1461 1964 1557 1937 1290 1411 1638 1440 1997 1805 1484 1068 1548 1375 1621 1632 1260 1943 1626 1511 1548 1794 1701 1419 1020 1610 1190 1279 1846 1056 1182 1547 1285 1261 1368 1828 1694 1101 1855 1092 1745 1379 1381 1673 1313 1692 1419 1939 1729 1617 1972 1012 1065 1059 1635 1795 1855 1314 1833 1462 1718 1641 1394 1843 1779 1219 1903 1416 1346 1888 1628 1360 1856 1719 1662 1834 1335 1516 1053 1853 1818 1583 1304 1689 1475 1632 1259 1587 1666 1804 1487 1707 1110 1552 1581 1997 1477 1118 1579 สถานการณ์ปี 2559 2/5: ความเงียบเมื่อเผชิญกับการพ่ายแพ้ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

สถานการณ์ปี 2559 2/5: ความเงียบเมื่อเผชิญกับการพ่ายแพ้

 
“อย่างน้อยได้แสดงให้โลกรู้ว่าคนไทยคิดอย่างไรกับรัฐบาล”
 
การอ้างความชอบธรรมจากผลประชามติ
 
ค่ำคืนของวันออกเสียงประชามติ 7 สิงหาคม 2559 ขณะที่มีการประกาศผลการนับคะแนนประชามติอย่างไม่เป็นทางการ โดยประชาชนส่วนใหญ่รับร่างรัฐธรรมนูญ ขบวนการประชาธิปไตยใหม่หนึ่งในกลุ่มนักกิจกรรมต่อต้านการรัฐประหารของ คสช. ออกแถลงการณ์ยอมรับผลการออกเสียงประชามติว่า แม้ได้ทุ่มเทความพยายามไปกับการรณรงค์ให้ประชาชนเห็นผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการรับร่างรัฐธรรมนูญอย่างต่อเนื่องแล้วก็ตาม ภายใต้ข้อจำกัดและการคุกคามหลายรูปแบบ ขบวนการฯ ยังคงยืนยันว่า รัฐบาลของ คสช. ไม่มีความชอบธรรมจากผลของการลงประชามติครั้งนี้
และยืนยันจะทำกิจกรรมเรียกร้องประชาธิปไตยต่อไป ไม่กี่วันหลังประกาศผลคะแนนประชามติอย่างเป็นทางการ นายกรัฐมนตรีได้ยืนยันว่า ผลการลงประชามติเป็นความชอบธรรมที่ประชาคมระหว่างประเทศควรรับฟัง “ผมซาบซึ้งและขอบคุณที่ยังไว้วางใจ คสช. และรัฐบาล พลังของการลงประชามติครั้งนี้มีความสำคัญมาก อย่างน้อยได้แสดงให้โลกรู้ว่าคนไทยคิดอย่างไรกับรัฐบาล ดังนั้น
เราจะทุ่มเททำงานในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ให้หนักขึ้น เพื่อให้สมกับความเชื่อมั่น” พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา แสดงความขอบคุณต่อประชาชนหลังทราบผลการลงประชามติ
ซึ่งผู้ไปใช้สิทธิออกเสียงร้อยละ 61.35 รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว ตรงข้ามกับการให้สัมภาษณ์ของพลเอกประยุทธ์ข้างต้น ผลสำรวจของโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชนร่วมกับสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล เกี่ยวกับเหตุผลในการตัดสินใจออกเสียงประชามติของประชาชนครั้งนี้ พบว่า ความต้องการให้ประเทศสงบสุขเป็นเหตุผลที่ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 72 ตัดสินใจออกเสียงรับร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งความต้องการเช่นนี้มิได้สะท้อนโดนตรงถึงการสนับสนุนรัฐบาลชุดนี้ ขณะที่ผลสำรวจก่อนการลงประชามติของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า พบว่า ประชาชนเพียงร้อยละ 8.66 ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญในการออกเสียงประชามติครั้งนี้เพราะไม่ชอบนายกรัฐมนตรี และรัฐบาลที่เป็นเผด็จการ โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 50.79 ของผู้ที่ตัดสินใจไม่รับร่างฯ เห็นว่าบางมาตราไม่สมเหตุสมผล คลุมเครือ ส่วนอีกร้อยละ 18.50 เห็นว่ากระบวนการร่างรัฐธรรมนูญขาดการมีส่วนร่วมและไม่เป็นประชาธิปไตย
 
576
 
การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 7 สิงหาคม 2559 
 
อย่างไรก็ตาม เหตุผลของประชาชนที่รับร่างรัฐธรรมนูญจนกลายเป็นชัยชนะที่นำมาสู่การอ้างความชอบธรรมของรัฐบาลกลับน่าสนใจมากกว่า จากผลสำรวจพบว่าประชาชนที่ตัดสินใจรับร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ ร้อยละ 21.12 ระบุว่า ต้องการเห็นการปฏิรูปประเทศ การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง อยากให้ประเทศเดินหน้า และเศรษฐกิจดีขึ้น ซึ่งในส่วนนี้เองที่ไม่มีความชัดเจนว่าหมายถึงความชอบธรรมของ คสช. หรือไม่ ขณะที่ร้อยละ 8.02 ระบุว่า ต้องการให้เกิดการจัดตั้งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งเผยให้เห็นว่าในบรรดาผู้ที่รับร่างรัฐธรรมนูญจำนวนไม่น้อยไม่ได้เห็นด้วยกับรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร เป็นที่ชัดเจนตามผลการสำรวจว่าประชาชนร้อยละ 8.51 ตัดสินใจรับร่างฯ เพราะชื่นชอบการทำงานของรัฐบาล นายกรัฐมนตรีและความเข้มงวดจริงจังของทหาร แต่ประชาชนอีกร้อยละ 1.77 กลับตัดสินใจไม่รับร่าง แม้ว่าจะชื่นชอบการทำงานของรัฐบาลชุดนี้ เพราะเข้าใจว่าหากรัฐธรรมนูญผ่านการออกเสียงประชามติจะทำให้มีการเลือกตั้ง และได้รัฐบาลชุดใหม่เข้ามาบริหารประเทศ
 
จะเห็นได้ว่าผลสำรวจดังกล่าวสะท้อนถึงความสับสนในการตัดสินใจรับหรือไม่รับร่างฯ กล่าวคือ ด้วยเหตุผลเดียวกันแต่ประชาชนอาจตัดสินใจรับหรือไม่รับแตกต่างกัน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะความคลุมเครือเกี่ยวกับผลที่จะเกิดขึ้นจากการผ่านหรือไม่ผ่าน การออกเสียงประชามติของร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว เพราะการปิดกั้นการรณรงค์โดยเฉพาะกับฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ
จนในที่สุดประชาชนไม่แน่ใจว่าหากประสงค์ให้ คสช. อยู่ในอำนาจต่อหรือหลีกทางให้กับการเลือกตั้งตามวิถีประชาธิปไตยนั้นจะต้องออกเสียงรับหรือไม่รับกันแน่
 
ต่อการอ้างความชอบธรรมในลักษณะดังกล่าว นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการประวัติศาสตร์ชาวไทยเห็นว่า “อย่างไรก็ตาม คสช.คงเอาไปอ้างความชอบธรรมได้แค่ครึ่งเดียว ในเมืองไทยคงพอฟังได้
แต่จะอ้างกับโลกคงยาก คนเห็น(ว่า)ไม่ยุติธรรมมาแต่ต้น” ซึ่งสอดรับกับที่ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติแสดงความกังวล เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2559
ว่าการมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญอย่างมีเสรีภาพและเปิดกว้างจะทำให้ร่างรัฐธรรมนูญมีความชอบธรรมและได้รับการยอมรับ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านการทำประชามติดังกล่าว
ก็ได้สถาปนาระบบการเข้าสู่อำนาจแบบใหม่ที่ไม่ได้เชื่อมโยงกับประชาชน เช่นการกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภาชุดแรกจำนวน 250 คน มาจากการคัดเลือกโดยคสช., การเปิดช่องให้มีนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง,การออกแบบระบบนับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบจัดสรรปันส่วนผสมเพื่อให้พรรคการเมืองที่ประชาชนเลือกมากที่สุดไม่ได้ที่นั่งมากที่สุด,การให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญจัดประชุมแก้ไขปัญหาเมื่อเกิดวิกฤติทางการเมือง,การให้ คสช. ยังคงมีอำนาจมาตรา 44 และให้ประกาศ, คำสั่งทุกฉบับมีผลบังคับใช้ต่อไปไม่มีกำหนด เป็นต้น
ดังนั้น จึงคาดหมายได้ว่า
 
โฉมหน้าการเมืองของประเทศไทยหลังรัฐธรรมนูญฉบับนี้ประกาศใช้ก็จะยังอยู่ภายใต้อำนาจการควบคุมของ คสช. เช่นเดิม การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้จะเป็นการเลือกตั้งที่ดำเนินไปภายใต้ข้อจำกัดพรรคการเมืองมีบทบาทน้อยลง และผู้ที่จะกุมอำนาจอย่างแท้จริงภายหลังการเลือกตั้งอาจจะยังเป็น คสช. ส่วนประชาชนที่เห็นต่างกับ คสช. จะถูกบีบให้ส่งเสียงได้น้อยลงไปอีก โดยการอ้างความชอบธรรมว่า อำนาจใหม่นั้นไม่ได้มาจากรัฐประหาร แต่มาจากรัฐธรรมนูญที่มีผลประชามติรับรองแล้ว
ประเภทรายงาน: