1600 1982 1019 1792 1347 1206 1446 1903 1672 1083 1581 1390 1394 1776 1959 1739 1419 1599 1418 1601 1872 1174 1932 1657 1033 1794 1611 1663 1098 1711 1042 1617 1171 1901 1605 1355 1309 1794 1607 1845 1189 1255 1823 1807 1356 1979 1969 1860 1811 1729 1261 1893 1613 1812 1136 1861 1295 1126 1032 1038 1451 1788 1612 1558 1408 1839 1369 1240 1417 1202 1708 1879 1177 1120 1939 1600 1175 1808 1034 1210 1652 1111 1780 1003 1403 1749 1267 1114 1633 1656 1393 1962 1642 1356 1135 1119 1614 1809 1583 Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

บทความ

  • การชุมนุมทางการเมืองภายใต้พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 หรือ พ.ร.บ.ชุมนุมฯ บังคับให้ผู้ชุมนุมจำเป็นต้องไป "แจ้ง" การชุมนุมกับเจ้าหน้าที่รัฐภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมงก่อนการชุมนุมเริ่มขึ้น ขณะเดียวกันการไม่ไปจดแจ้ง ไปไม่ทัน หรือเกิดการกระทบกระทั่งกันเพียงเล็กน้อยระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ว่าด้วยสาเหตุใดก็อาจเสี่ยงทำให้กลายเป็นการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เปิดช่องให้เกิดการสลายการชุมนุมหรือดำเนินคดีตามหลังได้ง่าย แม้ว่าพ.ร.บ.ชุมนุมฯ จะประกาศใช้ตั้งแต่ปี 2558 แต่เวลาส่วนใหญ่ประเทศไทยก็อยู่ภายใต้ "กฎหมายพิเศษ" ทำให้กฎหมายนี้ถูกใช้เป็นหลักไม่มากนัก เหตุการณ์ที่ประชาชนต้องถูกดำเนินคดีจากการชุมนุมสาธารณะ และสามารถสู้คดีไปจนถึงชั้นฎีกายังมีไม่มาก หนึ่งในตัวอย่างสำคัญ คือ คำพิพากษาของศาลฎีกากรณีการชุมนุม #เทใจให้เทพา เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2560 ซึ่งผู้ชุมนุมถูกศาลอุทธรณ์ตัดสินว่ามีความผิดฐานไม่ยอมแจ้งการชุมนุมตามกรอบระยะเวลา แต่ศาลฎีกาตัดสินว่าไม่มีความผิด ซึ่งเป็นการวางบรรทัดฐานการตีความพ.ร.บ.ชุมนุมฯ ที่สำคัญ การ “พลิกผล” พิพากษา "กลับ" ของศาลฎีกา จึงมีความน่าสนใจว่า เป็นการพยายามกลับมาตอกย้ำหลักการพื้นฐานเรื่อง “ไม่มีหลักฐาน ย่อมไม่มีความผิด” และ “การชุมนุมเป็นเสรีภาพพื้นฐานที่จำเป็น” หลังประชาชนต้องต่อสู้คดีความมาตั้งแต่ พ.ศ. 2560 จนถึง พ.ศ. 2566 เพื่อให้ได้รับความเป็นธรรม รวมทั้งอาจจะเป็นการสร้างบรรทัดฐานใหม่ให้แก่คดีการเมืองอื่นๆ ที่กำลังอยู่ในระหว่างการต่อสู้คดีอีกด้วย
  • ทางปฏิบัติทั่วไปของตำรวจทุกสถานีเมื่อจับกุมผู้ต้องหาได้ หรือผู้ต้องหาไปรายงานตัวและแจ้งข้อกล่าวหาแล้ว ก็จะให้ผู้ต้องหาพิมพ์ลายนิ้วมือทั้งสิบนิ้วด้วยหมึกสีดำลงบนกระดาษ ซึ่งเป็นประเด็นที่ถูกตั้งคำถามในยุคสมัยที่เปลี่ยนไปกับความสำคัญของการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล นำมาซึ่งการปฏิเสธไม่พิมพ์ลายนิ้วมือของผู้ต้องหาหลายคดี และมีบรรทัดฐานจากศาลแล้วในหลายคดี
  • วันที่ 15 สิงหาคม 2566 เวลา 9.00 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดสืบพยานโจทก์นัดแรกในคดีการชุมนุมหน้าสถานทูตเยอรมนีเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2563 คดีนี้มีจำเลย 13 คน ทั้งหมดถูกกล่าวหาว่า หมิ่นประมาทกษัตริย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากการอ่านแถลงการณ์สามภาษาและการปราศรัยระหว่างการชุมนุมวันดังกล่าว ระหว่างการสืบพยานปากแรกศาลสอบถามเรื่องการพิจารณาคดีลับหลังในคดีที่มีอัตราโทษเกินกว่าสิบปีจะกระทำไม่ได้ ทำให้ต้องเลื่อนการสืบพยานปากแรกในนัดต่อไป

ความเคลื่อนไหวคดี

ข้อมูลคดี