1969 1686 1373 1004 1740 1821 1693 1467 1937 1589 1217 1323 1833 1776 1917 1491 1925 1382 1310 1873 1363 1065 1116 1232 1320 1547 1876 1743 1228 1275 1705 1030 1944 1927 1799 1304 1493 1217 1902 1662 1269 1760 1079 1853 1020 1452 1895 1354 1895 1091 1080 1854 1766 1183 1520 1890 1053 1935 1151 1440 1917 1897 1374 1649 1532 1961 1136 1187 1885 1570 1214 1195 1109 1400 1918 1433 1732 1645 1581 1374 1034 1727 1148 1073 1283 1438 1103 1766 1764 1474 1006 1515 1236 1845 1454 1932 1553 1660 1572 สถิติการพิจารณาลงโทษสื่อมวลชนภายใต้กลไก กสทช. ตั้งแต่ 22 พฤษภาคม 2557 | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

สถิติการพิจารณาลงโทษสื่อมวลชนภายใต้กลไก กสทช. ตั้งแต่ 22 พฤษภาคม 2557

อัพเดทข้อมูลล่าสุดวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2562


1071

 

จากรายงานการประชุมของ กสทช. เท่าที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 – 22 กุมภาพันธ์ 2562 พบว่า มีการออกมติให้ลงโทษสื่อมวลชนจากการนำเสนอเนื้อหาในประเด็นทางการเมือง โดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามประกาศและคำสั่ง คสช. ที่เกี่ยวข้อง, บันทึกข้อตกลงระหว่างสื่อและกสทช. และมาตรา 37 ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ ไปแล้ว อย่างน้อย 59 ครั้ง สถานีที่ถูกสั่งลงโทษมากที่สุดคือวอยซ์ ทีวี 24 ครั้ง และรองลงมาคือ พีซทีวี 14 ครั้ง ในจำนวนการปิดกั้นทั้งหมดมีไม่น้อยกว่า 39 ครั้งที่ กสทช. พิจารณาลงโทษสื่อ ตามเงื่อนไขของประกาศและคำสั่งของ คสช.

 

ชื่อสถานี

จำนวน

วอยซ์ ทีวี

24

ตักเตือน

12

ปรับปรุงเนื้อหารายการ

2

ระงับการออกอากาศรายการ 7 วัน

2

ระงับการดำเนินรายการของพิธีกร 10 วัน

1

ระงับการดำเนินรายการของพิธีกร 7 วัน/ปรับ50,000บาท

1

ระงับการออกอากาศทั้งสถานี 7 วัน

1

ระงับการออกอากาศรายการ 15 วัน

2

ระงับการออกอากาศรายการ 3 วัน

2

ทำความเข้าใจ

1

พีซ ทีวี

14

เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการ

1

ตักเตือน

3

ปรับ 50,000 บาท

1

ระงับการออกอากาศทั้งสถานี 15 วัน

1

ระงับการออกอากาศทั้งสถานี 30 วัน

2

ระงับการออกอากาศทั้งสถานี 7 วัน

2

อุทธรณ์เพิกถอนคำสั่งคุ้มครองของศาลปกครอง

3

ทีวี 24

3

ปรับ 50,000 บาท

1

ระงับการออกอากาศทั้งสถานี 30 วัน

1

ระงับการออกอากาศทั้งสถานี 7 วัน

1

ดีเอ็มซี ทีวีธรรมกาย

2

เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการ

1

ระงับการออกอากาศทั้งสถานี 30 วัน

1

สถานีวิทยุกล้าตะวัน

2

ตักเตือน

1

ระงับการออกอากาศทั้งสถานี 30 วัน

1

สถานีวิทยุกระจายเสียงคนคลองสาม

2

ระงับการออกอากาศทั้งสถานี

1

ระงับการออกอากาศทั้งสถานี 30 วัน

1

สปริงนิวส์ ทีวี

2

ปรับ 50,000 บาท

1

ระงับการออกอากาศรายการ 30 วัน

1

เนชั่น ทีวี

1

ปรับ 50,000 บาท

1

ไทยพีบีเอส

1

ตักเตือน

1

ทีนิวส์

1

ปรับ 50,000 บาท

1

ฟ้าวันใหม่

1

ตักเตือน

1

วัน ทีวี

1

ตักเตือน

1

สถานีวิทยุ 1 ปณ FM 98.5 MHz

1

ระงับการออกอากาศทั้งสถานี 7 วัน

1

สถานีวิทยุกระจายเสียงรักเชียงใหม่ 51

1

ระงับการออกอากาศทั้งสถานี 7 วัน

1

สถานีวิทยุชุมพรซิตี้ เรดิโอ

1

ระงับการออกอากาศทั้งสถานี 7 วัน

1

นิวส์วัน

1

ระงับการออกอากาศทั้งสถานี 7 วัน

1

ไบร์ท ทีวี

1

     ตักเตือน

1

รวม

54

 

 

1. ทีนิวส์ (ปรับ 50,000 บาทและให้ขออภัยผู้ถูกพาดพิง)
ผู้ร้องเรียน  -
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557, มาตรา 37 ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ

วันที่ 23 มีนาคม 2558 ที่ประชุม กสท. พิจารณาเนื้อหารายการเปิดประเด็นร้อน ตอน “กระชาก หน้ากากบรรพตล้มเจ้าและสัมพันธ์ที่แนบกับระบอบทักษิณ” ของสถานีทีนิวส์ มีมติเสียงข้างมากเห็นว่า รายการดังกล่าวมีลักษณะเป็นการให้ข้อมูลข่าวสารที่หมิ่นประมาทบุคคลอื่น และส่อให้เกิดความสับสน ยั่วยุ ปลุกปั่นให้เกิดความขัดแย้ง หรือสร้างให้เกิดความแตกแยกในราชอาณาจักร อันเป็นการต้องห้ามมิให้ออกอากาศตามประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557 จึงมีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ซึ่งต้องห้ามมิให้ออกอากาศตามมาตรา 37 ของพ.ร.บ.การประกอบกิจการฯ กำหนดโทษปรับทางปกครองเป็นเงินจำนวน 50,000 บาท และแก้ไขโดยให้ออกอากาศขออภัยในความผิดพลาดและการพาดพิงบุคคลอื่น
 
2. พีซ ทีวี (ตักเตือน)
ผู้ร้องเรียน  คณะทำงานติดตามสื่อฯ คสช.
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง บันทึกข้อตกลงระหว่าง กสทช. และพีซ ทีวี

วันที่ 23 มีนาคม 2558 ที่ประชุม กสท. พิจารณาเนื้อหารายการมองไกล ของสถานี พีซ ทีวี มีมติเสียงข้างมากเห็นว่า รายการดังกล่าวมีลักษณะส่อให้เกิดความสับสน ยั่วยุ ปลุกปั่นให้เกิดความขัดแย้ง หรือสร้างให้เกิดความแตกแยกในราชอาณาจักร ซึ่งเป็นการละเมิดเงื่อนไขในบันทึกข้อตกลงที่ พีซ ทีวี ทำไว้กับกสทช. ผิดเงื่อนไขในการประกอบกิจการโทรทัศน์ จึงให้มีคำสั่งทางปกครองตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรไม่ให้ พีซ ทีวี ออกอากาศที่มีเนื้อหาในลักษณะดังกล่าว มิเช่นนั้นจะใช้มาตรการพักใช้ใบอนุญาตประกอบกิจการฯ
 
3. ทีวี24 (ระงับการออกอากาศทั้งสถานี 7 วัน)
ผู้ร้องเรียน -
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557 บันทึกข้อตกลงระหว่าง กสทช. และทีวี24

วันที่ 30 มีนาคม 2558 ที่ประชุม กสท.พิจารณาเนื้อหารายการ Awakened และรายการ News Room และรายการ The Clear ของสถานีทีวี24 เห็นว่า มีลักษณะเป็นการให้ข้อมูลที่ก่อให้เกิดความสับสน ยั่วยุ ปลุกปั่นให้เกิดความขัดแย้งหรือสร้างความแตกแยกในราชอาณาจักร อันเป็นการต้องห้ามมิให้ออกอากาศตามประกาศ คสช.ที่ 97/2557 และ 103/2557 และยังละเมิดบันทึกข้อตกลงระหว่าง กสทช. และทีวี24 จึงกําหนดโทษทางปกครองพักใช้ใบอนุญาตการออกอากาศเป็นเวลา 7 วัน

ข้อสังเกต มติดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า การกำกับและกำหนดโทษทางปกครองของ กสท. ไม่มีความชัดเจนในแนวปฏิบัติ ทั้งที่เป็นการถูกกล่าวหาว่า กระทำความผิดครั้งแรกเช่นเดียวกับกรณีของสถานี พีซ ทีวี แต่กลับกำหนดโทษทางปกครองแตกต่างกัน ซึ่งปรากฏในข้อสังเกต ของพันเอกนที ศุกลรัตน์ ประธานกสท. ที่ระบุว่า การกำหนดโทษทางปกครองของทีวี24 ควรมีกระบวนการ ขั้นตอนที่เป็นมาตรฐานเดียวกันกับกรณีการกำหนดโทษของสถานีพีซ ทีวี กล่าวคือ มีการตักเตือนพร้อมแจ้งมาตรการทางปกครองก่อนจะดำเนินกระบวนการตามลำดับ
 
4. พีซ ทีวี (ระงับการออกอากาศทั้งสถานี 7 วัน)
ผู้ร้องเรียน คณะทำงานติดตามสื่อฯ คสช.
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557, มาตรา 37 ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ

วันที่ 30 มีนาคม 2558 ที่ประชุม กสท.พิจารณาเนื้อหารายการมองไกล รายการคิดรอบด้าน รายการเดินหน้าต่อไป และรายการเข้าใจตรงกันนะ เห็นว่า มีลักษณะเป็นการให้ข้อมูลที่ก่อให้เกิดความสับสน ยั่วยุ ปลุกปั่นให้เกิดความขัดแย้งหรือสร้างความแตกแยกในราชอาณาจักร อันเป็นการต้องห้ามมิให้ออกอากาศตามประกาศ คสช.ที่ 97/2557 และ 103/2557 จึงเป็นการละเมิดมาตรา 37 ของพ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงฯ จึงกําหนดโทษทางปกครองพักใช้ใบอนุญาตการออกอากาศเป็นเวลา 7 วัน

5. วอยซ์ ทีวี (ตักเตือน)
ผู้ร้องเรียน -
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง –

 วันที่ 30 มีนาคม 2558 ที่ประชุม กสท. รับทราบผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหา เห็นควรมีหนังสือขอให้บริษัทใช้ความระมัดระวัง ความละเอียดรอบคอบ ในการตรวจสอบเนื้อหารายการก่อนที่จะนำออกอากาศที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้โดยง่าย รวมตลอดถึงการพิจารณาความเหมาะสมของผู้ดำเนินรายการที่ควรจะต้องมีการนำเสนอเนื้อหารายการโดยมุ่งเน้นการรายงานข้อเท็จจริง และเว้นการวิพากษ์วิจารณ์ด้วยถ้อยคำที่รุนแรงและการนำเสนอความคิดเห็นส่วนบุคคลต่อเหตุการณ์ที่นำมาออกอากาศ

6. สถานีวิทยุชุมพรซิตี้ เรดิโอ (ระงับการออกอากาศ 7 วัน)
ผู้ร้องเรียน คณะทำงานติดตามสื่อฯ คสช.
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557, บันทึกข้อตกลงระหว่าง กสทช. และสถานีวิทยุชุมพรซิตี้ เรดิโอ

วันที่ 20 เมษายน 2558 กสท.มีมติเสียงข้างมากพักใช้ใบอนุญาตสถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อความมั่นคง “ชุมพรซิตี้ เรดิโอ” โดยเห็นว่า เนื้อหารายการที่ถูกร้องเรียนเป็นการกล่าวอ้างอย่างเลื่อนลอยปราศจากข้อเท็จจริงและทำให้เกิดความสับสนและสร้างความแตกแยกให้กับประชาชนที่ได้รับ จึงเป็นเนื้อหาที่ต้องห้ามไม่ให้ออกอากาศตามประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557 และขัดต่อบันทึกข้อตกลงการออกอากาศที่สถานีทำไว้กับ กสทช.

ขณะที่พันเอกนที ศุกลรัตน์ ประธานกสท.ได้ขอสงวนความเห็นต่อมติดังกล่าว โดยระบุว่า ที่ประชุมยังไม่ได้เสนอข้อเท็จจริงที่ชัดเจนว่า สถานีออกอากาศเนื้อหาส่วนใดที่เข้าข่ายการละเมิดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือบันทึกข้อตกลงที่สถานีได้ทำไว้กับกสทช. หรือตามประกาศคสช. และจากข้อเท็จจริงดังกล่าวปรากฏชัดเพียงว่า เป็นการวิพากษ์วิจารณ์โดยทั่วไป เช่นเดียวกับสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกสทช.ที่มองว่า เนื้อหาดังกล่าวเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมืองที่สื่อสามารถกระทำได้ แม้จะมีลักษณะเลือกข้างทางการเมืองหรือวิจารณ์ด้านเดียว ใช้ภาษาเสียดสีหรือกระทบตัวบุคคล แต่ไม่ถึงขั้นที่สร้างความเกลียดชังหรือยั่วยุให้เกิดความรุนแรงหรือละเมิดสิทธิผู้อื่น
 
7. พีซ ทีวี (เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียง)
ผู้ร้องเรียน คณะทำงานติดตามสื่อฯ คสช.
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง บันทึกข้อตกลงระหว่าง กสทช. กับพีซ ทีวี

วันที่ 27 เมษายน 2558 ที่ประชุมกสท. พิจารณาเนื้อหารายการมองไกล สถานี พีซ ทีวี เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2558  เห็นว่า เนื้อหาที่ออกอากาศในรายการมองไกล มีลักษณะที่ส่อให้เกิดความสับสน ยั่วยุปลุกปั่น ให้เกิดความขัดแย้งและสร้างให้เกิดความแตกแยกในราชอาณาจักร ซึ่งเป็นการขัดต่อบันทึกข้อตกลงในการออกอากาศระหว่าง กสทช. กับ พีซ ทีวี ทั้งก่อนหน้านี้ได้มีมาตรการตักเตือนเรื่องเนื้อหาของสถานี พีซ ทีวี ไปแล้วสองครั้ง โดยครั้งแรกมีหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรให้ปฏิบัติตามกฎหมายและเงื่อนไขที่กำหนดในบันทึกข้อตกลงการออกอากาศ และครั้งที่สองมีคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบกิจการเป็นเวลา 7 วัน แต่ พีซ ทีวี ยังคงออกอากาศที่มีเนื้อหารายการในลักษณะเช่นเดิมอีก อันเป็นการกระทำความผิดซ้ำ จึงมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียง

ข้อสังเกต หลังจากมีคำสั้งปิดสถานีครั้งนี้ พีซ ทีวี นำกรณีนี้ไปฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อให้เพิกถอนมติของ กสท. และต่อมาศาลปกครองมีคำสั่งให้คุ้มครองชั่วคราวระหว่างการพิจารณา ถือเป็นครั้งแรกๆ ที่สถานีโทรทัศน์คัดค้านอำนาจการลงโทษของ กสท. โดยนำเรื่องไปถึงศาลปกครอง และเป็นโอกาสที่ศาลปกครองใช้อำนาจตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจจากกลไกลของ คสช. ครั้งแรกตั้งแต่ คสช. เข้ายึดอำนาจ
 
8. วอยซ์ ทีวี (ตักเตือน)
ผู้ร้องเรียน -
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง -

วันที่ 11 พฤษภาคม 2558 ที่ประชุม กสท. รับทราบผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหา เห็นควรมีหนังสือขอให้บริษัทใช้ความระมัดระวัง ความละเอียดรอบคอบ ในการตรวจสอบเนื้อหารายการก่อนที่จะมีการนำออกอากาศที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้โดยง่าย รวมตลอดถึงการพิจารณาความเหมาะสมของผู้ดำเนินรายการที่ควรจะต้องมีการนำเสนอเนื้อหารายการโดยมุ่งเน้นการรายงานข้อเท็จจริง และเว้นการวิพากษ์วิจารณ์ด้วยถ้อยคำที่รุนแรงและการนำเสนอความคิดเห็นส่วนบุคคลต่อเหตุการณ์ที่นำมาออกอากาศ อันนี้ไม่รู้ว่า รายการอะไร เมื่อไรเลย ผู้ดำเนินรายการคือใคร?

9. วอยซ์ ทีวี (ปรับปรุงเนื้อหารายการ)
ผู้ร้องเรียน คณะทำงานติดตามสื่อฯ คสช.
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง -

วันที่ 3 มิถุนายน 2558  คณะอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหารายการ กสทช. พิจารณาเนื้อหารายการ Wake Up Thailand เรื่องต้องปรับร่างรัฐธรรมนูญถ้าไม่อยากล้ม ออกอากาศวันที่ 27 เมษายน 2558 และเรื่องรำลึกถึงความสูญเสียของคนไทยในพฤษภาอำมหิต ออกอากาศวันที่ 20 พฤษภาคม 2558 มีมติ 2 ข้อคือ ให้วอยซ์ ทีวีดำเนินการปรับปรุงรูปแบบการนำเสนอเนื้อหาให้เป็นไปตามที่คณะอนุกรรมการฯ ได้ให้ความเห็น เพื่อไม่ให้ขัดต่อมาตรา 37 ของ พ.ร.บ. ประกอบกิจการฯ หรือขัดต่อบันทึกข้อตกลงระหว่าง กสทช. และวอยซ์ ทีวี และให้รับทราบถึงการดำเนินการของ วอยซ์ ทีวี ที่จะงดการออกอากาศรายการ Wake Up Thailand เป็นเวลา 2 สัปดาห์

อย่างไรก็ดีไม่ปรากฏการพิจารณาเนื้อหารายการดังกล่าวในชั้นที่ประชุม กสท. มีเพียงการรับทราบเรื่องร้องเรียนและต่อมาในวันที่ 15 มิถุนายน 2558 ประธานอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหารายการแจ้งต่อที่ประชุม กสท.ว่า การปรับปรุงรูปแบบการนำเสนอเนื้อหารายการนั้น วอยซ์ ทีวีได้เสนอขอปรับปรุงรูปแบบการนำเสนอเนื้อหารายการดังกล่าวเอง

10. นิวส์วัน (ตักเตือน)
ผู้ร้องเรียน -
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557 และบันทึกข้อตกลงระหว่าง กสทช. และนิวส์วัน

วันที่ 17 สิงหาคม 2558 ที่ประชุม กสท. พิจารณาเนื้อหารายการคุยมันส์ทันข่าว ออกอากาศทางสถานีนิวส์วัน ออกอากาศเมื่อวันศุกร์ที่ 19, 26 มิถุนายน และ 14 กรกฎาคม 2558 โดยที่ประชุมมีมติเอกฉันท์เห็นว่า รายการมีเนื้อหาต้องห้ามไม่ให้ออกอากาศตามประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557 และขัดต่อบันทึกข้อตกลงระหว่าง กสทช. และนิวส์วัน เห็นสมควรมีคำสั่งทางปกครองเตือนให้ละเว้นการออกอากาศที่มีเนื้อหาลักษณะดังกล่าว หากไม่ปฏิบัติตามจะมีมาตรการที่สูงขึ้นตามลำดับ
 
11. พีซ ทีวี (ยื่นข้อเท็จจริงประกอบการอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครอง)
ผู้ร้องเรียน -
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557, บันทึกข้อตกลงระหว่าง กสทช. และพีซ ทีวี

วันที่ 17 สิงหาคม 2558 ที่ประชุม กสท. พิจารณาเนื้อหารายการเหลียวหลังแลไปข้างหน้าเพื่อประชาธิปไตย และรายการเข้าใจตรงกันนะของสถานี พีซ ทีวี โดยที่ประชุมเสียงข้างมากเห็นว่า รายการมีเนื้อหาต้องห้ามไม่ให้ออกอากาศตามประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557 และขัดต่อบันทึกข้อตกลงระหว่างกสทช.และ พีซ ทีวี  อันเป็นการกระทำความผิดซ้ำซาก แม้ว่าศาลปกครองกลางจะได้มีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับตามคำสั่ง กสท. ที่เพิกถอนใบอนุญาตออกอากาศ แต่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งให้ทุเลาการบังคับของศาลปกครองกลางโดยศาลปกครองสูงสุด ที่ประชุมจึงมีมติให้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองสูงสุดประกอบการพิจารณา กรณี กสทช. อุทธรณ์ขอให้ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งทุเลาของศาลปกครองกลาง

12. วันทีวี (ตักเตือน)
ผู้ร้องเรียน -
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557 และบันทึกข้อตกลงระหว่าง กสทช. และวันทีวี

 วันที่ 17 สิงหาคม 2558 ที่ประชุม กสท. พิจารณาเนื้อหารายการเส้นผมบังภูเขาและรายการแฉกระจายของสถานี วันทีวี มีมติว่า รายการมีเนื้อหาต้องห้ามไม่ให้ออกอากาศตามประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557 และขัดต่อบันทึกข้อตกลงระหว่าง กสทช. และวันทีวี จึงเห็นสมควรมีคำสั่งทางปกครองเตือนให้ละเว้นการออกอากาศที่มีเนื้อหาลักษณะดังกล่าว

13. วอยซ์ ทีวี (ตักเตือน)
ผู้ร้องเรียน
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557, บันทึกข้อตกลงระหว่าง กสทช. และวอยซ์ ทีวี

วันที่ 24 สิงหาคม 2558 ที่ประชุมกสท. มีมติว่า รายการ Tonight Thailand ของสถานีวอยซ์ ทีวี เทปที่ออกอากาศวันที่ 13 กรกฎาคม 2558 มีเนื้อหาขัดต่อประกาศ คสช. ฉบับที่ 97 /2557 และ 103/2557 และเป็นการขัดต่อบันทึกข้อตกลงที่วอยซ์ ทีวีได้ทำไว้กับ กสทช. จึงส่งหนังสือตักเตือนไปยังวอยซ์ ทีวี ให้ปรับปรุงเนื้อหาต้องห้ามดังกล่าว

14. พีซ ทีวี (ยื่นข้อเท็จจริงประกอบการอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครอง)
ผู้ร้องเรียน -
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557, บันทึกข้อตกลงระหว่าง กสทช. และพีซ ทีวี

วันที่ 31 สิงหาคม 2558 ที่ประชุม กสท. พิจารณาเนื้อหารายการ กล้าประชาธิปไตย รายการคนกลางคลอง และรายการห้องข่าวเล่าเรื่องสุดสัปดาห์ รายการเข้าใจตรงกันนะ และรายการฟังความ รอบด้าน ตอน นักศึกษาประชาธิปไตยของสถานีพีซ ทีวี มีมติว่า รายการมีเนื้อหาต้องห้ามไม่ให้ออกอากาศตามประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557 และขัดต่อบันทึกข้อตกลงระหว่าง กสทช. และพีซ ทีวี  อันเป็นการกระทำความผิดซ้ำซาก แม้ว่าศาลปกครองกลางจะได้มีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับตามคำสั่ง กสท. ที่เพิกถอนใบอนุญาตออกอากาศ แต่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งให้ทุเลาการบังคับของศาลปกครองกลางโดยศาลปกครองสูงสุด ที่ประชุมจึงมีมติให้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองสูงสุดประกอบการพิจารณา กรณี กสทช. อุทธรณ์ขอให้ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งทุเลาของศาลปกครองกลาง

15. ฟ้าวันใหม่ (ตักเตือน)
ผู้ร้องเรียน -
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557, บันทึกข้อตกลงระหว่าง กสทช. และฟ้าวันใหม่

วันที่ 14 กันยายน 2558 ที่ประชุม กสท. พิจารณาเนื้อหารายการรายการถอนพิษ รายการข่าวฟ้ายามเย็นและรายการ วิเคราะห์คอลัมนิสต์ โดยที่ประชุมมีมติเอกฉันท์เห็นว่า รายการมีเนื้อหาต้องห้ามไม่ให้ออกอากาศตามประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557 และขัดต่อบันทึกข้อตกลงระหว่าง กสทช. และฟ้าวันใหม่ เห็นสมควรมีคำสั่งทางปกครองเตือนให้ละเว้นการออกอากาศที่มีเนื้อหาลักษณะดังกล่าว หากไม่ปฏิบัติตามจะมีมาตรการที่สูงขึ้นตามลำดับ

16. พีซ ทีวี (ยื่นข้อเท็จจริงประกอบการอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครอง)
ผู้ร้องเรียน -
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557, บันทึกข้อตกลงระหว่าง กสทช. และพีซ ทีวี

วันที่ 14 กันยายน 2558 ที่ประชุม กสท. พิจารณาเนื้อหารายการห้องข่าวเล่าเรื่องสุดสัปดาห์ รายการห้องข่าวเล่าเรื่องสุดสัปดาห์ รายการเหลียว หลังแลไปข้างหน้าเพื่อประชาธิปไตย รายการเข้าใจตรงกันนะ และรายการห้องข่าวเล่าเรื่องของสถานี พีซ ทีวี มีมติว่า รายการมีเนื้อหาต้องห้ามไม่ให้ออกอากาศตามประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557 และขัดต่อบันทึกข้อตกลงระหว่างกสทช.และพีซ ทีวี  อันเป็นการกระทำความผิดซ้ำซาก แม้ว่าศาลปกครองกลางจะได้มีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับตามคำสั่ง กสท. ที่เพิกถอนใบอนุญาตออกอากาศ แต่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งให้ทุเลาการบังคับของศาลปกครองกลางโดยศาลปกครองสูงสุด ที่ประชุมจึงมีมติให้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองสูงสุดประกอบการพิจารณา กรณี กสทช. อุทธรณ์ขอให้ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งทุเลาของศาลปกครองกลาง

17. พีซ ทีวี (ยื่นข้อเท็จจริงประกอบการอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครอง)
ผู้ร้องเรียน -
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557, บันทึกข้อตกลงระหว่าง กสทช. และพีซ ทีวี

 วันที่ 21 กันยายน 2558 ที่ประชุม กสท. พิจารณาเนื้อหารายการห้องข่าวเล่าเรื่องสุดสัปดาห์ รายการห้องข่าวเล่าเรื่องสุดสัปดาห์ รายการเราพี่น้องกัน รายการคิดรอบด้านและรายการเข้าใจตรงกันนะของสถานี พีซ ทีวี มีมติว่า รายการมีเนื้อหาต้องห้ามไม่ให้ออกอากาศตามประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557 และขัดต่อบันทึกข้อตกลงระหว่าง กสทช. และพีซ ทีวี  อันเป็นการกระทำความผิดซ้ำซาก แม้ว่าศาลปกครองกลางจะได้มีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับตามคำสั่ง กสท. ที่เพิกถอนใบอนุญาตออกอากาศ แต่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งให้ทุเลาการบังคับของศาลปกครองกลางโดยศาลปกครองสูงสุด ที่ประชุมจึงมีมติให้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองสูงสุดประกอบการพิจารณา กรณี กสทช. อุทธรณ์ขอให้ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งทุเลาของศาลปกครองกลาง

18. ไทยพีบีเอส (ตักเตือน)
ผู้ร้องเรียน คณะทำงานติดตามสื่อฯ คสช.
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง มาตรา 37 ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ

วันที่ 9 พฤศจิกายน 2558 กสท. พิจารณาเนื้อหาสกู๊ปข่าวเรื่อง นักศึกษากลุ่มดาวดิน ในรายการ ที่นี่ Thai PBS โดยเห็นพ้องว่า การนำเสนอเนื้อหาไม่ขัดต่อมาตรา 37 ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ แต่มอบหมายให้คณะอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหารายการเชิญผู้แทนสถานีไทยพีบีเอสมาตักเตือนด้วยวาจา การพิจารณาเนื้อหาดังกล่าวสืบเนื่องจากคณะทำงานติดตามสื่อฯ กองทัพบกได้ส่งหนังสือด่วนมากมายัง กสทช. รายงานความไม่เหมาะสมของสกู๊ปข่าวดังกล่าวว่า มีเนื้อหาวิพากษ์ถึงการแสดงออกของกลุ่มบุคคลที่สื่อสารต่อสังคมว่า การควบคุมอำนาจโดยทหารไม่ใช่แค่ปัญหาระดับขั้วอำนาจ แต่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อปัญหาอื่นๆ อีกมากมาย

โดยในการพิจารณาในชั้นคณะอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหารายการมีมติว่า การนำเสนอสกู๊ปข่าวขัดต่อประกาศคสช.ที่ 7/2558 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง มีลักษณะที่ทำให้เห็นว่า สามารถมีการชุมนุมได้ และการนำเสนอเนื้อหาของรายการขาดความรอบด้านอันก่อให้เกิดความเข้าใจผิดของประชาชน ขัดต่อความสงบเรียบร้อยตามมาตรา 37 ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ กำหนดโทษปรับเป็นเงินจำนวน 50,000 บาท ก่อนที่ในการพิจารณาชั้นที่ประชุม กสท. จะเปลี่ยนมติเป็นว่า ไม่ขัดต่อมาตรา 37 ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ

19. วอยซ์ ทีวี (ระงับรายการ 3 วัน)
ผู้ร้องเรียน -
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 ที่ประชุม กสท. พิจารณาเนื้อหา รายการ The Daily Dose เรื่อง ปัญหา: คนส่วนน้อยไม่ยอมรับมติจากเสียงส่วนใหญ่ออกอากาศเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559 มีมติเห็นว่า มีเนื้อหาขัดต่อประกาศ คสช. ฉบับที่97/2557 และ 103/2557 และเป็นการขัดต่อบันทึกข้อตกลงที่ วอยซ์ ทีวี ได้ทำไว้กับ กสทช. จึงมีคำสั่งระงับการออกอากาศรายการ The Daily Dose เป็นเวลา 3 วัน

20. วอยซ์ ทีวี (ตักเตือน)
ผู้ร้องเรียน -
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง -

วันที่ 7 มีนาคม 2559 ที่ประชุม กสท. มีมติมอบหมายให้คณะอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหาเชิญผู้รับผิดชอบรายการ Voice News และ Voice Insight ที่ออกอากาศวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559 มาตักเตือนเกี่ยวกับการออกอากาศรายการที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม

21. สถานีวิทยุกระจายเสียงรักเชียงใหม่ 51 (พักใช้ใบอนุญาต 7 วัน)
ผู้ร้องเรียน -
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกาศ คสช. ฉบับที่ 97/2557 และ 103/2557

วันที่ 10 พฤษภาคม 2559 ที่ประชุม กสท. มีมติเห็นว่า การออกอากาศของสถานีวิทยุกระจายเสียงรักเชียงใหม่ 51 มีเนื้อหาเป็นการวิจารณ์การเมืองลักษณะไม่เป็นกลางและส่อให้เกิดความสับสน ยั่วยุปลุกปั่นให้เกิดความขัดแย้ง สร้างความแตกแยกในราชอาณาจักร ขัดต่อประกาศ คสช. ฉบับที่ 97/2557 และ 103/2557 สั่งพักใช้ใบอนุญาตเป็นเวลา 7 วัน สำหรับสถานีวิทยุดังกล่าวเป็นของเพชรวรรต วัฒนพงศ์ศิริกุล แกนนำกลุ่มเสื้อแดงรักเชียงใหม่ 51 ในช่วงรัฐประหาร 2557 เคยมีเจ้าหน้าที่ทหารบุกเข้าตรวจค้นที่สถานีและถูกระงับการออกอากาศ

22. วอยซ์ ทีวี (ตักเตือน)
ผู้ร้องเรียน -
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557, มาตรา 37 ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ

วันที่ 13 มิถุนายน 2559 ที่ประชุมกสท. พิจารณาเนื้อหารายการ Wake Up News เรื่อง พลเมืองโต้กลับนัดชุมนุมใหญ่ ศุกร์นี้เจอกัน ออกอากาศเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2559 มีมติว่า เนื้อหาของรายการเกี่ยวกับกลุ่มพลเมืองโต้กลับ ประกาศจัดกิจกรรมอีกครั้ง เพื่อเรียกร้องปล่อยตัวนายวัฒนา เมืองสุข แบบไม่มีเงื่อนไข และเป็นการวิพากษ์วิจารณ์สถานการณ์การเมือง อย่างไรก็ดี รายการไม่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 97/2557 และ 103/2557 และมาตรา 37 ของพ.ร.บ. ประกอบกิจการฯ จึงได้มีมติให้ส่งหนังสือขอความร่วมมือไปยัง วอยซ์ ทีวี ให้ใช้ความระมัดระวังและความละเอียดรอบคอบในการ ออกอากาศรายการในลักษณะที่ต้องห้ามตามกฎหมาย

23. พีซ ทีวี (ระงับการออกอากาศทั้งสถานี 30 วัน)
ผู้ร้องเรียน -
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557, บันทึกข้อตกลงระหว่าง กสทช. และพีซ ทีวี

 วันที่ 4 กรกฎาคม 2559 ที่ประชุม กสท. พิจารณาเนื้อรายการเข้าใจตรงกันนะ รายการเข้มข่าวดึก รายการห้องข่าวเล่าเรื่องค่ำและรายการเข้มข่าวดึกของสถานี พีซ ทีวี เห็นว่า เนื้อหารายการขัดต่อประกาศคสช.ที่ 97/2557 และ 103/2557 และบันทึกข้อตกลงระหว่าง กสทช. และพีซ ทีวี ซึ่งแม้ว่าศาลปกครองกลางจะมีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับตามคำสั่ง กสท. ที่เพิกถอนใบอนุญาตออกอากาศ แต่การกระทำดังกล่าวถูกพิจารณาให้แยกออกจากการกระทำและการเพิกถอนใบอนุญาตการออกอากาศที่มีไปแล้วก่อนหน้านี้ มีคำสั่งระงับการออกอากาศทั้งสถานีเป็นเวลา 30 วัน เนื่องจากที่ผ่านมาได้มีคำสั่งแจ้งเตือน ให้แก้ไขการกระทำในลักษณะเช่นนี้มาแล้วหลายครั้ง แต่ พีซ ทีวี ยังคงฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าวเรื่อยมา

24. วอยซ์ ทีวี (ปรับปรุงเนื้อหารายการ)
ผู้ร้องเรียน-
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง 
 
20 มิถุนายน 2559 ไม่เปิดเผยเนื้อหา
 
25. สปริงนิวส์ ทีวี (ปรับ 50,000 บาท)
ผู้ร้องเรียน -
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557 และมาตรา 37 ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ

วันที่ 8 สิงหาคม 2559 ที่ประชุม กสท. มีมติเห็นว่า การออกอากาศรายการเผชิญหน้า Face Time ของสปริงนิวส์ มีเนื้อหารายการขัดต่อประกาศคสช.ที่ 97/2557 และ 103/2557 และมาตรา 37 ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ สั่งปรับ 50,000 บาท 

26. วอยซ์ ทีวี (ตักเตือน)
ผู้ร้องเรียน -
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557, บันทึกข้อตกลงระหว่าง กสทช. และวอยซ์ ทีวี

วันที่ 8 สิงหาคม 2559 ที่ประชุม กสท. พิจารณาเนื้อหาของรายการ Tonight Thailand ออกอากาศวันที่ 25 พฤษภาคม 2559 มีคำสั่งเตือนทางปกครองไปยัง วอยซ์ ทีวี ให้ระงับการออกอากาศเนื้อหาที่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคสช. ที่ 97/2557 และฉบับที่ 103/2557 และขัดต่อข้อกำหนดในบันทึกข้อตกลงที่ทำร่วมกับ กสทช.  โดยก่อนหน้านี้วันที่ 1 สิงหาคม 2559 ที่ประชุม กสท. มีการประชุมเรื่องนี้แล้ว แต่ยังไม่มีข้อสรุป จึงมีมติให้ กสทช. เชิญผู้แทนฝ่ายความมั่นคงมาให้ความเห็นประกอบเพิ่มเติม ก่อนจะมีมติสรุปออกมาในวันนี้
 
27. วอยซ์ ทีวี (ตักเตือน)
ผู้ร้องเรียน -
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557, มาตรา 37 ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ

วันที่ 15 สิงหาคม 2559  ที่ประชุม กสท. พิจารณาเนื้อหารายการ Wake Up News เรื่องบิ๊กตู่อย่าดึงประเทศไทยกลับไปสมัยจอมพลสฤษฎิ์ ออกอากาศวันที่ 4 กรกฎาคม 2559 มีมติว่า เนื้อหาลักษณะเป็นการส่อเสียดโดยนำรัฐธรรมนูญฉบับเก่ามาเปรียบเทียบกับฉบับปัจจุบัน แต่โดยรวมยังไม่พบเนื้อหาที่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 97/2557 และ 103/2557 และมาตรา 37 พ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ จึงให้ส่งหนังสือขอความร่วมมือไปยัง วอยซ์ ทีวี ให้ใช้ความระมัดระวังและความละเอียดรอบคอบในการออกอากาศรายการในลักษณะที่ต้องห้ามตามกฎหมาย
 
28. วอยซ์ ทีวี (ระงับการดำเนินรายการของพิธีกร 10 วัน)
ผู้ร้องเรียน -
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557, มาตรา 37 ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ

วันที่ 15 สิงหาคม 2559  ที่ประชุม กสท. พิจารณาเนื้อหารายการ Wake Up News เรื่อง ฉันทามติสังคม ไม่ให้ คสช. ร่างรัฐธรรมนูญฉบับต่อไป ออกอากาศวันที่ 21 กรกฎาคม 2559, เรื่อง ประยุทธ์ประกาศอยู่ยาว ไม่สนร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านไม่ผ่าน ออกอากาศวันที่ 22 กรกฎาคม 2559, เรื่อง ทองแดงเสียงแตก ชวนอุ้มมาร์ค เทือกสวนใจแคบ ออกอากาศวันที่ 29 กรกฎาคม 2559 และเรื่อง จับกระแสหลังโหวตรับ อยากให้เลือกตั้งเร็วไม่รอ 16 เดือน ออกอากาศวันที่ 8 สิงหาคม 2559 มีมติว่า เนื้อหามีลักษณะต้องห้ามตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 97/2557 และ 103/2557 และมาตรา 37 ของพ.ร.บ. ประกอบกิจการฯ รวมทั้งยังขัดต่อบันทึกข้อตกลงระหว่าง กสทช. กับวอยซ์ ทีวี มีคำสั่งให้พักการดำเนินรายการของ ม.ล. ณัฏฐกรณ์ เทวกุล ในรายการ Wake Up News และ Tonight Thailand เป็นเวลา 10 วัน และของอธึกกิต แสวงสุข ในรายการ Wake Up News และคอลัมน์ Overview ในรายการ Voice News เป็นเวลา 10 วัน

มติ กสท. เรื่องการพักการดำเนินรายการไม่ได้มาจากข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมการฯ แต่เป็นข้อเสนอของวอยซ์ ทีวี เสนอต่อ กสทช.เอง
 
29. วอยซ์ ทีวี (ระงับการออกอากาศรายการ 7 วัน)
ผู้ร้องเรียน -
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557, บันทึกข้อตกลงระหว่าง กสทช. และวอยซ์ ทีวี

วันที่ 29 สิงหาคม 2559 ที่ประชุม กสท. พิจารณาเนื้อหารายการ Wake Up News เรื่อง วิเคราะห์เหตุระเบิด 7 จังหวัดใต้, ไผ่ ดาวดิน อดอาหารวันที่ 9 อาการทรุดหนัก และมีชัยชี้ ส.ว. เลือกนายกฯ ได้ 5 ปี แต่เสนอได้ชื่อเดียว ออกอากาศเมื่อวันที่ 15 และ 16 สิงหาคม 2559 มีมติว่า เนื้อหาขัดต่อประกาศ คสช. ฉบับที่ 97/2557 และ 103/2557  อีกทั้งเป็นการขัดต่อข้อกำหนดในบันทึกข้อตกลงระหว่าง กสทช. และวอยซ์ ทีวี จึงมีมติสั่งระงับการออกอากาศรายการ Wake Up News เป็นเวลา 7 วัน

30. ทีวี24 (ตักเตือน)
ผู้ร้องเรียน –
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557, บันทึกข้อตกลงระหว่าง กสทช. และทีวี24

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2559 กสท. พิจารณาเนื้อหารายการคมข่าว ทางสถานีทีวี24 ที่ออกอากาศเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2559  ว่า เป็นการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ส่อให้ประชาชนเกิดความสับสนเกี่ยวกับสภาวะราคาข้าวตกต่ำและการนำเสนอในลักษณะที่ว่า การดำเนินการตามกฎหมายกับยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นไปโดยไม่เป็นธรรม และไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งขัดเนื้อหาขัดต่อประกาศ คสช. ฉบับที่ 97/2557 และ 103/2557  อีกทั้งเป็นการขัดต่อข้อกำหนดในบันทึกข้อตกลงระหว่าง กสทช. และทีวี24 จึงให้มีคำสั่งเตือนทางปกครองเป็นหนังสือให้ทีวี24 ละเว้นการกระทำที่เป็นการขัดต่อประกาศ คสช. และบันทึกข้อตกลงดังกล่าว หากฝ่าฝืนอีกจะพักใช้ใบอนุญาต

31. ดีเอ็มซี ทีวีธรรมกาย (ระงับการออกอากาศทั้งสถานี 30 วัน)
ผู้ร้องเรียน –
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557

วันที่ 8 ธันวาคม 2559 ที่ประชุม กสท. มีมติระงับการออกอากาศสถานีโทรทัศน์ดีเอ็มซีเป็นเวลา 30 วัน เนื่องจากพิจารณาแล้วว่า มีพฤติกรรมในลักษณะของการออกอากาศ เชิญชวนประชาชนให้มารวมตัวกันที่วัดพระธรรมกาย แม้จะอ้างว่าเป็นการปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนาก็ตาม แต่ก็อาจเกิดการจูงใจหรือชักจูงให้ปกป้องหรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย และอาจเกิดการใช้กำลังเข้าประทุษร้ายต่อร่างกายและทรัพย์สินของประชาชนจากผู้ที่มุ่งประสงค์ให้เกิดความวุ่นวายได้ อันเป็นผลเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะที่ยากแก่การแก้ไขเยียวยาในภายหลัง ทั้งยังมีเนื้อหาที่ขัดต่อประกาศคสช.ที่ 97/2557 และ 103/2557

32. สถานีวิทยุกระจายเสียงคนคลองสาม (ระงับการออกอากาศทั้งสถานี 30 วัน)
ผู้ร้องเรียน –
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557

วันที่ 8 ธันวาคม 2559 ที่ประชุม กสท. พิจารณาเห็นว่า สถานีวิทยุกระจายเสียงคนคลองสามมีพฤติกรรมในลักษณะเดียวกับสถานีโทรทัศน์ดีเอ็มซี ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้มีการนำเนื้อหารายการที่ต้องห้ามออกอากาศไปออกอากาศยังสื่ออื่น จึงมีคำสั่งระงับการออกอากาศเป็นเวลา 30 วัน

33. สถานีวิทยุกล้าตะวัน (ระงับการออกอากาศทั้งสถานี 30 วัน)
ผู้ร้องเรียน –
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557

วันที่ 8 ธันวาคม 2559 ที่ประชุม กสท. พิจารณาเห็นว่า สถานีวิทยุกล้าตะวัน มีพฤติกรรมในลักษณะเดียวกับสถานีโทรทัศน์ดีเอ็มซี  ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้มีการนำเนื้อหารายการที่ต้องห้ามออกอากาศไปออกอากาศยังสื่ออื่น จึงมีคำสั่งระงับการออกอากาศเป็นเวลา 30 วัน

34. ดีเอ็มซี ทีวีธรรมกาย (เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียง)
ผู้ร้องเรียน –
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557 และมาตรา 37 ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ

วันที่ 26 ธันวาคม 2559 ที่ประชุม กสท.พิจารณาเนื้อหาของสถานีวิทยุโทรทัศน์ดีเอ็มซี หรือทีวีธรรมกาย โดยปรากฏข้อเท็จจริงว่า องอาจ โฆษกคณะศิษยานุศิษย์วัดพระธรรมกายได้แถลงข่าวชักชวนปลุกระดมอันเป็นพฤติกรรมที่อาจส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน อันเป็นผลเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะที่ยากแก่การแก้ไขเยียวยาในภายหลัง ทั้งยังทำให้เกิดความสับสน ยุยงปลุกปั่นให้เกิดความขัดแย้ง หรือสร้างให้เกิดความแตกแยกในราชอาณาจักร อันขัดต่อประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557, มาตรา 37 ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ และคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 41/2559 และเมื่อสืบย้อนจะพบว่า องอาจ มีพฤติการณ์ต่อเนื่องมาตลอดในการใช้สถานีวิทยุโทร์ทัศน์ดีเอ็มซีเป็นช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของวัดพระธรรมกายไปสู่ศิษยานุศิษย์วัดพระธรรมกายและสาธารณะ ประกอบกับฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติได้มีหนังสือร้องเรียนถึง กสทช. เรื่องการออกอากาศ ของสถานีวิทยุโทรทัศน์ดีเอ็มซีที่อาจเป็นภัยต่อความมั่นคง หรือก่อให้เกิดความสับสนได้
 
พิจารณาแล้วเห็นว่า หากปล่อยให้มีการออกอากาศต่อไปจะส่งผลในการสร้างความสับสนให้กับประชาชนและมีผลกระทบต่อการรักษาความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน การกระทำดังกล่าวจึงเป็นกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ รักษาผลประโยชน์ส่วนรวม หรือมีความจำเป็นที่ต้องปกป้องความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตาม ข้อ 18(3) ของประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ พ.ศ. 2555 ยังผลให้ใบอนุญาตของสถานีวิทยุโทรทัศน์ดีเอ็มซีสิ้นสุดลง 
 
35. สถานีวิทยุกระจายเสียงคนคลองสาม (ระงับการออกอากาศทั้งสถานี)
ผู้ร้องเรียน –
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522

วันที่ 26 ธันวาคม 2559 ที่ประชุม กสท. พิจารณาข้อเท็จจริงที่ว่า สถานีวิทยุกระจายเสียงคนคลองสามมีการก่อสร้างเสาส่งสถานีวิทยุกระจายเสียงในบริเวณวัดธรรมกายได้ถูกร้องทุกข์ดำเนินคดีเกี่ยวกับขออนุญาตปลูกสร้างตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 (พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ) และการดำเนินคดีความผิดดังกล่าวถึงที่สุด จึงเห็นควรพักใช้ใบอนุญาตตั้งสถานีวิทยุคมนาคมไปก่อนจนกว่าคดีจะสิ้นสุด หากผลของคดีปรากฏว่า เป็นการกระทำความตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ให้ถือว่า ใบอนุญาตการออกอากาศทั้งสถานีเป็นที่สิ้นสุด
 
36. สถานีวิทยุกระจายเสียงกล้าตะวัน (ตักเตือน)
ผู้ร้องเรียน –
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง –

 
วันที่ 26 ธันวาคม 2559 ที่ประชุม กสท. มีมติอนุญาตให้สถานีวิทยุกระจายเสียงกล้าตะวันกลับมาออกอากาศอีกครั้ง พร้อมทั้งสั่งให้สำนักการอนุญาตประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง (ปส.1) มีหนังสือกำชับการออกอากาศของสถานีดังกล่าวมิให้ออกอากาศ ขัดกับมาตรา 37 ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ และข้อ 21 ของประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลการทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ. 2556 


37. วอยซ์ ทีวี (ทำความเข้าใจ)
ผู้ร้องเรียน -
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง -

วันที่ 9 มกราคม 2560 ที่ประชุม กสท. มีมติมอบหมายให้คณะอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหารายการ กสทช. เชิญผู้แทน วอยซ์ ทีวี มาทำความเข้าใจ
 
38. วอยซ์ ทีวี (ระงับรายการ 7 วัน)
ผู้ร้องเรียน คณะทำงานติดตามสื่อฯ คสช.
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และบันทึกตกลง ระหว่าง กสทช. กับวอยซ์ ทีวี

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2560 ที่ประชุม กสท. พิจารณาเนื้อหารายการ The Daily Dose เรื่อง ขัดแย้งเพราะตุลาการ (ไม่) ภิวัฒน์ ออกอากาศเมื่อวันจันทร์ที่ 23 มกราคม 2560 มีลักษณะเป็นการวิเคราะห์และแสดงความเห็นเพียงด้านเดียวและสรุปถึงสาเหตุของปัญหาความขัดแย้งว่า เกิดจากการแทรกแซงของฝ่ายตุลาการ โดยเรียกว่า “ตุลาการ (ไม่) ภิวัฒน์” และการที่ฝ่ายทหารลำเอียงและเข้าข้างฝ่ายผู้ชุมนุมที่พยายามขัดขวางการเลือกตั้ง ซึ่งหากไม่ยอมรับข้อสรุปของสาเหตุตามนี้สังคมก็ไม่สามารถปรองดองได้ ฉะนั้นการนำเสนอดังกล่าวจึงก่อให้เกิดความสับสนเชื่อว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องจริงอันนำไปสู่ความแตกแยก

จึงมีมติว่า มีเนื้อหาเป็นการวิเคราะห์ที่ทำให้เกิดความแตกแยกในสังคม และนำข้อเท็จจริงมาเสนอไม่ครบถ้วนขัดต่อประกาศ คสช. ฉบับที่ 97/2557 และขัดต่อข้อกำหนดในบันทึกตกลง ระหว่าง กสทช. กับ วอยซ์ ทีวี มติดังกล่าวสืบเนื่องจากการได้รับการร้องเรียนจากคณะทำงานติดตามสื่อฯ คสช. ระบุว่า เนื้อหาการออกอากาศเป็นการวิเคราะห์ให้เห็นอีกมุมมองหนึ่งที่ทำให้เกิดความแตกแยกในสังคม และนำข้อเท็จจริงมานำเสนอไม่ครบถ้วน ให้ระงับการออกอากาศรายการ The Daily Dose เป็นระยะเวลา 7 วัน

39. พีซ ทีวี (ตักเตือน)
ผู้ร้องเรียน –
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557, บันทึกข้อตกลงระหว่าง กสทช. และพีซ ทีวี

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 ที่ประชุม กสท. พิจารณาเนื้อหารายการหยิบข่าวมาคุยของสถานี พีซ ทีวี มีมติว่า รายการมีเนื้อหาต้องห้ามไม่ให้ออกอากาศตามประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557 และขัดต่อบันทึกข้อตกลงระหว่างกสทช.และ พีซ ทีวี ทั้งยังอาจขัดต่อมาตรา 37 ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ จึงมีคำสั่งเตือน พีซ ทีวี ให้ละเว้นการกระทำในลักษณะดังกล่าว

40. เนชั่น ทีวี (ปรับ 50,000 บาท)
ผู้ร้องเรียน -
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557

วันที่ 4 มีนาคม 2560 ที่ประชุม กสท. พิจารณาเนื้อหารายการข่าวข้นคนเนชั่น ที่ออกอากาศเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2559 เรื่องการจับกุมผู้บริหารบริษัทที่เกี่ยวข้องกับขบวนการทัวร์ศูนย์เหรียญ พบว่า มีลักษณะของการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่อาจส่อให้เกิดความสับสนแก่ประชาชนเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวนในคดีว่าเป็นการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรม ขัดต่อประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557 รวมทั้งอาจเป็นการขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวน อันเป็นความผิดตามมาตรา 138 ของประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยในสังคม ดังนั้นเนื้อหาของรายการจึงเป็นการขัดมาตรา 37 ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ สั่งปรับเป็นเงินจำนวน 50,000 บาท
 
41. พีซ ทีวี (ปรับ 50,000 บาท)
ผู้ร้องเรียน -
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557

วันที่ 4 มีนาคม 2560 ที่ประชุม กสท. พิจารณาเนื้อหารายการเดินหน้าต่อไปของสถานี พีซ ทีวี มีมติว่า รายการมีเนื้อหาต้องห้ามไม่ให้ออกอากาศตามประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557 ปรับเป็นเงินจำนวน 50,000 บาท

42. วอยซ์ ทีวี (ปรับ 50,000 บาทและระงับการดำเนินรายการของพิธีกร 7 วัน)
ผู้ร้องเรียน -
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557 และมาตรา 37 ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ

วันที่ 4 มีนาคม 2560 จากกรณีที่อธึกกิต แสวงสุข พิธีกรวอยซ์ ทีวี วิเคราะห์ข่าวเรื่อง อำนาจมาตรา 44 ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ในรายการ Wake Up News ออกอากาศเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560 มีเนื้อหาขัดประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557 และมาตรา 37 ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ ปรับเป็นเงินจำนวน 50,000 บาท เพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำผิดในลักษณะดังกล่าวอีก จึงมีคำสั่งห้ามไม่ให้นำความคิดเห็นจากเฟซบุ๊กมาออกอากาศในรายการ Wake Up News  อีก นอกจากนี้ วอยซ์ ทีวี ยังได้เสนอให้อธึกกิตและภัชยางดจัดรายการเป็นเวลา 7 วัน ที่ประชุม กสท. รับทราบข้อเสนอดังกล่าว

43. วอยซ์ ทีวี (ระงับการออกอากาศทั้งสถานี 7 วัน)
ผู้ร้องเรียน -
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557 และมาตรา 37 ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ

วันที่ 27 มีนาคม 2560 ที่ประชุม กสท. มีคำสั่งระงับการออกอากาศวอยซ์ ทีวีเป็นเวลา 7 วัน โดยก่อนหน้านี้คณะอนุกรรมการด้านเนื้อหาของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แจ้งมาว่า วอยซ์ ทีวีมีรายการ 4 รายการมีเนื้อหาที่เข้าข่ายละเมิดประกาศคสช. และพ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ ดังนี้

1. รายการ ใบตองแห้ง ออกอากาศวันที่ 15 มีนาคม 2560 เรื่อง จากธัมมี่ถึงทักกี้ประเทศนี้ยังปรองดองได้อยู่หรือ
2. รายการ In her View ออกอากาศวันที่ 20 มีนาคม 2560 เรื่องไล่เรียงเหตุการณ์จังหวะแห่งข่าวโกตี๋กับอาวุธพร้อมแถลงการณ์แผนลอบสังหาร
3. รายการ Over View ออกอากาศวันที่ 20 มีนาคม 2560  เรื่องกองทัพป้องทหารยันยิงทิ้งเด็กล่าหู่ถูกต้องทุกกรณี
4. รายการ Voice News ช่วง Voice News Report ออกอากาศวันที่ 20 มีนาคม 2560 เรื่อง วีระ สมความคิด แสดงความคิดเห็นกรณี บ่อนตาพระยา
 
โดยคณะอนุกรรมการฯ เห็นว่า เนื้อหารายการขัดต่อกฎหมายที่เกี่ยวข้องมีคำสั่งระงับการออกอากาศวอยซ์ ทีวีเป็นเวลา 3 วัน ต่อมาที่ประชุม กสท. จะพิจารณาเห็นพ้องว่า ขัดต่อประกาศคสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557 และบันทึกข้อตกลงระหว่าง กสทช. และ วอยซ์ ทีวี มีคำสั่งระงับการออกอากาศเป็นเวลา 7 วัน ให้เหตุผลประกอบว่า วอยซ์ ทีวี มีการกระทำความผิดซ้ำซาก โดยเคยถูกกำหนดโทษทางปกครองหลายครั้ง ในปี 2559 จำนวน 11 ครั้ง และในปี 2560 จำนวน 2 ครั้ง
 
44. สถานีวิทยุสปริงเรดิโอ (ระงับการออกอากาศทั้งสถานี 7 วัน)
ผู้ร้องเรียน -
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง -

วันที่ 12 เมษายน 2560  กสทช. สั่งระงับการออกอากาศชั่วคราวสถานีวิทยุสปริงเรดิโอ ตั้งแต่เวลา 00.01 น. ของวันที่ 13 เมษายน 2560 จนถึงวันที่ 17 เมษายน 2560 เวลา 24.00 น. เนื่องจากได้รับการร้องเรียนเกี่ยวกับเนื้อหารายการที่ออกอากาศไม่เหมาะสมซึ่งอาจกระทบต่อความมั่นคงและความสงบเรียบร้อย โดยในขณะที่มีการตรวจสอบความผิดจึงมีคำสั่งให้ระงับการออกอากาศชั่วคราวไปก่อน

45. วอยซ์ ทีวี (ตักเตือน)
ผู้ร้องเรียน -
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง -

วันที่ 9 สิงหาคม 2560 ที่ประชุม กสทช. พิจารณาเนื้อหารายการ Wake Up News เมื่อวันพุธที่ 21 มิถุนายน 2560 ทางช่อง วอยซ์ ทีวี ไม่เป็นไปตามคำสั่งทางปกครอง มีมติให้มีหนังสือแจ้ง วอยซ์ ทีวี เพื่อขอความร่วมมือให้ปฏิบัติตามคำสั่ง กสท. โดยเคร่งครัด

46. พีซ ทีวี (ระงับการออกอากาศทั้งสถานี 30 วัน)
ผู้ร้องเรียน -
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง -

วันที่ 9 สิงหาคม 2560 ที่ประชุม กสทช. พิจารณาเนื้อหารายการเข้าใจตรงกันนะเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 และรายการห้องข่าวเล่าเรื่องสุดสัปดาห์ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2560 ทางช่อง พีซ ทีวี มีมติเห็นว่า เนื้อหาของรายการอาจมีความไม่เหมาะสม สั่งระงับการออกอากาศทั้งสถานีเป็นเวลา 30 วัน หากยังคงฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งดังกล่าว จะใช้มาตรการทางปกครองที่สูงขึ้นต่อไป

47. ไบร์ท ทีวี (ตักเตือน)
ผู้ร้องเรียน -
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง -

วันที่ 9 สิงหาคม 2560 ที่ประชุม กสทช. พิจารณาเนื้อหารายการ T NEWS สด ลึก จริง และ รายการเจาะข่าวร้อน ล้วงข่าวลึก เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2560 ทางช่องไบร์ททีวี มีมติให้มีหนังสือแจ้งไบร์ท ทีวี เพื่อขอให้ใช้ความระมัดระวังในการนำเสนอรายการไม่ให้มีเนื้อหาขัดต่อประกาศ คสช. ที่ 97 และ 103/2557

48. สปริงนิวส์ ทีวี (ระงับรายการ 30 วัน)
ผู้ร้องเรียน -
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกาศ กสทช.

วันที่ 8 พฤศจิกายน 2560 ที่ประชุม กสทช. พิจารณาเนื้อหารายการสนธิญาณ ฟันธง ตรงประเด็น ตอนพระราชาแห่งพระราชาทั้งปวง เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2560 ทางสปริงนิวส์ทีวี มีมติว่า รายการดังกล่าวมีเนื้อหาซึ่งนําเสนอเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยใช้คําพูดในลักษณะที่ไม่เหมาะสม ไม่เป็นไปตามมาตรฐานทางวิชาชีพและจริยธรรมของสื่อ ขัดต่อข้อ 14(10) ของประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการ อนุญาตการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ พ.ศ. 2555 จึงอาศัยอำนาจตามข้อ 19 ของประกาศดังกล่าว ระงับการออกอากาศรายการเป็นระยะเวลา 30 วัน และจัดส่งเรื่องร้องเรียนให้สํานักงานตํารวจแห่งชาติพิจารณาดําเนินการตามกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวของต่อไป

49. วอยซ์ ทีวี (ตักเตือน)
วอยซ์ ทีวี
ผู้ร้องเรียน -
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง -

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2560 ที่ประชุม กสทช. พิจารณาเนื้อหารายการ In Her View เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2560  และรายการ Wake Up News เมื่อวันที่ 7 กันยายน  2560 ทางสถานีวอยซ์ ทีวี มีมติให้มีหนังสือแจ้งวอยซ์ ทีวี เพื่อขอให้ใช้ความระมัดระวังในการนำเสนอรายการที่มีประเด็นสุ่มเสี่ยง 3 ประเด็นคือ
1. การเลือกเนื้อหาจากสื่อหรือแหล่งข่าวมานําเสนอออกอากาศในลักษณะลําเอียง ไม่สมดุล หรือไม่รอบด้าน           
2. การขึ้นข้อความหน้าจอ หรือ CG ส่อแววว่า อาจจะทําการปลุกปั่นให้เกิดความขัดแย้งในสังคม
3.  การไม่ปฏิบัติตามคําสั่ง กสทช. ซึ่งห้ามไม่ให้ วอยซ์ ทีวี นําความคิดเห็นจากเฟซบุ๊กมาออกอากาศ

50. ทีวี24 (ระงับการออกอากาศ 30 วัน)
ผู้ร้องเรียน -
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557 และมาตรา 37 ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ

22 พฤศจิกายน 2560 ที่ประชุม กสทช. พิจารณาเนื้อหารายการคมข่าวและรายการไฟเขียวความคิด ระหวางวันที่ 4-5 พฤศจิกายน 2560 ทางสถานีทีวี 24 เห็นว่าการออกอากาศดังกล่าวมีลักษณะเป็นการให้ข้อมูลข่าวสารส่อให้เกิดความสับสน ยั่วยุปลุกปั่นใหเกิดความขัดแย้ง หรือสร้างให้เกิดความแตกแยกในราชอาณาจักร ขัดต่อประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557 ซึ่งตามคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 41/2559 ได้กำหนดให้เป็นการกระทำตามมาตรา 37 ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ ให้ระงับการออกอากาศทั้งสถานีเป็นเวลา 30 วัน และจัดส่งเรื่องร้องเรียนให้สํานักงานตํารวจแห่งชาติพิจารณาดําเนินการตามกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

51. พีซ ทีวี (ระงับการออกอากาศทั้งสถานี 15 วัน)
ผู้ร้องเรียน -
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง -

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ประชุม กสทช. พิจารณาเนื้อหารายการ ทิศทางประชาธิปไตยไทยของสถานี พีซ ทีวี เห็นว่า มีเนื้อหาต้องห้ามไม่ให้ออกอากาศ สั่งระงับการออกอากาศเป็นเวลา 30 วัน
 
52. วอยซ์ ทีวี (ระงับรายการ 15 วัน)
ผู้ร้องเรียน -
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557 และบันทึกข้อตกลงระหว่าง กสทช. และวอยซ์ ทีวี

20 มีนาคม 2561 ที่ประชุม กสทช. พิจารณาเนื้อหารายการ Tonight Thailand ซึ่งออกอากาศเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2561 เห็นว่า การนำเสนอรายการดังกล่าวมีลักษณะส่อให้เกิดความสับสน ยั่วยุ ปลุกปั่นให้เกิดความขัดแย้ง หรือสร้างให้เกิดความแตกแยกในราชอาณาจักร ขัดต่อประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557 และบันทึกข้อตกลงระหว่าง กสทช. และวอยซ์ ทีวี สั่งให้ระงับการออกอากาศรายการ Tonight Thailand เป็นเวลา 15 วัน และห้ามนำรายการดังกล่าวไปออกอากาศในวันและเวลาอื่น รวมถึงนำเทปรายการเดิมมาออกอากาศซ้ำในช่วงวันและเวลาดังกล่าว
 
53. พีซ ทีวี (ระงับการออกอากาศทั้งสถานี 30 วัน)
ผู้ร้องเรียน -
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง -
-
 
54. วอยซ์ ทีวี (ระงับรายการ 3 วัน)
ผู้ร้องเรียน -
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557 
 
29 มิถุนายน 2561 กสทช. สั่งพักการออกอากาศรายการThe Daily Dose และ Wake Up News  เป็นเวลา 3 วัน  โดยคำสั่งดังกล่าวระบุด้วยว่า คำสั่งระงับการออกอากาศดังกล่าวเพื่อให้บริษัทฯ ได้พิจารณาปรับปรุง แก้ไข ทบทวนแนวคิด รูปแบบและเอกลักษณ์ รวมถึงกระบวนการคัดเลือก กลั่นกรอง และตรวจสอบเนื้อหารายการให้เป็นไปตามกฎหมายและเงื่อนไขการอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ และหากยังฝ่าฝืนไม่ดำเนินการตามคำสั่ง อาจเป็นเหตุให้ กสทช. มีความจำเป็นต้องมีคำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตวอยซ์ทีวีต่อไป
 
 
55. วอยซ์ ทีวี (ตักเตือน)
ผู้ร้องเรียน –
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง -
 
18 กรกฎาคม 2561 ที่ประชุม กสทช. พิจารณาข้อร้องเรียนให้ตรวจสอบรายการ Tonight Thailand ซึ่งออกอากาศเมื่อวันที่ 10, 15 และ 17 เมษายน 2561 มีมติเห็นชอบตามผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองงานของ กสทช. ให้ทำหนังสือแจ้งวอยซ์ ทีวี เพื่อขอความร่วมมือให้ใช้ความระมัดระวังในการออกอากาศเนื้อหารายการให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
 
 
56. พีซ ทีวี (แจ้งคำสั่งเตือนทางปกครอง)
ผู้ร้องเรียน –
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557 และบันทึกข้อตกลงระหว่าง กสทช. และพีซ ทีวี
 
-
 
57. วอยซ์ ทีวี (แจ้งคำสั่งเตือนทางปกครอง)
ผู้ร้องเรียน –
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557
 
12 ธันวาคม 2561 ที่ประชุม กสทช. พิจารณาเนื้อหารายการ The Daily Dose ซึ่งออกอากาศเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2561 เห็นว่า มีเนื้อหาขัดต่อประกาศคสช.ที่ 97/2557 และ 103/2557 และยังขัดต่อบันทึกข้อตกลงระหว่าง กสทช. และวอยซ์ ทีวี จึงเห็นควรให้ส่งหนังสือแจ้งคำสั่งเตือนทางปกครอง  หากฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง กสทช. จะใช้มาตรการบังคับทางปกครองต่อไป
 
 
58. วอยซ์ ทีวี (แจ้งคำสั่งเตือนทางปกครอง)
ผู้ร้องเรียน –
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557 และบันทึกข้อตกลงระหว่าง กสทช. และวอยซ์ ทีวี
 
8 มกราคม 2562 ที่ประชุม กสทช. พิจารณาเนื้อหารายการ Tonight Thailand ซึ่งออกอากาศเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2561 เห็นว่า มีเนื้อหาขัดต่อประกาศคสช.ที่ 97/2557 และ 103/2557 และยังขัดต่อบันทึกข้อตกลงระหว่าง กสทช. และวอยซ์ ทีวี จึงเห็นควรให้ส่งหนังสือแจ้งคำสั่งเตือนทางปกครอง  หากฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง กสทช. จะใช้มาตรการบังคับทางปกครองต่อไป
 
 
59. วอยซ์ ทีวี (ระงับการออกอากาศทั้งสถานี 15 วัน)
ผู้ร้องเรียน –
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557 และมาตรา 37 ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ

12 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ประชุม กสทช. พิจารณาเนื้อหารายการ 5 เทปคือ รายการ Tonight Thailand 1 เทป คือเทปออกอากาศวันที่ 16 ธันวาคม 2561 และรายการ Wake up news 4 เทปคือ เทปออกอากาศวันที่ 21, 28 และ 29 มกราคม และ 4 กุมภาพันธ์ 2562 เห็นว่า เนื้อหาทำให้เกิดความสับสน และยั่วยุให้เกิดความแตกแยก สั่งระงับการออกอากาศทั้งสถานีเป็นเวลา 15 วัน

 

 
ชนิดบทความ: