1833 1804 1053 1086 1353 1712 1823 1981 1964 1543 1694 1104 1912 1160 1978 1346 1507 1553 1141 1185 1962 1102 1528 1545 1041 1710 1567 1416 1321 1571 1993 1109 1066 1059 1302 1704 1143 1047 1890 1161 1680 1665 1686 1725 1659 1306 1213 1150 1078 1489 1456 1646 1999 1270 1285 1818 1303 1211 1565 1996 1232 1875 1717 1726 1236 1177 1406 1291 1516 1292 1994 1766 1594 1285 1913 1382 1581 1590 1282 1093 1529 1209 1094 1340 1062 1411 1744 1352 1152 1496 1917 1209 1135 1796 1114 1935 1161 1580 1645 Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

บทความ

  • การชุมนุมทางการเมืองภายใต้พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 หรือ พ.ร.บ.ชุมนุมฯ บังคับให้ผู้ชุมนุมจำเป็นต้องไป "แจ้ง" การชุมนุมกับเจ้าหน้าที่รัฐภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมงก่อนการชุมนุมเริ่มขึ้น ขณะเดียวกันการไม่ไปจดแจ้ง ไปไม่ทัน หรือเกิดการกระทบกระทั่งกันเพียงเล็กน้อยระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ว่าด้วยสาเหตุใดก็อาจเสี่ยงทำให้กลายเป็นการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เปิดช่องให้เกิดการสลายการชุมนุมหรือดำเนินคดีตามหลังได้ง่าย แม้ว่าพ.ร.บ.ชุมนุมฯ จะประกาศใช้ตั้งแต่ปี 2558 แต่เวลาส่วนใหญ่ประเทศไทยก็อยู่ภายใต้ "กฎหมายพิเศษ" ทำให้กฎหมายนี้ถูกใช้เป็นหลักไม่มากนัก เหตุการณ์ที่ประชาชนต้องถูกดำเนินคดีจากการชุมนุมสาธารณะ และสามารถสู้คดีไปจนถึงชั้นฎีกายังมีไม่มาก หนึ่งในตัวอย่างสำคัญ คือ คำพิพากษาของศาลฎีกากรณีการชุมนุม #เทใจให้เทพา เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2560 ซึ่งผู้ชุมนุมถูกศาลอุทธรณ์ตัดสินว่ามีความผิดฐานไม่ยอมแจ้งการชุมนุมตามกรอบระยะเวลา แต่ศาลฎีกาตัดสินว่าไม่มีความผิด ซึ่งเป็นการวางบรรทัดฐานการตีความพ.ร.บ.ชุมนุมฯ ที่สำคัญ การ “พลิกผล” พิพากษา "กลับ" ของศาลฎีกา จึงมีความน่าสนใจว่า เป็นการพยายามกลับมาตอกย้ำหลักการพื้นฐานเรื่อง “ไม่มีหลักฐาน ย่อมไม่มีความผิด” และ “การชุมนุมเป็นเสรีภาพพื้นฐานที่จำเป็น” หลังประชาชนต้องต่อสู้คดีความมาตั้งแต่ พ.ศ. 2560 จนถึง พ.ศ. 2566 เพื่อให้ได้รับความเป็นธรรม รวมทั้งอาจจะเป็นการสร้างบรรทัดฐานใหม่ให้แก่คดีการเมืองอื่นๆ ที่กำลังอยู่ในระหว่างการต่อสู้คดีอีกด้วย
  • ทางปฏิบัติทั่วไปของตำรวจทุกสถานีเมื่อจับกุมผู้ต้องหาได้ หรือผู้ต้องหาไปรายงานตัวและแจ้งข้อกล่าวหาแล้ว ก็จะให้ผู้ต้องหาพิมพ์ลายนิ้วมือทั้งสิบนิ้วด้วยหมึกสีดำลงบนกระดาษ ซึ่งเป็นประเด็นที่ถูกตั้งคำถามในยุคสมัยที่เปลี่ยนไปกับความสำคัญของการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล นำมาซึ่งการปฏิเสธไม่พิมพ์ลายนิ้วมือของผู้ต้องหาหลายคดี และมีบรรทัดฐานจากศาลแล้วในหลายคดี
  • วันที่ 15 สิงหาคม 2566 เวลา 9.00 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดสืบพยานโจทก์นัดแรกในคดีการชุมนุมหน้าสถานทูตเยอรมนีเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2563 คดีนี้มีจำเลย 13 คน ทั้งหมดถูกกล่าวหาว่า หมิ่นประมาทกษัตริย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากการอ่านแถลงการณ์สามภาษาและการปราศรัยระหว่างการชุมนุมวันดังกล่าว ระหว่างการสืบพยานปากแรกศาลสอบถามเรื่องการพิจารณาคดีลับหลังในคดีที่มีอัตราโทษเกินกว่าสิบปีจะกระทำไม่ได้ ทำให้ต้องเลื่อนการสืบพยานปากแรกในนัดต่อไป

ความเคลื่อนไหวคดี

ข้อมูลคดี