1227 1475 1237 1604 1706 1059 1090 1124 1283 1610 1699 1295 1676 1472 1353 1461 1748 1148 1102 1615 1411 1850 1985 1277 1684 1480 1007 1905 1476 1073 1931 1410 1470 1664 1309 1381 1953 1222 1205 1205 1387 1272 1460 1077 1553 1765 1685 1161 1733 1729 1103 1763 1341 1993 1484 1436 1883 1265 1885 1278 1493 1921 1218 1334 1908 1993 1171 1065 1740 1059 1255 1093 1203 1480 1702 1526 1802 1373 1528 1971 1770 1445 1718 1454 1569 1681 1009 1963 1133 1301 1200 1029 1273 1021 1110 1236 1956 1821 1193 ครบ 1 เดือน คดีสาดสีพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ได้ประกันตัว! 7 (+3) ทะลุฟ้า เตรียมไปศาล ตรวจพยานหลักฐาน 22 ส.ค. 65 | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ครบ 1 เดือน คดีสาดสีพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ได้ประกันตัว! 7 (+3) ทะลุฟ้า เตรียมไปศาล ตรวจพยานหลักฐาน 22 ส.ค. 65

22 สิงหาคม 2565 ศาลอาญากำหนดนัดตรวจพยานหลักฐาน ในคดีที่ผู้ชุมนุมกลุ่มทะลุฟ้า 10 คน เป็นจำเลยจากการจัดชุมนุมเรียกร้องให้พรรคประชาธิปัตย์เลิกสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และถอนตัวจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล เมื่อ 30 กรกฎาคม 2564 บริเวณหน้าที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ เขตพญาไท ซึ่งในคดีนี้ มีจำเลย 7 คนที่ไม่ได้รับการประกันตัวและถูกคุมขังมาเกินหนึ่งเดือนแล้วจะถูกเบิกตัวมาศาลเพื่อเข้าฟังการพิจารณาคดีด้วย
 
เอกสารคำฟ้องในคดีระบุว่า ในวันจัดการชุมนุมดังกล่าว ผู้ชุมนุมทำกิจกรรมปาถุงสีแดงเข้าไปในบริเวณที่ทำการพรรค รวมทั้งมีการเผาหุ่นฟาง ติดสติ๊กเกอร์ และเขียนข้อความต่างๆ บริเวณอาคารที่ทำการพรรค จึงเป็นเหตุให้ราเมศ รัตนะชเวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะตัวแทนของผู้เสียหายเข้าร้องทุกข์ให้ตำรวจดำเนินคดีกับผู้ชุมนุม ต่อมา ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2565 ตำรวจตั้งข้อกล่าวหา ชุมนุมฝ่าฝืนข้อกำหนดตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, มั่วสุมก่อความวุ่นวายหรือใช้กำลังประทุษร้าย, บุกรุกโดยใช้กำลังประทุษร้าย, ทำให้เสียทรัพย์ ฯลฯ ต่อผู้ชุมนุมกลุ่มทะลุฟ้า ได้แก่
 
  1. ทรงพล สนธิรักษ์ (ยาใจ)
  2. เจษฎาภรณ์ โพธิ์เพชร (บอมเบย์)
  3. ศักดิ์สิทธิ์ เผือกผ่องศรี (เจมส์)
  4. กตัญญู หมื่นคำเรือง (ป่าน)
  5. จิตริน พลาก้านตง (คาริม)
  6. ทวี เที่ยงวิเศษ (อาทิตย์)
  7. ชาติชาย ไพรลิน (ชาติ)
  8. ทสมา สมจิตร์ (คิม)
  9. กฤษณะ มาตย์วิเศษ (ทู)
และ นวพล ต้นงาม (ไดโน่) ซึ่งตามมารายงานตัวเมื่อ 2 สิงหาคม 2565 เนื่องจากก่อนหน้านี้ติดโควิด-19
 
2555
 
จำเลยทั้ง 10 คนไปรายงานตัวต่อพนักงานสอบสวนตามนัด และอัยการได้สั่งฟ้องทั้ง 10 คนในเกือบหนึ่งปีหลังเหตุการณ์การชุมนุม นอกจากนี้ ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2565 ยังเป็นวันแรกที่กลุ่มทะลุฟ้าในนาม “ราษฎร” จัดการชุมนุมปักหลักนอนหน้าอาคารรัฐสภาเป็นเวลา 5 วัน (19-23 กรกฎาคม 2565) เพื่อติดตามการประชุมสภาอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ซึ่งเป็นสถานการณ์คล้ายกันกับช่วงที่กลุ่มทะลุฟ้าจัดการชุมนุมเมื่อหนึ่งปีก่อน (กรกฎาคม 2564) เพื่อเรียกร้องให้พรรคประชาธิปัตย์ไม่สนับสนุนให้รัฐบาลของพล.อ.ประยุทธ์ ได้ไปต่อ
 
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าทุกคนจะไปรายงานตัวตามนัด แต่ศาลก็มีคำสั่งให้ประกันตัวแค่ 3 คน คือ ยาใจ บอมเบย์ และไดโน่ ส่วนอีก 7 คน ศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัว โดยให้เหตุผลว่า “จำเลยมีพฤติกรรมใช้ความรุนแรงก่อให้เกิดอันตรายแก่ทรัพย์สินของบุคคลอื่น หากให้ประกันตัวอาจก่อให้เกิดอันตรายประการอื่นได้อีก” ทำให้ทั้ง 7 คนถูกส่งตัวเข้าเรือนจำ โดยป่าน และคิม อยู่ที่ทัณฑสถานหญิงกลาง และอีก 5 คน อยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ มาตั้งแต่เย็นของวันที่ 19 กรกฎาคม 2565
 
หลังจากนั้นทนายความยังยื่นคำร้องประกันตัวใหม่อีกครั้งเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 และศาลสั่งไม่อนุญาต เพราะไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม รวมทั้งทนายความยังได้พยายามยื่นประกันตัวเป็นกรณีเฉพาะของคิม ซึ่งยังเป็นนักศึกษาที่มีภาระต้องเข้าเรียน และเจมส์ ซึ่งมีภาระทำงานหารายได้เป็นกำลังหลักของครอบครัว แต่ศาลก็ไม่อนุญาต
 
ต่อมา 18 สิงหาคม 2565 ศูนย์ทนายฯ รายงานว่า ทนายความได้เข้ายื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวป่านเป็นครั้งที่ 3 โดยเสนอให้ตั้ง กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิคณะก้าวหน้า เป็นผู้กำกับดูแลหากได้รับการประกันตัว และศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตโดยระบุว่ายังไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม เช่นเดียวกันกับวันที่ 19 สิงหาคม 2565 ทนายความได้เข้ายื่นคำร้องขอปล่อยตัวเจมส์ครั้งที่ 4 โดยยินยอมให้ติดอุปกรณ์ EM และเสนอให้ศาลแต่งตั้งพี่สาวของเจมส์เป็นผู้กำกับดูแล ซึ่งศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตและระบุเหตุผลเหมือนกันกับกรณีของป่าน
 
นับถึงวันที่ 21 สิงหาคม 2565 ทั้ง 7 คนถูกคุมขังมาเกินหนึ่งเดือนแล้ว และศาลอาญามีนัดตรวจพยานหลักฐาน โดยพนักงานอัยการจะยื่นเอกสารหลักฐาน และระบุชื่อพยานฝ่ายโจทก์ทั้งหมด ขณะที่จำเลยก็จะต้องแถลงแนวทางการต่อสู้คดี พร้อมกับนำเสนอพยานหลักฐานของฝ่ายจำเลยเช่นกัน โดยจำเลยทั้ง 10 คนจะต้องมาศาล และนี่จะเป็นคนแรกที่ผู้ถูกคุมขังทั้ง 7 คนจะถูกเบิกตัวออกมาจากเรือนจำนับตั้งแต่เริ่มถูกคุมขัง
 
ทนายความของจำเลยตั้งใจว่า หากศาลตรวจพยานหลักฐานเสร็จแล้ว และศาลได้เห็นแล้วว่าฝ่ายโจทก์ไม่ได้มีหลักฐานที่จะกล่าวหาหรือทำให้จำเลยต้องรับโทษจำคุกเป็นเวลานาน ก็จะยื่นขอประกันตัวทุกคนอีกครั้ง และขอให้ศาลไต่สวนประกอบการขอประกันตัว เพื่อรับรองว่าทุกคนจะไม่หลบหนีในระหว่างการพิจารณาคดีด้วย
 

สรุปคำฟ้องคดีกลุ่มทะลุฟ้า ชุมนุมสาดสีหน้าพรรคประชาธิปัตย์

อัยการฟ้องว่า จำเลยที่ 1-9 ร่วมกันกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายบท หลายกรรมต่างกัน ดังนี้
 
1. เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2564 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1-9 และผู้ร่วมชุมนุมทางการเมืองประมมณ 50-60 คน รวมกันในนามกลุ่มทะลุฟ้า จัดกิจกรรมการรวมกลุ่มชุมนุมทางการเมืองเพื่อไปยื่นหนังสือเรียกร้องทางการเมืองต่อพรรคประชาธิปัตย์ โดยเคลื่อนขบวนจากถนนพระรามหก ไปยังถนนเศรษฐศิริ ไปยังที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ซึ่งถูกประกาศให้เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด โดยไม่ได้จัดให้มีมาตรการป้องกันโรคโควิด19 อันเป็นการจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มกันมากกว่าห้าคนที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรคในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด, เป็นการชุมนุม ทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค โดนไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัด อันเป็นการฝ่าฝืนต่อข้อกำหนดและประกาศที่ออกตามอำนาจของพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มีโทษจำคุกไม่เกินสองปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท
 
2. จำเลยที่ 1-9 กับผู้ชุมนุมทางการเมืองอื่นมั่วสุดตั้งแต่สิบคนขึ้นไป เคลื่อนขบวนไปยังบริเวณถนนหน้าที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ ใช้เครื่องเสียงที่ติดตั้งบนรถยนต์กระบะปราศรัย ซึ่งขณะนั้นมีตำรวจจัดกำลังดูแลโดยนำแผงเหล็กไปวางกั้นทางเข้าที่ทำการพรรค จัดกำลังตำรวจและเจ้าหน้าที่ของพรรคประชาธิปัตย์ไปยืนกั้นบริเวณดังกล่าว จากนั้นจำเลยกับผู้ชุมนุมใช้กำลังประทุษร้าย หรือทำให้เกิดความวุ่ยวายในบ้านเมือง ด้วยการด่าทอ ตำหนิ โห่ไล่ตำรวจ และขว้างปาถุงสีเข้าไปในที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ อันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215 มีโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
 
3. หลังจากนั้นพ.ต.ท.วรภัทร สุขไทย รองผู้กำกับการสอบสวน สน.บางซื่อ ได้สั่งให้จำเลยกับผู้ชุมนุมเลิกไปโดยให้ยุติการชุมนุม แต่จำเลยกับผู้ชุมนุมทราบคำสั่งแล้ว ยังคงไม่เลิกการชุมนุม อันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายอาญามาตรา 216 มีโทษจำคุกไม่เกินสามปี ปรับไม่เกิน 6,000 บาท
 
4. หลังจากนั้นจำเลยและผู้ชุมนุม ได้บุกรุกเข้าไปในที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ อันเป็นอสังหาริมทรัพย์ในความครอบครองของพรรคประชาธิปัตย์โดยไม่ได้รับอนุญาต และไม่มีเหตุอันสมควร โดยร่วมกันใช้กำลังประทุษร้ายตำรวจและเจ้าหน้าที่ของพรรคประชาธิปัตย์ด้วยการใช้กำลังดันแผงเหล็กที่วางไว้บริเวณทางเข้าที่ทำการพรรคจนสามารถเข้าไปภายในที่ทำการพรรคได้ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์โดยปกติสุข อันเป็นการฝ่าฝืนประมวลหมายอาญา มาตรา 362, 365 ฐานบุกรุกโดยใช้กำลังประทุษร้าย มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ปรับไม่เกิน 2,000 บาท และจำคุกไม่เกินห้าปี ปรับไม่เกิน 10,000 บาท ตามลำดับ
 
5. จำเลยและผู้ชุมนุม ได้ทำให้เสียหาย เสื่อมค่า ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ของผู้เสียหายโดยร่วมกันขว้างปาถุงสีไปที่ป้ายชื่อของพรรคประชาธิปัตย์ และผนังของพรรค ใช้สีป้ายบริเวณประตูทางเข้าอาคารที่ทำการพรรค นำสติ๊กเกอร์และกระดาษที่มีข้อความหยาบคาย และรูปภาพล้อเลียนบุคคลไปติดที่ประตูทางเข้าภายในที่ทำการของพรรค และได้จุดไฟเผาหุ่นฟางที่บริเวณพื้นของพรรค จนป้าย ผนังอาคาร พื้น ของพรรคเสียหาย รวมค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 6,328 บาท
 
6. จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 7 ทำการโฆษณาแสดงความคิดเห็นโจมตีการบริหารราชการของรัฐบาลต่อประชาชนทั่วไป โดยใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกำลังไฟฟ้าซึ่งติดตั้งอยู่บนรถยนต์กระบะคันดังกล่าว โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และไม่ได้รับยกเว้น อันเป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรา 4 ของพ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ.2493 มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
 
จนถึงวันที่ 21 สิงหาคม 2565 มีสมาชิกทะลุฟ้าที่ถูกคุมขังในเรือนจําจากคดีทางการเมืองมากถึง 9 คน นอกจาก 7 คนในคดีสาดสีแล้ว ยังมี แซม-พรชัย ยวนยี ที่ถูกนำตัวส่งเข้าเรือนจำเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565 จากคดี ม.112  และแม็ก-สินบุรี แสนกล้า ภายกลังเข้าแสดงตัวที่ สน.นางเลิ้งตามหมายจับข้อหาวางเพลิงฯ เมื่อ 8 สิงหาคม 2565 โดยตัวเลขดังกล่าว ทำลายสถิติของเดือนตุลาคม 2564 ที่มีสมาชิกทะลุฟ้าไม่ได้รับการประกันตัวในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันเป็นจำนวน 6 คน ได้แก่ ไผ่-จตุภัทร์, อาทิตย์, ปีก, เปา, ยาใจ และไดโน่  
ชนิดบทความ: