1546 1368 1355 1328 1876 1065 1127 1984 1545 1544 1752 1462 1782 1638 1446 1853 1573 1824 1302 1710 1382 1345 1604 1603 1550 1032 1250 1942 1037 1281 1305 1475 1354 1807 1450 1835 1293 1342 1509 1045 1091 1360 1574 1373 1882 1094 1788 1065 1868 1798 1390 1150 1812 1580 1438 1379 1703 1871 1040 1888 1898 1110 1551 1827 1048 1736 1256 1121 1378 1388 1326 1346 1506 1306 1459 1469 1175 1042 1755 1144 1493 1242 1766 1818 1065 1962 1973 1421 1523 1024 1921 1339 1073 1823 1250 1632 1847 1493 1239 ผบ.ตร.ยันทหารไม่ได้แทรกแซงดูแลวิ่งไล่ลุง ระบุไม่อยากเห็นม็อบลงถนน | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ผบ.ตร.ยันทหารไม่ได้แทรกแซงดูแลวิ่งไล่ลุง ระบุไม่อยากเห็นม็อบลงถนน

 
 
19 กุมภาพันธ์ 2563 พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พร้อมด้วยพล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รับผิดชอบส่วนงานด้านสืบสวนสอบสวน เดินทางมาให้ข้อมูลกับคณะกรรมาธิการ (กมธ.) กฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร ที่มีปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่เป็นประธาน ซึ่งพิจารณากรณีการใช้อำนาจในการแทรกแซงการจัดงานวิ่งไล่ลุงของนิสิต นักศึกษา และประชาชนในพื้นที่จังหวัดต่างๆ โดยก่อนหน้านี้ พ.ต.อ.จักรทิพย์ ติดภารกิจและมอบหมายให้ผู้ใต้บังคับบัญชามาแทนหลายครั้ง แต่ผู้แทนไม่สามารถตอบคำถามของที่ประชุมได้
 
 
 
1346
 
 

พรรณิการ์ วานิช รองประธาน กมธ. สอบถามว่า ที่ผ่านมา กมธ.เชิญตำรวจจากหลายภาครวมถึงตำรวจสันติบาลมาให้ข้อมูลเรื่องการใช้อำนาจของตำรวจในกรณีการวิ่งไล่ลุง เนื่องจากพบว่าการปฏิบัติของตำรวจต่อผู้ชุมนุมมีทิศทางและเงื่อนไขที่แตกต่างกันมาก เช่น ผู้จัดกิจกรรมวิ่งไล่ลุงที่จังหวัดอุบลราชธานีและพะเยาถูกคุกคามและมีการแจ้งข้อหาตามมา ขณะที่บางพื้นที่สามารถจัดกิจกรรมได้ ดังนั้นจึงขอถามว่า แนวการปฏิบัติจากส่วนกลางในเรื่องวิ่งไล่ลุงเป็นอย่างไร เหตุใดในบางพื้นที่ถูกห้ามจัดกิจกรรมหรือมีข้อห้ามปลีกย่อยอื่นๆ เช่น การห้ามไม่ให้ใส่เสื้อวิ่งไล่ลุง
 

พรรณิการณ์กล่าวต่อว่า ตามพ.ร.บ.ชุมนุมฯ นอกจากตัวกฎหมายแล้วยังมีแผนการดูแลการชุมนุมสาธารณะแบ่งเป็น 4 ขั้นคือ ขั้นเตรียมการ เผชิญเหตุ เข้าคลี่คลายสถานการณ์ และฟื้นฟู อยากให้ช่วยอธิบายขั้นเตรียมการซึ่งระบุไว้ด้วยว่ามีการสืบข่าวเพื่อหาข้อมูลว่ามีการชุมนุมที่ใดบ้าง
 

พล.ต.อ.จักรทิพย์ ตอบว่า แนวนโยบายหลักคือการดูแลความปลอดภัยกับประชาชนที่เข้ามาทำกิจกรรม โดยตำรวจจะใช้กฎหมายปกติและใช้พ.ร.บ.ชุมนุมฯ เป็นหลัก ในส่วนของเรื่องความมั่นคงจะขอให้พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นผู้ชี้แจง
 

พล.ต.อ.สุวัฒน์ กล่าวว่า ส่วนกลางไม่ได้มีข้อสั่งการในรายละเอียดมากนัก แต่เน้นย้ำให้ดูแลเรื่องความปลอดภัยและการใดที่เหลือให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ถ้าเป็นความผิดให้ดำเนินคดีทางอาญาไป ที่ผ่านมาทางตำรวจไม่ได้ทำอะไรไปมากกว่านี้ แผนที่พรรณิการ์อ้างถึงอาจจะเป็น ‘แผนกรกฎ’ เดิมซึ่งทุกวันนี้เราได้ทำการทบทวนว่ายังเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันหรือไม่ อย่างไรก็ตามการสืบสวนหาข่าวเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แต่เรื่องการกดดันจะต้องไปดูในรายละเอียดเป็นกรณีไป
 

พล.ต.อ.จักรทิพย์ตอบคำถามเรื่องมีทหารสั่งการให้ดูแลการชุมนุมวิ่งไล่ลุงหรือไม่ว่า ขอยืนยันว่า ฝ่ายทหารไม่ได้มีการแทรกแซงตำรวจเลย การชุมนุมที่ผ่านมามีแนวทางในการดูแลความปลอดภัยของประชาชนให้มากที่สุด สิ่งที่ตำรวจไม่อยากเห็นคือ การลงถนน และเป็นเรื่องต่อเนื่องไม่จบไม่สิ้น นำไปสู่คดีความขึ้นศาล
 

“...ผมไม่ใช่คู่ขัดแย้ง การกระทบกระทั่งในหน้างานนั้นมีบ้าง แต่เจรจากันได้ ท่านอย่าสงสัยว่า ตำรวจเข้าข้างใดข้างหนึ่ง ผมเอียงไม่ได้ ผมเอียงไปผมถูกมาตรา 157 ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่...” พล.ต.อ.จักรทิพย์กล่าว
 

สาวตรี สุขศรี อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะที่ปรึกษาประจำคณะกรรมการฯ ถามคำถาม 3 ข้อ
 

1.ดูเหมือนส่วนกลางไม่ได้มีนโยบายที่ชัดเจนในการควบคุมงานวิ่งไล่ลุง จึงอยากทราบว่าในกรณีที่มีข้อร้องเรียนว่าเจ้าหน้าที่มีการกระทำที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมาย ตำรวจจะทบทวนการทำงานของผู้ปฏิบัติการในพื้นที่อย่างไร จะมีกระบวนการเรียกเจ้าพนักงานในพื้นที่มาดำเนินการหรือไม่อย่างไร หรือมีบทลงโทษต่อเจ้าพนักงานในพื้นที่อย่างไร
 

2.พล.ต.อ.จักรทิพย์มีแนวทางในการบอกแจ้งเรื่องการดำเนินการต่อผู้ร้องเรียน หรือต่อสาธารณะอย่างไร
 

3.หลักการของพ.ร.บ.ชุมนุมฯ ไม่ใช่การให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่พิจารณาอนุญาตให้ประชาชนจัดการชุมนุม เป็นเพียงการแจ้งให้ทราบเท่านั้น แต่เท่าที่ได้รับฟังข้อเท็จจริงมาเห็นว่า ทัศนคติของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ให้น้ำหนักไปเรื่องอำนาจในการอนุญาตให้ประชาชนชุมนุม หรือสร้างเงื่อนไขให้แก่ประชาชนอย่างไรก็ได้ซึ่งขัดกับหลักการของกฎหมาย จึงอยากทราบว่าจะมีแนวทางในการปรับทัศนคติของเจ้าหน้าที่หรือไม่ ส่วนทัศนคติของ ผบ.ตร.ที่ว่าไม่อยากเห็นคนลงถนนก็อาจจะไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพ.ร.บ.ชุมนุมฯ ซึ่งมีความขัดแย้งและน่ากังวลใจต่อประชาชนที่อยากจะสิทธิเสรีภาพในการชุมนุม
 
 
พล.ต.อ. สุวัฒน์ เป็นผู้ตอบคำถามอย่างรวบรัดว่า ในภาพรวมเรื่องทัศนคติ กฎหมายบังคับอยู่ว่า เจ้าพนักงานที่รับแจ้งการชุมนุมตามพ.ร.บ.ชุมนุมฯ จะต้องได้รับการอบรมอยู่แล้ว เท่าที่ตรวจสอบเจ้าหน้าที่ตำรวจยังไม่มีใครทำอะไรที่ผิดกฎหมาย แต่วิธีการปฏิบัติของเขาอาจแตกต่างกันตามระดับความวิตกกังวล แนวทางการปรับปรุงการดูแลการชุมนุมสาธารณะต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่ง ดูว่าตัวแบบที่ใช้ในปัจจุบันสอดคล้องกับสถานการณ์หรือไม่
 
 
“...ขอยืนยันว่าตำรวจเข้าใจหลักการประชาธิปไตย แต่เราไม่อยากเป็นประเทศฝรั่งเศส เขาก็ชุมนุมถูกต้อง แต่เผาปารีสกันเป็นเดือนๆ ส่วนประเด็นเรื่องการสืบสวนหาข่าวก่อนเกิดเหตุอย่างไรเราก็ต้องทำ เพียงแต่จะทำอย่างไรให้สองฝ่ายสบายใจต้องมาพูดคุยกัน...” พล.ต.อ.สุวัฒน์กล่าว
 

รอง ผบ.ตร.ระบุด้วยว่า ปัจจุบันมีคดี ตามพ.ร.บ.ชุมนุมฯ ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมวิ่งไล่ลุงจำนวน 17 คดี เป็นของกลุ่มวิ่งไล่ลุง 15 คดีและกลุ่มเดินเชียร์ลุง 2 คดี
 

จากการรวบรวมข้อมูลเท่าที่ทราบหลังกิจกรรมปรากฏว่า มีประชาชนทั้งที่เป็นผู้จัดกิจกรรมและผู้ร่วมกิจกรรม(ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้จัด) ถูกตำรวจออกหมายเรียกให้มารับทราบข้อกล่าวหา โดยมีผู้ถูกดำเนินคดีในข้อหาไม่แจ้งการชุมนุมสาธารณะ ไปแล้วอย่างน้อย 16 ราย ใน 12 จังหวัด แยกเป็นจังหวัดในภาคอีสาน 5 รายคือ บุรีรัมย์, นครพนม, สุรินทร์, ยโสธร และกาฬสินธุ์  ภาคกลาง 3 รายคือ กรุงเทพฯ นนทบุรี และนครสวรรค์  ภาคเหนือ 6 รายจากจังหวัดลำพูนและเชียงราย  ภาคใต้อีก 1 ราย จากอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา