1241 1885 1302 1222 1263 1576 1178 1986 1929 1997 1163 1209 1001 1997 1302 1200 1888 1036 1615 1133 1285 1305 1018 1586 1683 1420 1850 1716 1460 1606 1520 1304 1892 1597 1599 1384 1439 1348 1980 1404 1515 1509 1452 1217 1937 1674 1629 1864 1319 1028 1189 1803 1102 1085 1084 1744 1313 1965 1478 1678 1004 1870 1330 1155 1193 1568 1596 1010 1522 1780 1585 1205 1777 1664 1352 1668 1693 1991 1271 1673 1328 1848 1613 1622 1955 1741 1925 1438 1117 1956 1444 1826 1161 1160 1962 1898 1075 1214 1604 ผู้ป่วยทางจิตกับคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ผู้ป่วยทางจิตกับคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์


นับตั้งแต่รัฐประหาร 2557 มีการใช้มาตรา 112 ในการดำเนินคดีเอาผิดประชาชนมาแล้ว 98 คดี ในจำนวนคดีทั้งหมดนี้ เป็นการดำเนินคดีเอาผิดผู้ป่วยทางจิต จำนวน 13 คน จากการรวบรวมสถิติการดำเนินคดีตามาตรา 112 ของไอลอว์พบว่า ตั้งแต่รัฐประหาร 2557 มีแนวโน้มในการใช้มาตรา 112 ในการดำเนินคดีเพิ่มมากขึ้น โดยมีการดำเนินคดีตามมาตรา 112 แล้ว จำนวน 70 คดี จากผู้ถูกกล่าวหา 98 คน พิพากษาคดีแล้ว 37 คดี รอคำพิพากษา 24 คดี  ศาลไม่ฟ้อง 2 คดี และ ไม่ทราบความเคลื่อนไหวอีก 7 คดี
 
 
1404
 
 
++++อาการจิตเภทคือโรคยอดฮิต++++
 
โรคจิตเภท (Schizophrenia) คือโรคที่มีความผิดปกติทางจิตที่รุนแรงและเรื้อรัง ส่งผลต่อการพูด การคิด การรับรู้ ความรู้สึก และการแสดงออกของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยมีอาการต่าง ๆ อย่างเช่น ประสาทหลอน หลงผิด ปลีกตัวจากสังคม หรือไม่สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ตามปกติ
 

คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่าผู้ป่วยจิตเภทหากกระทำผิดจะได้รับข้อยกเว้นในการไม่ต้องรับโทษทางกฎหมาย แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้ป่วยจิตเภทหากกระทำผิดก็ยังคงต้องได้รับโทษตามทางกฎหมาย โดยจะถูกส่งฟ้องหรือไม่ส่งฟ้องนั้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้รับเรื่องหรือศาล หากส่งฟ้องผู้ป่วยจะถูกส่งตัวไปรักษาอาการให้หายก่อน จึงกลับมารับโทษตามปกติ โดยโทษนั้นจะเบาลงหรือเท่าเดิมขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาล
 
 
จากการติดตามของไอลอว์พบว่านับตั้งแต่รัฐประหารปี 2557 มีผู้ป่วยจิตเภทหรือผู้มีประวัติที่มีอาการทางจิตถูกกล่าวหาในคดีมาตรา 112 มาแล้ว จำนวน 13 คน เช่น
 
 
“ธเนศ” มีอาการป่วยทางจิต ถูกจับกุมในปี 2557 ในข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ เนื่องจากได้ยินเสียงแว่วข้างหูให้ส่งอีเมลที่มีลิงก์เชื่อมไปยังเนื้อหาที่เข้าข่ายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์และรัชทายาท ไปยังอีเมลชาวอังกฤษ ศาลตัดสินจำคุก 5 ปี แต่เนื่องจากจำเลยให้การเป็นประโยชน์ ทำให้ลดโทษจำคุกลงเหลือ 3 ปี 4 เดือน
 
 
“บุปผา” เป็นผู้ป่วยทางจิต เชื่อว่าตนเป็นเชื้อพระวงศ์ ถูกจับกุมในปี 2559 ในข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ เนื่องจากได้โพสต์เฟซบุ๊กที่มีข้อความกล่าวถึงพระบรมวงศานุวงศ์ จำนวน 13 ข้อความ ปัจจุบันคดีอยู่ในชั้นศาลชั้นต้น และ “บุปผา” ได้รับการประกันตัวชั่วคราว
 
 
“เสาร์” มีประวัติอาการทางจิต เชื่อว่าตนสามารถติดต่อกับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ ทำให้ถูกตั้งข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา 112 ปัจจุบันคดีอยู่ในชั้นศาลชั้นต้น และ “เสาร์” ได้รับการประกันตัวชั่วคราว
 

++++บัณฑิต แชมป์ คดี 112++++
 
 
บัณฑิต มีประวัติอาการทางจิต ถูกดำเนินคดีตามมาตรา 112 มาแล้วหลายครั้ง
 
ครั้งที่หนึ่ง ถูกจับกุมในปี 2518 จากการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง แต่ไม่ถูกดำเนินคดี
 
ครั้งที่สอง ถูกจับกุมในปี 2546 เนื่องจากแสดงความคิดเห็นในงานเสวนาและขายเอกสารที่มีเนื้อหาหมิ่นพระมหากษัตริย์ ศาลสั่งจำคุก 4 ปี แต่เนื่องจากบัณฑิตมีอาการป่วยทางจิต จึงลดโทษเป็นรอลงอาญา 3 ปี และรายงานต่อผู้คุมความประพฤติเป็นเวลา 2 ปี
 
ครั้งที่สาม ถูกจับกุมในปี 2557 ขณะพยายามตั้งคำถามในงานเสวนาที่พรรคนวัตกรรมระดมความเห็นเกี่ยวกับการปฏิรูปในเรื่องต่าง ๆ 2 ประโยค ปัจจุบันคดีสืบพยานเสร็จสิ้น รอฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้น
 
ครั้งที่สี่ ถูกตั้งข้อหาจากการแสดงความเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญในงานเสวนาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี 2559 ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างการพิจารณา
 

++++ปลายทางของคดีคนป่วยจิตเภทที่ไม่ค่อยสวยนัก++++
 
 
ธเนศ เขาถูกศาลตัดสินให้มีความผิด แม้ว่าจะถูกส่งตัวไปรักษาอาการทางจิต และจิตแพทย์ยืนยันแล้วว่าธเนศป่วยทางจิต มีอาการหวาดระแวง และหูแว่ว ซึ่งสอดคล้องกับคำให้การของธเนศ ว่าตนได้ยินเสียงแว่วในหูทำให้ตนทำตามเสียงที่ได้ยิน เนื่องจากศาลพิจารณาแล้วว่าธเนศมีสติรู้ตัวดีขณะกระทำ ทำให้ถูกตัดสินจำโทษคุก 5 ปี และลดโทษลงเหลือ 3 ปี 4 เดือน
 
 
“สิชล” มีอาการป่วยทางจิต จิตแพทย์และครอบครัวยืนยันว่ามีอาการป่วยจริง ทั้งยังเคยมีประวัติการโพสต์ข้อความโดยขาดสติ และเมื่อมีสติกลับคืนมาได้ “สิชล” จะลบข้อความและตามขอโทษทุกครั้ง  ทำให้เชื่อได้ว่าขณะทำผิด“สิชล”อาจไม่มีสติ แต่ศาลไม่ได้นำประเด็นนี้ไปพิจารณา และเอาผิด “สิชล” ทำให้เกิดข้อถกเถียงถึงช่องโหว่ของกฎหมาย ที่ไม่เป็นธรรมและเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ป่วยจิตเภท ต่อมาในวันที่ 12 เมษายน 2563 “สิชล” ตัดสินใจจบชีวิตตนเองลง ด้วยการกระโดดน้ำ หลังจากพยายามมาแล้วถึง 2 ครั้ง แต่ไม่สำเร็จ
 
 
ประจักษ์ชัยเป็นผู้ป่วยทางจิต เชื่อว่าตนเองคือพระมหากษัตริย์ จึงไปเขียนเรื่องร้องเรียนบริเวณทำเนียบรัฐบาล ก่อนถูกจับกุมในข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ช่วงต้นปี 2558 เขาถูกฟ้องคดีในศาลทหารกรุงเทพ แต่เพราะความล่าช้าของศาลทหาร ประจักษ์ชัยที่มีโรคประจำตัวรุมเร้าเสียชีวิตลงในปี 2562 ขณะยังสืบพยานไม่เสร็จ คดีนี้จึงสิ้นสุดไปโดยไม่มีคำพิพากษา
 

ฤาชาถูกกล่าวหา ตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 คู่กับประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยเขาเชื่อว่าพระแม่ธรณีเป็นผู้โพสต์เฟซบุ๊กจำนวน 6 ข้อความ ฤๅชามีประวัติเข้ารักษาอาการทางจิตมานานหลายปี แพทย์วินิจฉัยว่าอาการของเขายากจะรักษาให้หายและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ แต่ศาลก็มีคำสั่งให้นำคดีของฤๅชาขึ้นมาพิจารณาสวนทางกับความเห็นของแพทย์ผู้ตรวจรักษาอาการทางจิต