1679 1587 1952 1579 1840 1198 1059 1446 1239 1116 1362 1576 1925 1037 1257 1219 1642 1022 1357 1175 1108 1328 1382 2000 1495 1187 1533 1183 1857 1622 1173 1049 1647 1409 1673 1199 1959 1948 1302 1963 1063 1654 1915 1053 1059 1885 1516 1049 1006 1166 1043 1459 1894 1342 1354 1992 1456 1013 1483 1141 1743 1776 1961 1421 1283 1645 1953 1327 1511 1041 1975 1283 1679 1802 1364 1705 1969 1365 1305 1896 1374 1914 1645 1173 1911 1021 1247 1317 1603 1089 1061 1073 1274 1959 1226 1167 1394 1928 1322 คดีพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ วัฒนา เมืองสุข พิสูจน์ความจริงพิสูจน์พื้นที่เสรีภาพ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

คดีพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ วัฒนา เมืองสุข พิสูจน์ความจริงพิสูจน์พื้นที่เสรีภาพ

 
 
หลังจากการเข้ายึดอำนาจการปกครองของคสช. บรรยากาศการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองค่อนข้างเงียบเหงา นักเคลื่อนไหวและนักการเมืองจำนวนไม่น้อยเลือกที่จะเงียบ วัฒนา เมืองสุข เป็นหนึ่งในแกนนำพรรคเพื่อไทยที่ยังคงไม่เงียบและแสดงความคิดเห็นผ่านเฟซบุ๊กอย่างต่อเนื่อง วัฒนาถูกทหารเรียกตัวไปพูดคุยปรับทัศนคติหลายครั้ง แต่เขายังคงแสดงความเห็นทางการเมืองอยู่เรื่อยมา ทั้งบนเฟซบุ๊กและให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน
 
วันที่ 1 มีนาคม 2559 เป็นอีกวันที่วัฒนาโพสต์เนื้อหาวิจารณ์รัฐบาลบนเฟซบุ๊ก คราวนี้ใช้ชื่อบทความว่า “อีคิวต่ำไปหน่อย” โดยรูปบนเฟซบุ๊กที่ใช้มีภาพใบหน้าของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เนื้อหาที่เขาเขียน ในความหลักเป็นการวิพากษ์วิจารณ์อย่างเผ็ดร้อนต่อคำสัมภาษณ์ของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีที่กล่าวถึงกรณีทหารติดตามไปถ่ายภาพของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีในงานศพ นอกจากนี้บทความดังกล่าวยังพาดพิงถึงการยึดอำนาจของ คสช. อันสร้างความเสียหายต่อประเทศ และการจะไม่คืนอำนาจให้แก่ประชาชน รวมทั้งการที่คสช. ตรากฎหมายเพื่อใช้นิรโทษกรรมพวกพ้อง

คล้อยหลังเพียงวันเดียวทหารนับสิบนายเข้าบุกล้อมจับกุมวัฒนาที่บ้านพัก อ้างอำนาจตามคำสั่งคสช.ที่ 3/2558 ต่อมา พล.อ.ประวิตร ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ในเรื่องนี้ว่า สิ่งที่วัฒนาโพสต์เป็นเรื่องบิดเบือนและสร้างความเสียหายต่อประเทศ และถ้าหากพูดร้อยครั้งจะเรียกมาร้อยครั้ง ส่วนมาตรการร้ายแรงที่สุดคือ ต้องดูก่อนว่าการกระทำดังกล่าวเข้าข่ายผิดกฎหมายหรือไม่  หลังจากนั้นในช่วงดึกของวันเดียวกันทหารได้พาตัววัฒนาไปที่ สน. นางเลิ้ง เพื่อรับทราบข้อหาในฐานความผิดตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(1) ก่อนจะนำตัววัฒนาไปส่งที่บ้านพัก
 
ที่น่าสังเกตคือ ก่อนหน้านี้ในการจับกุมวัฒนาที่บ้านพัก ทหารอาศัยอำนาจตามคำสั่ง คสช. ที่ 3/2558 (13/2559) แต่เมื่อย้อนดูเนื้อหาจะเห็นว่า คำสั่งดังกล่าวให้อำนาจเจ้าหน้าที่ตั้งแต่ยศร้อยตรี เรือตรี เรืออากาศตรีในการควบคุมตัวบุคคลได้ไม่เกิน 7 วัน ครอบคลุมความผิดที่เกี่ยวข้องกับการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์, การยุยงปลุกปั่นให้เกิดความวุ่นวาย และคดีที่เกี่ยวข้องกับอาวุธเท่านั้น แต่ไม่ครอบคลุมมูลฐานความผิดที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ที่วัฒนาตกเป็นผู้ต้องหาในกรณีนี้ด้วย
 
ในชั้นศาล พ.อ. ธีระ ยินดี นายทหารพระธรรมนูญ ผู้ร้องทุกข์ในคดีนี้กล่าวหาว่า บทความดังกล่าวสร้างความเสียหายต่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี, พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และคสช. แต่ในคดีนี้ตนได้รับมอบอำนาจในการร้องทุกข์มาจาก คสช. ไม่เกี่ยวข้องกับ พล.อ.ประวิตรแต่อย่างใด ต่อมา วัฒนาเบิกความว่า ระหว่างถูกควบคุมตัวที่มทบ.11 พ.อ.ธีระถามตนว่า พี่เป็นคนโพสต์ (บทความอีคิวต่ำไปหน่อย)ใช่ไหม ตนตอบว่า ใช่ พ.อ. ธีระ จึงกล่าวต่อว่า รองนายกฯ (พล.อ. ประวิตร) โกรธมากและบอกต่อว่า รอบนี้อาจจะต้องอยู่ยาว 
 
คดีนี้ วัฒนาถูกฟ้องตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(1) ข้อหาเดียว ไม่ถูกฟ้องฐานหมิ่นประมาทใครเป็นการส่วนบุคคลด้วย ซึ่งในคดีพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ สิ่งที่โจทก์ต้องพิสูจน์มีเพียงว่า ข้อความที่วัฒนาโพสต์เป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ หากพิสูจน์ไม่ได้ว่าเป็นข้อมูลเท็จ ก็ไม่สามารถเอาผิดวัฒนาได้
 
ขณะเดียวกันข้อความที่โจทก์ระบุในคำฟ้องว่าเป็นความเท็จ ไม่ว่าจะเป็นข้อความที่ว่า “...ยึดอำนาจไปจากประชาชนจนสร้างความเสียหายให้กับประเทศมหาศาล...แถมแสดงความหนาด้วยการจะไม่คืนอำนาจให้อีกต่างหาก...” หรือ “...ไม่เคารพกฎหมายและเลือกปฏิบัติ คสช ไม่เคยปฏิเสธการล้างผิดและพร้อมที่จะให้มีการตรวจสอบ แต่กลับหนีการตรวจสอบทุกวิธี ไม่ว่าจะด้วยการใช้อำนาจตามมาตรา 44 นิรโทษกรรมให้ตัวเองและพรรคพวกในสิ่งทำผิดมา ล่าสุดคือการใช้มาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญฉบับนายมีชัยล้างผิดให้ตัวเองและคณะทั้งหมด…” ล้วนแล้วแต่เป็นประเด็นที่วัฒนาเคยวิพากษ์วิจารณ์ผ่านสื่ออยู่หลายครั้ง แต่ไม่เคยปรากฏเป็นคดีความมาก่อน อาทิเช่น

1.             วันที่ 13 สิงหาคม 2558 ใน ASTV ผู้จัดการรายวันออนไลน์ บทความชื่อ “วัฒนา” โวยทหารบุกบ้าน “วินธัย” สวนอย่าบิดเบือน
2.             วันที่ 7 กรกฎาคม 2558 ในไทยโพสต์ออนไลน์ บทความชื่อ คสช. สืบทอดอำนาจ
3.             วันที่ 24 กรกฎาคม 2558 ในโพสต์ทูเดย์ออนไลน์ บทความชื่อ ความกลัวทำให้เสื่อม หมดเวลาของรัฐบาลแล้ว
4.             วันที่ 27 กรกฎาคม 2558 ในไทยรัฐออนไลน์ บทความชื่อ มองข้ามช็อตรัฐธรรมนูญสูตรหมกเม็ด : สืบทอดอำนาจประเทศพัง
5.             วันที่ 30 ธันวาคม 2558 ในไทยรัฐออนไลน์ บทความชื่อ ‘วัฒนา’ เย้ย คสช. ไร้น้ำยาทำงาน จี้คืนอำนาจเลือกตั้งโดยเร็ว
 
ประเด็นหลักของคดีนี้ จึงอยู่ที่การพิสูจน์ว่า ข้อความที่วัฒนาเขียน เป็นความเท็จหรือความจริง ในชั้นตำรวจไม่ได้มีการสอบสวนผู้เชี่ยวชาญด้านรัฐศาสตร์ว่าข้อความที่ผู้ร้องทุกข์นำส่งเป็นเท็จอย่างไร  ขณะเดียวกันพนักงานสอบสวนไม่ได้ระบุต่อศาลว่า การยึดอำนาจทำให้ประเทศเสียหายเป็นความเท็จอย่างไร ระบุเพียงแต่ว่าการที่บอกว่า คสช. จะไม่คืนอำนาจและการใช้กฎหมายนิรโทษกรรมเป็นความเท็จ เพราะรัฐบาลได้มีการดำเนินการคืนอำนาจให้ประชาชนตามโรดแมปแล้วและไม่เคยนิรโทษกรรมใคร
 
สอดคล้องกับการนำสืบพยานของฝ่ายโจทก์ อัยการนำสืบว่า ข้อความพิพาทเป็นเท็จ เนื่องจากขณะเกิดเหตุ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญกำลังร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชามติและวางแผนให้มีการลงประชามติ เพื่อปูทางไปสู่การคืนอำนาจให้แก่ประชาชนผ่านการเลือกตั้ง ข้อความดังกล่าวจึงเป็นความเท็จ เช่นเดียวกับการใช้กฎหมายนิรโทษกรรมพวกพ้องที่ คสช. ไม่เคยระบุคำว่า "นิรโทษกรรม" ในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว หรือมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญฉบับประชามติ รวมถึงการบริหารราชการของ คสช.มีหน่วยงานอิสระที่คอยตรวจสอบการทำงานอยู่ ดังนั้นข้อความพิพาทในคดีนี้จึงเข้าข่ายความเท็จ 
 
ด้านการนำสืบพยานของฝ่ายจำเลย วัฒนา เป็นผู้ถามพยานด้วยตัวเอง นำสืบต่อศาลว่า ข้อความพิพาทไม่ได้เป็นความเท็จตามคำฟ้องของโจทก์  ข้อความที่ว่า  “...ยึดอำนาจไปจากประชาชนจนสร้างความเสียหายให้กับประเทศมหาศาล...” ไม่เป็นความเท็จ เพราะการยึดอำนาจก่อความเสียหายต่อประเทศอย่างเป็นรูปธรรมดังนี้
1.       ชื่อเสียงของประเทศไทยที่อดีตเคยเป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศว่า เป็นประเทศประชาธิปไตยและเคารพสิทธิมนุษยชน 
2.       การยึดอำนาจส่งผลกระทบต่อการบริหารประเทศเช่น เขตการค้าเสรีกับสหภาพยุโรปถูกเลื่อนออกไปส่งผลต่อเศรษฐกิจในภาพรวม
3.       ความสัมพันธ์ด้านการทูตที่ประเทศประชาธิปไตยไม่สามารถส่งผู้นำหรือตัวแทนมาเยือนประเทศไทย รวมทั้งประเทศไทยเองก็ไม่สามารถส่งผู้นำหรือตัวแทนไปเยือนได้เช่นกัน
 
ต่อมาข้อความที่ว่า “...แถมแสดงความหนาด้วยการจะไม่คืนอำนาจให้อีกต่างหาก...” ความเป็นจริงคือว่า คำว่า “จะ” ในรูปประโยคนี้เป็นการคาดคะเนว่า เหตุการณ์ตามข้อความพิพาทอาจจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ ประกอบกับขณะเกิดเหตุอยู่ระหว่างร่างรัฐธรรมนูญไม่สามารถคาดคะเนได้ว่าจะผ่านหรือไม่ผ่าน ทั้งที่ผ่านมา คสช. เคยประกาศว่า จะให้มีการเลือกตั้งในปี 2558 หรือปี 2559 ต่อมาเลื่อนออกไปเป็นปี 2560 นอกจากนี้ระหว่างประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญเกิดคำถามว่า หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านจะทำอย่างไร แต่คสช.ไม่ได้ให้คำตอบที่ชัดเจนเท่าที่ควร  
 
ข้อความสุดท้ายคือ “...ไม่เคารพกฎหมายและเลือกปฏิบัติ คสช ไม่เคยปฏิเสธการล้างผิดและพร้อมที่จะให้มีการตรวจสอบ แต่กลับหนีการตรวจสอบทุกวิธี ไม่ว่าจะด้วยการใช้อำนาจตามมาตรา 44 นิรโทษกรรมให้ตัวเองและพรรคพวกในสิ่งทำผิดมา ล่าสุดคือการใช้มาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญฉบับนายมีชัยล้างผิดให้ตัวเองและคณะทั้งหมด…” ไม่เป็นความเท็จ เนื่องจากรัฐธรรมนูญชั่วคราวและฉบับประชามติวางกรอบกฎหมายในลักษณะปกป้องไม่ให้เอาผิดต่อการกระทำต่างๆ ทุกกรณี ทำให้ในอนาคตจะไม่สามารถเอาผิดต่อ คสช. ได้
 
นอกจากประเด็นการพิสูจน์ความจริงและความเท็จแล้ว พยานจำเลยยังเบิกความต่อศาลไปในแนวทางเดียวกันว่า การวิพากษ์วิจารณ์ในบทความพิพาทเป็นไปตามสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอันประกันไว้ในมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวและกติการะหว่างประเทศที่ไทยยอมรับเป็นพันธกรณี โดยข้อความพิพาทเป็นการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศและเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการลุแก่อำนาจของผู้นำ ทั้งข้อเขียนดังกล่าวของวัฒนายังไปสอดคล้องกับความเป็นกังวลขององค์กรระหว่างประเทศอีกด้วย
 
 

 

ชนิดบทความ: