1054 1464 1116 1222 1892 1567 1396 1814 1483 1864 1950 1027 1094 1940 1594 1318 1984 1336 1501 1291 1935 1967 1657 1071 1870 1807 1565 1953 1465 1453 1961 1707 1554 1044 1601 1449 1194 1866 1195 1991 1873 1884 1632 1096 1730 1155 1322 1634 1904 1932 1014 1039 1796 1058 1842 1055 1848 1151 1776 1576 1799 1195 1593 1997 1509 1001 1309 1731 1947 1095 1840 1502 1090 1166 1902 1372 1474 1821 1397 1564 1745 1428 1607 1158 1949 1341 1404 1475 1497 1361 1385 1099 1300 1927 1736 1603 1056 1535 1190 เสรีภาพประเทศไทย #2 : คำพิพากษาคดีที่น่าสนใจในปี 2555 - 2556 | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

เสรีภาพประเทศไทย #2 : คำพิพากษาคดีที่น่าสนใจในปี 2555 - 2556

คำพิพากษาคดีที่น่าสนใจในปี 2012 - 2013

คดีน่าสนใจที่ศาลมีคำพิพากษาในปี 2555-2556 เป็นคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ว่าด้วยการหมิ่นกษัตริย์ฯ มาตรา 206 ว่าด้วยการดูหมิ่นศาสนา มาตรา 215 ว่าด้วยการชุมนุมมั่วสุม มาตรา 365 ว่าด้วยการบุกรุกโดยใช้กำลังประทุษร้าย มาตรา 326 และ328 ว่าด้วยการหมิ่นประมาท พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 เกี่ยวกับการโพสต์ข้อความทางอินเทอร์เน็ต

คดีที่ศาลพิพากษาโดยยกเหตุผลว่า การวิพากษ์วิจารณ์เป็นสิทธิของประชาชนในการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต จำนวน 1 คดี คือ การยกฟ้องคดีหมิ่นประมาทที่เอ็นจีโอที่ถูกโรงไฟฟ้าฟ้อง หลังให้สัมภาษณ์ทางโทรทัศน์วิจารณ์การประมูลโรงไฟฟ้า ศาลชี้ว่า เป็นเรื่องที่กระทบต่อผลประโยชน์สาธารณะ อยู่ในวิสัยที่ประชาชนสามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้

แต่ยังมีคดีเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอีกหลายคดีที่ศาลยกฟ้อง ด้วยเหตุผลอื่นๆ ได้แก่ การยกฟ้องเพราะเห็นว่าจำเลยไม่มีเจตนา คือ กรณีนายสนธิ ลิ้มทองกุล ถูกฟ้องคดีหมิ่นกษัตริย์ฯ จากการปราศรัย การยกฟ้องเพราะโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นได้ว่าจำเลยกระทำความผิด คือ กรณีนายสุรภักดิ์ ถูกกล่าวหาว่าเขียนข้อความในเฟซบุคหมิ่นกษัตริย์ฯ และกรณีตัวแทนสหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียลแก็สถูกนายจ้างฟ้องว่าส่งอีเมลหมิ่นประมาท

คดีจำนวนมากมีคำตัดสินที่ไม่เป็นคุณต่อเสรีภาพในการแสดงออก มีปรากฏการณ์ที่ชี้ว่า สื่อในฐานะตัวกลางผู้ส่งผ่านข้อมูลอยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง เพราะมีการใช้ข้ออ้างเรื่องความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์ฯ มาดำเนินคดีกับประชาชน คดีสำคัญช่วงปีที่ผ่านมาได้แก่ คดีลงโทษผู้ให้บริการเว็บบอร์ดประชาไท ที่ปล่อยให้มีข้อความกระทบต่อความมั่นคงเผยแพร่นานกว่า 20 วัน ส่งผลให้ศาลพิพากษาว่ากระทำผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ให้จำคุก 1 ปีและให้รอลงอาญา

นอกจากนี้ ยังมีคดีเกี่ยวกับการหมิ่นกษัตริย์ฯ ที่ผู้ถูกกล่าวหาอาจไม่ใช่เจ้าของเนื้อหาหรือเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ ก็ได้ แต่เพียงทำหน้าที่เป็นสื่อหรือเป็นตัวกลางเท่านั้น เช่น ในคดีนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข บรรณาธิการนิตยสารวอยซ์ออฟทักษิณ ที่ศาลมีคำพิพากษาเมื่อเดือนมกราคม 2556 ว่า จำเลยมีความผิดจากการเผยแพร่บทความสองชิ้น แม้จำเลยจะไม่ใช่ผู้เขียนบทความ แต่ศาลเห็นว่าจำเลยคือผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจตีพิมพ์ เผยแพร่ และจัดจำหน่าย มีคำสั่งให้ลงโทษจำคุก 10 ปี เช่นเดียวกับคดีนายเอกชัย คนเร่ขายซีดีสารคดีเกี่ยว กับสถาบันกษัตริย์ไทยที่จัดทำโดยสำนักข่าวเอบีซี และเอกสารจากเว็บไซต์วิกิลีกส์ ก็ถูกศาลพิพากษาเมื่อเดือนมีนาคม 2556 ให้ลงโทษจำคุก 5 ปี แต่เนื่องจากให้การเป็นประโยชน์จึงลดโทษเหลือ 3 ปี 4 เดือน

ศาลชั้นต้นยังมีคำพิพากษาที่สร้างบรรทัดฐานว่า การบอกเล่าซ้ำว่ามีข่าวลือถือเป็นความผิด ดังเช่นคดีนายคธา ที่โพสข้อความว่ามีข่าวลือไม่เป็นมงคลซึ่งส่งผลต่อตลาดหุ้นไทย ศาลวินิจฉัยว่า แม้จำเลยไม่ใช่ต้นตอผู้ปล่อยข่าวลือ แต่จำเลยก็ไม่มีสิทธิเอาข่าวลือมาเผยแพร่ ไม่เช่นนั้นใครก็สามารถหมิ่นประมาทบุคคลอื่นได้โดยอ้างว่ามีข่าวลือเท่านั้น โดยให้ลงโทษจำคุก 2 กรรม กรรมละ 2 ปี รวมเป็น 4 ปี

เรื่องการหมิ่นกษัตริย์ฯ ยังพบคดีที่จังหวัดร้อยเอ็ด ที่ศาลลงโทษนายอุทัย ซึ่งมอบใบปลิวที่มีเนื้อหาหมิ่นกษัตริย์ฯ ให้แก่เพื่อนบ้าน ศาลสั่งให้ลงโทษจำคุก 3 ปีแต่ให้รอลงอาญาเพราะเห็นว่าจำเลยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งมีข้อสังเกตว่า นับแต่ปี 2549 เป็นต้นมา คดีส่วนใหญ่ที่ถูกลงโทษในคดีหมิ่นกษัตริย์ตามมาตรา 112 ศาลมักลงโทษจำเลยกรรมละ 5 ปี แต่คดีนี้เป็นครั้งแรกที่มีคดีที่ศาลลงโทษในอัตราโทษที่เบาที่สุดที่กฎหมาย กำหนดไว้ คือ 3 ปี ทำให้ศาลสามารถสั่งให้รอลงอาญาได้ ถัดจากคดีนี้ ยังมีคดีที่นายยศวริศ หรือเจ๋ง ดอกจิก ซึ่งปราศรัยและใช้ท่าทางปิดปากตนเอง ศาลตีความว่าการกระทำดังกล่าวผิดมาตรา 112 และให้ลงโทษจำคุก 3 ปี และมีเหตุให้บรรเทาโทษลงเหลือโทษจำคุก 2 ปี แต่ศาลไม่รอลงอาญา

ช่วงปี 2555 – 2556 ยังมีคดีเกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมืองที่น่าสนใจ เมื่อเดือนมีนาคม 2556 ศาลสั่งลงโทษจำเลยซึ่งเป็นเอ็นจีโอและนักเคลื่อนไหวจำนวน 10 คน ที่ประท้วงแล้วปีนรั้วรัฐสภาเพื่อคัดค้านการออกกฎหมายของสภานิติบัญญัติแห่ง ชาติ โดยศาลเห็นว่าการชุมนุมครั้งนั้นมีความผิดฐานชุมนุมมั่วสุมและใช้กำลัง ประทุษร้าย พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่เป็นแกนนำ 2ปี ปรับ 9,000 บาท และจำเลยที่ไม่ได้เป็นแกนนำ จำคุก 1 ปี ปรับ 9,000 บาท แต่เนื่องจากจำเลยให้การเป็นประโยชน์จึงลดโทษลงหนึ่งในสามคงเหลือโทษจำคุก 1 ปี สี่เดือน ปรับ 6,000 บาท และลงโทษจำคุก 8 เดือน ปรับ 6,000 บาท ตามลำดับ และให้รอลงอาญาเป็นเวลาสองปีเพราะเห็นว่าจำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาปกป้องผล ประโยชน์ของชาติบ้านเมือง

สำหรับคดีเกี่ยวกับศาสนา มีข้อมูลว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษในคดีดูหมิ่นศาสนาที่พระรูปหนึ่งใช้ มือตบพระพักตร์พระพุทธรูปและติดป้ายว่า “ทองเหลืองว่านี้ไม่ใช่พระพุทธเจ้าไม่ต้องกราบไหว้มัน” แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษายกฟ้อง แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ระบุว่า ข้อต่อสู้ของจำเลยที่ว่าเป็นการสอนพุทธศาสนิกชนไม่ให้ยึดติดในวัตถุนั้น ยังมีวิธีอื่นที่ทำได้ แต่การกระทำดังกล่าวกับสิ่งเคารพทางศาสนาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป แสดงให้เห็นถึงเจตนาเหยียดหยามพุทธศาสนา

(ข้อมูลตั้งแต่ มกราคม พ.ศ. 2555 ถึง เมษายน 2556)

...................................................................................................

ข้อมูลภาพชุด "เสรีภาพประเทศไทย 2012-2013"
#1 การปิดกั้นและการละเมิดเสรีภาพในการแสดงออก
#2 คำพิพากษาคดีที่น่าสนใจ
#3 ความเคลื่อนไหวคดีที่น่าสนใจ
#4 สถานะของจำเลยในคดีเกี่ยวข้องกับเสรีภาพการแสดงออก
#5 ปฏิทิน กฎหมาย คำสั่ง ความเคลื่อนไหวทางนโยบาย
...................................................................................................

รายงาน: ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ, iLaw
แปล: พิภพ อุดมอิทธิพงศ์ และ ปราชญ์ ปัญจคุณาธร
กราฟิกดีไซน์: Wrong Design
สนับสนุนโดย: มูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้