1234 1622 1681 1314 1832 1671 1107 1456 1096 1545 1874 1053 1539 1080 1029 1272 1659 1493 1259 1503 1821 1461 1163 1025 1288 1236 1049 1896 1880 1670 1267 1171 1837 1265 1472 1186 1941 1221 1565 1363 1817 1015 1889 1454 1888 1677 1066 1081 1513 1999 1114 1278 1833 1159 1745 1250 1120 1428 1177 1778 1006 1219 1302 1976 1647 1801 1159 1816 1578 1389 1496 1885 1906 1626 1194 1146 1858 1272 1667 1976 1221 1074 1855 1372 1865 1756 1401 1978 1953 1389 1006 1346 1902 1024 1867 1882 1776 1469 1846 “ก็แค่มาตรวจให้นายเท่านั้นแหละ” ตำรวจเยี่ยมบ้าน 2 สมาชิก #ทะลุฟ้า ก่อนวันเฉลิมพระชนมพรรษา | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

“ก็แค่มาตรวจให้นายเท่านั้นแหละ” ตำรวจเยี่ยมบ้าน 2 สมาชิก #ทะลุฟ้า ก่อนวันเฉลิมพระชนมพรรษา

27 กรกฎาคม 2565 นักกิจกรรมทะลุฟ้าสองคนแจ้งว่า เมื่อช่วงเช้าตำรวจเข้า “เยี่ยมบ้าน” และพูดคุยกับผู้ปกครองของทั้งสองในลักษณะคล้ายคลึงกัน การคุกคามครั้งนี้อาจเกี่ยวเนื่องกับกรณีที่โลกออนไลน์นัดทำกิจกรรมสวมใส่เสื้อดำในวันที่ 28 กรกฎาคม 2565 ซึ่งตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษารัชกาลที่สิบ อย่างไรก็ตาม ทะลุฟ้าไม่ได้มีการประกาศทำกิจกรรมในวันนี้หรือเกี่ยวเนื่องกับการสวมเสื้อดำแต่อย่างใด
 
2535

 

เขาบอกว่า “โดนสั่งมาให้มาดูที่อยู่น้อง” แล้วก็ขอถ่ายรูปกับแม่เรา 

ออ นักกิจกรรมอายุ 20 ปี หนึ่งในสมาชิกที่ถูกเยี่ยมบ้านเล่าว่า เวลาประมาณ 10.00 น. แม่ของเธอโทรมาเพื่อแจ้งว่า ในเช้าวันนี้มีชายคนหนึ่งมาถามหาถึงบ้านที่จังหวัดบุรีรัมย์ โดยชายคนดังกล่าวเดินทางมาด้วยรถยนต์ส่วนตัวและแสดงบัตรให้ดูว่าเป็นตำรวจ พร้อมทั้งพยายามพูดคุยผูกมิตรกับแม่ของเธอ
 
“เขา [ตำรวจ] บอกว่า ‘โดนสั่งมาให้มาดูที่อยู่น้อง’ แล้วก็ขอถ่ายรูปกับแม่เรา เพื่อเอาไปยืนยันให้นายดูว่ามาแล้วนะ ซึ่งแม่เราไม่เคยโดนตำรวจไปเยี่ยมบ้าน แม่ก็เลยถ่ายรูปด้วยไปหนึ่งรูป แล้วเขาก็น่าจะถ่ายรูปบ้านไปด้วย”
 
“หลังจากนั้นเขาก็พูดดีกับแม่เรา บอกว่า ‘ก็แค่มาตรวจให้นายเท่านั้นแหละ ผมเข้าใจเด็กนะที่มันไปทำการเมือง เราเข้าใจ ไม่ต้องกลัว เรามาตรวจบ้านเฉยๆ มีอะไรโทรหาผมได้นะ ผมก็เข้าใจเด็ก’ แสดงว่าเขาน่าจะให้เบอร์แม่ไป และคิดว่าแม่ก็น่าจะแลกเบอร์ไปด้วย” 
 
ออเล่าด้วยว่า ตั้งแต่ต้นปี 2565 เคยมีตำรวจนอกเครื่องแบบมาขับรถวนบริเวณแถวบ้านของเธอหลายครั้งแล้ว แต่นี่เป็นครั้งแรกที่เจ้าหน้าที่เข้ามามีบทสนทนากับคนในบ้าน
 
ด้านการทำกิจกรรม ออเข้าร่วมเคลื่อนไหวกับกลุ่มทะลุฟ้าตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคม 2564 และมีคดีความจำนวนสองคดี ได้แก่ ข้อหาร่วมกันพยายามข่มขืนใจเจ้าพนักงานฯ และฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จากการไปทวงรถเครื่องเสียงที่สโมสรตำรวจ เมื่อ 2 สิงหาคม 2564 และข้อหาละเมิดอำนาจศาลเมื่อเดือนมกราคม 2565 ที่ทำให้เธอต้องเข้าไปอยู่ในเรือนจำเป็นเวลา 2 วัน 1 คืน ต่อมา ศาลตัดสินว่า เธอไม่มีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล 
 
เมื่อถามถึงความรู้สึก ออเล่าว่าไม่ได้กังวลเรื่องของตัวเอง แต่รู้สึกเป็นห่วงคนที่บ้านมากกว่า เนื่องจากการทำกิจกรรมทางการเมืองทำให้เธอต้องมาใช้ชีวิตที่กรุงเทพฯ เป็นหลัก และบ้านที่บุรีรัมย์ก็มักจะมีแต่แม่ที่อยู่เฝ้าบ้านเพียงคนเดียว
 
“บ้านเราอยู่บุรีรัมย์ แต่ตอนนี้เรามาอยู่กรุงเทพฯ แล้วแม่เราไม่เคยเจอตำรวจ แม่อยู่บ้านคนเดียว ส่วนพ่อจะไปทำงานต่างจังหวัดตลอดวันจันทร์ถึงศุกร์… แม่เป็นคนเฟรนลี่ อัธยาศัยดี ตำรวจบอกอะไรก็ทำตาม ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ”
 
อย่างไรก็ตาม ออเล่าว่าหลังจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ แม่ของเธอก็ไม่ได้ห้ามปรามเรื่องการทำกิกรรม เพียงแต่ขอให้ระมัดระวังการใช้คำพูดให้มากขึ้น เนื่องจากกลัวว่าอาจจะทำให้ครอบครัวเดือดร้อนได้
 
“เขาไม่ได้สนับสนุน แต่เขาก็ไม่ได้ห้าม เขารู้ว่าเราดื้อ…” ออกล่าวทิ้งท้าย
 

ตำรวจเยี่ยมบ้าน 7 ครั้งในรอบครึ่งปี 

วันเดียวกันและช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ‘เป้ง’ นามสมมติ สมาชิกกลุ่มทะลุฟ้าอีกคนที่ถูกเยี่ยมบ้านเล่าว่า ช่วงเวลาประมาณ 10.00-11.00 น. มีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบจำนวน 3-4 นายมายืนอยู่ที่หน้าบ้านพักหนึ่ง ก่อนจะกดกริ่งเรียกคนในบ้าน แต่เนื่องจาก ‘เป้ง’ ไม่อยู่บ้าน แม่ของ ‘เป้ง’ จึงคุยกับเจ้าหน้าที่ผ่านไมค์กริ่ง โดยเจ้าหน้าที่ถามถึงเขาเพียงสั้นๆ ว่า “อยู่ที่บ้านไหม ตอนนี้ไปไหน น้องได้กลับมาบ้านบ้างไหม” ซึ่งแม่ของ ‘เป้ง’ ก็ให้ข้อมูลไปตามจริงว่าช่วงนี้เขาไม่ได้กลับบ้านเลย
 
“เขาไม่ได้มีท่าทีคุกคาม ผมคิดว่าเป็นคำสั่งของนายเขา เขาก็เลยมาดู มาเช็คสภาพ” 
 
‘เป้ง’เล่าว่า เท่าที่ทราบตั้งแต่ช่วงปลายปี 2564 การมาเยี่ยมบ้านของเจ้าหน้าที่ในวันนี้นับเป็นครั้งที่ 6-7 แล้ว โดยทุกครั้งที่มาก็จะไม่ใส่เครื่องแบบ แต่เขาบอกว่า “ดูออกว่าเป็นตำรวจ” เนื่องจากทุกคนที่มาจะใส่หมวกในลักษณะเดียว และเมื่อมาถึงก็จะมายืนมองอยู่หน้าบ้าน
 
“มันมีครั้งหนึ่งที่ผมแวะกลับไปเอาของสำคัญที่บ้านและวางรองเท้าเอาไว้หน้าบ้าน แล้ววันนั้นตำรวจก็มาพอดี เขาก็ถ่ายรองเท้าผมไป แล้วก็กลับบ้านเลย ได้กลับไปรูปเดียว รูปรองเท้าผม” ‘เป้ง’ เล่าอย่างติดตลก
 
ทั้งนี้ ในช่วงเย็นของวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 เวลา 18.00-19.12 น. ทางกลุ่มทะลุฟ้าได้จัดกิจกรรม #ยืนหยุดขังประเทศไทย บริเวณถนนคนเดินสยามสแควร์ เพื่อเรียกร้องสิทธิประกันตัวให้กับนักกิจกรรมทางการเมืองอย่างน้อย 30 คนที่ยังอยู่ในเรือนจำ ซึ่งในจำนวนนี้เป็นสมาชิกทะลุฟ้าจำนวน 8 คน ได้แก่แซม-พรชัย ยวนยี ที่ถูกออกหมายจับในมาตรา 112 เมื่อ 7 กรกฎาคม 2565 ตามมาด้วยคำสั่งขังสมาชิกอีก 7 คน ได้แก่ อาทิตย์, คิม, ทู, ชาติ, คาริม, ป่าน และเจมส์ ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2565 ภายหลังอัยการสั่งฟ้องคดีสาดสีหน้าพรรคประชาธิปัตย์จากการชุมนุมเมื่อหนึ่งปีก่อน นอกจากนี้ ปัจจุบันยังมีสมาชิกทะลุฟ้าอีกจำนวน 4 คนที่ได้รับการประกันตัวในคดีอื่นๆ ภายใต้เงื่อนไขการติดกำไล EM ได้แก่ ไผ่, ปูน, ต๋งและยาใจ 
 
นอกจากกรณีของทะลุฟ้าแล้ว วันที่ 28 กรกฎาคม 2565 เวลา 14.40 น. ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี นักกิจกรรมหญิงซึ่งเข้าร่วมกิจกรรม #ยืนหยุดขังประเทศไทย หน้าตึกอัยการสุราษฎร์ยังให้ข้อมูลในลักษณะเดียวกันว่า มีเจ้าหน้าที่เดินทางไปเยี่ยมบ้านของเธอเพื่อสอบถามว่ากิจกรรมดังกล่าวเกี่ยวข้องกับสถาบันหรือไม่ และในวันที่ 30-31 กรกฎาคม 2565 ซึ่งรัชกาลที่ 10 จะเสด็จพระราชดำเนินไปยังจังหวัดสุราษฎร์ธานีนั้น เธอตั้งใจจะทำกิจกรรมทางการเมืองอะไรในช่วงเวลาดังกล่าวหรือไม่
 
นับจากกระแสเรียกร้องทางการเมืองหลังการชุมนุมของเยาวชนปลดแอกในปี 2563 หนึ่งในสามข้อเรียกร้องหลักเรื่อง #ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ได้ส่งผลให้ที่ผ่านมา ช่วงวันสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ได้กลายเป็นช่วงเวลาอ่อนไหวที่ทำให้เจ้าหน้าที่รัฐต้องเดินสายเยี่ยมบ้านนักกิจกรรมก่อนพระราชพิธีสำคัญจะเกิดขึ้น เช่น กรณีเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2565 ไอซ์ เยาวชนอายุ 15 ปี เล่าว่า มีนอกเครื่องแบบเดินทางมาถามไถ่ความเป็นอยู่ของเขาถึงที่พัก พร้อมทั้งร้องขอไม่ให้ทำกิจกรรมระหว่างการเคลื่อนขบวนเสด็จในวันรุ่งขึ้น หรือกรณีเมื่อ 6 เมษายน 2565 กันต์ นักกิจกรรมเยาวชน อายุ 17 ปี เล่าว่า มีตำรวจมาสังเกตการณ์ที่หน้าบ้านและกำชับครอบครัวไม่ให้เขาทำกิจกรรมในวันจักรี เป็นต้น
ชนิดบทความ: