1996 1527 1338 1472 1924 1808 1884 1525 1171 1306 1146 1987 1520 1843 1152 1920 1068 1930 1485 1039 1859 1363 1750 1350 1624 1535 1121 1464 1562 1784 1869 1863 1150 1343 1194 1044 1230 1794 1296 1902 1801 1690 1960 1565 1461 1236 1050 1267 1892 1837 1993 1139 1288 1203 1077 1504 1541 1801 1347 1022 1713 1137 1357 1966 1014 1336 1682 1231 1408 1554 1538 1364 1252 1580 1530 1407 1861 1007 1950 1467 1775 1973 1278 1427 1637 1172 1039 1254 1702 1891 1437 1475 1843 1515 1456 1757 1785 1687 1933 สถานการณ์ปี 2559 5/5: ความเงียบแบบผูกขาด ออกกฎหมายจำนวนมากประชาชนไม่รู้เรื่อง | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

สถานการณ์ปี 2559 5/5: ความเงียบแบบผูกขาด ออกกฎหมายจำนวนมากประชาชนไม่รู้เรื่อง

การออกกฎหมายเป็นหนึ่งในผลงานที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ภาคภูมิใจ ภายในเวลาเพียงสองปีห้าเดือน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)ที่คสช.แต่งตั้งสามารถออกพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ไปแล้วอย่างน้อย 207 ฉบับ นอกจากนี้ยังมีการออกกฎหมายโดยใช้อำนาจพิเศษตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญ(ฉบับชั่วคราว) 2557 อีก 122 ฉบับ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีด้านกฎหมาย แถลงเปรียบเทียบว่าในระยะเวลาเจ็ดปีสี่รัฐบาลตั้งแต่ปี 2551-2557 สภาสามารถออกพ.ร.บ.เพียง 120 ฉบับ หรือเฉลี่ยปีละ 17 ฉบับเท่านั้น ซึ่งน้อยกว่าการทำงานเพียงสองปีกว่าของคสช.
ตลอดระยะเวลา 29 เดือนของการทำงาน สนช. ใช้เวลาเฉลี่ยในการออกกฎหมายประมาณเดือนละเจ็ดฉบับ โดยร่างกฎหมายที่พิจารณาเร็วที่สุดใช้เวลาเพียงหนึ่งวัน มีอยู่เจ็ดฉบับ เช่น
พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 และ พ.ร.บ.โอนงบประมาณรายจ่าย พ.ศ.2559 ในส่วนของการใช้อำนาจพิเศษของหัวหน้าคสช.ตามมาตรา 44 ออกกฎหมายตั้งแต่เดือนธันวาคม 2557 จนถึงเดือนธันวาคม 2559 มีการออกกฎหมายด้วยวิธีนี้เฉลี่ยเดือนละห้าฉบับ 
 
สนช.ออกกฎหมายเน้นปริมาณแต่เนื้อหาบกพร่องและขาดการมีส่วนร่วม 
ในปี 2559 สนช.เห็นชอบร่างพ.ร.บ.อย่างน้อย 66 ฉบับ เฉลี่ยเดือนละหกฉบับขณะที่ปี 2558 เห็นชอบอย่างน้อย 94 ฉบับ โดยเหตุปีที่นี้สนช.ผ่านกฎหมายได้น้อยลงอาจเป็นเพราะต้องเตรียมความพร้อมเพื่อสนับสนุนการออกเสียงประชามติรวมทั้งการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และการขึ้นทรงราชย์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัววชิราลงกรณ์ (รัชกาลที่ 10) ทำให้สภาต้องงดการประชุมพิจารณากฎหมายไปหลายช่วง จากการติดตามกระบวนการออกกฎหมายของสนช. พบว่าร่างพ.ร.บ.ส่วนใหญ่ที่เข้าสู่การพิจารณาถูกเสนอจากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ขณะเดียวกันผู้พิจารณาออกกฎหมาย คือสมาชิกสนช.ซึ่งส่วนใหญ่เป็นตัวแทนของภาครัฐทั้งในฐานะอดีตข้าราชการหรือข้าราชการที่ยังปฏิบัติหน้าที่อยู่ คณะกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาร่างพ.ร.บ.ฉบับต่างๆจึงมีแนวโน้มจะรับฟังความเห็นจากเจ้าหน้าที่รัฐผู้ปฏิบัติงานมากกว่าประชาชนผู้ได้รับผลได้ผลเสีย เช่น ร่างพ.ร.บ.กองทุนให้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา (กยศ.) ซึ่งมีเนื้อหาให้ผู้กู้ต้องยินยอมให้ กยศ. เข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล ต้องแจ้งให้นายจ้างทราบว่าเป็นหนี้กยศ.เพื่อให้หักเงินเดือนส่งชำระหนี้ รวมทั้งปรับเพดานอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่กยศ.อาจเรียกเก็บจากลูกหนี้ จากไม่เกินร้อยละหนึ่งเป็นไม่เกินร้อยละเจ็ดจุดห้าต่อปี ซึ่งเท่าที่ทราบในรายงานของกมธ. มีเพียงหน่วยงานรัฐเท่านั้นที่เข้าไปให้ความคิดเห็นต่อกมธ. ไม่มีข้อมูลว่ากรธ.เคยรับฟังความคิดเห็นจากลุูกหนี้ผู้มีส่วนได้เสีย หรือจัดเวทีสาธารณะเพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ แม้จะมีร่างพ.ร.บ.บางฉบับที่จัดให้มีเวทีรับฟังความคิดเห็น ซึ่งเป็นส่วนน้อยมาก แต่ในทางปฏิบัติการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของสนช.กลับมีข้อจำกัด เช่น ร่างพ.ร.บ.ว่าการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ที่แม้ผู้ร่างจะอ้างว่ามีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนถึงสองครั้ง แต่ในทางปฏิบัติพบว่าการรับฟังความคิดเห็นครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2559 มีข้อจำกัด เช่น การจัดงานในอาคารรัฐสภาที่ประชาชนทั่วไปเข้าถึงยาก การเปิดให้ลงทะเบียนเข้าร่วมงานผ่านแฟกซ์เท่านั้น และการจัดเวลาแสดงความคิดจากประชาชนที่น้อยเพียงประมาณหนึ่งชั่วโมง ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ถูกจับตามองจากสังคมอย่างมาก นอกจากเวทีรับฟังความคิดเห็นของสนช. ภาคประชาชนเองยังได้จัดเวทีสาธารณะ หรือใช้พื้นที่ออนไลน์เรียกร้องส่งเสียงไปยังสนช. ถึงเนื้อหาที่ยังคงบกพร่องจำนวนหลายครั้ง จนกระทั่งล่าสุดวันที่ 15 ธันวาคม 2559 เครือข่ายพลเมืองเน็ตนำรายชื่อประชาชนมากกว่าสามแสนที่ลงชื่อคัดค้านร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ในเว็บไซต์ Change.org ไปยื่นคัดค้านต่อสนช. อย่างไรก็ตามหนึ่งวันให้หลังสนช.ก็ผ่านร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ด้วยคะแนนเห็นชอบ 168 เสียง ไม่เห็นชอบ 0 เสียง งดออกเสียง 5 เสียงแสดงให้เห็นว่าแม้จะมีกระแสท้วงติงจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เสียงสะท้อนเหล่านั้นก็มีความสำคัญไม่มากนักต่อการตัดสินใจของสมาชิกสนช. 
 
580
 
การรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 23 พฤศจิกายน 2559 
 
หัวหน้าคสช.ใช้มาตรา 44 มากขึ้น เน้นเพิ่มอำนาจรัฐโดยไม่รับฟังเสียงประชาชน 
ในปี 2559 หัวหน้าคสช. ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่งอย่างน้อย 73 ฉบับ หรือเฉลี่ยหกฉบับต่อเดือน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2558 ที่ใช้ออกคำสั่งเพียง 48 ฉบับ โดยเป็นการออกกฎหมายที่ไม่มีขั้นตอนรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ไม่มีขั้นตอนการตรวจสอบถ่วงดุล ทั้งที่กฎหมายหลายฉบับที่ออกด้วยวิธีนี้มีผู้ได้รับผลกระทบอยู่ไม่น้อย เช่น คำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 30/2559 ที่กำหนดให้ผู้ปกครองต้องรับโทษแทนหากลูกหลานก่อเหตุทะเลาะวิวาท ซึ่งเดือนกรกฎาคม 2559 มีผู้ปกครองรายแรกต้องรับโทษ จำคุกหกเดือน ปรับ 60,000 บาท แต่ให้การรับสารภาพจึงลดโทษลงกึ่งหนึ่ง และโทษจำคุกให้รอลงอาญาสองปีคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 41/2559 กำหนดให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
 
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีอำนาจควบคุมไม่ให้มีการเสนอข้อมูลข่าวสารที่มีเนื้อหาที่มีผลกระทบต่อความมั่น คงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนโดยการกระทำของกสทช.ได้รับความคุ้มครองไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญาและทางวินัย คำสั่งนี้ถูกมองว่าเป็นความตั้งใจของคสช. ที่จะสร้างความมั่นใจให้กสทช.ในการปิดกั้นสื่อมวลชนที่ชอบวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของคสช.นอกจากนี้การออกคำสั่งหัวหน้าคสช.ยังถูกใช้เพื่อ ความผิดพลาดจากการออกกฎหมาย เช่น คำสั่งที่ 28/2559 กำหนดให้มีการเรียนฟรี
15 ปีซึ่งออกมาหลังร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติถูกวิพากษ์วิจารณ์กรณีลดการเรียนฟรีเหลือ 12 ปี หรือคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 49/2559 ที่กำหนดการอุปถัมภ์และคุ้มครองทุกศาสนาเป็นหน้าที่ของทุกหน่วยงานของรัฐที่ออกมาหลังร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติกำหนดให้รัฐสนับสนุนพุทธศาสนานิกายเถรวาท ที่ผ่านมาการออกกฎหมายทั้งโดยสนช.และโดยคำสั่งหัวหน้าคสช. คือ ‘ความเงียบ
อีกอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยระหว่างขั้นตอนการพิจารณากฎหมายแทบจะไม่มีเสียงจากประชาชนสะท้อนอยู่ในนั้นเลย และด้วยบรรยากาศที่ปิดกั้นการพยายามส่งเสียงค้านของภาคประชาชนก็มีต้นทุนสูง และดูแทบจะไม่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ถืออำนาจ ขณะที่การออกคำสั่งหัวหน้าคสช.เป็นกฎหมายก็เป็นวิธีการใช้อำนาจแบบบนลงล่างที่ไม่มีพื้นที่สำหรับเสียงของประชาชนเลย
ประเภทรายงาน: