1881 1167 1884 1413 1166 1503 1307 1493 1872 1165 1885 1458 1413 1548 1090 1008 1545 1622 1051 1161 1831 1533 1005 1712 1177 1059 1439 1260 1573 1389 1229 1634 1575 1202 1291 1843 1027 1260 1401 1910 1850 1641 1486 1142 1710 1721 1930 1714 1612 1129 1279 1026 1348 1339 1259 1328 1216 1398 1871 1761 1072 1520 1838 1505 1149 1353 1607 1736 1665 1705 1323 1032 1002 1242 1973 1454 1486 1046 1207 1773 1186 1787 1504 1748 1597 1093 1485 1461 1558 1360 1707 1575 1789 1516 1172 1353 1414 1152 1663 ศาลทหารกรุงเทพปล่อยตัวชั่วคราว ‘สิรภพ’ จำเลย 112 ที่ถูกคุมขังระหว่างต่อสู้คดีมาเกือบ 5 ปี | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ศาลทหารกรุงเทพปล่อยตัวชั่วคราว ‘สิรภพ’ จำเลย 112 ที่ถูกคุมขังระหว่างต่อสู้คดีมาเกือบ 5 ปี

 
 
 
11 มิถุนายน 2562 ศาลทหารกรุงเทพมีคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราวสิรภพ จำเลยคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 จากการเขียนบทความและบทกลอนลงบล็อกจำนวน 3 ชิ้น ซึ่งถือเป็นความผิดรวม 3 กรรม เหตุเกิดขึ้นระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2552-มกราคม 2557 โดยครอบครัวได้วางเงินประกันจำนวน 500,000 บาท การยื่นขอประกันตัวครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 8
 
1125 สิรภพ จำเลยคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์จากการโพสต์ข้อความบนบล็อก
 

สิรภพเป็นกวีที่มีเว็บบล็อกและเฟซบุ๊กที่เขียนบทความและบทกลอนเกี่ยวกับการเมือง เขามีนามปากกาว่า ‘รุ่งศิลา’ หลังการรัฐประหารชื่อของเขาปรากฎอยู่ในคำสั่งเรียกให้ไปรายงานตัวของคสช. แต่เขาเลือกที่จะขัดขืนเนื่องจากเห็นว่าเป็นการใช้อำนาจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและขัดหลักสิทธิมนุษยชน ก่อนจะมาถูกเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัวตามในเดือนมิถุนายน 2557 ภายหลังการควบคุมตัว สิรภพถูกแจ้งข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งไม่รายงานตัวกับคสช. หลังจากนั้น เขาถูกเจ้าหน้าที่จากกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) อายัดตัวไปสอบสวนต่อในข้อหาหมิ่นประมาทพระกษัตริย์ฯ ต่อมาเขาถูกตั้งข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 โดยทั้งสองคดีของเขาถูกพิจารณาคดีในศาลทหาร
 
 
สิรภพถูกส่งตัวไปฝากขังในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2557 และตั้งแต่นั้นมา เป็นเวลา 4 ปี 11 เดือน 9 วัน หรือ 1,804 วัน ที่เขาไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัว ในการต่อสู้คดีสิรภพต้องต่อสู้ทั้งคดีฝ่าฝืนคำสั่งคสช. ไม่ไปรายงานตัว และคดี 112 ควบคู่กันไป โดยคดีฝ่าฝืนคำสั่งคสช. จบลงในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2559 โดยศาลทหารตัดสินให้สิรภพมีความผิดฐานไม่ไปรายงานตัวตามคำสั่งคสช. ลงโทษจำคุก 1 ปี ปรับ 18,000 บาท แต่สุดท้ายศาลให้ความผิดดังกล่าวรอลงอาญา
 

ส่วนคดี 112 อัยการทหารได้มีการสั่งฟ้องคดีเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2557 และศาลทหารนัดถามคำให้การตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน 2557 โดยจำเลยให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา จนถึงปัจจุบันเป็นเวลาเกือบ 5 ปีแล้ว คดีสืบพยานโจทก์ไปได้ทั้งหมดเพียง 3 ปาก โดยฝ่ายโจทก์มีการระบุพยานที่จะสืบจำนวนทั้งหมด 10 ปาก ส่วนฝ่ายจำเลยจะสืบทั้งหมด 3 ปาก เหตุที่ล่าช้าเกิดจากการไม่มาตามหมายนัดศาลของพยาน
 
 
อีกทั้ง อัยการทหารยังแถลงขอให้ศาลพิจารณาเป็นการลับ เนื่องจากเป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมทั้งอาจกระทบต่อความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยภายในราชอาณาจักร ซึ่งศาลทหารก็ได้มีคำสั่งให้พิจารณาคดีเป็นการลับโดยตลอด ผู้สังเกตการณ์คดีโดยทั่วไปไม่สามารถเข้าฟังการพิจารณาได้
 
 
การปล่อยตัวชั่วคราวเกิดขึ้นหลังจากที่ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนและสหพันธ์เพื่อสิทธิมนุษยชนสากล (FIDH) ได้แจ้งข้อมูลของสิรภพต่อคณะทำงานว่าด้วยการควบคุมตัวโดยพลการ (Working Group on Arbitrary Detention) ซึ่งเป็นกลไกพิเศษภายใต้คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Human Rights Council) และคณะทำงานฯ  ร้องขอให้รัฐบาลไทยดำเนินการปล่อยตัวสิรภพโดยทันที
 
 
ที่ผ่านมา คณะทำงานฯ ได้ส่งต่อข้อมูลจากผู้แจ้งข้อมูลไปยังรัฐบาลไทย โดยร้องขอให้รัฐบาลไทยให้ข้อมูลโดยละเอียดภายในวันที่ 7 มกราคม 2562 แต่รัฐบาลไทยไม่ได้ตอบกลับและไม่ได้มีการขยายเวลาในการตอบกลับ ต่อมา ในการประชุมครั้งที่ 84 คณะทำงานฯ ลงมติว่า การควบคุมตัวสิรภพเข้าข่ายเป็นการควบคุมตัวบุคคลโดยพลการขัดต่อกติการะหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคี โดยคณะทำงานฯได้รับข้อมูลอย่างต่อเนื่องว่า ผู้ที่ถูกกล่าวหาในคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ถูกควบคุมตัวโดยพลการ และกฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัริย์ไม่สอดคล้องต่อกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
 
 
สำหรับข้อความที่สิรภพโพสต์ทั้ง 3 ข้อความนั้นคณะทำงานฯมีความเห็นว่า อยู่ภายใต้การใช้สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งได้รับการคุ้มครองภายใต้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
 
 
ส่วนกรณีที่ศาลทหารดำเนินกระบวนพิจารณาคดีของสิรภพโดยลับและอ้างว่า เป็นประเด็นที่มีความอ่อนไหว กระทำไปเพื่อประโยชน์ของสาธารณชนและศีลธรรมอันดีของประชาชน แต่รัฐบาลไทยไม่ได้ชี้แจงข้อมูลหรือหลักฐานเพียงพอให้เห็นว่าการพิจารณาคดีของสิรภพเป็นภัยคุกคามต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน ความสงบเรียบร้อย หรือความมั่นคงของประเทศ จนถือเป็นข้อยกเว้นพิเศษในการพิจารณาคดีอย่างลับได้ จึงถือเป็นการละเมิดต่อปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง