งด่วนที่ต้องแก้ไข 3 อย่าง 1. ควรมีการกำหนดบทลงโทษที่ชัดเจนกับผู้พิพากษาตัดสินคดีไปโดยไม่ชอบที่ไม่ใช่แค่เรื่องโทษทางวินัยแต่ต้องเป็นโทษทางแพ่งหรืออาญาด้วย 2.องค์กรตรวจสอบศาลต้องเป็นองค์กรภายนอกส่วนที่มาจะเป็นอย่างไรก็ไปถกเถียงกันต่อได้ แต่ถ้ายังกลไกตรวจสอบภายในเพียงอย่างเดียว สาธารณะก็คงอดมีข้อกังขาไม่ได้เหมือนที่มีข้อกังขาต่อการตัดสินคดีทหารโดยทหารศาลว่าจะเที่ยงธรรมมากน้อยแค่ไหน และสามคือต้องไปแก้ไขกฎหมายละเมิดอำนาจศาลให้มีความชัดเจนและแคบเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์คือเพื่อคุ้มครองความเป็นอิสระให้ศาลตัดสินคดีได้รวดเร็วและยุติธรรมเท่านั้น
 
สัณหวรรณ ศรีสด: ในทางสากลผู้พิพากษาถือเป็นบุคคลสาธารณะที่ต้องถูกตรวจสอบหรือวิพากษ์วิจารณ์ได้มากกว่าคนทั่วไป      
 
สัณหวรรณระบุว่า กติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองหรือ ICCPR เป็นกติการะหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคี และมีพันธกรณีต้องให้ความคุ้มครองต่อประชาชน จริงอยู่ว่าการจำกัดเสรีภาพการแสดงออกสามารถทำได้ แต่ต้องเป็นไปตามหลักความจำเป็น มีกฎหมายเขียนชัดเจน และสมควรแก่เหตุ ในบริบทของการแสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์วิจารณ์ศาลหรือกระบวนการยุติธรรม ในทางสากลถือว่าองค์กรของรัฐรวมทั้งศาลถือเป็นบุคคลสาธารณะที่ต้องถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้มากกว่าบุคคลทั่วไป 
 
"ผู้พิพากษาของศาลถือเป็นบุคคลสาธารณะ ดังนั้นเขาก็สามารถจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้มากกว่าคนทั่วไป มากกว่า ไม่ใช่เท่ากับ เพราะเป็ฯบุคคลสาธารณะ และที่สำคัญผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์ไม่ควรมีโทษทางอาญา"
 
1510
 
กลับมาที่ประเด็นความเป็นอิสระของศาลสัณหวรรณระบุว่า หลักการบังกาลอร์ว่าด้วยจริยธรรมของตุลาการซึ่งผู้พิพากษาจากหลายประเทศทั่วโลกร่วมกันจัดทำขึ้น ก็มีประเด็นเกี่ยวกับการใช้กฎหมายละเมิดอำนาจศาลว่า ต้องเป็นทางเลือกสุดท้าย ต้องใช้อย่างระมัดระวัง ต้องรักษาสมดุลระหว่างความเรียบร้อยในกระบวนพิจารณาคดีกับการเปิดพื้นที่ให้ถกเถียงในทางสาธารณะ ผู้พิพากษาในฐานะที่เป็นบุคคลสาธารณะต้องเป็นผู้มั่นคงไม่อ่อนไหว ผู้พิพากษาไม่ใช่ผู้อยู่พ้นไปจากคำวิพากษ์วิจารณ์ และศาลไม่ควรตอบโต้ประชาชนหรือคำวิจารณ์ด้วยการดำเนินคดี 
 
ในระดับสากลเคยมีกรณีที่ศาลในฝรั่งเศสและตุรกีสั่งลงโทษนักวิชาการ สื่อมวลชนและทนายความที่วิพากษ์วิจารณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลด้วยกฎหมายละเมิดอำนาจศาลซึ่งต่อมาศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปก็มีคำวินิจฉัยว่าการกระทำดังกล่าวถือเป็นการละเมิดเสรีภาพในการแสดงออก และผู้พิพากษาในฐานะบุคคลสาธารณะต้องถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้มากกว่าคนทั่วไป ซึ่งดูจะต่างจากระบบกฎหมายไทยที่มีทั้งกฎหมายดูหมิ่นศาลซึ่งเป็นกฎหมายอาญาและกฎหมายละเมิดอำนาจศาลที่ถูกนำมาใช้ดำเนินคดีผู้แสดงออกในลักษณะวิพากษ์วิจารณ์ศาล
 
สัณหวรรณตั้งข้อสังเกตด้วยว่า กฎหมายละเมิดอำนาจศาลไทยยังมีความขัดแย้งกันเองกับข้อกำหนดของศาลที่หากฝ่าฝืนจะเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลด้วย กล่าวคือ หากสื่อมวลชนรายงานการพิจารณาในลักษณะบิดเบือนจะเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล แต่เมื่ออยู่ในห้องพิจารณาศาลก็เคยสั่งว่าห้ามจดเท่ากับว่าตัวสื่อจะตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะรายงานผิดพลาดจนเป็นการละเมิดอำนาจศาล  
 
ในส่วนของสถานการณ์ปัจจุบันที่ศาลเข้ามามีบทบาทตัดสินคดีการเมืองที่ประชาชนมีความสนใจและบางครั้งคำสั่งศาลนำไปสู่ความไม่พอใจจนมีคนมาชุมนุมแสดงออก สัณหวรรณระบุว่าหากพิจารณาเฉพาะกฎหมายละเมิดอำนาจศาล ไม่พูดถึงข้อกำหนดตามพ.ร.บ.ชุมนุมฯ ศาลในฐานะที่เป็นพื้นที่ของรัฐย่อมถือเป็นพื้นที่สาธารณะจึงควรจำกัดข้อห้ามการชุมนุมให้แคบที่สุด เช่น ห้ามใช้เสียงดังที่อาจรบกวนการพิจารณาคดี อย่างกรณีการไปชุมนุมที่ป้ายศาลก็น่าจะยังไม่เข้าข่ายกระทบต่อการพิจารณาคดี นอกจากนั้น ที่ในช่วงหลังๆศาลมักจำกัดการเข้าถึงห้องพิจารณาคดีโดยเฉพาะคดีที่มีคนสนใจ การเปิดให้สาธารณะชนเข้าไปร่วมฟังการพิจารณาคดีถือเป็นหลักประกันที่สำคัญของการพิจารณาคดีที่เป็นธรรมเพราะไม่เช่นนั้นก็จะไม่มีใครรับรู้ว่าศาลตัดพยานหลักฐานหรือรับฟังพยานหลักฐานอย่างไร 
 
รัษฎา มนูรัษฎา: การใช้อำนาจของศาลต้องคำนึงถึงความเป็นธรรม ไม่ใช่แค่มีอำนาจก็ใช้  
 
รัษฎาตั้งข้อสังเกตถึงการใช้อำนาจของศาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งในคดีของภาณุพงศ์ จาดนอกและอานนท์ นำภาที่เพิ่งเกิดขึ้น โดยในกรณีของอานนท์ นำภา รัษฎาระบุว่าตัวเขาไม่ได้อยู่ในห้องพิจารณาคดีด้วยตัวเอง แต่ได้ยินอานนท์ปราศรัยตอนหนึ่งว่าระหว่างพิจารณาถอนประกันคดีของอานนท์ศาลรับโทรศัพท์ที่มีคนโทรเข้ามา ซึ่งเขาก็เชื่อว่าอานนท์น่าจะพูดความจริงเพราะอานนท์ปราศรัยต่อสาธารณะ กรณีนี้หากเกิดขึ้นจริงมีคำถามว่าศาลทำผิดกฎเสียเองหรือเปล่าเพราะประชาชนทั่วไปไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้โทรศัพท์ในห้องพิจารณาคดีระหว่างที่มีการพิจารณาคดี 
 
รัษฎากล่าวต่อไปว่าในวันที่มีการพิจารณาคดีของอานนท์และภาณุพงศ์ ศาลมีการออกข้อกำหนดห้ามนำโทรศัพท์เข้าไปในบริเวณศาล ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าปัจจุบันนี้โทรศัพท์มือถือไม่ได้ใช่แค่โทรหากแต่ใช้ทำงานจัดการอื่นๆ สำหรับทนายความอย่างเขาก็ใช้บันทึกวันนัดความและบางกรณีก็อาจมีลูกความติดต่อเรื่องทางคดีเร่งด่วนเข้ามา แต่ศาลกลับออกข้อกำหนดไม่ให้นำโทรศัพท์เข้ามาในห้องพิจารณาคดี ซึ่งตัวเขาในฐานะทนายความก็ยืนยันไปว่าเขาทราบดีเรื่องการห้ามบันทึกภาพหรือเสียงภายในศาล และยินดีปฏิบัติตาม สุดท้ายเขาจึงนำโทรศัพท์เข้าไปได้ รัษฎาระบุว่าการออกข้อกำหนด ซึ่งหากฝ่าฝืนจะเป็นการละเมิดอำนาจศาล จำเป็นต้องคำนึงถึงเจตนารมณ์เบื้องต้นด้วย เช่นศาลห้ามบันทึกภาพและเสียงในคดีก็เพื่อคุ้มครองบุคคลที่อยู่ในห้องพิจารณาคดี และเพื่อคุ้มครองไม่ให้มีการบันทึกคำพยานไปให้พยานฝ่ายเดียวกันปากต่อไปฟังอันอาจกระทบต่อรูปคดี แต่การห้ามนำถึงการนำโทรศัพท์เข้าห้องพิจารณาอาจเป็นการออกข้อกำหนดที่กว้างขวางเกินไป 
 
1511
 
ในส่วนของการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนกับการละเมิดอำนาจศาล รัษฎาระบุว่าศาลที่รู้หลักการจะไม่ห้ามการจดเพียงแต่อาจจะเตือนสื่อไปว่าการรายงานหากมีลักษณะบิดเบือนหรือมีการเปิดเผยคำพยานในรายละเอียดจนอาจกระทบสิทธิทางคดีของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อาจเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลและเป็นความรับผิดชอบของตัวสื่อเอง แต่ศาลบางองค์คณะก็อาจใช้อำนาจสั่งห้ามจดเสียทีเดียวซึ่งการสั่งเช่นนั้นก็จะกระทบการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อรวมทั้งอาจกระทบสิทธิของประชาชนในการรับรู้ข้อมูลพื้นฐานของคดีที่อยู่ในความสนใจของสาธารณชน เช่น มีพยานคนใดมาบ้าง จะมีนัดพิจารณาต่อไปเมื่อใด 
 
รัษฎาระบุด้วยว่าศาลไทยดูจะมีความกังวลเรื่องความเป็นอิสระและการวิพากษ์วิจารณ์ที่อาจถูกมองว่าเป็นการกดดันหรือครอบงำจากภายนอก แต่ก็มีคำถามถึงความเป็นอิสระภายในศาลเอง ดังกรณีของผู้พิพากษาคณากร เพียรชนะ ที่ท่านระบุว่าท่านพิพากษายกฟ้องจำเลยเพราะมีความสงสัยในพยานหลักฐานตามสมควร แต่เมื่อส่งสำนวนไปให้ผู้ใหญ่ตรวจกลับถูกปรับแก้ในสาระสำคัญซึ่งที่จริงแล้วผู้บังคับบัญชาหรือผู้พิพากษาอาวุโสอาจให้คำแนะนำหรือความเห็นในการปรับแก้ได้ แต่ไม่ใช่มาตัดสินเองซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้จะก็ไม่แปลกที่ศาลจะถูกตั้งคำถามว่าผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนตัดสินคดีด้วยความอิสระไปตามพยานหลักฐานจริงหรือไม่ ซึ่งสุดท้ายผู้พิพากษาท่านนี้ก็ตัดสินใจใช้อาวุธปืนทำร้ายตัวเองจนเสียชีวิต
 
รัษฎาระบุว่า เท่าที่ตัวเขาเองเคยมีประสบการณ์มาก็มีอยู่บ้างที่ศาลเองแสดงบทบาทในฐานะเสาหลักและที่พึ่งของประชาชน เช่น กรณีประชาชนไปชุมนุมเรียกร้องการเลือกตั้งแล้วถูกฟ้องคดีมาตรา 116 ซึ่งสุดท้ายศาลก็พิพากษาว่าจำเลยไม่มีความผิดเพราะการเรียกร้องการเลือกตั้งเป็นการเรียกร้องตามรัฐธรรมนูญจะเป็นความผิดตามมาตรา 116 ได้อย่างไร รวมถึงคดีแจกเอกสารรณรงค์ประชามติที่จังหวัดราชบุรีซึ่งศาลยกฟ้องจำเลย ที่ถูกจับดำเนินคดีเพียงเพราะไปรณรงค์คัดค้านร่างรัฐธรรมนูญซึ่งทุกวันนี้ก็เห็นกันว่าเป็นปัญหา 
 
1512
Article type: