8ปีคสช. : ย้อนภาพการปราบชุมนุมที่คสช.ไม่ปลื้ม

วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 คสช.นำโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ทำการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ยกเลิกรัฐธรรมนูญ และนำประเทศเข้าสู่ระบอบเผด็จการทหาร การรัฐประหารครั้งนี้นอกจากเปลี่ยนระบอบการปกครองไปสู่ผู้นำที่ไม่ได้มาจากการเลือกของประชาชนแล้ว ยังเป็นจุดพลิกผันให้สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของชาวไทย ถอยหลังสวนกระแสโลก รัฐใช้นโยบายที่จริงจังในการปราบปรามการแสดงออกของประชาชนอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาจนเป็นเวลาครบแปดปี

ตลอดแปดปีที่ผ่านมา คสชใช้อำนาจปราบปรามประชาชนด้วยวิธีการทั้งในและนอกกฎหมาย รวมทั้งการใช้อำนาจออกกฎหมายใหม่ๆ มาสั่งห้ามการรวมตัว หากมีการรวมตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาล คสชก็มักตามมาด้วยคดีความ ผู้ชุมนุมต้องเผชิญการคุกคามด้วยวิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะแบบดั้งเดิมของในยุค คสชอย่าง การสร้างอุปสรรคทางกายภาพไม่ให้กิจกรรมเกิดขึ้น, การไปเยี่ยมบ้านการไปกดดันในที่ทำงาน หรือออกหมายเรียกให้ไปรับทราบข้อกล่าวหา วิธีการดังกล่าวจึงเป็นการตัดตอนการรวมกลุ่มของประชาชนอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบตลอดมา

คสช. 1 : วางคำสั่งห้ามชุมนุมทางการเมืองเพื่อรักษาอำนาจ

การก้าวเข้าสู่อำนาจของรัฐบาล คสชมาพร้อมกับประกาศคสช.ที่ 7/2557 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง หากฝ่าฝืนจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ การประกาศห้ามชุมนุมรวมทั้งการกำหนดโทษทางอาญาสำหรับผู้ฝ่าฝืน เป็นเครื่องมือที่คณะรัฐประหารใช้ควบคุมสถานการณ์และป้องกันการต่อต้านของประชาชน ในช่วงเดือนพฤษภาคมมิถุนายน 2557 คสช. อ้างข้อห้ามนี้และส่งกำลังทหารในเครื่องแบบพร้อมอาวุธเข้ายึดพื้นที่ใจกลางเมืองทุกครั้งที่มีการประกาศนัดหมายชุมนุมต่อต้านการรัฐประหาร 

ระหว่างที่การปราบปรามเดินไปอย่างเข้มข้นด้วยประกาศฉบับที่ 7/2557 มีประชาชนที่แสดงออกต่อต้านการรัฐประหารถูกจับกุมหลายร้อยคน และถูกทหารของ คสช. “เลือกสรรดำเนินคดีฐานฝ่าฝืนประกาศ คสช. ไปอย่างน้อย 52 คน ต่อมาวันที่ 1 เมษายน 2558 หัวหน้า คสชก็ใช้อำนาจพิเศษตามมาตรา 44″ ออกคำสั่ง ที่ 3/2558 ข้อ 12. มีข้อความห้ามมั่วสุม หรือชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป ลดโทษจำคุกเหลือไม่เกินหกเดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และมีข้อยกเว้นว่าหากคสช.อนุญาตให้ชุมนุมก็สามารถทำได้ แต่ในทางปฏิบัติไม่มีช่องทางในการขออนุญาตให้การชุมนุมเกิดขึ้นได้จริง 

คำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 ถูกใช้ในการปราบปรามประชาชนเพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนต่อต้าน คงไว้เพื่อความได้เปรียบทางการเมืองของ คสชอย่างชัดเจนในช่วงการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2559 กิจกรรมทางการเมืองก่อนการทำประชามติถูกปราบปราม ประชาชนที่คัดค้านไม่สามารถรณรงค์ได้อย่างอิสระ มีการปิดกั้นการจัดเสวนาเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ โดยการอ้างคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 มีคนอย่างน้อย 115 คนถูกดำเนินคดีฐานขัดคำสั่งหัวหน้า คสชที่ 3/2558 เหตุจากการรวมตัวกันเปิดศูนย์ปราบโกงการออกเสียงประชามติ จนท้ายที่สุดร่างรัฐธรรมนูญฉบับ คสชได้รับเสียงสนับสนุนมากกว่าเสียงคัดค้าน

ความผิดตามประกาศ และคำสั่งของ คสช. นี้ยังถูกกำหนดให้ต้องขึ้นพิจารณาคดีที่ศาลทหารด้วย

นอกจากประกาศและคำสั่งของคสช.แล้ว รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 กำหนดให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยกษัตริย์ทรงแต่งตั้งสมาชิกตามที่คสช.ถวายคำแนะนำ ต่อมาสมาชิกสนช. ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นทหาร ได้ทำตัวเป็นตรายางและพิจารณาผ่านกฎหมายจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือ ...การชุมนุมสาธารณะ 2558 (...ชุมนุมฯซึ่งประกาศลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558 

แม้จะออกพ...มาควบคุมการชุมนุมโดยตรงแล้ว แต่คำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมืองกลับถูกใช้ควบคู่ไปพร้อมกันกับ ...ชุมนุมฯ เป็น อาวุธ” สำคัญในการจำกัดเสรีภาพการแสดงออกควบคู่ไปกับพ...ชุมนุมฯ อย่างเป็นระบบตลอดมา แม้จะสร้างความสับสนให้ผู้ถูกบังคับใช้จนไม่รู้ว่าจะจัดชุมนุมได้อย่างไร แต่ก็ยังไม่เคยมีศาลใดอธิบายความชอบธรรมของการใช้กฎหมายทั้งสองฉบับนี้ไปพร้อมกันได้

ปี 2561 เป็นปีที่ถึงกำหนดให้ต้องจัดการเลือกตั้งตามารัฐธรรมนูญ 2560 แต่ คสชก็หาเหตุมาเลื่อนการเลือกตั้งออกไปหลายครั้ง ไม่มีท่าทีที่ชัดเจนต่อการเลือกตั้งทั่วไป ทำให้ประชาชนรวมตัวกันในนามกลุ่มคนอยากเลือกตั้งเพื่อเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งหลายครั้ง เช่น สกายวอล์ค ปทุมวันราชดำเนินมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปที่หน้ากองทัพบกและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การชุมนุมจบลงด้วยการดำเนินคดีแบ่งเป็นกลุ่มผู้จัดการชุมนุมและผู้ร่วมชุมนุม เฉพาะกรณีของผู้จัดการชุมนุมจะเห็นได้ว่า รัฐนำกฎหมายเท่าที่จะหาได้มาใช้ปราบปรามผู้เรียกร้องการเลือกตั้ง เช่น ข้อหายุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116, ข้อหาขัดคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 และข้อหาตามพ...ชุมนุมฯ 

คดีการเมืองเหล่านี้กลายเป็นภาระให้แก่ประชาชนในการพิสูจน์ความบริสุทธิ์และท้ายที่สุดศาลเริ่มทยอยยกฟ้อง เช่น คดีชุมนุมที่ราชดำเนิน ศาลอาญายกฟ้องเมื่อปี 2562  และคดีชุมนุมที่สกายวอล์ค ปทุมวัน ศาลอาญากรุงเทพใต้ยกฟ้องเมื่อปี 2563 

วันที่ 11 ธันวาคม 2561 คสชออกคำสั่งหัวหน้าคสชที่ 22/2561 ยกเลิกประกาศและคำสั่งคสช. 9 เรื่องสำคัญ รวมทั้ง ข้อ 12 ของคำสั่งหัวหน้า คสชที่ 3/2558 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง ปลดล็อคให้ประชาชนทำกิจกรรมสาธารณะได้อย่างสะดวกมากขึ้น และให้พรรคการเมืองเริ่มหาเสียงได้ แต่การยกเลิกดังกล่าวอาจเป็นเพียงฉากการเมืองฉากหนึ่งเท่านั้น เพราะ คสชยังคงไว้ซึ่งอำนาจบุกค้น เยี่ยมบ้านและเรียกบุคคลไปปรับทัศนติในค่ายทหาร 7 วัน ไม่นับรวมการเข้ากดดันเจ้าของสถานที่ที่ คสชทำมาตลอดกว่าสี่ปีที่ผ่านมา

คสช. 2 : อ้างเหตุโควิด ห้ามชุมนุมปฏิรูปสถาบันฯ

หลังการเลือกตั้งในปี 2562 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชายังได้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อ หลังจากนั้นก็เริ่มมีการจุดประกายการรวมตัวในที่สาธารณะ เริ่มจากเดือนธันวาคม 2562 ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่จัดแฟลชม็อบไม่ถอยไม่ทนที่มาบุญครอง ตามมาด้วยคดีตามพ...ชุมนุมฯ และเดือนมกราคม 2563 ก็เกิดกิจกรรมม็อบไล่ลุง” ดาวกระจายไล่ลุงในหลายจังหวัด และตามมาด้วยคดีความโดยมีพ...ชุมนุมฯ เป็นเครื่องมือหลัก 

ในช่วงต้นปี 2563 “แฟลชม็อบเกิดขึ้นในสถานศึกษาทั้งระดับมหาวิทยาลัยและโรงเรียนมัธยม แต่พ...ชุมนุมฯ ไม่สามารถใช้กับกิจกรรมในสถานศึกษาได้ ทำให้รัฐไม่มีเครื่องมือที่จะเข้าปิดกั้นได้อย่างทันท่วงที บรรยากาศการชุมนุมจึงเดินไปได้โดยตามมาด้วยการคุกคาม เช่น การออกกฎระเบียบของสถานศึกษา, การไปเยี่ยมที่บ้าน, การเรียกนักกิจกรรมไปพบและพูดคุย ต่อมาวันที่ 25 มีนาคม 2563 ประเทศไทยเผชิญการแพร่ระบาดของโควิด 19 ระลอกที่หนึ่ง พลเอกประยุทธ์อาศัยอำนาจตามพ...ฉุกเฉินฯ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 และสถานการณ์การบังคับใช้กฎหมายซ้ำซ้อนเพื่อควบคุมการชุมนุมก็กลับมาอีกครั้ง 

ตามมาตรา 3 ของพ...ชุมนุมฯ เว้นการใช้บังคับพ...ในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ ดังนั้น ตั้งแต่เริ่มเข้าสู่ยุคพ...ฉุกเฉินฯ การควบคุมการชุมนุมจึงต้องเป็นไปตามเงื่อนไขภายใต้พ...ฉุกเฉินฯ ที่ออกมาหลายฉบับ รวมทั้งประกาศของผู้บัญชาการทหารสูงสุดที่ทับซ้อนกับข้อกำหนดอีกชั้นหนึ่ง อย่างไรก็ตามในช่วงเวลากว่าสองปีภายใต้พ...ฉุกเฉินฯ มีจังหวะที่การแพร่ระบาดของโรคไม่มากนัก ทำให้มีการนำพ...ชุมนุมฯถูกมาใช้บังคับควบคู่กับพ...ฉุกเฉินฯ วันที่ 31 กรกฎาคม 2563 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ออกข้อกำหนดตามพ...ฉุกเฉินฯ ฉบับที่ 13  ให้ใช้พ...ชุมนุมฯ ในระหว่างสถานการณ์ฉุกเฉิน

ระหว่างนี้เองที่จุดการชุมนุมกลับมางอกงามอีกครั้ง เช่น การชุมนุมของคณะประชาชนปลดแอกเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2563 ที่ผู้เข้าร่วมเต็มถนนราชดำเนินกลาง และการชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร  เมื่อวันที่ 19-20 กันยายน 2563 ที่ท้องสนามหลวงคาดกันว่า มีผู้เข้าร่วมเฉียดแสนคน ความงอกงามไม่ได้มีเพียงแค่จำนวนที่นักกิจกรรมหรือผู้ติดตามการเมืองมาตลอดพูดกันว่า เป็นภาพที่ไม่คิดฝันมาก่อน แต่ยังมีการขยายตัวเรื่องประเด็นข้อเรียกร้อง แหลมคมที่สุด คือ การปฏิรูปสถาบันกษัตริย์และการรณรงค์ให้แก้รัฐธรรมนูญ 2560 ที่ตราขึ้นระหว่างการรัฐประหาร

เดือนธันวาคม 2563 เริ่มมีการแพร่ระบาดของโควิด 19 ระลอกที่สองพลเอกประยุทธ์ออกข้อกำหนดตามพ...ฉุกเฉินฯ ฉบับที่ 15 ข้อ 3 ระบุว่า “ห้ามมิให้มีการชุมนุม การทำกิจกรรม หรือการมั่วสุมกัน ในสถานที่แออัดหรือกระทำการดังกล่าวอันเป็นยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ภายในพื้นที่ที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคงกำหนด” มีผลให้ยกเลิกการใช้พ...ชุมนุมฯ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน แม้องค์ประกอบของการห้ามการชุมนุม คือ ห้ามการชุมนุมในที่แออัด แต่รัฐยังคงฉวยโอกาสนี้ในการปราบปรามผู้ชุมนุมโดยอ้างข้อกำหนดที่ออกตามความพ...ฉุกเฉินฯ ซึ่งมีเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด 19 อย่างต่อเนื่อง และแม้ว่า การแพร่ระบาดจะมีช่วงที่ทุเลาลง ข้อห้ามนี่ก็ยังคงอยู่    

แม้ผู้ชุมนุมจะพยายามที่จะปรับรูปแบบในการรวมตัวไม่ให้เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคก็ตาม เช่น การจัดคาร์ม็อบ” หรือ การจัดยืนหยุดขังและการรวมตัวในที่โล่ง เว้นระยะห่าง ไม่แออัด แต่การชุมนุมในปี 2564 ผู้ชุมนุมก็ได้รับคดีความกันอย่างต่อเนื่อง เมื่อการชุมนุมมีรูปแบบที่มุ่งตรงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ตำรวจต้องการหยุดการเดินขบวนหรือสลายการชุมนุมก็จะอ้างอำนาจตามข้อกำหนดของพ...ฉุกเฉินฯ รวมทั้งการสลายการชุมนุมด้วยความรุนแรง โดยใช้แก๊สน้ำตา กระสุนยาง ที่ขัดต่อหลักสากล ตำรวจก็อ้างเพียงเหตุว่า การชุมนุมนั้นเสี่ยงต่อการแพร่โรคจึงต้องยุติตาม...ฉุกเฉินฯ 

จากสถิติของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนระบุว่า ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2563 ถึงวันที่ 11 พฤษภาคม 2565 มีผู้ถูกดำเนินคดีตามพ...ฉุกเฉินฯ ไม่น้อยกว่า 1,445 คน  วัตถุประสงค์แรกเริ่มของพ...ฉุกเฉินฯ และบรรดาข้อกำหนดต่างๆ เกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากความต้องการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 แต่ท้ายสุดผู้ชุมนุมทางการเมืองตกเป็นเป้าเฝ้าระวังการใช้มาตรการตามกฎหมายและถูกดำเนินคดีตามพ...ฉุกเฉินฯ โดยที่ยังไม่มีรายงานว่า จุดเริ่มต้นการแพร่ระบาดของโรคเกิดจากการมารวมตัวกันเพื่อแสดงออกทางการเมืองในครั้งใด ปัจจุบันคดีตามพ...ฉุกเฉินฯ ศาลเริ่มทยอยยกฟ้องอย่างน้อยเก้าคดี ขณะที่อัยการสั่งไม่ฟ้องอย่างน้อยแปดคดี