1224 1914 1866 1689 1592 1372 1882 1135 1991 1369 1171 1204 1004 1418 1816 1635 1022 1971 1592 1175 1991 1326 1451 1505 1657 1377 1633 1741 1606 1426 1194 1461 1609 1105 1091 1384 1827 1954 1171 1719 1333 1658 1678 1603 1558 1705 1090 1970 1597 1900 1355 1770 1995 1460 1182 1996 1274 1482 1051 1235 1114 1361 1105 1904 1406 1391 1087 1944 1885 1248 1582 1583 1897 1808 1149 1557 1984 1468 1248 1792 1174 1415 1344 1343 1762 1295 1835 1199 1943 1679 1050 1355 1153 1122 1194 1056 1096 1630 1831 "ถอนประกัน-ไม่ให้ประกัน" การใช้กระบวนการยุติธรรมสกัดการชุมนุม | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

"ถอนประกัน-ไม่ให้ประกัน" การใช้กระบวนการยุติธรรมสกัดการชุมนุม

นับตั้งแต่การชุมนุมใหญ่ในเดือนกรกฎาคม 2563 จนถึงเดือนสิงหาคม 2564 รัฐพยายามใช้ยุทธวิธีที่หลากหลายเพื่อสกัดกั้นการชุมนุมที่ค่อยๆ ขยายตัว ไม่ว่าจะเป็นการบังคับใช้กฎหมายที่มีโทษสูงอย่างกว้างขวางเพื่อจะออกหมายจับผู้ต้องหาโดยไม่ออกหมายเรียก รวมถึงการปฏิเสธสิทธิในการประกันตัวของผู้ต้องหาคดีการเมืองที่แม้บางส่วนจะไม่เคยถูกดำเนินคดีมาก่อน 
 
โดยปรากฎการณ์เหล่านี้ กำลังสะท้อนให้เห็น 'แนวรบด้านกระบวนการยุติธรรม' ที่กลับมาตึงเครียดอีกครั้ง ซึ่งสามารถลำดับสถานการณ์ได้ ดังนี้
 
ปี 63 รัฐเร่งรัดออกหมายจับและไม่ให้ประกันตัวผู้ชุมนุม
 
นับตั้งแต่มีการชุมนุมใหญ่ในเดือนกรกฎาคม ปี 2563 เป็นต้นมา การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ "สถาบันกษัตริย์" เริ่มปรากฎให้เห็นมากขึ้น ทั้งการแสดงออกจากผู้ชุมนุม หรือ การปราศรัยอย่างเปิดเผยซึ่งในช่วงเวลานั้น ยังไม่มีการบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือ ข้อหาหมิ่นพระมหากษัตริย์ฯ แต่ข้อหาที่รัฐนำมาใช้กับบรรดาแกนนำและผู้ชุมนุม ผู้ปราศรัย ก็คือ ข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ กับ ข้อหายุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ตามลำดับ
 
แม้ข้อหาทั้งสองจะไม่มีโทษร้ายแรงเท่า "มาตรา 112" แต่ "มาตรา 116" ก็เป็นฐานทางอำนาจที่ทำให้ตำรวจเร่งรัดออกหมายจับกับบรรดาแกนนำการชุมนุม เนื่องจากตามประมวลกฎหมายพิจารณาความอาญา มาตรา 66 (1) กำหนดให้ การออกหมายจับทำได้เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี ดังนั้น การจะสกัดจับบรรดาแกนนำการชุมนุมจึงจำเป็นต้องพ่วงข้อหาตามมาตรา 116 เข้าไปด้วย เพื่อให้สามารถเร่งรัดออกหมายจับได้
 
โดยกรณีตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นการเร่งรัดออกหมายจับเพื่อสกัดการชุมนุม คือ กรณี "ทนายอานนท์" กับ "ไมค์ ภาณุพงศ์" ออกหมายจับและถูกจับกุมตัวด้วยข้อหายุยงปลุกปั่นและข้อหาฝ่าฝืนข้อกำหนดตามพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในวันที่ 7 สิงหาคม 2563 และถูกนำตัวไปฝากขังที่ศาลอาญาในวันที่ 8 สิงหาคม ซึ่งเป็นการออกหมายจับและจับกุมทั้งสองคนเกิดขึ้นก่อน ที่พวกเขาจะได้ขึ้นปราศรัย โดยทนายอานนท์มีกำหนดต้องปราศรัยที่เชียงใหม่วันที่ 9 สิงหาคม และ ทั้งสองคนต้องขึ้นปราศรัยในการชุมนุมใหญ่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิตในวันที่ 10 สิงหาคม 
 
แม้ว่าในวันที่ 8 สิงหาคม 2563 ทั้ง 'ทนายอานนท์' และ 'ไมค์ ภาณุพงศ์' จะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวตามคำสั่งศาล และศาลก็กำหนดเงื่อนไขในการปล่อยตัวด้วยว่า ทั้งสองคนต้องห้ามกระทำการลักษณะเดียวกับที่ถูกกล่าวหา ซึ่งมาตรการดังกล่าวคือ "โซ่ตรวน" ที่ยังผูกขาทั้งสองคนเอาไว้ หากใช้เสรีภาพเกินขอบเขตที่ศาลเป็นผู้กำหนด 
 
ทั้งนี้ หลังจากที่ทั้งสองคนได้ขึ้นปราศรัยที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในวันที่ 10 สิงหาคม 2563 พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลสำราญราษฎร์ได้ยื่นคำร้องให้ศาลเพิกถอนสัญญาประกันตัว 'ทนายอานนท์' และ 'ไมค์ ภาณุพงศ์' เพราะเห็นว่าการปราศรัยของทั้งสองเข้าข่ายผิดสัญญาประกัน จากนั้นในวันที่ 3 กันยายน 2563 ศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกสัญญาประกันของทนายอานนท์ ส่วน ไมค์ ภาณุพงศ์ ศาลสั่งให้แก้ไขสัญญาประกันโดยเพิ่มเงื่อนไขบางประการแต่ภาณุพงศ์ไม่ยอมรับเงื่อนไข ทั้งสองจึงถูกเพิกถอนสัญญาประกันไปด้วย ซึ่งการถอนประกันครั้งดังกล่าว เกิดขึ้นก่อนถึงวันนัดชุมนุมใหญ่ของแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมในวันที่ 19 กันยายน 2563 ประมาณ 2 สัปดาห์ 
 
นอกจากนี้ ยังมีอีกหนึ่งกรณีที่สะท้อนว่า รัฐใช้มาตรการ "ไม่ให้ประกัน" เพื่อสกัดการชุมนุม คือ การกวาดจับกลุ่ม 'ราษฎรอีสาน' ที่นำโดย "ไผ่-จตุภัทร บุญภัทรรักษา" ในวันที่ 13 ตุลาคม 2563 หรือ หนึ่งวันก่อนหน้าการชุมนุมใหญ่ของคณะราษฎร 63 และบรรดาผู้ที่ถูกจับกุมกว่า 20 คน ก็ไม่ได้รับการประกันตัว เนื่องจาก ศาลเห็นว่า "ผู้ต้องหาทั้ง 19 คน มีพฤติการณ์ส่อไปในทางที่ก่อให้เกิดความรุนแรง และมีพฤติการณ์ต่อสู้เจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ในลักษณะเป็นกลุ่มชนหมู่มาก อีกทั้งมีแนวโน้มที่จะก่อความวุ่นวายในที่ชุมนุม และยากต่อการควบคุมสถานการณ์อันอาจเกิดอันตรายต่อทรัพย์สินของผู้อื่นและประชาชน หากอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวในช่วงเวลานี้ เชื่อว่าจะไปร่วมก่อความวุ่นวายในบ้านเมืองอีก"
 
ปี 64 ไม่ให้ประกันตัวคดี 112 และวางเงื่อนไขห้ามแสดงออก
 
ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2563 พล.อ.ประยุทธ์ออกแถลงการณ์ว่าจะใช้มาตรการทางกฎหมายในการตอบโต้กับกลุ่มผู้ชุมนุม โดยระบุว่า "...รัฐบาลและหน่วยงานด้านความมั่นคงจึงจำเป็นต้องเพิ่มความเข้มข้น ในการปฏิบัติ โดยจะบังคับใช้กฎหมายทุกฉบับ ทุกมาตราที่มีอยู่ ดำเนินการต่อผู้ชุมนุมที่กระทำความผิด ฝ่าฝืนกฎหมาย เพิกเฉยต่อการเคารพสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น.."
 
หลังออกแถลงการณ์ฉบับดังกล่าวประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ก็ถูกนำกลับมาใช้อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง โดยหากนับจาก 19 พฤศจิกายน 2563 ถึง 11 มิถุนายน 2564 มีผู้ถูกตั้งข้อกล่าวหาด้วยมาตรา 112 อย่างน้อย 97 คน และมีอย่างน้อย 16 คนในจำนวนดังกล่าวถูกคุมขังในชั้นสอบสวนและชั้นพิจารณาคดี โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีบทบาทนำในการชุมนุม และถูกมองโดยเจ้าหน้าที่ว่าเป็นพวกหัวแข็ง ยอมหักไม่ยอมงอ เช่น ทนายอานนท์ หริษฐ์หรือเพนกวิ้น และไมค์ ภาณุพงศ์ ต่างถูกคุมคุมขังระหว่างการพิจารณาคดีเป็นเวลานานโดยทนายอานนท์ถูกคุมขังนานที่สุดเป็นเวลา 113 วัน จากวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ถึง 1 มิถุนายน 2563
 
อย่างไรก็ดี นับตั้งแต่เดือนเมษยน 2564 มีบรรดาแกนนำและผู้ชุมนุมได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว หรือ ได้รับการประกันตัวมากขึ้น แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ศาลกำหนด โดยหนึ่งในเงื่อนไขสำคัญที่จะได้รับการประกันตัว คือ "ไม่กระทำการที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์" โดยผู้ต้องหารายแรกที่รับเงื่อนไขและได้รับการประกันตัว คือ แบงค์-ปติวัฒน์ หลังจากนั้นผู้ต้องหาคดีมาตรา 112 คนอื่น ๆจึงทยอยยอมรับเงื่อนไขและได้รับการปล่อยตัวกันออกมา
 
แต่ทว่า เงื่อนไขในการปล่อยตัวดังกล่าว ก็เปรียบเสมือน "ชนักติดหลัง" ของบรรดาแกนนำและผู้ชุมนุมที่ถูกดำเนินคดี และกลายเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ อัยการ รวมถึงที่ผู้มีแนวคิดทางการเมืองแตกต่างจากกลุ่มนักกิจกรรมนำมาใช้จำกัดการเคลื่อนไหวของพวกเขาโดยขอให้ศาลใต่สวนว่านักกิจกรรมเหล่านั้นทำผิดสัญญาประกันหรือไม่ เช่น

14 พฤษภาคม 2564 สนธิญา สวัสดี ที่ปรึกษาประธานคณะกรรมาธิการกฎหมายการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร ยื่นขอถอนการประกันตัว 'เพนกวิ้น-พริษฐ์' จากกรณีที่เขาโพสต์ข้อความ ‘สาส์นแรกแห่งอิสรภาพ’ บนเฟซบุ๊กส่วนตัวซึ่งอาจเข้าข่ายผิดเงื่อนไขการประกันตัว แต่ครั้งนั้นศาลเพียงแต่เรียกผู้ดูแลพริษฐ์มาไต่สวนแล้วกำชับเรื่องแสดงออกแต่ไม่ได้มีคำสั่งถอนประกัน 

31 พฤษภาคม 2564  ผู้อำนายการสำนักอำนวยการประจำศาลอาญา ยื่นให้เพิกถอนการปล่อยชั่วคราวของ 'ไบร์ท-ชินวัตร' จากเหตุร่วมชุมนุมที่ด้านหน้าอาคารศาลอาญา, ประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล และกระทำการฝ่าฝืนข้อกำหนดของศาลอาญา 

6 กรกฎาคม 2564 อัยการเจ้าของสำนวนคดีการชุมนุมที่วงเวียนใหญ่ร้องขอให้ศาลอาญาธนบุรีไต่สวนเพิกถอนสัญญาประกันของ 'ตี้-วรรณวลี' จากกรณีที่เธอร่วมชุมนุมและปราศรัยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2564 โดยศาลจะนัดไต่สวนไปเป็นวันที่ 21 กันยายน 2564 
 
7 กรกฎาคม 2564 รุ้งปนัสยาได้รับหมายเรียกให้เข้ารับการไต่สวนเพิกถอนสัญญาประกันในวันที่ 23 กรกฎาคม 2564 อย่างไรก็ตามเนื่องจากมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด19 และศาลอาญามีการกำหนดมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อ จึงเลื่อนนัดไต่สวนเพิกถอนสัญญาประกันเป็นวันที่ 7 กันยายน 2564 

19 กรกฎาคม 2564 จักรพงศ์ กลิ่นแก้ว ตัวแทน กลุ่มศูนย์ประสานงาน นักศึกษาอาชีวะ ประชาชนปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือ ศปปส. เข้าพบสิทธิโชติ อินทรวิเศษ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ยื่นคำร้องให้พิจารณาพฤติกรรมการกระทำผิดซ้ำ ของแกนนำผู้ชุมนุมราษฎร หากเห็นว่ามีบุคคลใดที่ทำผิดเงื่อนไขการประกันตัวขอให้ศาลสั่งเพิกถอนสัญญาประกัน 

3 สิงหาคม 2564 จักรพงศ์ กลิ่นแก้ว ตัวแทนกลุ่มศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน หรือ ศปปส.ยื่นหนังสือและเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมต่อ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ขอให้พิจารณาว่าพฤติการณ์การกระทำผิดซ้ำของกลุ่มผู้ต้องหาและจำเลยคดีมาตรา 112 เข้าข่ายผิดเงื่อนไขการประกันตัวหรือไม่ และหากศาลเห็นว่าบุคคลใดทำผิดเงื่อนไขก็ขอให้เพิกถอนสัญญาประกัน 

6 สิงหาคม 2564 สิระ เจนจาคะ ส.ส.กทม.พรรคพลังประชารัฐ ยื่นหนังสือถึงอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง เพื่อให้พิจารณาเพิกถอนสัญญาประกันตัวของจตุภัทร์ กับพวกที่ได้รับการประกันตัวในคดีที่ทั้งหมดร่วมชุมนุมที่หน้าสโมสรตำรวจแต่ในวันเดียวกับที่ทั้งหมดได้รับการประกันตัวกลับมาชุมนุมก่อความวุ่นวายและทำลายทรัพย์สินของสน.ทุ่งสองห้อง 
 
นอกจากกรณีที่มีการยื่นเรื่องให้ศาลเพิกถอนสัญญาประกันของผู้ต้องหาและจำเลยคดีการเมืองที่ยังคงเคลื่อนไหวทางการเมือง พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ในฐานะโฆษกกองบัญชาการตำรวจนครบาลยังกล่าวด้วยว่า แกนนำที่จะเข้าร่วมการชุมนุม หรือเป็นผู้ชักชวนให้ผู้อื่นมาร่วมการชุมนุม โดยที่ตัวเองยังเป็นจำเลยหรือผู้ต้องหาในคดีความมั่นคงและอยู่ระหว่างการประกันตัวโดยมีเงื่อนไข หากมีการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายทางตำรวจนครบาลอาจพิจารณายื่นคำร้องให้ศาลเพิกถอนสัญญาประกันต่อไป
 
เท่าที่มีข้อมูลนับจากเดือนมิถุนายน 2564 จนถึงวันที่ 20 สิงหาคม 2564 พบว่ามีผู้ต้องหาหรือจำเลยคดีมาตรา 112 ที่ได้รับการประกันตัวระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน 2564 หลังยอมรับเงื่อนไขการประกันตัวของศาล สองคนที่ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนสัญญาได้แก่พริษฐ์หรือเพนกวิ้นและจตุภัทร์หรือไผ่
 

วันที่

ผู้ต้องหา

ผู้ยื่นถอนประกัน

สาเหตุยื่นถอนประกัน

ผลการถอนประกัน

14 พฤษภาคม 2564

 

พริษฐ์ ชิวารักษ์

 

สนธิญา สวัสดี

 

ที่ปรึกษาประธานคณะกรรมาธิการกฎหมายการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร

 

โพสต์ข้อความ ‘สาส์นแรกแห่งอิสรภาพ’ บนเฟซบุ๊ก เข้าข่ายผิดสัญญาประกัน

 

ศาลไม่ถอนประกัน แต่กำชับให้พริษฐ์ปฏิบัติตามสัญญาประกันอย่างเคร่งครัด

31 พฤษภาคม 2564

 

ชินวัตร จันทร์กระจ่าง

ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการประจำศาลอาญา

 

ร่วมชุมนุมที่ด้านหน้าอาคารศาลอาญา และกระทำการฝ่าฝืนข้อกำหนดของศาลอาญา

 

ศาลไม่ถอนประกัน แต่กำหนดเงื่อนไขประกันเพิ่มเติมคือห้ามไปร่วมการชุมนุมทีอาจก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง

6 กรกฎาคม 2564

 

วรรณวลี เอมจิตต์

(ตี้ พะเยา)

อัยการโจทก์

เข้าร่วมการชุมนุมวันที่ 24 มิถุนายน 2564

ศาลอาญาธนบุรีนัดไต่สวนวันที่ 21 กันยายน 2564

7 กรกฎาคม 2564

 

ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล

พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 7


ไม่ทราบรายละเอียดแน่ชัดว่าเป็นการกระทำใด

ศาลอาญานัดไต่สวนวันที่ 7 กันยายน 2564

6 สิงหาคม 2564

 

จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา

กับพวก รวม 29 คน

สิระ เจนจาคะ ส.ส. กทม. พรรคพลังประชารัฐ

กระทำความผิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าในลักษณะเดิมๆ เป็นพฤติการณ์ของคนที่ไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย ไม่เคารพกฎหมายบ้านเมือง

 

ไม่มีข้อมูล

9 สิงหาคม 2564

พริษฐ์ ชิวารักษ์

พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 7

 

โพสต์ภาพถ่ายตัวเองถือพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่สิบ และมีข้อความที่ไม่เหมาะสมปรากฎบนบนโพสต์ดังกล่าว

ศาลสั่งถอนประกัน โดยไม่มีการไต่สวน และให้เหตุผลว่าอัยการผู้ร้องมีหลักฐานมาแสดงชัดเจน

11 สิงหาคม 2564

จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา

พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 7

จัดและร่วมการชุมนุมที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองหลายครั้ง

ศาลสั่งถอนประกัน โดยให้เหตุผลว่า จำเลยร่วมทำกิจกรรมทำให้เกิดเหตุการณ์ความวุ่นวาย สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนทั่วไปและจัดการชุมนุมในสภาวะที่มีการระบาดของcovid19

 

































































กรณีของพริษฐ์
 
วันที่ 9 สิงหาคม 2564 ระหว่างที่พริษฐ์ถูกนำตัวไปฝากขังในข้อหาชุมนุมมั่วสุมก่อความวุ่นวายในบ้านเมืองโดยมีพฤติการณืเป็นแกนนำและข้อหาอื่นๆที่ศาลจังหวัดธัญบุรีจากกรณีที่เขาร่วมการชุมนุมเรียกร้องให้ปล่อยตัวไผ่จตุภัทร์และผู้ชุมนุมทะลุฟ้าเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 ศาลอาญาส่งหนังสือคำสั่งถอนประกันพริษฐ์ที่ลงนามโดยชนาธิป เหมือนพะวงศ์ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญามาที่ศาลจังหวัดธัญบุรี โดยอัยการเจ้าของสำนวนคดีการชุมนุม 19 กันยาทวงอำนาจคืนราษฎรเป็นผู้ยื่นคำร้องให้ศาลเพิกถอนสัญญาประกันของพริษฐ์ จากกรณีที่มีภาพของพริษฐ์ ถ่ายภาพกับพระบรมฉายาลักษณ์ขนาดเล็กในลักษณะที่ไม่เหมาะสมและเข้าข่ายเป็นการดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาท 
 
กรณีของจตุภัทร์
 
วันที่ 11 สิงหาคม 2564 ระหว่างที่จตุภัทร์ถูกคุมขังที่ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง ศาลอาญามีคำสั่งเพิกถอนสัญญาประกันของจตุภัทร์ตามที่อัยการเจ้าของสำนวนคดีการชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร ร้องขอ โดยศาลให้เหตุผลว่า จำเลยมีพฤติการณ์ร่วมทำกิจกรรมทำให้เกิดเหตุการณ์ความวุ่นวาย สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนทั่วไปและจัดการชุมนุมในสภาวะที่มีการระบาดของcovid19
 
ไม่ใช่แค่คดี 112 ที่ไม่ได้ประกันหรือถูกวางเงื่อนไขห้ามแสดงออก
 
แม้คดีมาตรา 112 จะเป็นคดีการเมืองที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีความเสี่ยงสูงที่จะไม่ได้รับการประกันตัวในอันดับต้นๆ แต่ก็ไม่ใช่เพียงข้อกล่าวหาเดียว เพราะที่ผ่านมา มีหลายคดี ที่ศาลปฏิเสธสิทธิในการประกันตัว ยกตัวอย่างเช่น 
 
ในคดีนี้มีผู้ต้องหาอย่างน้อย 5 คน และทุกคนถูกปฏิเสธสิทธิในการประกันตัวเป็นเวลานานกว่า 2 เดือน โดยศาลระบุว่า "พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว การกระทำของจำเลยทั้งห้าเกิดจากการไม่ยำเกรงต่อกฎหมาย สร้างความวุ่นวายให้เกิดในบ้านเมือง หากได้รับการปล่อยตัวเห็นว่า จำเลยทั้งห้าจะไปกระทำอันตรายประการอื่นอีก"  
 
อีกทั้ง เมื่อจำเลยได้รับการประกันตัว ศาลยังตั้งเงื่อนไขการประกันตัวด้วยว่า ห้ามเข้าร่วมกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง, ห้ามกระทำการใดๆที่ก่อให้เกิดความเสียหายกับสถาบันพระมหากษัตริย์, ห้ามเดินทางออกนอกประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตและให้มาศาลตามนัดทุกครั้ง
 
 
ในคดีนี้มีผู้ต้องหาอย่างน้อย 9 คน ได้แก่  แซม ซาแมท, พริษฐ์, สิริชัย, พรหมศร, ณัฐชนนท์, ธนพัฒน์, ภาณุพงศ์, ธัชพงษ์, ปนัดดา โดยทั้ง 9 คนถูกกล่าวหาว่า มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กําลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กําลังประทุษร้ายให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ต่อมาเมื่อมีการแจ้งข้อกล่าวและสอบสวน ตำรวจได้ยื่นขอฝากขังจำเลยทั้ง 9 คน ในระหว่างการสอบสวน และศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขัง 
 
ต่อมาทางทนายความได้ยื่นประกันตัว แต่ศาลก็สั่งไม่ให้ประกัน โดยระบุว่าเหตุผลว่า ศาลพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นว่า ตามข้อกล่าวหาผู้ต้องหาได้กระทําการโดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง ทั้งไม่คํานึงถึงความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยของสังคมโดยรวมในภาวะที่เกิดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในวงกว้าง และศาลยังระบุด้วยว่า ผู้ต้องหาอยู่ระหว่างถูกดําเนินคดีอื่นอันเป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าผู้ต้องหาไม่ยําเกรงต่อกฎหมาย หากปล่อยชั่วคราวไปเชื่อว่าผู้ต้องหาจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่นอีก จึงไม่มีเหตุที่จะปล่อยชั่วคราวระหว่างสอบสวน
 
 
ในคดีนี้มีผู้ต้องอย่างน้อย 5 คน ได้แก่ โดยสองคนแรกคือ ไผ่-จตุภัทร์, ทวี, ทรงพล, นวพล และ จิตริน โดยทั้ง 5 คน ถูกแจ้งข้อกล่าวหาร่วมกันฝ่าฝืนข้อกำหนดตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, ทำลายทรัพย์สินสาธารณะตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 360 และข้อหาร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่สิบคนขึ้นไปก่อความวุ่นวายในบ้านเมืองตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215 ทั้งนี้ หลังแจ้งข้อกล่าวหา พนักงานสอบสวนได้ยื่นคำร้องขอฝากขังจตุภัทร์, ทวี และทรงพล ซึ่งถูกออกหมายจับ ส่วนนวพลและจิตริน พนักงานสอบสวนไม่ได้ขอฝากขัง 
 
ต่อศาลมีคำสั่งให้ประกันตัว ทวี และทรงพล โดยกำหนดวงเงินประกันคนละ 35,000 บาท ส่วน ไผ่-จตุภัทร์ ไม่ได้รับการประกันตัว เนื่องจาก ชนาธิป เหมือนพะวงศ์ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวจตุภัทร์ โดยให้เหตุผลว่า จตุภัทร์ถูกดำเนินคดีในคดีอื่นที่มีลักษณะเดียวกันอีกเป็นจำนวนมากทั้งที่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจากศาล โดยศาลได้กำหนดเงื่อนไขห้ามกระทำลักษณะเดียวกับที่ถูกกล่าวหาหรือถูกฟ้องร้อง หรือห้ามมิให้ก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง แต่ก็ฝ่าฝืน จึงมีเหตุอันควรให้เชื่อว่าหากอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาจะหลบหนีหรือไปก่อเหตุอันตรายอาการอื่นๆอีก
 
นอกจากนี้ ในวันเดียวกันพนักงานสอบสวนยังแจ้งข้อกล่าวหาในลักษณะเดียวกันกับจตุภัทร์และพวกจากการทำกิจกรรมในพื้นที่อื่นๆ ทั้งกิจกรรมสาดสีที่ที่ทำการพรรคภูมิใจไทย กิจกรรมหล่อเทียนที่ห้าแยกลาดพร้าว และกิจกรรมสาดสี - เผาหุ่น พล.อ.ประยุทธ์ที่หน้าที่ทำการพรรคพลังประชารัฐ โดยในคดีอื่นๆจตุภัทร์ก็ถูกเพิกถอนสิทธิการประกันตัวด้วยเช่นกัน โดยในคดีสาดสีที่พรรคภูมิใจไทย นวพลและจิตรินก็ถูกฝากขัง โดยศาลอนุญาตให้ประกันตัวแต่มีการกำหนดเงื่อนไขว่า "ห้ามกระทำการลักษณะเดียวกับที่ถูกกล่าวหา ห้ามยุยงปลุกปั่นเข้าร่วมหรือกระทำการใดๆ ในลักษณะที่เป็นการก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองหรือก่อให้เกิดอันตรายประการอื่นอื่นอีก"
 
อย่างไรก็ดี มีข้อสังเกตว่า ในสถานการณ์ที่การชุมนุมมีความเข้มข้น ศาลเริ่มตั้งเงื่อนไขการประกันตัวกับผู้ต้องหาที่ถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับการชุมนุมซึ่งเป็นคดีที่มีอัตราโทษสูงไม่เกินสิบปีด้วยจากที่ก่อนหน้าหน้าคดีที่มักถูกตั้งเงื่อนไขประกันตัวคือความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ทำให้นักกิจกรรมบางส่วนที่ถูกดำเนินคดีมีความเสี่ยงที่จะถูกถอนประกันหากยังคงไปเข้าร่วมการชุมนุมในครั้งต่อๆไป   

 

ชนิดบทความ: