1540 1749 1193 1022 1692 1557 1418 1252 1945 1714 1461 1230 1393 1814 1045 1927 1654 1902 1451 1950 1211 1042 1918 1864 1351 1549 1355 1524 1154 1606 1555 1785 1207 1056 1610 1801 1511 1450 1139 1291 1891 1301 1618 1995 1163 1973 1133 1927 1445 2000 1989 1876 1644 1929 1641 1273 1058 1778 1401 1449 1374 1283 1180 1849 1192 1680 1648 1680 1882 1075 1827 1053 1924 1561 1604 1890 1432 1485 1382 1236 1181 1754 1471 1120 1040 1876 1544 1752 1761 1793 1322 1342 1855 1366 1161 1810 1519 1171 1998 มีนาคม 2558 : เมื่อ “พลเมืองโต้กลับ” และทหารจับแก๊งปาระเบิดศาลอาญา 15 คน | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

มีนาคม 2558 : เมื่อ “พลเมืองโต้กลับ” และทหารจับแก๊งปาระเบิดศาลอาญา 15 คน

 

  
ช่วงเวลา

ยอดรวมตั้งแต่รัฐประหาร

ถึง 31 มีนาคม 2558 

ยอดเฉพาะเดือนมีนาคม 2558
คนถูกเรียรายงานตัว 712 28
คนถูกจับกุม  419 21
คนถูกจับกุมจากการชุมนุมโดยสงบ 146 1
คนถูกตั้งข้อหาทางการเมือง  159 18
คนถูกดำเนินคดีที่ศาลทหาร  120 20
คนถูกดำเนินคดีที่ศาลพลเรือน 45 1
คนถูกดำเนินคดีตามม.112 44 4
หมายเหตุ: ตัวเลขทั้งหมดคือตัวเลขเท่าที่สามารถยืนยันความถูกต้องและบันทึกได้ อาจมีผู้ถูกจับกุม/ถูกดำเนินคดีบางส่วนที่ตกหล่นจากการบันทึก
 
 
เหตุระเบิดศาลอาญา มีผู้ต้องหา 17 คนและมีประเด็นถกเถียงว่าซ้อมผู้ต้องหา
ประมาณ 20.00 น. ของวันเสาร์ที่ 7 มีนาคม 2558 ผู้จัดการออนไลน์รายงานว่า มีเหตุระเบิด บริเวณลานจอดรถของผู้พิพากษาศาลอาญา พบร่องรอยเป็นหลุมลึกประมาณ 2 นิ้ว ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ห่างออกไปพบปลอกกระสุนปืนขนาด 11 มม. ตกอยู่ 1 ปลอก
 
กรุงเทพธุรกิจรายงานว่า มีผู้ต้องสงสัยเกี่ยวข้อง 17 คน ซึ่งจับกุมได้แล้ว 15 คน ผู้ต้องหาบางส่วนรับสารภาพ บางส่วนปฏิเสธ ทุกคนถูกฝากขังต่อศาลทหารกรุงเทพและไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัวระหว่างการต่อสู้คดี ต่อมาวันที่ 18 มีนาคม 2558 ประชาชาติธุรกิจรายงานว่า ศาลอาญาพิพากษาให้ผู้ต้องหาสองคน คือ ยุทธนา กับ มหาหิน มีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลให้จำคุกคนละ 5 เดือน
 
194
 
 
ต่อมามีภาพปรากฏในสื่อออนไลน์ว่า สรรเสริญ หนึ่งในผู้ต้องหามีบาดแผลจากการถูกไฟฟ้าช็อต และถูกซ้อมทรมาน ทำให้ประเด็นการซ้อมทรมานระหว่างควบคุมตัวตามกฎอัยการศึกกลายเป็นประเด็นที่สังคมหันมาสนใจ ขณะที่ทั้งทางตำรวจ และ คสช. รวมทั้งนายกรัฐมนตรี ก็ออกมาปฏิเสธข่าวลือดังกล่าว ด้านตัวแทนของสหประชาชาติ และกรรมการสิทธิมนุษยชน พยายามเข้าตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรือนจำ แต่ก็ถูกปฏิเสธ
 
เมื่อกลุ่ม “พลเมืองโต้กลับ” เดินถามหาความยุติธรรม และถูกตั้งข้อหาเพิ่ม
หลังกลุ่มพลเมืองโต้กลับจัดกิจกรรมเลือกตั้งที่(รัก)ลัก เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2558 ทำให้ พันธ์ศักดิ์ อานนท์ วรรณเกียรติ และสิรวิชญ์ ถูกตั้งข้อหาชุมนุมทางการเมืองเกินห้าคน ฝ่าฝืนประกาศ คสช. ฉบับที่ 7/2557 ขณะที่อานนท์ ถูกตั้งข้อหาพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ด้วย และพนักงานสอบสวนสน.ปทุมวัน นัดหมายทั้ง 4 คนให้มาให้ปากคำเพิ่มเติมในวันที่ 16 มีนาคม 2558
 
พวกเขาจัดกิจกรรมใหม่ ชื่อว่า “พลเมืองลุกเดิน” โดยพันธ์ศักดิ์จะเริ่มเดินเท้าจากบ้านที่บางบัวทองในวันที่ 14 มาพบวรรณเกียรติที่สดมภ์นวมทอง ในวันที่ 15 เดินไปพบสิรวิชญ์ที่มหาวิทยลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ และอานนท์ที่สภาทนายความในวันที่ 16 และเดินไปสน.ปทุมวันด้วยกัน โดยมีเป้าหมายเรียกร้องหาความยุติธรรมให้กับตัวเอง และรณรงค์ว่าพลเรือนต้องไม่ขึ้นศาลทหาร
 
แต่เมื่อพันธ์ศักดิ์ออกเดินได้ประมาณ 5 กิโลเมตร ก็ถูกตำรวจควบคุมตัวไปกักไว้ที่สน.ปทุมวันเพื่อพูดคุยก่อนปล่อยตัวในช่วงเย็นโดยไม่ตั้งข้อกล่าวหา วันต่อมาทั้งสี่คนก็ยังพยายามจัดกิจกรรมต่อโดยมีเจ้าหน้าที่ควบคุมอย่างใกล้ชิด จนเมื่อไปถึงสน.ปทุมวันตามกำหนดนัดหมาย พนักงานสอบสวนกลับไม่ใส่ใจต่อการให้ปากคำเพิ่มเติมเป็นเอกสาร และพาตัวพวกเขาไปฝากขังต่อศาลทหารกรุงเทพในช่วงบ่ายทันที
 
ทางศูนย์กลางนิสิต นักศึกษาเพื่อประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย (ศนปท.) ก็จัดกิจกรรมรณรงค์พลเรือนต้องไม่ขึ้นศาลทหารควบคู่กันที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนเมื่อเวลาเย็นผู้ต้องหาทั้งสี่คนยังไม่ได้รับการปล่อยตัว นักศึกษาประมาณ 20 คนจึงเดินทางมาชุมนุมและปราศรัยคัดค้านอำนาจของศาลทหารที่หน้าศาลทหารกรุงเทพ ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ฝากขังและปล่อยตัวทั้งสี่คนในเวลาประมาณ 18.30 น.
 
 
193
 
 
เฟซบุ๊กของกลุ่ม ศนปท. รายงานเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2558 ว่าหลังเหตุการณ์ดังกล่าวมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงไปคุกคามนักศึกษาที่บ้าน อย่างน้อย 17 คน เพื่อให้ยุติการเคลื่อนไหว และเพิ่มเป็น 22 คนในเวลาต่อมา
 
เรื่องยังไม่จบเท่านี้ เมื่อพันธ์ศักดิ์ประกาศว่าวันที่ 26 เขาจะทำกิจกรรมเดินอีกครั้งเพื่อไปรับฟังคำสั่งฟ้องคดีหรือไม่ฟ้องคดีของอัยการทหารในวันที่ 27 กลางดึกของคืนวันที่ 26 ตำรวจไปจับกุมตัวพันธุ์ศักดิ์ที่บ้านพักมาควบคุมไว้ที่สน.ชนะสงคราม ก่อนตั้งข้อหาปลุกปั่นยั่วยุ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คนฝ่าฝืนประกาศ คสช. ฉบับที่ 7/2557 และผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ เนื่องมาจากกิจกรรมพลเมืองลุกเดินเมื่อวันที่ 14-16 มีนาคม โดยนอกจากพันธ์ศักดิ์แล้วในคดีนี้ยังมีผู้ต้องหาอีก 6 คน รวมถึงนักศึกษาและประชาชนที่มาให้กำลังใจพันธ์ศักดิ์ระหว่างการเดินในช่วงวันดังกล่าว ซึ่งยังจับกุมตัวไม่ได้
 
พันธ์ศักดิ์ถูกนำตัวไปฝากขังต่อศาลทหารกรุงเทพในช่วงเช้า ก่อนได้รับอนุญาตให้ประกันตัวด้วยหลักทรัพย์ 70,000 บาท และปล่อยตัวที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพในช่วงค่ำ
 
 
คดีมาตรา 112 ศาลทหารวางโทษทั้งต่ำสุดและสูงสุด ขณะที่การจับกุมรายใหม่ๆ ยังตามมา
20 มีนาคม 2558 ศาลทหารกรุงเทพพิพากษาจำคุกโอภาส ตามมาตรา 112 จากการเขียนผนังห้องน้ำเป็นเวลา 3 ปี เนื่องจากจำเลยรับสารภาพจึงลดเหลือ 1 ปี 6 เดือน ถือเป็นโทษขั้นต่ำที่สุดที่ศาลจะกำหนดได้ตามกฎหมาย ขณะที่วันที่ 31 มีนาคม 2558 ศาลทหารกรุงเทพพิพากษาจำคุกเธียรสุธรรม จากการโพสต์เฟซบุ๊ก “ใหญ่ แดงเดือด” 5 ข้อความ ข้อความละ 10 ปี รวม 50 ปี เนื่องจากจำเลยรับสารภาพจึงลดเหลือ 25 ปี ซึ่งเป็นคดีมาตรา 112 ที่ศาลวางโทษสูงสุดเท่าที่เคยบันทึกข้อมูลไว้
 
จากการจับกุมผู้ต้องหาจำนวนมากในคดีวางระเบิดศาลอาญา มีผู้ต้องหาสองคน คือ ชาญวิทย์ และ ณัฏฐธิดา ที่ได้พ่วงข้อหามาตรา 112ด้วย โดยชาญวิทย์เคยถูกตั้งข้อหานี้แล้วตั้งแต่ปี 2552 จึงถูกนำตัวมาดำเนินคดีต่อ ส่วนณัฏฐธิดา ถูกตั้งข้อหาจากการโพสต์ในแอพพลิเคชั่น ซึ่งทหารตรวจพบหลังการจับกุม
 
นอกจากนี้ยังมีการจับกุมผู้ที่เกี่ยวข้องกับ “เครือข่ายบรรพต” อีก 2 คน คือ วิทยา และ กรวรรณ ทั้งสองถูกฝากขังและไม่ได้รับการประกันตัว ทำให้ปัจจุบันมีผู้ถูกคุมขังจากกล่าวหาว่าเข้าร่วมในเครือข่ายนี้อย่างน้อย 14 คน
 
โดยรวมแล้วตั้งแต่หลังการรัฐประหารจนถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2558 มีผู้ถูกตั้งข้อหาตามมาตรา 112 แล้วอย่างน้อย 51 คน มีคำพิพากษาไปแล้วอย่างน้อย 10 คดี ดูย้อนหลังได้ที่ http://ilaw.or.th/node/3119
 
 
คดีมาตรา 116 มีนำมาใช้ปรามการเคลื่อนไหวมากขึ้น แต่คดีเก่าๆ ยังไม่คืบหน้า
คดีความผิดฐาน “ปลุกปั่นยั่วยุ” ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ของสมบัติ บุญงามอนงค์ มีการสืบพยานโจทก์ถึง 4 นัดในเดือนมีนาคม แต่ยังไม่แล้วเสร็จ ต้องนัดสืบพยานต่ออีกหลายนัดในเดือนเมษายนและเดือนถัดไป
 
195
 
นอกจากพันธ์ศักดิ์และผู้ต้องหาอีก 6 คนที่ถูกตั้งข้อหามาตรา 116 ในเดือนนี้แล้ว ที่จังหวัดระยองมีการจับกุม พลวัฒน์ จากการโปรยใบปลิวต่อต้านเผด็จการทหาร 4 จุด เขาถูกตั้งข้อหามาตรา 116 ฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงาน และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ก่อนได้ประกันตัวด้วยหลักทรัพย์ 70,000 บาท
 
โดยรวมแล้วตั้งแต่หลังการรัฐประหารจนถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2558 มีผู้ถูกตั้งข้อหาตามมาตรา 116 แล้ว 10 คน แต่ยังไม่มีคำพิพากษาคดีนี้ให้เห็นเลย
 
 
คดีไม่มารายงานตัว พิพากษาเท่าเดิม 1 คดี คดีอื่นเลื่อนยาว
วันที่ 19 มีนาคม 2558 ศาลทหารกรุงเทพพิพากษาลงโทษพงษ์ศักดิ์ จำคุก 1 ปี ปรับ 20,000 บาท จากการไม่มารายงานตัวตามคำสั่ง เนื่องจากรับสารภาพ จึงลดโทษเหลือจำคุก 6 เดือน ปรับ 10,000 บาท รอลงอาญา 2 ปี ซึ่งเป็นอัตราเท่ากับคดีอื่นๆ ก่อนหน้านี้ทุกคดี ขณะที่คดีไม่มารายงานตัวคดีของจิตรา และสิรภพ ศาลเลื่อนนัดการสืบพยานโจทก์ออกไปอีก และยังไม่มีท่าทีว่าคดีจะจบในเร็ววัน
 
โดยรวมแล้วตั้งแต่หลังการรัฐประหารจนถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2558 มีผู้ถูกตั้งข้อหาจากการไม่มารายงานตัวตามคำสั่ง ฝ่าฝืนประกาศ คสช. ฉบับที่ 41/2557 อย่างน้อย 12 คน คนที่รับสารภาพศาลทหารพิพากษาเหมือนกันทุกคดี ส่วนคนที่ปฏิเสธยังอยู่ระหว่างการสืบพยานโจทก์ทุกคดี
 
 
ปิดทีวีเสื้อแดง-ปิดกั้นกิจกรรม-เรียกตัวปรับทัศนคติ ยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง
30 มีนาคม 2558 มติชนออนไลน์รายงานว่า คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) พิจารณารายการ Awakened, News Room และ The Clear ช่อง 24 ทีวี (ช่องเอเชีย อัพเดท เดิม) และรายการ คิดรอบด้าน, เดินหน้าต่อไป และเข้าใจตรงกัน ช่อง Peace tv (ช่อง DNN เดิม) เห็นว่าเนื้อหารายการเข้าข่ายให้ข้อมูลข่าวสารยั่วยุ ปลุกปั่น ขัดต่อประกาศ คสช.ฉบับ 97 และ 103/ 2557 จึงมีมติให้พักใช้ใบอนุญาตทั้งสองช่อง 7 วัน
 
สถานการณ์การจัดกิจกรรมในเดือนมีนาคม 2558 ยังคงถูกปิดกั้นอย่างเข้มงวด เช่น การยกเลิกงานเสวนา “ทิศทางการเมืองในยุค คสช.” ที่จัดโดย คณะกรรมการประสานองค์กรพัฒนาเอกชน ภาคเหนือ (กป.อพช.เหนือ) การห้ามสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทยติดป้ายคัดค้านแผนการจัดตั้งกรมราง การห้ามนักศึกษาจัดกิจกรรมคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ เป็นต้น
 
โดยรวมแล้วในเดือนมีนาคม 2558 มีการปิดกั้น-แทรกแซงการจัดกิจกรรมสาธารณะอย่างน้อย 7 ครั้ง รวมตั้งแต่หลังการรัฐประหารจนถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2558 มีอย่างน้อย 58 ครั้ง
 
การเรียกตัวบุคคลไปปรับทัศนคติ ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยกรณีที่น่าสนใจ เช่น นายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์ขู่ว่าให้ฐปนีย์ เอียดศรีไชย ผู้สื่อข่าวช่อง 3 มาพบเจ้าหน้าที่หลังการเสนอข่าวเรื่องแรงงานไทยที่ถูกหลอกไปทำประมงในอินโดนีเซีย กรณีเรียกพบหมอสามคนที่คัดค้านการสั่งย้ายปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรณีการเข้าพูดคุยกับอธิการบดี และอาจารย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางหลังมีป้ายผ้ารณรงค์พลเรือนต้องไม่ขึ้นศาลทหารติดบนสะพานลอยหน้ามหาวิทยาลัย
 
โดยภาพรวมของการเรียกรายงานตัว เจ้าหน้าที่ทหารเริ่มปรับกลยุทธ์จากการเรียกให้มารายงานตัวในค่ายทหารเป็นการเดินทางไปพบที่บ้านหรือที่ทำงาน หรือการนัดทานข้าวดื่มกาแฟเพื่อพูดคุย ซึ่งให้ภาพลักษณ์เป็นมิตรมากขึ้น ในเดือนมีนาคม 2558 มีการเรียกบุคคลให้ไปรายงานตัวอย่างน้อย 28 คน รวมตั้งแต่หลังการรัฐประหารจนถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2558 มีบุคคลถูกเรียกให้ไปรายงานตัวอย่างน้อย 712 คน
 
 
 
 
ประเภทรายงาน: