1212 1566 1622 1345 1022 1820 1442 1008 1342 1784 1157 1130 1094 1671 1132 1681 1781 1264 1880 1840 1371 1211 1338 1495 1655 1357 1274 1234 1217 1262 1634 1695 1190 1818 1568 1972 1315 1752 1402 1334 1526 1869 1178 1168 1007 1746 1374 1056 1400 1635 1531 1907 1789 1500 1906 1248 1525 1232 1219 1099 1832 1869 1286 1771 1799 1654 1012 1176 1219 1993 1510 1557 1357 1739 1190 1804 1684 1228 1597 1657 1404 1726 1871 1217 1579 1214 1449 1124 1561 1382 1701 1773 1858 1354 1999 1850 1321 1820 1477 สี่ปี ศาลทหาร คดีพลเรือนยังคงค้างอย่างน้อย 281 คดี | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

สี่ปี ศาลทหาร คดีพลเรือนยังคงค้างอย่างน้อย 281 คดี

กรมพระธรรมนูญ (ศาลทหาร) เปิดเผยข้อมูลสถิติคดีพลเรือนในศาลทหารทั่วประเทศรวมทั้งศาลทหารกรุงเทพ ครอบคลุมระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2557 จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2561 เป็นระยะเวลาประมาณ 4 ปี 1 เดือน โดยระบุว่า
 
ในศาลทหารกรุงเทพ มีจำเลยที่เป็นพลเรือนถูกพิจารณาคดี 367 คน จาก 238 คดี ในจำนวนนี้เป็นคดีที่ศาลมีคำพิพากษาและคดีที่ถึงที่สุด 150 คดี อยู่ระหว่างการพิจารณา 88 คดี หากจำแนกตามประเภทความผิด มีคดีความผิดตามประมวลกฎหมายหมวดพระมหากษัตริย์(รวมทั้งมาตรา 112) 67 คดี ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาหมวดความมั่นคง (รวมทั้งข้อหายุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116) 6 คดี ความผิดตามประกาศคำสั่งคสช. (เช่นข้อหาไม่รายงานตัวและชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้าคน) 37 คดี และคดีเกี่ยวกับอาวุธตามประกาศฉบับที่ 50/2557 128 คดี  
 
ส่วนที่ศาลมณฑลทหารบก (ศาลทหารในต่างจังหวัด) ทั่วประเทศ มีจำเลยที่เป็นพลเรือนถูกพิจารณาคดี 1844 คน จาก 1485 คดี ในจำนวนนี้เป็นคดีที่ศาลมีคำพิพากษาและคดีที่ถึงที่สุด 1292 คดี อยู่ระหว่างการพิจารณา 193 คดี หากจำแนกตามประเภทความผิด มีคดีความผิดตามประมวลกฎหมายหมวดพระมหากษัตริย์(รวมทั้งมาตรา 112) 99 คดี ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาหมวดความมั่นคง (รวมทั้งข้อหายุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116) 4 คดี ความผิดตามประกาศคำสั่งคสช. (เช่นข้อหาไม่รายงานตัวและชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้าคน) 12 คดี และคดีเกี่ยวกับอาวุธตามประกาศฉบับที่ 50/2557 1416 คดี อย่างไรก็ดี ในจำนวนนี้มีอยู่อีก 4 คดีที่ยังไม่ทราบรายละเอียด
 
จากข้อมูลดังกล่าวทำให้เห็นว่า คดีของพลเรือนที่คสช. ต้องการพิจารณาเป็นการเฉพาะโดยใช้ศาลทหาร ได้แก่ คดีหมิ่นพระมหากษัตริย์ฯ (ม.112), คดียุยงปลุกปั้นฯ (ม.116) และ คดีฝ่าฝืนชุมนุมหรือมั่วสุมทางการเมืองฯ คดีฝ่าฝืนไม่ไปรายงานตัวกับคสช. และคดีอาวุธ ตามประกาศและคำสั่งของคสช.
 
919
 
สถิติพลเรือนในศาลทหาร
 
อย่างไรก็ดี ตาม พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 5 ระบุว่า ศาลทหารอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงกลาโหม และมาตรา 10 และ มาตรา 30 ระบุว่าอำนาจในการแต่งตั้ง ถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมหรือผู้บังคับบัญชา และ มาตรา 27 ระบุว่า ศาลมณฑลทหาร ศาลทหารกรุงเทพ และศาลประจำหน่วยทหาร ต้องมีตุลาการสามนายเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษา คือ นายทหารชั้นสัญญาบัตรสองนาย ตุลาการพระธรรมนูญหนึ่งนาย หมายความว่า กฎหมายบังคับให้ตุลาการสามคนต่อหนึ่งคดี มีหนึ่งคนที่ต้องมีความรู้นิติศาตร์ ส่วนอีกสองคนไม่ต้อง
 
จากการติดตามของไอลอว์ ยังอีกพบว่า ปัญหาสำคัญของการที่พลเรือนขึ้นศาลทหาร คือ 'ความล่าช้า' โดยเฉพาะจำเลยให้การปฏิเสธและต่อสู้คดี ซึ่งเกิดจากระบบการนัดวันพิจารณาคดีที่ไม่ต่อเนื่องหรือที่เรียกกันว่านัดแบบ 'ฟันหลอ' คือ วันนัดจะไม่ติดกันที่เดียว 3-4 วัน แต่จะนัดอาทิตย์ละครั้ง เดือนละครั้ง หรือหลายเดือนครั้ง ขึ้นอยู่กับความพร้อมของตุลาการศาลทหารผู้พิจารณาคดี อัยการทหาร หรือฝ่ายจำเลย เช่น
 
917
 
ศาลทหารกรุงเทพ
 
 
คดี 116 ของสมบัติ บุญงามอนงค์  ปี 2558 มีนัดสืบพยานรวม 9 นัด ในเดือนมีนาคม 3 นัด เมษายน 2 นัด เดือนกรกฎาคม สิงหาคม กันยายน และ พฤศจิกายน เดือนละนัด ในปี 2559 นีนัดสืบพยานรวมห้านัด ในเดือนกุมภาพันธ์ เมษายน กรกฎาคม กันยายน และธันวาคมเดือนละนัด ในปี 2560 มีการสืบพยานอีก 4 นัด ในเดือนมกราคม 1 นัด เมษายน 2 นัด และเดือนกันยายนอีก 1 นัด ในปี 2561 มีการสืบพยานไปแล้ว 4 นัด ในเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม และมิถุนายน เดือนละหนึ่งนัดโดยศาลนัดสืบพยานครั้งต่อไปในเดือนกันยายน โดยในคดีนี้มีการสืบพยานจำเลยไปแล้วรวม 12 ปาก เป็นพยานโจทก์ 11 ปาก และพยานจำเลย 1 ปาก
 
หรือ คดีสิรภพฝ่าฝืนคำสั่งรายงานตัว ศาลเริ่มสืบพยานนัดแรกในเดือนพฤศจิกายน 2557 จากนั้นในปี 2558 มีการสืบพยาน 5 นัด ในเดือนมกราคม มีนาคมกรกฎาคม กันยายน และพฤศจิกายน เดือนละนัด จากนั้นในปี 2559 มีนัดสืบพยานคดีอีก 5 นัด ในเดือนมกราคม 1 นัด
เดือนกุมภาพันธ์ 2 นัด เดือนพฤษภาคมและกรกฎาคมเดือนละนัด ซึ่งนัดในเดือนกรกฎาคมเป็นการสืบพยานนัดสุดท้าย โดยในคดีนี้มีการสืบพยานรวม 5 ปาก เป็นพยานโจทก์ 4 ปาก และพยานจำเลย 1 ปาก 
 
918
 
ศาลทหารเชียงราย
  
อีกปัญหาหนึ่งที่ทำให้คดีมีความล่าช้าคือ พยานไม่มาตามนัดโดยเฉพาะพยานโจทก์ เช่น  คดี 112 ของสมัครที่ศาลทหารเชียงรายซึ่งมีการเลื่อนนัดสืบพยานปากเดียวกันติดต่อกันถึงสามนัดเพราะพยานไม่มาศาลทำให้การสืบพยานปากดังกล่าวเลื่อนออกไปถึงสามเดือนจากเดือนมีนาคม 2558 เป็นเดือนมิถุนายน 2558 ความล่าช้านี้เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้สมัครเกิดความเครียดเพราะไม่รู้ว่าคดีจะจบสิ้นเมื่อใดจึงเปลี่ยนคำให้การจากปฏิเสธเป็นรับสารภาพเพื่อให้คดียุติโดยเร็ว
ชนิดบทความ: